fbpx

ยินดีต้อนรับสู่บริการของอีทเวลล์คอนเซปต์แหล่งรวมบริการด้านโภชนาการที่หลากหลายที่สุดในรูปแบบส่วนบุคคลและรูปแบบองค์กร

นักกำหนดอาหารพร้อมให้คำปรึกษา

ONLINE DIETITIAN

“ อีทเวลล์คอนเซปต์
(Eat well concept)
แหล่งความรู้โภชนาการที่ดีที่สุดสำหรับคุณ ”

จัดตั้งขึ้นมาจากกลุ่มนักกำหนดอาหารที่ปรารถนาจะเห็น อาหาร เป็นเรื่องง่าย ๆ เมนูอาหาร ง่าย ๆ ที่ถูกต้องตามหลักโภชนการ อาหารครบถ้วน 5 หมู่ ไม่จำเป็นต้องมีราคาแพง และหาซื้อยาก เราต้องการให้ความรู้ที่ถูกต้อง หลากหลาย รวมถึงบริการ นักกำหนดอาหาร ในด้านต่าง ๆ


โปรแกรมสำหรับโภชนาการส่วนบุคคล

โปรแกรมโภชนาการในองค์กร “Sakid Application”

ระบบช่วยจัดการข้อมูล วิเคราะห์ปัญหาสุขภาพพนักงานรายบุคคล และให้คำแนะนำภารกิจสุขภาพแก่พนักงานของท่านให้มีประสิทธิภาพการทำงานเพิ่มขึ้น

ลูกค้าของเรา

OUR PARTNERS

คลังความรู้

  • Food and Nutrition

โรคลำไส้แปรปรวน แนะนำกินอาหาร FODMAPs ต่ำ

หลายคนเชื่อว่า “กินผัก ผลไม้เยอะ ๆ ดีต่อสุขภาพ” แต่เคยสังเกตไหมคะว่าบางครั้งหลังจากกินอาหารเหล่านี้เข้าไป กลับทำให้เรารู้สึกไม่สบายท้อง แน่นท้อง ท้องอืด หรือแม้แต่ท้องเสีย และแน่นอนว่าอาการเหล่านี้ไม่ได้เกิดขึ้นกับทุกคน แต่สำหรับคุณที่ต้องเผชิญเรื่องเหล่านี้เป็นประจำ ทำให้นี่เป็นปัญหาอย่างหนึ่งที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของเราไม่น้อยเลย กับการที่ต้องคอยเลือกหรือกังวลว่าหากกินอาหารชนิดนี้เข้าไปแล้วจะทำให้ท้องไส้ของเราปั่นป่วนหรือเปล่า และหากคุณเป็นหนึ่งคนที่ต้องเผชิญปัญหาใน โรคลำไส้แปรปรวน เป็นประจำ ลองมาทำความรู้จักกับ อาหาร FODMAP หรือ กลุ่มคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายบางคนดูดซึมได้ไม่ดี ซึ่งอาจเป็นตัวการที่สำคัญอย่างหนึ่งของอาการผิดปกติในระบบทางเดินอาหารของเรานั่นเอง FODMAP คืออะไร ทำไมถึงส่งผลต่อลำไส้ FODMAP (Fermentable Oligosaccharides, Disaccharides, Monosaccharides, and Polyols) เป็นกลุ่มของคาร์โบไฮเดรตที่ร่างกายย่อยและดูดซึมได้ยาก FODMAP ย่อมาจาก: เมื่อเรากินอาหารที่มี FODMAP สูงเข้าไป สารเหล่านี้จะถูกหมักโดยแบคทีเรียในลำไส้ ทำให้เกิดแก๊ส ดึงน้ำเข้าสู่ลำไส้ และทำให้เกิดอาการ ท้องอืด แน่นท้อง ปวดเกร็ง และการขับถ่ายผิดปกติ อาหารแบบ Low FODMAP คืออะไร? อาหาร Low FODMAP คืออาหารที่มีปริมาณ […]

  • private nutrition consult

Dietitian in Thailand ปรึกษานักกำหนดอาหารออนไลน์

Dietitian in Thailand สำหรับคนไทยที่อยู่ในต่างประเทศที่มีปัญหาภาวะทางด้านโภชนาการไม่ว่า น้ำหนักเกินเกณฑ์ ไขมันในเลือดสูง โรคมะเร็ง โรคไต สามารถปรึกษานักกำหนดอาหารกับเราได้เราสามารถดูแลและมีความรู้ทั้งอาหารไทยและอาหารของแต่ละประเทศ สามารถให้คำแนะนำทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะอยู่ที่ไหนก็สามารถคุยปรึกษากับนักกำหนดอาหารได้ บริการ นักกำหนดอาหาร เหมาะสำหรับ มีปัญหาโภชนาการระหว่างอยู่ต่างประเทศใช่ไหม? คุณสามารถพูดคุยกับนักกำหนดอาหารEatwellconcept ได้ผ่านทางออนไลน์จากที่ไหนก็ได้ ทุกวัน 9.00 – 19.00 น.(เวลาไทย) ไม่ว่าจะเป็น Line call /Zoom / MS teams / Google meet โดยจะเป็นการพูดคุยให้คำปรึกษาด้านโภชนการ ทางเราจะช่วยให้คุณมีความสุขกับการกินโดยไม่ฝืนตัวเอง สิ่งที่จะได้รับ นักกำหนดอาหารคือใคร? นักกำหนดอาหาร (Dietitian) คือ หนึ่งในทีมบุคลากรทางการแพทย์หรือที่เรียกว่า “สหสาขาวิชาชีพ” ที่มีความเชี่ยวชาญด้านโภชนาการและอาหารและสามารถนำความรู้ทางด้านโภชนาการและอาหารมาใช้ในการกำหนดอาหารให้เหมาะสมกับสภาวะและความต้องการของผู้ป่วยหรือบุคคลทั่วไปในแต่ละช่วงวัย รวมถึงการให้คำปรึกษาและให้ความรู้ทางด้านโภชนาการเพื่อให้ผู้ป่วยหรือบุคคลทั่วไปสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลได้มากที่สุด หน้าที่ของนักกำหนดอาหาร นักกำหนดอาหารนับเป็นหนึ่งในทีมของบุคลากรทางการแพทย์ โดยมีหน้าที่ ประเมินภาวะโภชนาการของผู้ป่วยว่าในปัจจุบันการกินของอาหารของผู้ป่วยเหมาะสมหรือไม่ คำนวณความต้องการของพลังงานและสารอาหารที่ผู้ป่วยควรได้รับ และนำไปกำหนดปริมาณให้เหมาะสมกับผู้ป่วย เพื่อช่วยให้การรักษาของแพทย์ Consultant dietitian Dietitians in Thailand are equipped […]

  • Blog from Eatology

ส้มตำไทย 1 จาน พลังงาน เท่าไหร่กันแน่?

ส้มตำไทย หรือที่หลายคนเรียกติดปากว่า “ตำไทย” เป็นเมนูยอดนิยมที่ทั้งอร่อยและดีต่อสุขภาพ แถมยังเหมาะกับการลดน้ำหนักอีกด้วย ด้วยรสชาติที่ครบรส เปรี้ยว หวาน เค็ม เผ็ด และวัตถุดิบหลักที่เป็นผักสด หลายคนมองว่าส้มตำไทยเป็นเมนูแคลอรีต่ำ แต่เคยสงสัยไหมว่า ส้มตำไทย 1 จาน มี พลังงาน เท่าไหร่? ข้อมูลจากหลายแหล่งอาจให้คำตอบที่ต่างกันออกไป ตั้งแต่ 80 กิโลแคลอรีไปจนถึง 200 กิโลแคลอรี แล้วอะไรคือปัจจัยที่ทำให้พลังงานในส้มตำไทยหลากหลาย มาดูกันเลย! ส้มตำไทย 1 จาน พลังงาน กี่แคล? โดยเฉลี่ย ส้มตำไทย 1 จาน ให้พลังงานประมาณ 200-250 กิโลแคลอรี แต่ปริมาณแคลอรีจะเปลี่ยนแปลงตามวัตถุดิบที่ใช้ เช่น หากกินคู่กับ ข้าวเหนียว 1 กระติ๊บ (180 กรัม) จะเพิ่มพลังงาน 400-420 กิโลแคลอรี และหากเพิ่ม ไก่ย่าง 1 ชิ้น (100 กรัม) จะเพิ่มอีก 300-350 กิโลแคลอรี ทำไมพลังงานของส้มตำไทยถึงแตกต่างกัน? เคล็ดลับกิน ส้มตำไทย ให้สุขภาพดี เพิ่มเติม: ระวังเรื่องความเค็มจากน้ำปลา ผงชูรส และกุ้งแห้งที่ใส่มากเกินไป […]

  • Food and Nutrition

ปลากระป๋อง หรือปลาสด กินยังไงให้เฮลตี้

ปลาเป็นแหล่งโปรตีนที่สำคัญและได้รับความนิยมในการบริโภคอย่างแพร่หลาย ปัจจุบันมีตัวเลือกที่หลากหลายให้เลือกทั้งปลาสดและปลาแปรรูป โดยเฉพาะ ปลากระป๋อง ซึ่งแต่ละประเภทมีข้อดีที่แตกต่างกัน ปลาสดมีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่า เนื่องจากยังคงสารอาหารครบถ้วน โดยเฉพาะกรดไขมันโอเมก้า-3 ที่ช่วยส่งเสริมสุขภาพหัวใจและสมอง ขณะที่ปลา กระป๋องมีความสะดวกในการจัดเก็บและสามารถหาซื้อได้ง่าย เหมาะสำหรับผู้ที่อาศัยอยู่ในเขตเมืองหรือพื้นที่ที่หาปลาสดได้ยาก สุดท้ายแล้ว การเลือกรับประทานปลาในรูปแบบใดขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์และความสะดวกของแต่ละคน คุณค่าทางโภชนาการ ปลาสด VS ปลากระป๋อง ปลาสด เช่น แมคเคอเรลหรือซาดีนสด มีข้อดีคือไม่มีการเติมสารกันเสีย โซเดียม หรือน้ำตาลเพิ่มเข้ามา แต่การจัดเก็บและการเตรียมอาหารต้องใช้เวลามากกว่า รวมถึงมีโปรมาณแคลเซียมที่ต่ำกว่า เนื่องจากโดยทั่วไปเราไม่มีนิยามก้างที่มีลักษณะแข็ง ทำให้ไม่สามารรับประทานได้ ปลากระป๋อง โดยเฉพาะปลากระป๋องในซอสมะเขือเทศ เป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพสูงที่ให้กรดไขมันโอเมก้า-3 ซึ่งมีบทบาทสำคัญในการช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ นอกจากนี้ ปลากระป๋องยังเป็นแหล่งแคลเซียมที่ดีเนื่องจากกระดูกหรือก้างของปลาที่นิ่ม ทำให้เราสามารถรับประทานได้ ซึ่งแคลเซียมจากปลาเหล่านี้มีส่วนช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟัน ข้อควรระวัง : ปลากระป๋องมักมีปริมาณโซเดียมที่สูง ซึ่งควรระมัดระวังในกลุ่มที่ต้องมีการจำกัดปริมาณโซเดียม นอกจากนี้ บางครั้งซอสมะเขือเทศอาจมีปริมาณน้ำตาลเพิ่มขึ้นในบางยี่ห้อ ดังนั้นควรอ่านฉลากโภชนาการทุกครั้งก่อนเลือกซื้ออาหาร วิธีกินปลากระป๋องให้สุขภาพดี แม้ปลากระป๋องจะเป็นอาหารที่สะดวกและอุดมไปด้วยสารอาหารอย่างโปรตีนและกรดไขมันโอเมก้า-3 แต่ก็มีข้อที่ควรระวังในการบริโภค ดังนั้นเพื่อทำให้มื้ออาหารจากปลากระป๋องมีประโยชน์ต่อสุขภาพมากยิ่งขึ้น วันนี้พวกเราจึงนำเทคนิค 5 การทำให้ปลากระป๋องเป็นมื้อที่สุขภาพดีมากขึ้นมาฝากกัน 1. เลือกปลากระป๋องที่มีโซเดียมต่ำ ปลากระป๋องส่วนใหญ่จะมีโซเดียมสูงเพื่อใช้ในการถนอมอาหาร การเลือกปลากระป๋องที่มีปริมาณโซเดียมต่ำหรือปลากระป๋องที่ไม่เติมเกลือจะช่วยลดความเสี่ยงจากการบริโภคโซเดียมที่มากเกินไป ซึ่งจะดีต่อหัวใจและลดความดันโลหิต […]

Podcast

EP. 7 ดื่มนมแล้วท้องเสีย เกิดจากอะไร?

นมวัวถือเป็นแหล่งโปรตีนที่สามารถหาดื่มได้สะดวกและง่าย หลายคนมักเข้าใจผิดว่าที่ดื่มนมแล้วท้องเสียเป็นประจำมาจากการแพ้นมวัว แต่จริง ๆ แล้วเราย่อยน้ำตาลในนมได้

ผลงานของเรา

ไม่พลาดบทความใหม่ ๆ ได้ที่
เมื่อวานนี้ทานอะไร?

เล่าเรื่องราวของอาหารในมิติต่าง ๆ ที่น่าสนใจและมีมากกว่าแค่ “น่ากิน”

ส่งข้อความถึงเรา