fbpx

4 เหตุผลทำไมบริษัทจึงควรมีโปรแกรมดูแลสุขภาพพนักงาน?

โปรแกรมดูแลสุขภาพพนักงาน Happy Workplace ช่วยลดความเสี่ยงด้านสุขภาพ ลดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลงได้ 73 วันต่อปี

โรคไม่ติดต่อเรื้อรังทำให้คนวัยทำงานส่วนใหญ่มีโอกาสเสี่ยงที่จะสูญเสียค่าใช้จ่ายจากการรักษาสุขภาพในอนาคต และยังมีโอกาสทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของคนวัยทำงานลดลงได้สูงถึง 73 วันต่อปีเลยทีเดียวครับ การเจ็บป่วยที่เพิ่มขึ้นจากการไม่ดูแลรักษาสุขภาพของพนักงานสามารถส่งผลต่อองค์กรได้อย่างไม่คาดคิด ดังนั้นการจัดโปรแกรมดูแลสุขภาพพนักงาน เช่นการทำ Happy Workplace ควรคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันของพนักงานได้

โรคไม่ติดต่อเรื้อรังทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานของคนวัยทำงานลดลงได้สูงถึง 73 วันต่อปี

แก่นหลักของการจัดการโปรแกรมดูแลสุขภาพพนักงาน (Happy Workplace) ของอีทเวลล์คอนเซปต์คือการเปลี่ยนแปลงให้เกิดพฤติกรรมรักษาสุขภาพ ด้วยการให้ความรู้ที่ถูกต้อง การส่งเสริมให้เกิดทักษะการใช้ชีวิต และ การกระตุ้นให้มีกำลังใจด้วยการสร้างสังคมในที่ทำงานให้เกิดความตระหนักถึงการดูแลด้านสุขภาพ ปัจจัยเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบในระยะยาวต่อพฤติกรรมของพนักงาน จากการศึกษาติดตามพนักงานที่เข้าร่วมโปรแกรมการดูแลสุขภาพพนักงานในต่างประเทศในช่วงระยะเวลา 1 ถึง 2 ปีที่องค์กรเข้าร่วมโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพพนักงานนั้นทำให้คุณภาพชีวิตของพนักงานดียิ่งขึ้น อีกทั้งปัจจัยที่สำคัญที่สุดคือการรักษาให้พฤติกรรมที่พนักงานเปลี่ยนแปลงไปคงอยู่ได้นานที่สุด ซึ่งการจะทำให้พฤติกรรมเหล่านี้เกิดการเปลี่ยนแปลงต้องอาศัยหลายองค์ประกอบเข้าร่วมด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการปรับสภาพแวดล้อมในการทำงาน การให้ความรู้และก่อให้เกิดความตระหนัก การสร้างแรงจูงใจต่าง ๆ ให้เกิดขึ้นภาพในองค์กร

ประชุมวิชาการ

2. โปรแกรมดูแลสุขภาพพนักงาน (Happy Workplace) ช่วยลดความเสี่ยงด้านสุขภาพ

โดยพื้นฐานแล้วโปรแกรมการดูแลสุขภาพพนักงานที่ดีควรอยู่บนพื้นฐานของหลักการวิชาการที่ประกอบด้วยการทำงานอย่างสหสาขาวิชาชีพ ซึ่งนำเอาหลักการต่าง ๆ มาผนวกรวมเพื่อช่วยให้พนักงานมีสุขภาพที่ดียิ่งขึ้น โดยตัวอย่างปัจจัยที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพของพนักงานเช่น น้ำตาลในเลือดสูงผิดปกติ คอเลสเตอรอลเพิ่มขึ้น หรือ ความดันโลหิตสูงขึ้น เป็นต้น ปัจจัยเหล่านี้แม้เป็นปัจจัยภายในร่างกาย แต่กลับส่งผลกระทบต่อสุขภาพของพนักงานโดยรวมอย่างไม่น่าเชื่อครับ จากงานวิจัยในวารสาร The New England Journal of Medicine พบว่าการลดคอเลสเตอรอลลงทุก ๆ 1% หรือ การลดความดันโลหิตลงได้ทุก ๆ 1 มิลลิเมตรปรอท จะสามารถช่วยลดการเกิดโรคหัวใจหรือภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้ถึง 2 – 3% เลยทีเดียว ประกอบกับ The American Heart Association ได้กล่าวว่าการส่งเสริมให้มีโปรแกรมการดูแลสุขภาพพนักงานช่วยทำให้สุขภาพโดยรวมดีขึ้น และ ช่วยลดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจได้อีกด้วย

อีทเวลล์คอนเซปต์ได้ออกแบบโปรแกรมดูแลสุขภาพพนักงานจากสหสาขาวิชาชีพด้านการดูแลสุขภาพอย่างองค์รวม (Holistic Wellbeing) ในโครงการต่าง ๆ ที่เราได้มีโอกาสดูแลผ่านการจัดกิจกรรมทั้งแบบระยะสั้น และ ระยะยาว (3 – 6 เดือน) สามารถช่วยให้พนักงานลดระดับน้ำตาลในเลือดของพนักงานเฉลี่ยลงได้ประมาณ 12 mg/dl ซึ่งสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเบาหวานให้แก่พนักงานได้เป็นอย่างมาก

3. โปรแกรมดูแลสุขภาพพนักงานช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในองค์กร

ความคุ้มค่าของการใช้จ่ายงบประมาณองค์กร เพื่อจัดโปรแกรมการดูแลสุขภาพพนักงานครบวงจร ในการศึกษางานวิจัยกว่า 100 ฉบับพบว่าความสามารถในการประหยัดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของพนักงานขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพและผลลัพธ์ของโปรแกรมการดูแลสุขภาพพนักงาน เพียงการอบรมด้านการรักษาสุขภาพ การจัดกิจกรรมกีฬาสีประจำปีเพื่อส่งเสริมสุขภาพ หรือ การตรวจสุขภาพประจำปีอาจไม่เพียงพอต่อการทำให้ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของพนักงานลดลง

การจัดโปรแกรมดูแลสุขภาพพนักงานอย่างแบบครบวงจรที่ดูแลสุขภาพแบบองค์รวมทั้งด้านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การจัดการสภาพจิตใจ ในระยะยาวจะช่วยให้องค์กรประหยัดค่าใช้จ่ายในการดูแลสุขภาพได้มากกว่า ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดด้านความคุ้มค่าในการลงทุนโปรแกรมดูแลสุขภาพพนักงานพบว่าสามารถช่วยบริษัทได้ผลตอบแทนจากการลงทุนด้านสุขภาพพนักงานกลับมา 327% เลยทีเดียวครับ

โปรแกรมดูแลสุขภาพพนักงานช่วยบริษัทได้ผลตอบแทนจากการลงทุนกลับมา 327%

4. โปรแกรมดูแลสุขภาพพนักงานเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน

ประสิทธิภาพการมทำงาน (Productivity) ในมุมมองของผู้บริหารหลายท่านจะสอดคล้องกับประสิทธิภาพด้านการสร้างรายได้ให้แก่บริษัท เนื่องจากยิ่งพนักงานสามารถทำงานได้ในปริมาณที่เพิ่มมากขึ้นจะทำให้รายได้และกำไรของบริษัทเพิ่มมากขึ้นตามไปด้วย การศึกษาจาก The journal Population Health management พบข้อมูลที่น่าสนใจว่าพฤติกรรมการทานอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ และ ไม่ออกกำลังกายสามารถทำให้เกิดการทำงานอย่างไม่เต็มประสิทธิภาพได้สูงถึง 66% และ 50% ทั้งนี้ในสภาพของการทำงานในปัจจุบันพนักงานแม้มาทำงานในที่ทำงานจริงก็อาจไม่ได้ทำงานได้เต็มที่อย่างที่ผู้บริหารคาดหวังไว้เนื่องมาจากปัจจัยรบกวนมากมายจากปัญหาด้านสุขภาพ ภาวะหมดไฟในที่ทำงาน ทำให้ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายของบริษัทมากกว่า 2 ใน 3 เท่าของค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพปกติ ปัจจัยอื่น ๆ ที่ทำให้เกิดการทำงานอย่างไม่เต็มประสิทธิภาพของพนักงาน เช่นการพูดคุยที่ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงาน การใช้สื่อโซเชียลต่าง ๆ เช่น Facebook, Instagram เป็นประจำ

ดังนั้นการเริ่มจัดโปรแกรมดูแลสุขภาพพนักงานแบบครบวงจรในบริษัทจะช่วยให้ท่านประสบความสำเร็จในการดูแลสุขภาพพนักงานในองค์กรได้เป็นอย่างดี สามารถทำให้พนักงานดึงศักยภาพการทำงานออกมาได้อย่างเต็มที่ที่สุด เพื่อให้สมกับที่บริษัทลงทุนไปกับทรัพยากรบุคคลและอุปกรณ์ต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมศักยภาพของการทำงานเช่นบริษัทเดียวกับบริษัทของคุณครับ

ส่งข้อความถึงเรา