fbpx

อาหารทางการแพทย์ โรคมะเร็ง ก่อนและหลัง คีโม ฉายแสง

โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคมะเร็งจะมีแนวโน้มในการกินอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เนื่องจากเมื่อเป็นมะเร็ง ร่างกายต้องการพลังงานและโปรตีนเพิ่มขึ้น แต่หลายคนกลับกินได้น้อยลง เพราะความอยากอาหารลดลง หรือเจ็บปากเจ็บคอจากการรักษา ทำให้น้ำหนักลดเร็วและเสี่ยงขาดสารอาหาร หรือแม้แต่การกินอาหารได้เท่าเดิมก็อาจทำให้น้ำหนักลดลง เนื่องจากร่างการมีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น ดังนั้นการเสริม อาหารทางการแพทย์ โรคมะเร็ง จึงเป็นการช่วยให้ผู้ป่วยได้รับพลังงานเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดสารอาหาร (Malnutrition) ซึ่งเป็นสาเหตุอย่างหนึ่งในการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็ง

คอนเซปต์หลักในการเลือกอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งคือการให้อาหารที่มีพลังงานสูงและโปรตีนสูง เนื่องจากผู้ป่วยมักมีปัญหาเรื่องน้ำหนักตัวที่ลดลงอย่างรวดเร็วและการสูญเสียกล้ามเนื้อเพิ่มมากขึ้น การเสริมอาหารที่ให้พลังงานและโปรตีนสูงช่วยให้ร่างกายมีพลังงานเพียงพอสำหรับการต่อสู้กับโรค รวมถึงเสริมสร้างและฟื้นฟูเนื้อเยื่อที่เสียหายจากตัวโรคและในกระบวนการของการักษา

เคล็ดลับเพิ่มพลังงานและสารอาหารให้ผู้ป่วยมะเร็ง

1.เพิ่มโปรตีนให้มากขึ้น

เพิ่มการกินเนื้อสัตว์ เช่น ไข่ ปลา กุ้ง หมู หรือเต้าหู้ เพิ่มมากขึ้น ในกรณีที่มีปัญหาเรื่องการบดเคี้ยว แนะนำหั่นเนื้อสัตว์เป็นชิ้นเล็กและตุ๋นจนเปื่อยนุ่ม หรือสามารถเสริมได้จาก whey protein isolated เพื่อให้ได้โปรตีนเพิ่มมากขึ้นได้เช่นเดียวกัน

2.เพิ่มอาหารให้มีพลังงานสูง

ใส่ไขมันดีในมื้ออาหาร  ไม่ว่าจะเป็น น้ำมันรำข้าว หรือน้ำมันมะกอก เพื่อให้ได้รับพลังงานเพิ่มมากขึ้น

3.เพิ่มมื้ออาหารระหว่างวัน

เพิ่มมื้อว่างเช้า, ว่างบ่าย หรือก่อนนอน เพื่อให้ได้รับพลังงานเพิ่มมากขึ้น

4.กระตุ้นความอยากอาหารด้วยสมุนไพร

ใช้ตะไคร้ กระเทียม หรือใบมะกรูดช่วยเพิ่มกลิ่นหอมให้อาหาร

5.ลองเมนูอาหารทีมีรสเปรี้ยว

เพื่อช่วยเพิ่มอยากอาหาร เช่น ต้มยำ, ผัดเปรี้ยวหวาน เป็นต้น

ทำไม อาหารทางการแพทย์ จึงสำคัญต่อผู้ป่วย โรคมะเร็ง

เมื่อพูดถึงการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง อาหารทางการแพทย์เปรียบเสมือน “พลังงานเสริม” ที่ช่วยให้ร่างกายพร้อมรับมือกับโรคและการรักษา ในช่วงที่ร่างกายต้องการพลังงานและสารอาหารมากกว่าปกติ

เหตุผลที่อาหารทางการแพทย์สำคัญ

1.เติมเต็มพลังงานอย่างตรงจุด

เนื่องจากเป็นสูตรที่ถูกออกแบบมาให้มีพลังงานและโปรตีนสูง จึงช่วยให้ร่างกายมีพลังงานสู้กับโรคและการรักษาต่อไป

2.ตอบโจทย์ร่างกายที่ต้องการมากกว่าปกติ

ในช่วงที่ร่างกายต้องเผาผลาญมากขึ้นจากโรคและการรักษา อาหารทั่วไปอาจไม่เพียงพอ อาหารทางการแพทย์จึงเป็นแหล่งสารอาหารที่ครบถ้วนที่ช่วยให้ร่างกายได้รับพลังงานอย่างเพียงพอ

3.กินง่าย ไม่ยุ่งยาก

ด้วยลักษณะของเหลวหรือแบบผงที่ชงดื่มได้ทันที ทำให้เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีปัญหาในการเคี้ยวกลืน และดื่มง่าย

4.เสริมภูมิคุ้มกันละช่วยฟื้นฟูร่างกาย

สารอาหารเฉพาะในอาหารทางการแพทย์ เช่น เวย์โปรตีน กลูตามีน อาร์จีนิน รวมถึงวิตามิน แร่ธาตุ และกรดไขมันโอเมก้า-3 ล้วนมีบทบาทสำคัญในการเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายให้แข็งแรง พร้อมทั้งช่วยลดการอักเสบและฟื้นฟูร่างกายจากผลกระทบของโรคและการรักษาได้ดียิ่งขึ้น

5.ช่วยลดภาวะ Cachexia (กล้ามเนื้อและน้ำหนักลด)

Cachexia เป็นภาวะที่พบบ่อยในผู้ป่วยมะเร็ง โดยเฉพาะในระยะลุกลามหรือมะเร็งบางชนิด งานวิจัยหลายชิ้นแสดงให้เห็นว่า EPA 2 กรัมต่อวัน ช่วยลดการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อและน้ำหนักตัวในผู้ป่วยมะเร็งได้

ถ้าไม่รู้ว่าจะต้องกินอาหารหรืออาหารการแพทย์ปริมาณเท่าไร ถึงจะสามารถให้ร่างกายพร้อมกับการรักษาฉายแสงหรือคีโมได้ หรือหลังการรักษายังต้องดูแลเพิ่มเติม ปรึกษานักกำหนดอาหารวิชาชีพกับเราได้ โดยที่ทางนักกำหนดอาหารจะดูประวัติการรักษาและผลตรวจเลือดเพื่อคำนวณการกินเพิ่มน้ำหนักในแต่ละรายบุคคลได้ เริ่มต้นปรึกษาที่ 30 นาทีตอบทุกคำถามและสรุปคำแนะนำ 550 บาท หรือยากได้แผนอาหาร 6 วันเรียนรู้การปรับการกินให้เหมาะกับตัวเองก็สามารถปรึกษาได้ 60 นาที ราคา 1,500 บาท

ปรึกษานักกำหนดอาหารแล้ว เรียนรู้สามารถดูแลตัวเองได้ตลอด

ปรึกษานักกำหนดอาหาร 30 นาที-EWC-2025

คำแนะนำปรึกษา-60-นาที-EWC

อาหารทางการแพทย์ ที่เหมาะสม สำหรับ โรคมะเร็ง

โปรชัวร์ (Prosure) ชนิดผง กลิ่นวานิลลา ขนาด 380 กรัม

Prosure-EWC

กลิ่น : วนิลา

ข้อมูลแพ้อาหาร: ถั่วเหลือง โปรตีนจากนมวัว มะพร้าว และปลา

ขนาด : 380 กรัม

ราคาประมาณ : 850 บาท

This image has an empty alt attribute; its file name is lazada-click-1024x312.png

  • 9 ช้อนตวง + น้ำ 190 มล.= 240มล. (1แก้ว)
  • ร้อยละของการกระจายพลังงาน : คาร์โบไฮเดรต : โปรตีน : ไขมัน = 61 : 21 : 18
  • สารอาหารและพลังงานต่อ 1 แก้ว 240 มล.
    • พลังงาน 304 Kcal
    • โปรตีน 15.96 กรัม
    • คาร์โบไฮเดรต 48.67 กรัม
    • ไขมัน 6.14 กรัม
  • อีพีเอ (EPA) 1.1 ก./แก้ว, ใยอาหารฟรุคโตโอลิโกแซคคาไรด์ (FOS)

นีโอมูน (Neo-Mune) ขนาด น้ำหนักสุทธิ 400 กรัม

นีโอมูน-EWC

กลิ่น : วนิลา / เมล่อน/ ข้าวญี่ปุ่น

ข้อมูลแพ้อาหาร: เคซีน ถั่วเหลือง และผลิตภัณฑ์จากปลา

ขนาด : 400 กรัม

ราคาประมาณ : 469 บาท

This image has an empty alt attribute; its file name is lazada-click-1024x312.png
  • 7 ช้อนตวง + น้ำ 250 มล. = 1 แก้ว (60 กรัม)
  • ร้อยละของการกระจายพลังงาน :คาร์โบไฮเดรต : โปรตีน : ไขมัน = 50: 25 :25
  • สารอาหารและพลังงานต่อ 1 แก้ว
    • พลังงาน 254 Kcal
    • โปรตีน 15.6 กรัม
    • คาร์โบไฮเดรต 31.6  กรัม
    • ไขมัน 7.2 กรัม
  • กลูตามีน,อาร์จีนิน,น้ำมันปลา

ออรัล อิมแพค (Oral Impact) 370 กรัม 5 ซอง

Oral Impact-EWC

รส: ทรอปิคอลฟรุต เปรี้ยว

ข้อมูลแพ้อาหาร : นม น้ำมันปลา เลซิตินจากถั่วเหลือง

ขนาด : 370 กรัม

ราคาประมาณ : 900 บาท

This image has an empty alt attribute; its file name is lazada-click-1024x312.png
  • 1 ซอง (74 กรัม) + น้ำ 250 มล. = 1 แก้ว
  • ร้อยละของการกระจายพลังงาน : คาร์โบไฮเดรต : โปรตีน : ไขมัน = 56 : 23 : 21
  • สารอาหารและพลังงานต่อ 1 ซอง
    • พลังงาน 310 Kcal
    • โปรตีน 17.5 กรัม
    • คาร์โบไฮเดรต 42 กรัม
    • ไขมัน 7.4 กรัม
  • อาร์จีนิน 3.77 กรัม, โอเมก้า3 1.00 กรัม, นิวคลีโอไทด์ 0.36กรัม

ซัพพอร์แทน ดริงค์ (Fresubin Supportan) 200ml.

supportan-EWC

กลิ่น : คาปูชิโน

ข้อมูลแพ้อาหาร : มีผลิตภัณฑ์จากนม, น้ำมันปลา, เดกซ์ทรินจากแป้งสาลี และเลซิติน จากถั่วเหลือง มีคาเฟอีน (0.6 มก./100 มล.)

ขนาด : 200 มล./ขวด

ราคาประมาณ : 749 บาท (แพ็ค 4 ขวด)

This image has an empty alt attribute; its file name is lazada-click-1024x312.png
  • ร้อยละของการกระจายพลังงาน : คาร์โบไฮเดรต : โปรตีน : ไขมัน =  31 : 27 : 40
  • สารอาหารและพลังงานต่อ 1 ขวด (200 มล.)
    • พลังงาน 300 Kcal
    • โปรตีน 20 กรัม
    • คาร์โบไฮเดรต 23.2 กรัม
    • ไขมัน 13.4 กรัม
  • EPA 1 กรัม, DHA 0.52 กรัม, ใยอาหาร 4,000 มิลลิกรัม

อาหารทางการแพทย์เป็นส่วนสำคัญในการดูแลผู้ป่วยมะเร็ง โดยช่วยเสริมพลังงานและสารอาหารที่จำเป็นในช่วงที่ร่างกายต้องการมากขึ้น แต่ผู้ป่วยกลับกินได้น้อยลงเนื่องจากผลกระทบจากโรคและการรักษา ด้วยสารอาหารเฉพาะในอาหารทางการแพทย์ไม่เพียงช่วยลดความเสี่ยงต่อการขาดสารอาหาร แต่ยังเสริมภูมิคุ้มกัน ลดการอักเสบ และช่วยฟื้นฟูร่างกายให้พร้อมรับการรักษาอย่างเต็มที่

อย่างไรก็ตาม การเลือกใช้อาหารทางการแพทย์ควรได้รับคำแนะนำจากนักกำหนดอาหารหรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการเฉพาะบุคคล และช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น พร้อมต่อสู้กับโรคอย่างมีประสิทธิภาพ

สอบถามเพิ่มเติม Add Line ปรึกษานักกำหนดอาหาร

ดูแลสุขภาพของคุณให้ถูกวิธี

โปรแกรมปรึกษานักกำหนดอาหารคืออะไร ?

พร้อมรับคำปรึกษาจาก

นักกำหนดอาหารวิชาชีพ

ไม่พลาดบทความด้านโภชนาการ

ของ อีทเวลล์คอนเซปต์ ก่อนใคร

ส่งข้อความถึงเรา