fbpx

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE)

(Systemic Lupus Erythematosus – SLE)

โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือกลุ่มผู้ป่วยโรคลูปัส หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อของโรคเอสแอลอี (Systemic Lupus Erythematosus – SLE) หรือโรคหลายคนรู้จักในนามโรคพุ่มพวง เป็นโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันทำลายเนื้อเยื่อของตัวเองและก่อให้เกิดการอับเสบตามอวัยวะอื่น ๆ ทั่วร่างกาย เช่น ไต ปอด หลอดเลือด สมอง ผิวหนัง กระดูกและข้อ เป็นต้น 1

ปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยศึกษาในระยะยาวเกี่ยวกับอาหารที่ช่วยลดอาการในผู้ป่วยกลุ่มนี้ แต่มีงานวิจัยพบว่าการรับประทานอาหารที่เหมาะสม และการปรับพฤติกรรมจะมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคร่วมต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน และโรคไขมันในเลือดสูง ทั้งยังจะช่วยทำให้ผู้ป่วยโรคลูปัสมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ 2,3

คำแนะนำในการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมและการปรับพฤติกรรม

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคแพ้ภูมิตัวเอง-EWC

1. พยายามควบคุมระดับน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ (โปรแกรมคำนวณพลังงานที่ควรได้รับในแต่ละวัน) เพราะในการรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองในบางครั้ง ต้องใช้ยาสเตียรอยด์ในการรักษา ที่อาจเพิ่มความอยากอาหารทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น จนส่งผลทำให้ร่างกายมีการสะสมไขมันเพิ่มขึ้น ทำให้ร่างกายมีความอักเสบเพิ่มขึ้นจนทำให้มีอาการข้างเคียง และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคร่วมเช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน และโรคไขมันในเลือดสูงได้ 2,3,4

2. ควรรับประทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 อย่างน้อยวันละ 2 กรัม โดยสามารถรับประทานได้จาก น้ำมันปลา, น้ำมันมะกอก, น้ำมันคาโนล่า, น้ำมันถั่วเหลือง, ปลาแซลมอน, ปลาซาดีน, ปลาทูน่าและเมล็ดแฟล็ก เป็นต้น ช่วยในการลดการอักเสบ และลดค่าไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจในอนาคต 2,5,6

3. ควรรับประทานเนื้อสัตว์ในปริมาณที่เหมาะสม เน้นที่เนื้อสัตว์ไม่ติดมันติดหนัง เนื่องจากในเนื้อสัตว์มีวิตามิน B12 ช่วยรักษาระดับ Homocysteine ในเลือดให้อยู่ในปริมาณปกติ ช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดในอนาคตได้ โดยผู้ป่วยที่มีภาวะ Lupus nephritis (โรคไตอักเสบลูปัส) ควรปรึกษาแพทย์หรือนักกำหนดอาหาร ณ โรงพยาบาลที่ท่านรักษาอยู่เพื่อประเมินความต้องการของโปรตีนที่เหมาะสม2,7

4. กินใยอาหารรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ คือ ผลไม้ 2-3 กำปั้นเล็กต่อวันร่วมกับผักสด 6 ทัพพี หรือผักสุก 3 ทัพพีต่อวัน เพื่อลดความเสี่ยงในการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด และช่วยควบคุมประมาณน้ำตาลหลังอาหารได้8

5. กินแคลเซียมให้เพียงพอ โดย เลือกรับประทานอาหารที่แคลเซียมสูง  เช่น นมวัวพร่องมันเนยรสจืด โยเกิร์ตไขมัน 0% รสธรรมชาติ นมถั่วเหลืองรสจืดเสริมแคลเซียม เต้าหู้ หรือปลาตัวเล็กตัวน้อย เป็นต้น หรือปรึกษาแพทย์เพื่อเสริมแคลเซียม เนื่องจากผู้ป่วยโรคแพ้ภูมิตัวเองบางคนต้องรับประทานยาสเตียรอยด์ในระยะเวลานาน ก็อาจจะเพิ่มความเสี่ยงในเป็นโรคกระดูกบางได้7

6. มองหาอาหารที่มีวิตามินซีสูง เนื่องจาก วิตามินซี ลดการอักเสบได้ โดยสามารถรับประทานได้จากผลไม้ เช่น ส้ม สตอว์เบอรี่ ฝรั่ง เป็นต้น หากต้องการเสริมจากผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร ไม่ควรเสริมเกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อวันหรือเสริมอาหารร่วมกับวิตามินอี (วิตามินซี 500 มิลลิกรัม ร่วมกับวิตามินอี 800 หน่วยสากล)2

7. เสริมภูมิคุ้มกันด้วยวิตามินดี โดยการ ออกไปโดนแดดอ่อนๆช่วงเช้า หรือบ่าย (เลี่ยงการโดนแดดในกลุ่มผู้ป่วยที่มีผิวหนังไวต่อแสง โดยเฉพาะช่วงเวลา 10:00 – 16:00) เพื่อให้ร่างกายสังเคราะห์วิตามินดี ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมเพิ่มความหนาแน่นให้กับมวลกระดูก2,6,7

กลุ่มอาหารที่ควรหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยโรคแพ้ภูมิตัวเอง

อาหารที่มีส่วนผสมของอัลฟาฟ่า (Alfalfa) เช่น สลัดที่ใส่ต้นอัลฟาฟ่าหรืออาหารที่โรยผงอัลฟาฟ่า เนื่องจากพบว่าอัลฟาฟ่า ทำให้เกิดอาหารคล้ายการอักเสบจากโรคแพ้ภูมิตัวเอง เช่น คัน มีผื่นแดงตามตัวเป็นต้น

SLE-Alfalfa-EWC

อาหารกึ่งสุก กึ่งดิบ ไม่สะอาด อาจทำให้เกิดการท้องเสียได้ง่าย

SLE -rare-EWC

เนื้อสัตว์ ผักและผลไม้แปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม เบคอน ผักดอง ผลไม้แช่อิ่ม เนื่องจากมีปริมาณโซเดียมสูง อาจเกิดผลเสียกับผู้ป่วยโรคไตอักเสบลูปัส และอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคร่วมอื่น ๆ ได้

SLE-เนื้อสัตว์แปรรูป-EWC

ภาพรวมอาหารที่แนะนำในกลุ่มผู้ป่วยโรคแพ้ภูมิตัวเอง จะเน้นไปที่อาหารควบคุมน้ำหนัก ลดหวาน ลดมัน ลดเค็ม โดยผู้ป่วยและญาติสามารถช่วยกันดูแลโภชนาการให้ถูกต้องเหมาะสม เพิ่มการรับประทานผักและผลไม้ ทั้งนี้เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคร่วมที่อาจเกิดขึ้น ลดโอกาสที่ต้องพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล และเพิ่มคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่ผู้ป่วยได้นั่นเอง

สอบถามเพิ่มเติม Add Line ปรึกษานักกำหนดอาหาร

ดูแลสุขภาพของคุณให้ถูกวิธี

โปรแกรมปรึกษานักกำหนดอาหารคืออะไร ?

พร้อมรับคำปรึกษาจาก

นักกำหนดอาหารวิชาชีพ

ไม่พลาดบทความด้านโภชนาการ

ของ อีทเวลล์คอนเซปต์ ก่อนใคร

แหล่งอ้างอิง

  1. Systemic Lupus Erythematosus (SLE). July 5, 2022. Center for Disease Controls and Prevention. https://www.cdc.gov/lupus/facts/detailed.html
  2. Constantin, M. M., Nita, I. E., Olteanu, R., Constantin, T., Bucur, S., Matei, C., & Raducan, A. (2019). Significance and impact of dietary factors on systemic lupus erythematosus pathogenesis. Experimental and therapeutic medicine17(2), 1085–1090. https://doi.org/10.3892/etm.2018.6986
  3. Brown AC. Lupus erythematosus and nutrition: a review of the literature. J Ren Nutr. 2000 Oct;10(4):170-83. doi: 10.1053/jren.2000.16323. PMID: 11070144.
  4. Goessler, K. F., Gualano, B., Nonino, C. B., Bonfá, E., & Nicoletti, C. F. (2022). Lifestyle Interventions and Weight Management in Systemic Lupus Erythematosus Patients: A Systematic Literature Review and Metanalysis. Journal of lifestyle medicine12(1), 37–46. https://doi.org/10.15280/jlm.2022.12.1.37
  5. Duarte-García, A., Myasoedova, E., Karmacharya, P., Hocaoğlu, M., Murad, M. H., Warrington, K. J., & Crowson, C. S. (2020). Effect of omega-3 fatty acids on systemic lupus erythematosus disease activity: A systematic review and meta-analysis. Autoimmunity reviews19(12), 102688. https://doi.org/10.1016/j.autrev.2020.102688
  6. Jiao, H., Acar, G., Robinson, G. A., Ciurtin, C., Jury, E. C., & Kalea, A. Z. (2022). Diet and Systemic Lupus Erythematosus (SLE): From Supplementation to Intervention. International journal of environmental research and public health19(19), 11895. https://doi.org/10.3390/ijerph191911895
  7. Islam, M. A., Khandker, S. S., Kotyla, P. J., & Hassan, R. (2020). Immunomodulatory Effects of Diet and Nutrients in Systemic Lupus Erythematosus (SLE): A Systematic Review. Frontiers in immunology11, 1477. https://doi.org/10.3389/fimmu.2020.01477
  8. Klack, K., Bonfa, E., & Borba Neto, E. F. (2012). Diet and nutritional aspects in systemic lupus erythematosus. Revista brasileira de reumatologia52(3), 384–408.
ส่งข้อความถึงเรา