fbpx

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ เลือกกินอาหารอย่างไรดี?

อาหาร คือหนึ่งในเรื่องที่คุณแม่ขณะตั้งครรภ์จะต้องใส่ใจดูแลเป็นพิเศษ เพื่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ แต่ไม่ใช่ว่าจะกินอะไรก็ได้ตามใจตัวเอง ตัวคุณแม่เองจะต้องระวังไม่ให้ระดับระดับน้ำตาลในเลือดสูง จะทำให้มีความเสี่ยงเกิด ‘ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์’ ซึ่งสามารถส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้โดยตรง ผลที่ร้ายแรงที่สุดก็อาจทำให้เด็กพิการและเสียชีวิต

ประเภทของเบาหวาน

เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

  1. เบาหวานที่ได้รับการวินิจฉัยมาก่อนการตั้งครรภ์ (Pregestational)
  2. เบาหวานที่ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes Mellitus, GDM) เป็นเบาหวานที่ได้รับการวินิจฉัยครั้งแรกขณะตั้งครรภ์ พบหญิงตั้งครรภ์ร้อยละ 90 มีภาวะเบาหวานมาก่อนการ ตั้งครรภ์ แต่ไม่ได้รับการวินิจฉัย ทำให้ภาวะเบาหวานปรากฏออกมาครั้งแรกขณะท้องบุตร สามารถแบ่งออกเป็น 2 ระดับความรุนแรง คือ
    Class A1 (Glucose intolerance) พบได้ร้อยละ 90 ของหญิงที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ สามารถรักษาด้วยการควบคุมอาหาร
    Class A2 (Overt DM) หมายถึง มี Fasting hyperglycemia คือระดับน้ำตาลมากกว่า 105 mg/dl รักษาด้วยการใช้อินซูลิน

ปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์

  1. มารดามีน้ำหนักเกิน
  2. เคยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์มาก่อนในครรภ์ก่อนหน้า
  3. มีประวัติคนในครอบครัวเป็นเบาหวานชนิดที่ 2
  4. กลุ่มเสี่ยงมีภาวะก่อนเป็นโรคเบาหวาน (Prediabetes) ซึ่งหมายถึงมีระดับน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูงกว่าปกติ แต่ไม่สูงพอที่จะวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวาน
  5. เป็นโรคถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome)

การตรวจคัดกรองและประเมินความเสี่ยง

ผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มความเสี่ยงสูงควรตรวจคัดกรองให้เร็วที่สุด ถ้าผลปกติให้ตรวจซ้ำในช่วงอายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์โดยเริ่มจากการประเมินความเสี่ยงตามแนวปฏิบัติ ดังนี้

  • โรคอ้วน
  • เคยเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์
  • มีน้ำตาลในปัสสาวะ
  • มีญาติสายตรงเป็นเบาหวาน

การตรวจคัดกรองและวินิจฉัยในผู้หญิงตั้งครรภ์ยึดตามแนวปฏิบัติขององค์การอนามัยโลก(WHO) ในปี 1999 และ American College of Obstetricians and Gynecologists (ACOG) ในปี 2001 ทำการตรวจแบบ 2 ขั้นตอน (2 Step Screening)

เจาะเลือดตั้งครรภ์-EWC

วิธีการตรวจแบบ 2 ขั้นตอน (Two Step Screening) ได้แก่

ขั้นตอนที่ 1

Glucose Challenge Test คือ การตรวจคัดกรองด้วยการกินน้ำตาลกลูโคส 50 กรัม  ขณะอายุครรภ์ที่ 24-28 สัปดาห์ โดยไม่คำนึงถึงมื้ออาหารที่ผ่านมา ถ้าระดับน้ำตาลในเลือด เท่ากับ 140 mg/dlหรือมากกว่า ถือว่าผิดปกติ ถ้าผิดปกติ ให้ตรวจขั้นที่ 2 ต่อไป

ขั้นตอนที่ 2

Oral Glucose Tolerance Test (OGTT) คือ การตรวจวินิจฉัยด้วยน้ำตาลกลูโคส 100 กรัม โดยทำการเจาะเลือดขณะอดอาหารและหลังให้รับประทานน้ำตาลกลูโคส 100 กรัม ที่ 1, 2 และ 3 ชั่วโมงตามลำดับ เกณฑ์ที่ใช้วินิจฉัย คือ

  • ขณะอดอาหารก่อนกลืนน้ำตาล 100 grams น้ำตาลควรจะน้อยกว่า 95 mg/dL
  • หลังกลืนน้ำตาล 100 grams ที่ 1 ชั่วโมง น้ำตาลควรจะน้อยกว่า 180 mg/dL
  • หลังกลืนน้ำตาล 100 grams ที่ 2 ชั่วโมง น้ำตาลควรจะน้อยกว่า 155 mg/dL
  • หลังกลืนน้ำตาล 100 grams ที่ 3 ชั่วโมง น้ำตาลควรจะน้อยกว่า 140 mg/dL

หากตรวจพบความผิดปกติ ≥ 2 ค่า ของ 100 กรัม-OGTT ผู้ป่วยจะได้รับการวินิจฉัยโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เช่น ถ้าก่อนอดอาหาร และ หลังกลืนน้ำตาล ชั่วโมงที่ 1 มีน้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ แต่ชั่วโมงที่ 2 มีน้ำตาลในเลือด  160 mg/dL และชั่วโมงที่ 3 มีน้ำตาลในเลือด 150 mg/dL แสดงว่า พบความผิดปกติ มากกว่าเท่ากับ 2 ครั้ง จึงถูกวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์นั่นเอง

ผลกระทบต่อมารดาและทารกในครรภ์

คุณแม่ที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงจะทำให้มีความเสี่ยง ดังนี้

  • มีโอกาสที่ครรภ์จะเป็นพิษ ร้อยละ 27
  • มีโอกาสการแท้ง ร้อยละ 24 เนื่องจากทารกมักจะมีร่างกายใหญ่กว่าปกติ เป็นอุปสรรคต่อการคลอดจนอาจได้รับอันตรายขณะคลอด
  • ทารกตัวโตกว่าปกติ ร้อยละ 13  เนื่องจากระดับน้ำตาลที่สูงจะส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของทารกในครรภ์
  • คลอดก่อนกำหนด ร้อยละ 6
  • ทารกเสียชีวิตขณะคลอดและหลังคลอด ร้อยละ 6  เนื่องจากระบบการหายใจของทารกอาจมีปัญหาไม่สามารถหายใจได้เองเมื่อแรกคลอด

การควบคุมระดับน้ำตาลในหญิงตั้งครรภ์

คุณแม่ควรที่จะติดตามและบันทึกผลระดับน้ำตาลก่อนอาหารและหลังอาหารตามช่วงเวลาที่กำหนด โดยมีเกณฑ์ ดังนี้

  • ระดับน้ำตาลก่อนอาหารควรจะ น้อยกว่า 95 mg/dL
  • ระดับน้ำตาลหลังอาหาร 2 ชั่วโมง ควรจะ น้อยกว่า 120 mg/dL เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดในภายหลัง

คุณแม่ที่มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ เลือกกินอาหารอย่างไรดี?

เบาหวานขณะตั้งครรภ์-EWC
  • สิ่งที่ควรกิน
    • ในหนึ่งวันควรรับประทานอาหารให้ตรงเวลา 3 มื้อ อาจจะเสริมมื้อว่างให้ห่างจากมื้อหลัก 2-4 ชั่วโมง
    • ควรเลือกกินคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ข้าวกล้อง ควินัว ข้าวโอ๊ต ขนมปังโฮวีท ฯลฯ
    • เพิ่มการรับประทานอาหารที่มีเส้นใยสูง เช่น ผัก-ผลไม้ เพื่อช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลเข้าสู่กระแสเลือด
    • เลือกกินอาหารที่มีโปรตีนสูง ไขมันต่ำ เช่น เนื้อไก่ ปลา แซลมอน ไข่ เต้าหู้ นมและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม
    • เลือกไขมันดี จากอะโวคาโด ถั่ว มะกอก
  • สิ่งที่ควรหลีกเลี่ยง
    • ลดอาหารประเภทแป้ง หลีกเลี่ยงของหวาน น้ำอัดลม และแอลกอฮอล์
    • หลีกเลี่ยงของทอด โดยเฉพาะอาหารที่ชุบแป้งทอด ฟาสต์ฟู๊ด เช่น พิซซ่า โดนัท แฮมเบอร์เกอร์ ฯลฯ
    • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีโซเดียมสูง เช่น เนื้อสัตว์แปรรูป (ไส้กรอก, เบคอน, แฮม, กุนเชียง, หมูยอ) ผลไม้ดอง-แช่อิ่ม อาหารสำเร็จรูป อาหารกระป๋อง ฯลฯ

สรุป

คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ย่อมมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ซึ่งจะส่งผลเสียต่อร่างกายทั้งตัวคุณแม่และทารกในครรภ์ อย่างไรก็ตามเบาหวานสามารถควบคุมได้ หากคุณแม่มีการเลือกรับประทานอาหารให้สมดุล ก็จะทำให้น้ำตาลในเลือดสมดุลควบคู่กันไปด้วย

ส่วนคุณแม่ที่มีโรคประจำตัว หรือที่ต้องดูแลสุขภาพสามารถปรึกษานักกำหนดอาหารกับเราได้ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มน้ำหนัก หรือลดน้ำหนักหลังคลอด การดูแลอาหารสำหรับเด็ก สามารถปรึกษานักกำหนดอาหารวิชาชีพที่คอยดูแลเฉพาะบุคคลได้

สอบถามเพิ่มเติม Add Line ปรึกษานักกำหนดอาหาร

ดูแลสุขภาพของคุณให้ถูกวิธี

โปรแกรมปรึกษานักกำหนดอาหารคืออะไร ?

พร้อมรับคำปรึกษาจาก

นักกำหนดอาหารวิชาชีพ

ไม่พลาดบทความด้านโภชนาการ

ของ อีทเวลล์คอนเซปต์ ก่อนใคร

แหล่งอ้างอิง

  • Jillian Kubala, M. R. (2020, มิถุนายน 25). What Can I Eat If I Have Gestational Diabetes? Food List and More. Retrieved from https://www.healthline.com/health/pregnancy/gestational-diabetes-food-list#foods-to-avoid
  • Medlineplus. (n.d.). Gestational diabetes diet. Retrieved from National Library of Medicine: https://medlineplus.gov/ency/article/007430.htm
  • เจตน์สว่างศรี, ผ. น. (2018, มกราคม 1). เบาหวานขณะตั้งครรภ์ สาเหตุความพิการของเด็กในครรภ์. Retrieved from https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/article/เบาหวานขณะตั้งครรภ์-สาเ/
  • โรงพยาบาลบางประกอก. (2021, กันยายน 10). เรื่องไม่เบาของคุณแม่กับ…เบาหวานขณะตั้งครรภ์. Retrieved from https://www.bpksamutprakan.com/care_blog/view/104
  • ลือวรรณ, อ. (2015, กุมภาพันธ์ 23). โรคเบาหวานในสตรีตั้งครรภ์. Retrieved from https://w1.med.cmu.ac.th/obgyn/lecturestopics/medical-student-5/3695/
  • วิพุธศิริ, พ. (n.d.). เบาหวานกับการตั้งครรภ์. Retrieved from โรงพยาบาลกรุงเทพ: https://www.bangkokhospital.com/content/diabetes-and-pregnancy
ส่งข้อความถึงเรา