fbpx

การต่อใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์ (นักกำหนดอาหาร) แบบ E-license

ใครที่จะต่อใบอนุญาตประกอบโรคศิลป์ ห้ามพลาด!! ผู้ที่จะต้องต่อใบอนุญาตต้องเข้ารับฟัง สามารถลงทะเบียนในการอบรมด้วย เนื่องจากหากเกณฑ์การต่ออายุของสาขากำหนดอาหารประกาศใช้แล้ว จะนำกิจกรรมนี้เข้าขอรับรองเพื่อให้ผู้อบรมได้รับหน่วยคะแนน เพื่อใช้ในการสะสมคะแนนในการต่ออายุใบอนุญาต กองสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ ประชาสัมพันธ์การอบรมการต่อใบอนุญาตและการพัฒนามาตรฐานการประกอบโรคศิลปะ 7 สาขา ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2567 เวลา 09.00 – 12.00 น. ทางfacebook live กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ สบส. กระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้ผู้ประกอบโรคศิลปะ มีความรู้ความเข้าใจในการเก็บคะแนนการต่ออายุใบอนุญาต และ การเตรียมความพร้อมในการต่ออายุใบอนุญาตแบบ E-license ตั้งแต่ปี 67 เป็นต้นไป จึงขอประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบโรคศิลปะเข้าร่วมการอบรม 📌ลงทะเบียนได้ที่Qr ในภาพ หรือลิงก์นี้ได้เลย https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSca3Z6c_fLOk_5N67FrzE9VLZEBqpPbsiw7jKfkNyDQ3VBs0Q/viewform

กว่าจะเป็น นักกำหนดอาหาร

เราอาจจะเคยได้ยินอาชีพที่คุ้นหูอย่าง แพทย์ พยาบาล เภสัชกร นักเทคนิคการแพทย์ และนักกายภาพบำบัด  ซึ่ง บุคคลที่จะมาประกอบอาชีพข้างต้นได้จะต้องมีใบประกอบโรคศิลปะ ตามที่พระราชบัญญัติการประกอบโรคศิลปะ พ.ศ. 2542 แต่ในปัจจุบันความรู้และเทคโนโลยีทางการแพทย์ได้ก้าวหน้าขึ้น จึงมีอาชีพนักกำหนดอาหารขึ้นมาเพิ่มเติม เพื่อมาร่วมการให้การรักษาด้านอาหารหรือโภชนบำบัดโดยตรง จึงมีพระราชกฤษฎีกา กำหนดให้ “สาขาการกำหนดอาหาร” เป็น สาขาการประกอบโรคศิลปะ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2563 ซึ่งหมายความว่าผู้ใดที่จะประกอบอาชีพ นักกำหนดอาหาร จะต้องมีใบประกอบโรคศิลปะสาขาการกำหนดอาหารจึงจะกระทำอาชีพนี้ได้ถูกต้องตามกฎหมาย นักกำหนดอาหาร คือใคร? นักกำหนดอาหารคือ บุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องเกี่ยวกับโภชนาการและอาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยแต่ละโรค แต่ละช่วงวัย เป็นหนึ่งในทีมสหวิชาชีพ เพื่อดูแลเรื่องอาหารโดยเฉพาะ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมแผนการรักษาผู้ป่วย ตามพระราชกฤษฎีกา มีการระบุความหมายของการกำหนดอาหาร ไว้ว่า “การกระทำหรือมุ่งหมายจะกระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการวินิจฉัยปัญหาโภชนาการ โดยประเมินภาวะโภชนาการของผู้ป่วย วิเคราะห์ และวางแผนการให้โภชนบำบัด การให้คำปรึกษา ติดตาม ประเมินผล ส่งเสริม และฟื้นฟูภาวะโภชนาการ และการดัดแปลงอาหารเฉพาะโรคให้เป็นไปตามแผนการรักษา เพื่อให้เหมาะสมกับโรคและภาวะโภชนาการ ทั้งนี้ ไม่หมายความรวมถึง การปรุงและการประกอบอาหาร สำหรับการให้บริการผู้ป่วยตามปกติในสถานพยาบาล” นักกำหนดอาหารสำคัญอย่างไรกับวงการแพทย์                 […]

ส่งข้อความถึงเรา