เครื่องมือทางการแพทย์ คือ เครื่องมือ เครื่องใช้อุปกรณ์ เครื่องจักร วัตถุที่ใช้ใส่เข้าไปในร่างกายมนุษย์ น้ำยาที่ใช้ตรวจในห้องปฏิบัติการ และตัวสอบเทียบ (Calibrator) ซอฟต์แวร์วัสดุหรือสิ่งที่คล้ายกันหรือเกี่ยวข้องกัน
ทั้งนี้เครื่องมือการแพทย์มีวัตถุประสงค์ดังนี้
- วินิจฉัย ป้องกัน ติดตาม บำบัด บรรเทา หรือรักษาโรคของมนุษย์
- วินิจฉัย ติดตาม บำบัด บรรเทา หรือรักษาการบาดเจ็บของมนุษย์
- ตรวจสอบ ทดแทน แก้ไข ดัดแปลง พยุง ค้ำจุนด้านกายวิภาค หรือกระบวนการทางสรีระของร่างกายมนุษย์
- ประคับประคอง หรือช่วยชีวิตมนุษย์
- คุมกำเนิดมนุษย์
- ทำลายหรือฆ่าเชื้อสำหรับเครื่องมือแพทย์
- ให้ข้อมูลจากการตรวจสิ่งส่งตรวจจากร่างกายมนุษย์เพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์หรือวินิจฉัย
ในปัจจุบันเครื่องมือการแพทย์อื่น ที่มีมาตรฐานมีวางขายตามเว็บไซต์ บนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) และร้านขายยา รวมถึงร้านค้าทั่วไป ซึ่งเป็นอีกช่องทางที่ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงเครื่องมือการแพทย์ได้ง่ายขึ้น ซึ่งมักจะเป็นเครื่องมือที่มีวิธีการใช้งานง่ายและไม่ซับซ้อน โดยเราควรเลือกซื้อเครื่องมือที่มีมาตรฐานที่ได้รับการรับรองจากกองควบคุมเครื่องมือแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)
เครื่องมือทางการแพทย์ ที่ควรพกติดบ้าน
มาดูกันว่าเครื่องมืออันไหนที่ควรมีติดบ้านไว้ โดยที่ใช้ได้ทั่วไปและเฉพาะบ้านที่มีผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว ซึ่งเครื่องมือแต่ละประเภทสามารถประเมินได้เบื้องต้นมีความแม่นยำในระดับหนึ่ง แต่ไม่สามารถเทียบเท่ากับโรงพยาบาลได้ ดังนั้นโปรดอ่านรายระเอียดคู่มือการใช้งานของเครื่องมือแต่ละประเภทว่ามีวิธีการใช้งานอย่างไร ผลแปลที่วัดออกมาระดับไหนและควรที่จะรีบไปพบแพทย์เมื่อไร
ปรอทวัดไข้
Omron Digital Thermometer Model MC-246
ประเภท: เครื่องวัดอุณหภูมิ ปรอทวัดไข้ แบบดิจิตอล
คุณสมบัติ : วัดอุณหภูมิ 32-42 °C
สำหรับวัดไข้ทางปาก, ทวารหนัก, รักแร้
ราคาโดยประมาณ : 295 บาท
เครื่องวัดค่าอุณหภูมิร่างกาย
เครื่องวัดอุณหภูมิ แบบอินฟราเรด
ประเภท: เครื่องวัดอุณหภูมิ แบบอินฟราเรด
คุณสมบัติ : วัดอุณหภูมิ 32-42 °C
สำหรับวัดอุณหภูมิร่างกายแถวที่ใบหน้า
ราคาโดยประมาณ : 129 บาท
เครื่องวัดปริมาณออกซิเจนปลายนิ้ว
Beurer เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด รุ่น PO30
ประเภท: เครื่องวัดปริมาณออกซิเจนในเลือด (SpO2)
คุณสมบัติ : วัดความเข้มข้นออกซิเจนในหลอดเลือด (SpO2) และอัตราการเต้นของหัวใจ (Heart rate) สำหรับวัดปลายนิ้วมือ
สำหรับ : ผู้ที่มีความเสี่ยงจะมีปริมาณออกซิเจนต่ำ เช่น โรคหัวใจ โรคหืด โรคปอด นักปีนเขา นักสกี นักบินสมัครเล่น
ราคาโดยประมาณ : 2,490 บาท
เครื่องวัดออกซิเจนในเลือด (Fingertip Pulse Oximeter) CONTEC รุ่น CMS50D2
ประเภท: เครื่องวัดปริมาณออกซิเจนในเลือด (SpO2)
คุณสมบัติ :เครื่องวัดปริมาณออกซิเจนในเลือด (SpO2) และอัตราการเต้นหัวใจ (Pulse Rate) วัดได้ตั้งแต่ 30-250 รอบต่อนาที ค่าความแม่นยํา ± 2 รอบต่อนาที
ราคาโดยประมาณ : 300 บาท
เครื่องวัดความดันโลหิต
Sinocare Thailand เครื่องวัดความดันต้นแขน ดิจิตอล
ประเภท: เครื่องวัดความดัน แบบอัตโนมัติ
คุณสมบัติ : วิธีการวัดออสซิลโลเมตริก ความดัน: 0-299 mmHg ; ชีพจร: 40-180 ครั้ง/นาที
ราคาโดยประมาณ : 459 บาท
OMRON เครื่องวัดความดันโลหิตอัตโนมัติ รุ่น HEM-7156T
ประเภท: เครื่องวัดความดัน แบบอัตโนมัติ มี Blutoothบันทึกลงแอพ
คุณสมบัติ : เทคโนโลยี IntelliSenseและ IntelliWrapวัดได้รอบทิศทาง ที่มีความแม่นยำถึง 360 ° บีบรัดแขนน้อยลง นอกจากวัดความดัน แล้สามารถวัดอัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติเป็นจังหวะการเต้นของหัวใจที่แตกต่างกันมากกว่า 25% หากตรวจพบ ผิดปกติมากกว่า 2 ครั้งในการวัด สัญลักษณ์การเต้นของหัวใจผิดปกติจะปรากฎขึ้นพร้อมผลการวัด
ราคาโดยประมาณ : 2,900 บาท
เครื่องวัดค่าน้ำตาลในเลือด
Sinocare Thailand ชุดSafe Accu เครื่องตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด(เบาหวาน)เซต
ประเภท: ชุดเครื่องตรวจวัดน้ำตาลในเลือด
คุณสมบัติ : เครื่องตรวจวัดน้ำตาล ช่วงการวัด: 20-600mg / dL ใช้แถบตรวจ No Code ใช้เวลาตรวจเพียง 10 วินาที และตัวอย่างเลือด 0.6 ไมโครลิตร
เหมาะสำหรับ : ผู้ใหญ่อายุ 40 ปีขึ้นไป/ โรคอ้วน/ไลโปโปรตีนมีความหนาแน่นสูง /ความดันโลหิตสูง/เบาหวาน/ตั้งครรภ์
ราคาโดยประมาณ : 329 บาท
ชุดเครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด Sinocare รุ่น Safe AQ air + แถบทดสอบระดับน้ำตาลในเลือดรุ่น Safe AQ + เข็มเจาะเลือด
ประเภท: ชุดเครื่องตรวจวัดน้ำตาลในเลือด
คุณสมบัติ : ใช้เพื่อตรวจวัดระดับค่าน้ำตาลกลูโคสในเลือด ตัวอย่างเลือด 0.6 ไมโครลิตร ระบบ Bluetooth เชื่อมต่อข้อมูลกับ Application เพื่อบันทึกค่าได้
เหมาะสำหรับ : ผู้ใหญ่อายุ 40 ปีขึ้นไป/ โรคอ้วน/ไลโปโปรตีนมีความหนาแน่นสูง /ความดันโลหิตสูง/เบาหวาน/ตั้งครรภ์
ราคาโดยประมาณ : 450 บาท
Smart Watch
ในปัจจุบัน นาฬิกาได้ถูกพัฒนาเพื่อตอบสนองการดูแลสุขภาพที่มีฟังชั่นหลากหลายไม่ว่าจะวัดอัตราการเต้นของหัวใจ วัดออกซิเจน นับก้าวเดิน ดูเรื่องการออกกำลังกายประเภทต่างๆ จับการนอนหลับ อุณหภูมิร่างกาย ซึ่งข้อมูลที่ตรวจจับร่างกายสามารถวิเคราะห์และรายงานผลผ่านแอพของแต่ละแบรนด์ในมือถือได้ เรียกได้ว่าครบในที่เดียว ส่วนเรื่องความแม่นยำต้องดูข้อมูลโดยตรงแต่ละรุ่นและแบรนด์จะมีความแตกต่างกันออกไป ส่วนการเลือกซื้อขึ้นอยู่ที่เราจะเลือกการใช้งานฟังชั่นแบบไหนและแบรนด์ที่ชอบได้เลย
Amazfit Bip 3 Pro
ประเภท: นาฬิกาสมาร์ทวอทช์
คุณสมบัติ : GPS SpO2วัดออกซิเจนในเลือด ระดับการกันน้ำที่ระดับ 5 ATM โหมดกีฬา 60โหมด
ราคาโดยประมาณ : 1,650 บาท
Xiaomi Mi Band 8 Smart
ประเภท: นาฬิกาสมาร์ทวอทช์
คุณสมบัติ : GPS SpO2 วัดออกซิเจนในเลือด ระดับการกันน้ำที่ระดับ 5 ATM ติดตามความเครียด โหมดออกกำลังกาย 150โหมด
ราคาโดยประมาณ : 1,129 บาท
Amazfit GTR 4 Smart Watch
ประเภท: นาฬิกาสมาร์ทวอทช์
คุณสมบัติ : ประมวลผลสุขภาพ 4 อย่างในครั้งเดียว วัดอัตราการเต้นของหัวใจ,วัดค่าความเครียด,วัดค่าออกซิเจนในเลือด ,วัดค่าอัตราการหายใจ ตรวจคุณภาพหายใจขณะหลับ 150+โหมดออกกำลังกาย กันน้ำสูงสุดระดับ 5 ATM
ราคาโดยประมาณ : 6,690 บาท
โดยทั้งหมดนี้สามาถใช้อ้างอิงข้อมูลเบื้องต้นของเราได้ แต่ไม่ควรใช้ข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัดนี้ในการวินิจฉัยรักษาโรคหรือสั่งยาด้วยตัวเอง ควรเอาข้อมูลไปปรึกษาแพทย์หรือตรวจเชิงลึกกับโรงพยาบาลอีกที
เครื่องมือการแพทย์ที่ใช้ในโรงพยาบาลเท่านั้น
ตามโรงพยาบาลก็ยังมีเครื่องมือการแพทย์ที่เหมาะสมกับลักษณะและอาการของโรคนั้นๆ สำหรับแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์เพื่อใช้ในการตรวจวินิจฉัยและรักษา เช่น
- โรคทางระบบหัวใจ
- การใช้เครื่องวัดความดัน (Sphygmomanometer) สำหรับวินิจฉัยโรคความดันโลหิตสูง
- เครื่อง ECG หรือ EKG (Electrocardiogram) สำหรับวินิจฉัยโรคที่เกี่ยวกับการเต้นของหัวใจ
- โรคที่เกี่ยวกับปอด
- สถามัต (Stethoscope) สำหรับฟังเสียงการหายใจ
- เครื่องวัดประสิทธิภาพการทำงานของปอด (Pulmonary function test)
- โรคที่เกี่ยวกับกระดูกและข้อ
- เครื่องเอกซ์เรย์ (X-ray) สำหรับวินิจฉัยการแตกหัก หรือความผิดปกติของกระดูก
- MRI (Magnetic Resonance Imaging) สำหรับการดูภาพของเนื้อเยื่อรอบ ๆ ข้อกระดูก
- โรคเบาหวาน
- เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด (Glucose Meters)
- ปากกาฉีดอินซูลิน (Insulin Pens)
- โรคเรื้อรังและโรคติดต่อ
- เครื่องวิเคราะห์เลือด เพื่อตรวจสอบค่าต่างๆ ในเลือด
- เครื่องสแกน CT (Computed Tomography) สำหรับการวินิจฉัยโรคในอวัยวะภายใน
- การตรวจสุขภาพของผู้หญิง
- เครื่องอัลตราซาวน์ (Ultrasound) สำหรับตรวจสอบสุขภาพอวัยวะเพศและการตั้งครรภ์
- มามโมแกรม (Mammogram) สำหรับการตรวจหาโรคมะเร็งเต้านม
อย่างไรก็ตามเครื่องมือทางการแพทย์อื่นๆก็ยังคงถูกคิดค้นและพัฒนาต่อไปอีกเรื่อยๆ ให้สามารถตอบสนองความต้องการของโลกการแพทย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วได้ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีการนำเทคโนโลยีชั้นนำใหม่ๆเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาเครื่องมือทางการแพทย์ ซึ่งทำให้การวินิจฉัยโรค การติดตามภาวะสุขภาพ และการบำบัดรักษาสามารถทำได้ด้วยความเที่ยงตรง ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพ เพื่อที่จะได้สามารถใช้รักษาผู้ป่วยได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ
ส่วนใครที่อยากปรึกษาเรื่องอาหาร ลดน้ำหนัก ลดค่าไขมัน ออกกำลังกาย สร้างกล้ามเนื้อ อาหารเฉพาะโรคอย่างถูกต้องและปลอดภัย โดยที่ไปพบคุณหมอมาแล้วมีผลตรวจแล้วสามารถปรึกษากับนักกำหนดอาหารวิชาชีพกับเราได้
สอบถามเพิ่มเติม Add Line ปรึกษานักกำหนดอาหาร
ดูแลสุขภาพของคุณให้ถูกวิธี
โปรแกรมปรึกษานักกำหนดอาหารคืออะไร ?
พร้อมรับคำปรึกษาจาก
นักกำหนดอาหารวิชาชีพ
ไม่พลาดบทความด้านโภชนาการ
ของ อีทเวลล์คอนเซปต์ ก่อนใคร
แหล่งที่มา
- RAKMOR MEDICAL (ADMIN TONE). (29 มีนาคม 2566). รักหมอ.com. เข้าถึงได้จาก https://rakmor.com/height-measuring-machine/
- กองควบคุมเครื่องมือแพทย์ สำนักกรรมการอาหารและยา. (สิงหาคม 2558). หลักเกณฑ์การจัดประเภทเครื่องมือแพทย์ตามความเสี่ยง. เข้าถึงได้จาก https://mdresearch.kku.ac.th/files/news/filesnews/kI4KqI8c9Ac7BtD.pdf
- บริษัท เพอเฟค ควอลิตี้ (ประเทศไทย) จำกัด. (ม.ป.ป.). อุปกรณ์การแพทย์. เข้าถึงได้จาก https://www.xn--42cg0cclb4axfgg2fvbgc4jqbd4ne3a2m3d.com/14744215/อุปกรณ์การแพทย์
- รองศาสตราจารย์ประเสริฐ ศรีไพโรจน์. (2538). เทคนิคการใช้เครื่องชั่ง. เข้าถึงได้จาก CHEMISTRY: https://web.ku.ac.th/schoolnet/snet5/balance.html