fbpx

5 ผลไม้โพแทสเซียมสูง สำหรับคุมความดัน

ความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสำคัญ โดยพบว่า โรคความดันโลหิตสูงนั้นถือเป็นโรคอันดับต้นๆ ที่ผู้สูงอายุ จะเป็นกันอีกทั้งโรคนี้ยังส่งผลเทำให้พิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคอื่น ๆ อีกหลายโรค เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต เป็นต้น นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เราต้องมาใส่ใจดูแลสุขภาพตัวเองกันมากขึ้น และควบคุมภาวะความดันโลหิตสูง ให้ลดลงมาปกติ ไม่ว่าจะการกินยาอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมการกินอาหารที่มีโซเดียมสูง เพิ่มการกินผักผลไม้ที่สีเข้มซึ่งมี “โพแทสเซียม” สูง หรือการเพิ่มการออกกำลังกาย หรือ การขยับให้มากขึ้น (โดยเฉพาะการออกกำลังกายประเภทคาร์ดิโอ)

โพแทสเซียม หรือแร่ธาตุที่เรามักนิยมเห็นเขียนกันด้วยตัวอักษร K (มาจากคำว่า Kalemia ในภาษา Latin ซึ่งแปลว่าแร่ธาตุโพแทสเซียม นั่นเอง) แร่ธาตุตัวนี้มีผลดีต่อความดันของเราโดยจากการศึกษาพบแล้วว่าหากผู้ที่มี ความดันโลหิตสูงได้รับโพแทสเซียมเพียงพอจะมีส่วนช่วยในการลดระดับความดันโลหิตลงได้ด้วย วันนี้อีทเวลล์คอนเซปต์เลยอยากมาแนะนำให้ทุก ๆ คนได้รู้จักกับ ผลไม้โพแทสเซียมสูง กันค่ะ

5 ผลไม้โพแทสเซียมสูง
fruit high potassium

5 ผลไม้โพแทสเซียมสูง

1. กล้วยทุกชนิด ไม่ว่าจะกล้วยน้ำว้า กล้วยหอม กล้วยไข่ ก็ล้วนมีโพแทสเซียมที่สูงมาก โดยอย่างกล้วยน้ำว้า 1 ลูกมีโพแทสเซียมสูงถึง 128 มิลลิกรัมและถ้าเป็นกล้วยหอมก็มีโพแทสเซียมสูงถึง 400 มิลลิกรัม

กล้วย
กล้วยหอม

2. แก้วมังกร ทั้งเนื้อสีแดงและสีขาวก็ต่างมีโพแทสเซียมที่สูงเหมือนกันเลย โดยแก้วมังกรประมาณ 1 ผลจะมีโพแทสเซียมอยู่ที่ประมาณ 800 มิลลิกรัม

แก้วมังกร
แก้วมังกร

3. ทุเรียน ผลไม้ชนิดโปรดของใครหลาย ๆ คน ก็มีโพแทสเซียมสูงเหมือนกัน โดยทุเรียน 1 เม็ดจะมีโพแทสเซียมอยู่ที่ประมาณ 200 มิลลิกรัมเลย

ทุเรียน
ทุเรียน

4. มะม่วงต่าง ๆ โดยไม่ว่าจะเป็นชนิดไหนก็ตามประมาณ 1 ลูกก็จะมีโพแทสเซียมสูงเกือบ 600 มิลลิกรัม

มะม่วง
มะม่วง

5. แคนตาลูป โดยการกินแคนตาลูป 1 ซีกมีปริมาณโพแทสเซียมสูงเกือบ 300 มิลลิกรัม ไม่ว่าจะเนื้อสีเหลืองหรือสีเขียวก็เหมือนกัน สามารถเลือกได้ตามชอบเลยค่ะ

แคนตาลูป
แคนตาลูป

นอกจากนั้นยังมีผลไม้ อื่นๆ ที่สามารถเลือกกินได้เพิ่มเติม เช่น อะโวคาโด ลูกพลับ สตรอเบอรี่ ขนุน ฝรั่ง เป็นต้น

ข้อควรระวังสำหรับผู้ป่วยโรคไต

1.ผู้ป่วยโรคไตที่ต้องควบคุมระดับโพแทสเซียมในเลือด ต้องควบคุมและจำกัดปริมาณการทานผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง โดยอยู่ในความดูแลของแพทย์เจ้าของไข้ สามารถเข้าไปดูผลไม้สำหรับคนโรคไตได้ที่นี่

2.การได้รับโพแทสเซียมที่สูงเกินไปอาจทำให้หัวใจวายได้ และอาจมีอาการ เช่น รู้สึกเหนื่อย อ่อนแรง คลื่นไส้ ปวดกล้ามเนื้อหรือตะคริว หายใจลำบาก หัวใจเต้นผิดปกติ เจ็บหน้าอก เป็นต้น

นี่ก็เป็นตัวอย่างผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูงที่เราสามารถหารับประทานได้ทั่วไป สำหรับคนที่ไม่มีโรคประจำตัวสามารถทานได้ทั่วไป วันละ 3,000-4,000 มิลลิกรัมต่อวัน แม้โพแทสเซียมสูงจะช่วยลดความดันโลหิตได้ แต่สำหรับผู้ป่วยโรคไตไม่แนะนำให้กินผลไม้ต่าง ๆ เหล่านี้ เน้นดื่มน้ำให้เพียงพอ และจำเป็นต้องควบคุมการได้รับโซเดียมจากอาหารให้ไม่เกิน 2,400 มิลลิกรัม หรือเทียบเป็นเกลือ 1 ช้อนชาหรือซอสเครื่องปรุงรสต่าง ๆ ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ และที่สำคัญที่สุดควรเลือกผลไม้รสไม่หวานจัดวันละ 3 – 4 กำปั้นและพยายามหลีกเลี่ยงการจิ้มพริกเกลือ ผงบ๊วย พริกน้ำตาลด้วยเพื่อให้ดีต่อสุขภาพที่สุดนะคะ

สอบถามเพิ่มเติม Add Line ปรึกษานักกำหนดอาหาร

ดูแลสุขภาพของคุณให้ถูกวิธี

โปรแกรมปรึกษานักกำหนดอาหารคืออะไร ?

พร้อมรับคำปรึกษาจาก

นักกำหนดอาหารวิชาชีพ

ไม่พลาดบทความด้านโภชนาการ

ของ อีทเวลล์คอนเซปต์ ก่อนใคร

แหล่งอ้างอิง

1.Krishna G. G. (1990). Effect of potassium intake on blood pressure. Journal of the American Society of Nephrology : JASN1(1), 43–52. https://doi.org/10.1681/ASN.V1143

2.Houston M. C. (2011). The importance of potassium in managing hypertension. Current hypertension reports13(4), 309–317. https://doi.org/10.1007/s11906-011-0197-8

3.กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข. (2553). คุณค่าทางโภชนาการในผลไม้. (พิมพ์ครั้งที่ 1). นนทบุรี: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย. สืบค้นจาก https://nutrition2.anamai.moph.go.th/th/thai-food-composition-table/download?id=39843&mid=31993&mkey=m_document&lang=th&did=13913

4.Nutrient Data Laboratory (U.S.), & Consumer and Food Economics Institute (U.S.). (1999). USDA nutrient database for standard reference. Riverdale, Md: USDA, Nutrient Data Laboratory, Agricultural Research Service.

5.Melinda Ratini, DO,MS. (2022, August 11). “High-Potassium foods” .https://www.webmd.com/diet/high-potassium-foods

6.Nayana Ambarderkar, MD. (2022, September 04). “What is Hypokalemia?”.https://www.webmd.com/digestive-disorders/hypokalemia

ส่งข้อความถึงเรา