fbpx
  • Food and Nutrition

5 อาหาร เพิ่มน้ำหนัก คนผอม ให้สมส่วน

ในโลกที่หลายคนพยายามลดน้ำหนัก ยังมีคนอีกกลุ่มหนึ่งที่ต้องเจอเผชิญกับปัญหาตรงกันข้าม ใช่แล้วค่ะ การ เพิ่มน้ำหนัก สำหรับ คนผอม บางคนก็เป็นเรื่องยากไม่แพ้กัน ไม่ว่างจะกินเพิ่มเท่าไหร่น้ำหนักก็ไม่ขยับขึ้นเลย ทำให้เกิดความกังวลเรื่องปัญหาสุขภาพ หรือเกิดความรู้สึกไม่มั่นใจในรูปร่างของตัวเองที่ผอมเกินไป หรือเหนื่อยล้าจากการพยายามกินเพื่อเพิ่มแคลอรีให้มากขึ้นในแต่ละวัน การเพิ่มน้ำหนักที่ถูกต้องคือการเพิ่มทั้งกล้ามเนื้อและพลังงานที่เพียงพอให้กับร่างกาย ไม่ใช่แค่การเพิ่มไขมันเท่านั้น หลายคนหันไปเน้นอาหารที่มีน้ำตาลสูงหรือไขมันทรานส์ เช่น ขนมหวาน น้ำอัดลม ของทอด ซึ่งอาจเพิ่มน้ำหนักได้เร็วก็จริง แต่กลับส่งผลเสียต่อร่างกายโดยเฉพาะคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ซึ่งเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด และปัญหาสุขภาพอื่นๆในระยะยาว การเพิ่มน้ำหนักอย่างมีประสิทธิภาพจึงควรเน้นอาหารที่มีประโยชน์ เช่น การเพิ่มพลังงานจากโปรตีนและไขมันดีจากแหล่งอาหารธรรมชาติ อย่างเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ปลาที่มีโอเมก้า-3 ถั่วเปลือกแข็ง อะโวคาโด หรือน้ำมันมะกอก รวมถึงการออกกำลังกายควบคู่ไปกับการกิน เพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อและสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน ไม่ใช่เพียงแค่ตัวเลขบนตาชั่งที่ขยับขึ้นเท่านั้น ปัญหาและสาเหตุทำอาจให้น้ำหนักไม่ขึ้นกัน 5 วิธีเลือกอาหารเพิ่มน้ำหนักอย่างไรให้สุขภาพดี ถั่วลิสง อัลมอนด์ พิสตาชิโอ แม็คคาเดมีย หรืออัลมอนด์ เป็นของว่างที่ให้พลังงานสูง เนื่องจากเป็นเราจัดว่าเป็นอาหารหมวดไขมัน ที่ให้ไขมันดีกับร่างกาย โดยการกินถั่วแค่ 1 ช้อนโต๊ะ หรือเทียบเท่าถั่วลิสง 10 เม็ด สามารให้พลังงานได้มากขึ้น  45 กิโลแคลอรี่ หรือเทียบเท่ากับการได้รับพลังงานจากข้าวประมาณ […]

  • Blog from Eatology

Food battle : ไก่ปั่น กับ เวย์ เลือกอันไหนดี?

ผลิตภัณฑ์ทั้งสองชนิด ออกแบบมาเพื่อทำให้การบริโภคโปรตีนในปริมาณมากทำได้ง่ายขึ้น หากเทียบสารอาหารแล้วจะไม่ค่อยแตกต่างกันมากในแง่ของชนิดและคุณภาพของโปรตีน แต่ก็มีความแตกต่างกันอยู่บางส่วนหากเรามองตามรูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่วางขาย ซึ่งสารอาหารและคุณสมบัติที่ควรทราบเกี่ยวกับอาหารเสริมกลุ่มโปรตีนนี้ มีดังนี้ ไก่ปั่น กับ เวย์ ไก่ปั่น แบบสำเร็จหนึ่งขวดจะให้โปรตีนประมาณ 50-70 กรัมขึ้นอยู่กับสูตรของแต่ละยี่ห้อ และมักมีคาร์โบไฮเดรตมาประมาณ 5-15 กรัมต่อขวด และไขมันต่ำกว่า 5 กรัม ซึ่งรสชาติและการยอมรับจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ซึ่งปัจจุบันผู้ผลิตก็ได้พัฒนาสูตรไก่ปั่นต่าง ๆ ให้มีรสชาติที่ยอมรับได้ง่ายขึ้นและหาซื้อได้ทั้งในห้างหรือร้านค้าออนไลน์ การเก็บรักษาต้องแช่เย็นในตู้เย็นเท่านั้น ทำให้เป็นตัวเลือกที่อาจจะลำบากสำหรับบางคนที่อยู่หอพักที่ไม่มีตู้เย็นเสียหน่อย             ส่วนโปรตีนผง ทั้งแบบ Whey หรือโปรตีนจากพืช จะขายในรูปแบบบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่ จะเป็นถุงหรือกระปุกก็ได้  เลือกชงเป็นช้อนสกู๊ปได้ โดย 1 สกู๊ปจะให้โปรตีนประมาณ 20-30 กรัม แล้วแต่ช้อนที่ผู้ผลิตจะแถมมาให้เลย การพัฒนาสูตรให้มีรสชาติต่างๆ ก็ไม่น้อย เช่น รสช็อคโกแลต รสชาเย็น รสวานิลลา สตรอเบอร์รี่ การเก็บรักษาจะค่อนข้างง่าย ขอแค่เป็นที่แห้ง ไม่ชื้น ไม่โดนแดดโดยตรงก็เก็บได้แล้ว ส่วนการหาซื้อก็สามารถทำได้ง่ายไม่แตกต่างกัน ทั้งซื้อในร้านขายอาหารเพื่อสุขภาพ ร้านขายยาหรือร้านค้าออนไลน์ก็มีให้เลือกมากมาย

  • Blog from Eatology

Food battle : น้ำมันมะกอก กับ น้ำมันมะพร้าว เลือกอันไหนดี?

น้ำมันพืชที่วางจำหน่ายเพื่อนำมาใช้ประกอบอาหารนั้นมีมากมาย ซึ่งในปัจจุบันกระแสการดูแลสุขภาพค่อนข้างเป็นที่แพร่หลายในวงกว้าง ทำให้มีทางเลือกของน้ำมันชนิดต่าง ๆ ออกมามากมายเพื่อให้ผู้บริโภคได้เลือก ในกลุ่มน้ำมันเหล่านี้ น้ำมันมะกอกและน้ำมันมะพร้าวต่างก็ได้รับความนิยมและสนใจเป็นอย่างมาก น้ำมันมะกอก กับ น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก เป็นน้ำมันที่ผลิตจากผลมะกอก และให้สารอาหารเป็นกรดไขมันชนิดไม่อิ่มตัวเชิงเดียว (หรือ โอเมก้า 9) ในสัดส่วนที่สูง ส่งผลให้มีคุณสมบัติทางเคมีในการทนความร้อนจากการปรุงประกอบอาหารได้สูง น้ำมันมะกอกสามารถนำไปประกอบอาหารได้ทั้งประเภทผัดและทอด รวมถึงน้ำมันมะกอกชนิด Extra virgin ยังมีกลิ่นเฉพาะที่สามารถนำไปบริโภคด้วยการราดบนผักสดเพื่อรับประทานเป็นสลัดได้อีกด้วย   น้ำมันมะพร้าว เป็นน้ำมันที่สกัดจากเนื้อมะพร้าว ให้สารอาหารเป็นกรดไขมันชนิดอิ่มตัวเป็นส่วนใหญ่ โดยเฉพาะกรดไขมัน lauric acid ซึ่งคิดเป็นประมาณร้อยละ 50 ของกรดไขมันทั้งหมด รองลงมาจะเป็น myristic acid และกรดไขมันชนิดอื่นๆ สำหรับผลต่อสุขภาพนั้น หากร่างกายได้รับกรดไขมันอิ่มตัวในปริมาณมากเกินไปต่อเนื่อง จะทำให้ระดับของคอเลสเตอรอลชนิด LDL สูงขึ้นได้ จึงควรระมัดระวังปริมาณในการบริโภค การเลือกใช้น้ำมันเพื่อประกอบอาหารควรพิจารณาถึงวัตถุประสงค์ในการใช้ทำอาหาร เพราะน้ำมันแต่ละแบบมีความเหมาะสมในการใช้งานที่แตกต่างกัน การเลือกน้ำมันให้เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกาย สามารถอ่านเพิ่มเติมเรื่อง เลือกใช้น้ำมันทำกับข้าว อย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ ส่วนคนไหนที่มีโรคประจำตัวหรือมีความเสี่ยงโรคไม่แน่ใจว่าสามารถกินน้ำมันชนิดไหนได้บ้างและผลิตภัณฑ์อาหารอื่นๆสามารถปรึกษากับนักกำหนดอาหารวิชชาชีพกับเราได้

  • Blog from Eatology

เทศกาลเจปี กินเจอย่างไรให้สุขภาพที่ดี

             “เทศกาลกินเจ” เป็นช่วงเวลาที่คนไทยหลายคนรอคอย ไม่ใช่แค่เพื่อการถือศีลและสร้างบุญเท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสที่หลายคนรอคอยเพื่อที่จะได้กินของอร่อยๆ คงไม่มีใครพลาดกับเมนูของทอดยอดนิยม อย่างเช่น ข้าวโพดทอด เต้าหู้ทอด หรือเผือกทอด ที่กินคู่กับน้ำจิ้มถั่วรสเปรี้ยว หวาน ที่เหมือนเกิดมาคู่กัน หรือจะเป็นเมนูอาหารเจอีกหลายๆเมนู ที่เราจะหากินได้เฉพาะช่วงเจเท่านั้น แต่ทันทีที่เทศกาลสิ้นสุด หลายคนกลับพบว่ากางเกงเริ่มคับขึ้น หรือบางคนอาจพบว่าค่าไขมันและน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้นโดยไม่รู้ตัว เมนูเจยอดนิยมเหล่านี้ส่วนมากมักจะมีคาร์โบไฮเดรตและไขมันจากแป้งและของทอดในปริมาณสูง แต่กลับมี “โปรตีน” น้อย อาจทำให้มีโอกาสในการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีโอกาสเสี่ยงมากกว่าคนในวัยอื่น แล้วจะทำอย่างไรให้ “กินเจ” แบบสุขภาพดี วันนี้เรามีเคล็ดลับง่ายๆ กับ 5 แหล่งโปรตีนเพื่อสุขภาพ ที่จะช่วยให้คุณฟิตแอนด์เฟิร์มตลอดเทศกาลเจมาฝากกันค่ะ 5 อาหารเสริมโปรตีน เพื่อสุขภาพดีในเทศกาลกินเจ 1.ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ถั่วเหลืองเป็นแหล่งโปรตีนจากพืชที่มีคุณภาพสูง ดูดซึมได้ดี และสามารถเสริมในทุกมื้ออาหาร เช่น เต้าหู้ ถั่วแระญี่ปุ่น เทมเป้ หรือ นัตโตะ แหล่งโปรตีนเหล่านี้จะช่วยเติมเต็มโปรตีนที่ร่างกายต้องการได้อย่างเพียงพอ 2.ถั่วและธัญพืชอื่นๆ เพิ่มความหลากหลายด้วยถั่วและธัญพืช เช่น ข้าวผัดถั่ว 5 สี พะแนงถั่วลูกไก่ หรือผัดกะเพราถั่วขาว ล้วนแต่ให้โปรตีนสูง […]

  • Blog from Eatology

Food battle : แซลมอน กับ ทูน่าเลือกอันไหนดี?

แม้จะเป็นปลาที่มาจากทะเลเหมือนกัน แต่ปลาทั้งสองชนิดนี้กลับมีคุณค่าทางสารอาหารแตกต่างกันด้วยที่มาและธรรมชาติของปลา สำหรับแซลมอนจะเป็นปลาทะเลที่มีการกินอาหารต่าง ๆ เพื่อสะสมไขมันเอาไว้เป็นพลังงานสำหรับการว่ายทวนน้ำขึ้นไปวางไข่ต้นน้ำ ทำให้มีปริมาณไขมันสะสมในเนื้อและตัวปลาค่อนข้างมาก โดยเฉพาะหากเป็นปลาแซลมอนที่ถูกจับในขณะยังอยู่ในทะเลหรือปากแม่น้ำ แต่ในปัจจุบันนั้น เราจะได้ปลาแซลมอนมาบริโภคในรูปแบบของปลาที่มาจากการเลี้ยงด้วยเกษตรกร เมื่อเลือกรับประทานแล้วจะได้รับสารอาหารหลักคือ โปรตีน กรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดโอเมก้า 3 ในปริมาณที่มีนัยสำคัญ รวมถึงยังมีวิตามินดีอยู่ในปริมาณที่ดี นอกจากนี้เนื้อปลาแซลมอนยังจัดเป็นแหล่งที่ดีของวิตามินบี 12 อีกด้วย แซลมอน VS ทูน่า                 ในขณะที่ปลาทูน่าจะเป็นเป็นปลาที่อาศัยอยู่ในทะเลเป็นหลักและมีการสะสมไขมันที่น้อยกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับปลาแซลมอน เมื่อเลือกรับประทานแล้วจะได้รับสารอาหารหลักคือ โปรตีน กรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิดโอเมก้า 3 เล็กน้อย เนื่องด้วยปลาทูน่ามีปริมาณไขมันน้อย การได้รับกรดไขมันโอเมก้า 3 จึงน้อยลงตามไปด้วย แต่เนื้อปลาทูน่านั้นจะจัดเป็นแหล่งที่ดีของวิตามินบี 12                 อย่างไรก็ตาม ปลาทั้งสองชนิดนี้จัดเป็นปลาทะเลทั้งคู่ การเฝ้าระวังประเด็นการปนเปื้อนของปรอทในเนื้อปลาถือเป็นสิ่งที่สำคัญเช่นกัน เราควรเลือกบริโภคปลาให้หลากชนิด ไม่บริโภคซ้ำซาก เพื่อลดโอกาสการได้รับสารปรอทสะสมจนเป็นอันตรายต่อร่างกาย

  • Blog from Eatology

Food battle : เกลือชมพู กับ เกลือทะเลเลือกอันไหนดี?

เกลือทั้งสองชนิดนี้ จัดเป็นเครื่องปรุงรสอาหารทั้งคู่ ซึ่งแร่ธาตุหลักที่ให้เข้าสู่ร่างกายคือ โซเดียมคลอไรด์ ซึ่งเป็นแร่ธาตุสำคัญสำหรับการทำงานของร่างกาย เกลือชมพู VS เกลือทะเล เกลือทะเล จัดเป็นเครื่องปรุงที่สกัดจากธรรมชาติคือ น้ำทะเลและมีภูมิปัญญาในการผลิตมาช้านาน รวมถึงถูกใช้เป็นเครื่องปรุงเพื่อรสชาติและวัตถุดิบที่ใช้ในการถนอมอาหารมานานแล้ว สารอาหารที่ให้จากเกลือทะเลคือ โซเดียมคลอไรด์และไอโอดีน ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่มีความจำเป็นสำหรับสุขภาพ อย่างไรก็ตาม จากสถิติการบริโภคโซเดียมของคนไทยนั้น พบว่าพวกเราได้รับโซเดียมจากอาหารไม่น้อยกว่า 3,000 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งนำไปสู่ปัญหาทางสุขภาพมากมาย เช่น ความดันโลหิตสูง ภาวะไตวายเรื้อรัง การลดปริมาณการใช้เกลือจึงดูเหมือนเป็นทางหนึ่งที่ช่วยบรรเทาปัญหาเหล่านี้ลงได้             ส่วนเกลือชมพู จัดเป็นเกลือจากหินแร่ ซึ่งจัดอยู่ในประเภท “เกลือสินเธาว์” เพราะได้จากแร่ธาตุในพื้นดิน ซึ่งคุณสมบัติของเกลือกลุ่มนี้ จะขาดแร่ธาตุตัวหนึ่งไปคือ ไอโอดีน ทำให้การเลือกเกลือชมพูมาปรุงอาหารนั้น ไม่สามารถทดแทนการใช้เกลือทะเลทั่วไปได้ เนื่องจากขาดแร่ธาตุตัวนี้นั่นเอง ฉะนั้นข้อควรระวังคือ ในผู้ที่บริโภคเกลือชนิดนี้เป็นหลัก และไม่ได้บริโภคเครื่องปรุงชนิดอื่น อาจมีปัญหาขาดไอโอดีนได้ ซึ่งแม้จะเป็นปัญหาทางสุขภาพที่พบได้น้อยมากในปัจจุบัน แต่ก็ยังสามารถเกิดได้ในกรณีดังกล่าว และอีกประเด็นหนึ่งคือ เกลือชมพูจะเป็นทางเลือกที่ดีในการปรุงอาหารสำหรับผู้ป่วยไทรอยด์ที่กำลังวางแผนกลืนแร่กัมมันตรังสี I-131 ที่จำเป็นต้องจำกัดการได้รับไอโอดีนจากอาหารในชีวิตประจำวันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนการกลืนแร่ ซึ่งกลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้จะค่อนข้างดำเนินชีวิตยากอยู่บ้าง เนื่องจากเครื่องปรุงอาหารที่พ่อครัวแม่ค้าเลือกใช้มักมีไอโอดีนที่ถูกเติมไว้เป็นส่วนหนึ่งอยู่แล้วค่อนข้างมาก  ผู้ป่วยจึงจำเป็นต้องมีทางเลือกในการปรุงอาหารที่เหมาะสำหรับตัวเองในช่วงดังกล่าว ซึ่งเกลือชมพูก็เป็นทางเลือกหนึ่งที่เหมาะสม

  • Food and Nutrition

ไขมันพอกตับ แนวทางฟื้นฟูที่ใครใครก็ทำได้

“เหล้าก็ไม่เคยดื่ม ถ้าจะดื่มก็นานทีปีหน แต่ทำไมหมอบอกว่าเป็นไขมันพอกตับได้?” หลายท่านอาจสงสัยกับคำถามนี้ เพราะคิดว่า ไขมันพอกตับ จะต้องเกิดจากการดื่มเหล้าเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง ภาวะไขมันพอกตับสามารถเกิดขึ้นได้ แม้คุณจะไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์เลยก็ตาม ภาวะนี้เรียกว่า ภาวะไขมันพอกตับโดยไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ หรือ Non-Alcoholic Fatty Liver Disease (NAFLD) ซึ่งเป็นภัยเงียบที่ค่อยๆ สะสมอยู่ในตับของเรา โดยมักไม่มีอาการแสดงให้เห็นในระยะแรก แต่สามารถนำไปสู่โรคร้ายแรง เช่น ตับแข็ง หรือมะเร็งตับได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ไขมันพอกตับ ทำอย่างไร ให้ห่างไกล ไขมันพอกตับ 1.ลดน้ำหนัก 2.รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ 3.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 4.งดหรือจำกัดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 5.ตรวจสุขภาพเป็นประจำ การตรวจสุขภาพประจำปีจะช่วยให้คุณสามารถตรวจพบภาวะไขมันพอกตับได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ทำให้สามารถจัดการและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ ไขมันพอกตับเป็นภัยเงียบที่สามารถทำลายสุขภาพของเราได้โดยที่เราอาจไม่ทันรู้ตัว หลายคนอาจมองข้ามทราบถึงความเสี่ยงที่แฝงอยู่ แต่ความจริงก็คือ ภาวะนี้สามารถส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพของเราได้ในระยะยาว เมื่อเราได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีภาวะไขมันพอกตับ การเริ่มต้นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวันของเราทันทีเป็นสิ่งที่จำเป็น และไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด เราสามารถเริ่มต้นได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเล็กๆ น้อยๆ เช่น การเลือกอาหารที่มีประโยชน์ เพิ่มการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และหมั่นตรวจสุขภาพเพื่อเฝ้าดูสภาพร่างกายและการเปลี่ยนแปลงของตับอย่างใกล้ชิด อย่ารอให้ปัญหาสุขภาพลุกลามจนยากต่อการรักษา มาเริ่มต้นดูแลตับของเราตั้งแต่วันนี้ ด้วยการทำสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงใหญ่ในสุขภาพของเราได้ […]

  • Blog from Eatology

Food battle : น้ำตาล กับ น้ำผึ้ง เลือกอันไหนดี?

ทั้งสองตัวเลือกนี้จัดเป็นแหล่งของคาร์โบไฮเดรตและความหวานให้กับอาหารหรือเครื่องดื่ม ซึ่งให้พลังงาน 4 kcal ต่อ 1 กรัมของสองแหล่งนี้ จึงทำให้ข้อดีของน้ำตาลและน้ำผึ้ง จะคล้ายกันคือให้พลังงานกับร่างกายเท่านั้น สำหรับสารอาหารอื่นๆ ที่จำเป็นจะค่อนข้างมีอยู่น้อยสำหรับทั้งสองตัวเลือกนี้ น้ำตาล VS น้ำผึ้ง ความแตกต่างของสองแหล่งความหวานนี้มีอยู่เล็กน้อยคือ สำหรับผู้ที่มีปัญหาไตรกลีเซอไรด์ในเลือดสูง อาจไม่เหมาะกับการบริโภคน้ำผึ้ง เนื่องจากน้ำผึ้งเป็นน้ำตาลชนิด Fructose (ฟรุคโตส) ซึ่งจะถูกเปลี่ยนเป็นไตรกลีเซอไรด์ สำหรับผู้ที่มีปัญหานี้ หากต้องการบริโภคความหวานจะแนะนำให้เลือกเป็นน้ำตาลธรรมดามากกว่าเพราะไม่เพิ่มระดับไตรกลีเซอไรด์เท่าน้ำผึ้ง อย่างไรก็ดี แนะนำว่าผู้ที่มีปัญหาทางสุขภาพที่เกี่ยวกับน้ำตาลในเลือดและไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ควรเลือกบริโภคความหวานจากสารให้ความหวานแทนน้ำตาล จะช่วยลดปัญหาจากการบริโภคน้ำตาลมากเกินไปได้ แต่ถ้าใครติดหวานลดการปรุงใส่น้ำตาลเพิ่มก็จะดีมาก

  • Food and Nutrition

ลด LDL สูง แค่เลือกกินอาหารให้ถูกต้อง 

“ LDL สูง ไขมันในเลือดสูง ควรงดของทอดและของมันนะคะ” หลายๆ คนอาจเคยได้ยินคำแนะนำนี้จากคุณหมอเมื่อไปตรวจเลือดประจำปีและพบว่าไขมันในเลือดสูงขึ้น บางคนอาจสงสัยว่า “ก็งดของทอด ของมันหมดแล้ว ทำไมค่าไขมัน LDL ไม่ลดลงซักที?”  ในปัจจุบัน เราพบว่าหลายคนต้องเผชิญกับปัญหาระดับ LDL (Low-Density Lipoprotein) หรือที่เรียกกันว่า “ไขมันเลว” ในเลือดสูงขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยจากข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization-WHO) ระบุว่าโรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular diseases, CVDs) เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งทั่วโลก โดยในปี 2019 มีผู้เสียชีวิตประมาณ 17.9 ล้านคนจากโรคนี้ ซึ่งคิดเป็น 32% ของการเสียชีวิตทั้งหมดทั่วโลก สำหรับประเทศไทยจากรายงานของกระทรวงสาธารณสุข ปี 2565 พบการเสียชีวิตของคนไทยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมากถึง 7 หมื่นราย เฉลี่ยชั่วโมงละ 8 คน และคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี   “ทุกชั่วโมง จะมีคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ 8 คน” เรามาดูกันว่าไขมันเลวในเลือดของเรา เกิดขึ้นได้อย่างไร […]

  • Blog from Eatology

Food battle : มังคุด กับ ทุเรียน เลือกอันไหนดี?

โดยข้อมูลโดยคร่าวคือ มังคุดประมาณ 3-4 ลูกจะให้คาร์โบไฮเดรตประมาณ 15 กรัม ในขณะที่ทุเรียน 1 เม็ดเล็ก ๆ นั้นจะให้คาร์โบไฮเดรตที่ 15 กรัมหรือมากกว่าเล็กน้อย จะเห็นได้ว่าเราอาจเลือกบริโภคมังคุดเนื่องจากได้กินมากกว่าอยู่หน่อย ฉะนั้นหากให้พูดถึงข้อดีก็คือ อร่อยและมีรสชาติที่หลายคนชื่นชอบ ส่วนในแง่ของวิตามินและแร่ธาตุ ทุเรียนจะให้สารอาหารที่หลากหลายกว่ามังคุดอยู่ประมาณหนึ่ง มังคุด VS ทุเรียน             แต่ถ้าพูดถึงข้อเสียของผลไม้สองชนิดนี้ แทบจะสรุปได้เลยว่า เนื่องจากเป็นผลไม้ที่รสชาติเป็นเอกลักษณ์ และอร่อย หลาย ๆ คน จึงมักจะควบคุมปริมาณการบริโภคได้ลำบากเนื่องจากเกิดปัญหาการบริโภคในปริมาณที่มากเกินไป จึงควรระมัดระวังปริมาณที่บริโภคต่อครั้ง เพื่อป้องกันปัญหาได้รับน้ำตาลมากเกินไปและสะสมเป็นไขมันได้ในภายหลัง

  • Health

แจกสูตร ลดน้ำหนัก 2 อาทิตย์ โดยนักกำหนดอาหาร

หลายคนเคยพยายามลดน้ำหนักมาแล้วหลายครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการอดอาหาร ทำ IF, กินคีโต หรือแม้แต่กินคลีน แต่น้ำหนักก็ไม่ยอมลดลงเลย หรือทำไปแล้ว เมื่อหยุดทำน้ำหนักก็กลับขึ้นมาใหม่หรือเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม อาจทำให้รู้สึกท้อแท้และหมดกำลังใจ อย่างไรก็ตาม การ ลดน้ำหนัก 2 อาทิตย์ ไม่ใช่เรื่องยากเกินความสามารถของเรา หากเรารู้วิธีการปรับการกินอย่างถูกต้องและเหมาะสมกับตนเอง แบบไม่ต้องหักโหมมากจนเกินไป วันนี้พวกเราทีมนักกำหนดอาหารจาก Eat Well Concept มีสูตรและทริคง่ายๆ มาให้ลองทำและลองประเมินตนเอง มาดูกันเลยค่ะ! สำรวจพฤติกรรมการกินของตนเอง เราเป็นแบบนี้หรือไม่ 5 ทริค ลดน้ำหนักใน 2 สัปดาห์                 หลังจากสังเกตพฤติกรรมตัวเองแล้ว หากบางอย่างที่เรากินมากเกินไป แนะนำให้เราลดปริมาณการกิน ถ้าใครสายฮาร์ดคอร์ ก็สามารถปรับลดได้เลย หรือถ้าสายซอฟท์ ก็ค่อยๆ ทำ ก็ได้  โดยสามารถทำตามทริคเหล่านี้ได้เลย ตัวอย่างตารางอาหารลดน้ำหนักฉบับ Eat well concept แอบกระซิบว่าหากเราสามารถงดเครื่องดื่มหวานและขนมหวานได้ตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของการลดน้ำหนัก จะทำให้ราเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจนมากยิ่งขึ้นค่ะ รวมถึงการออกกำลังกายร่วมด้วยจะทำให้การลดน้ำหนักมีประสิทธิภาพและยั่งยืนมากยิ่งขึ้น โดยอาจจะเริ่มจากการนับก้าวเดินในแต่ละวัน เพื่อทำให้เรามีความคุ้นชินกับการออกกำลังกาย เช่น เริ่มจาก 3,000 […]

  • Blog from Eatology

Food battle : ขนมปัง กับ ครัวซอง เลือกอันไหนดี?

อาหารสองชนิดนี้มีข้อร่วมกันคือ เป็นผลิตภัณฑ์เบเกอรี่หรือขนมอบ แต่สิ่งที่แตกต่างกันคือ “พลังงานต่อชิ้น” ขนมปังมีพลังงานต่อแผ่นเพียง 60-80 kcal แต่ครัวซองหนึ่งชิ้นจะมีพลังงานเฉลี่ย 250-400 kcal ขึ้นอยู่กับปริมาณเนยที่ใส่และขนาดของชิ้นครัวซอง ซึ่งจะทำให้พลังงานของครัวซองสูงกว่าขนมปังแผ่น ขนมปัง VS ครัวซอง ข้อดีของขนมปัง คือสามารถทำไปประกอบเป็นเมนูอาหารเพื่อสุขภาพต่าง ๆ ได้หลากหลาย และค่อนข้างเหมาะสมเนื่องจากมีพลังงาน สารอาหารต่าง ๆ ไม่สูงจนเกินไป เช่น แซนวิชไส้ที่เน้นโปรตีนต่าง ๆ เช่น สลัดไก่ฉีก สลัดไข่ต้ม ทูน่า ในทางกลับกัน หากนำครัวซองมาทำเป็นวัตถุดิบหลักในการประกอบเมนูแล้ว จะทำให้มื้อนั้นได้รับไขมันค่อนข้างสูงจากตัวครัวซอง ทำให้เมนูที่ออกมาไม่ค่อยเอื้อต่อการดูแลสุขภาพนัก สำหรับข้อดีของครัวซอง จะมีเพียงเรื่องรสชาติและกลิ่นที่หอมกรุ่น ที่อาจเป็นที่พึงใจในการบริโภคของใครหลายคนเท่านั้น             ข้อเสียของอาหารทั้งสองชนิดนี้จะมีส่วนหนึ่งที่คล้ายกันคือ สำหรับบางคนเมื่อเลือกบริโภคผลิตภัณฑ์เบเกอรี่ ขนมปังหรือขนมอบต่าง ๆ  แล้ว อาจรู้สึกไม่อยู่ท้องหรือไม่อิ่มเท่าการเลือกบริโภคข้าว จึงอาจต้องเติมส่วนของผักต่าง ๆ รวมทั้งโปรตีนเข้ามาให้มากขึ้น เพื่อช่วยให้อิ่มท้องมากขึ้น และคุณสมบัติในการย่อยที่ไว้กว่าแหล่งข้าวแป้งอื่น ๆ ก็ทำให้การเติมผลิตภัณฑ์เบเกอรี่เหล่านี้ เหมาะกับการนำมาบริโภคก่อนการออกกำลังกาย 30-45 นาทีนั่นเอง

  • Blog from Eatology

Food battle:ข้าวขาว กับ ข้าวกล้อง อันไหนดีกว่ากัน?

            สำหรับ ข้าวขาว กับ ข้าวกล้อง อาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรตสองชนิดนี้ นับเป็นแหล่งอาหารพื้นฐานสำหรับคนไทยที่หลายคนน่าจะคุ้นเคยกัน หากเปรียบเทียบข้อดีของข้าวทั้งสองชนิดนี้แล้ว สิ่งที่มีร่วมกันคือ การให้พลังงานกับร่างกายในฐานะสารอาหารคาร์โบไฮเดรตและวิตามินแร่ธาตุบางชนิด ข้าวขาว VS ข้าวกล้อง ส่วนข้อเสียของอาหารทั้งสองชนิดนี้ จะไม่ถึงขั้นปรากฏแบบแน่ชัด เพราะอย่างไรก็ถือว่าเป็นอาหารและเป็นแหล่งคาร์โบไฮเดรตที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย ซึ่งสามารถเลือกกินได้ตามความเหมาะสมของร่างกายแต่ละบุคคล นอกจากอาหารประเภทข้าวแล้วยังมีคาร์โบไฮเดรตอื่นๆ ที่ต้องรู้อีกด้วยอ่านเพิ่มเติมได้ที คาร์โบไฮเดรต แหล่งพลังงานสำคัญ ประโยชน์มีดีต่อร่างกาย

  • Blog from Eatology

นมแคลเซียมสูง สำหรับผู้ใหญ่

ใครที่กำลังมองหา นมแคลเซียมสูง ให้กับคุณแม่ ในโอกาสต่างๆโดยเฉพาะของขวัญที่ให้ความสำคัญกับสุขภาพของคุณแม่ โดยเฉพาะเรื่องแคลเซียมที่มีบทบาทสำคัญต่อการรักษาความแข็งแรงของกระดูก เมื่อผู้หญิงอายุมากขึ้น ความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนจะเพิ่มขึ้นอย่างมากด้วยเช่นกันค่ะ ทำให้กระดูกบางลงและแตกหักง่ายกว่าเดิม ดังนั้นการเสริมแคลเซียมอย่างเพียงพอจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ลูกๆอย่างเราไม่ควรมองข้าม ทำไมแคลเซียมถึงสำคัญ? แคลเซียมเป็นแร่ธาตุหลักที่ร่างกายใช้ในการสร้างและรักษาความแข็งแรงของกระดูกและฟัน นอกจากนี้ แคลเซียมยังมีส่วนช่วยในกระบวนการทำงานของระบบประสาท กล้ามเนื้อ และการแข็งตัวของเลือด ผู้หญิงที่ได้รับแคลเซียมไม่เพียงพอจะเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุน ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพที่รุนแรงในอนาคต ปริมาณแคลเซียมที่ควรได้รับ 800-1,000 มิลลิกรัมต่อวัน ตัวอย่างนมที่มีแคลเซียมสูง นอกจากจะต้องได้รับแคลเซียมให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายแล้ว ควรทำควบคู่ไปกับการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและการได้รับวิตามินดีจากแสงแดดและอาหารอย่างเหมาะสม จะช่วยเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนได้ค่ะ ในโอกาสวันแม่นี้ อย่าลืมใส่ใจสุขภาพของคุณแม่ด้วยการเลือกอาหารที่มีแคลเซียมสูงในมื้ออาหารประจำวัน เพื่อให้คุณแม่มีสุขภาพที่แข็งแรงอยู่กับเราไปนานๆนะคะ แหล่งข้อมูลอ้างอิง

  • Food and Nutrition

แนะนำอาหารทางการแพทย์ นีโอมูน กับ เอนชัวร์

การเลือกอาหารทางการแพทย์น่าจะเป็นเรื่องท้าทายหรือทำให้หลายคนสับสนเนื่องจากในปัจจุบันมีตัวเลือกที่หลากหลายในท้องตลาด ในบทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจและเลือกอาหารทางการแพทย์ที่เหมาะสมสำหรับคุณหรือคนในครอบครัวที่มีความจำเป็นต้องได้รับหรือเสริมพลังงานและสารอาหารจากอาหารทางการแพทย์ได้อย่างเหมาะสม อาหารทางการแพทย์เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ไม่สามารถได้รับสารอาหารและพลังงานได้อย่างเพียงพอจากการบริโภคอาหารปกติ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีปัญหาในการเคี้ยวกลืน หรือผู้ที่ร่างกายต้องการสารอาหารและพลังงานเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากสภาวะต่างๆของร่างกาย เช่น การเจ็บป่วย หรือขาดสารอาหาร โดยอาหารทางการแพทย์มีส่วนช่วยที่สำคัญที่ทำให้เขาเหล่านั้นได้รับพลังงานและสารอาหารได้เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการอของร่างกาย วิธีเลือก อาหารทางการแพทย์ อย่างไรให้เหมาะสม โรคประจำตัว อ่านเพิ่มเติม อาหารทางการแพทย์แบ่งตามโรค แพ้อาหาร ช่องทางการในการรับอาหารและปริมาณที่เหมาะสม รสชาติและความชอบส่วนตัว นีโอมูน (Neo-Mune) เป็นอาหารทางการแพทย์สูตรครบถ้วน ซึ่งมี คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน และเกลือแร่ที่ครบถ้วน ที่มีโปรตีนสูงและมีส่วนผสมของกลูตามีน, อาร์จีนินและน้ำมันปลา ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีผลส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันอีกด้วย ใน 1 แก้ว ปริมาณ 250 มล. (7 ช้อนตวง) ให้พลังงาน 250 กิโลแคลอรี, โปรตีน 15.6 กรัม เหมาะสำหรับ เอนชัวร์ (ENSURE) เป็นอาหารทางการแพทย์สูตรครบถ้วน ซึ่งมี คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน และวิตามินที่ครบถ้วน […]

  • Food and Nutrition

โภชนาการ ตัวช่วยสำคัญสำหรับ นักกีฬา

นักกีฬา จำเป็นต้องได้รับการดูแลเรื่อง โภชนาการ ที่เหมาะสมเพื่อให้สามารถฝึกซ้อมและแข่งขันได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ซึ่งรวมถึงการคำนึงถึงปริมาณพลังงานที่ต้องการต่อวัน ประเภทของสารอาหารที่ควรได้รับในแต่ละมื้อ และเวลาที่เหมาะสมในการรับประทานอาหาร เพื่อให้สามารถฟื้นฟูร่างกาย ลดความเสี่ยงจากการบาดเจ็บ และเพิ่มประสิทธิภาพในการฝึกซ้อมและแข่งขันอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ทำให้การดูแลเรื่องโภชนาการของนักกีฬาและคนทั่วไปมีความแตกต่างกัน โภชนาการ สำคัญ กับ นักกีฬา อย่างไร การเล่นกีฬาแต่ละประเภทมีความต้องการสารอาหารที่ไม่เหมือนกัน เนื่องจากลักษณะของการฝึกซ้อมและการแข่งขันที่แตกต่างกัน เรามาดูกันว่าทำไมกีฬาต่างๆ ถึงต้องการสารอาหารที่แตกต่างกัน ดังนั้น การวางแผนเรื่องโภชนาการสำหรับนักกีฬาแต่ละประเภทจึงมีความแตกต่างกันและมีความจำเพาะเจาะจงของแต่ละบุคคล หรือแม้แต่ในกีฬาประเภทเดียวกัน ก็อาจจะมีการวางแผนที่แตกต่างในแต่ละบุคคล เนื่องจากความต้องการและเป้าหมายของแต่ละคนไม่เหมือนกัน การปรึกษานักกำหนดอาหารที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องกีฬาและการออกกำลังกายเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากจะช่วยให้นักกีฬาได้รับคำแนะนำที่ถูกต้องและเหมาะสมกับความต้องการเฉพาะตัว เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายทางการกีฬาได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงกับความต้องการของคุณได้ โภชนาการสำหรับ นักกีฬาสายอึด กีฬาสายอึด เช่น การวิ่งมาราธอน ปั่นจักรยานทางไกล หรือ ไตรกีฬา เนื่องจากกีฬาประเภทนี้จะต้องมีการฝึกซ้อมและใช้เวลาแข่งขันเป็นเวลานาน ร่างกายจึงต้องการใช้แหล่งของคาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งพลังงานหลัก ทำให้ ต้องบริโภคคาร์โบไฮเดรตปริมาณมากถึง 6-10 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน หรือหากต้องมีการแข่งขันหรือฝึกซ้อมนานถึง 4-5 ชั่วโมงต่อวัน อาจจะต้องเพิ่มคาร์โบไฮเดรตมากถึง 8-12 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน เพื่อเพิ่มปริมาณไกลโคเจนในกล้ามเนื้อ เนื่องจากไกลโคเจนถือว่าเป็นแหล่งพลังงานสำรองสำหรับการออกกำลังกายที่ต้องใช้พลังงานอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน นอกจากนี้หากมีการซ้อมหรือมีการแข่งขันติดต่อกันเวลาระยะเวลนาน […]

  • Food and Nutrition

คาเฟอีน กินได้เท่าไร? ผู้ป่วยโรคประจำตัวกินได้ไหม?

คาเฟอีน เป็น ชื่อที่หลายคนได้ยินบ่อยๆและดื่มเป็นประจำเพราะคาเฟอีนจะมีอยู่ใน กาแฟ ชา โกโก้ เครื่องดื่มต่างๆ ซึ่งดื่มแล้วรู้สึกตื่นตัว ตาสว่าง กระตุ้นสมอง จนรู้สึกว่าต้องดื่มทุกวัน คาเฟอีนมีทั้งข้อดี และข้อเสีย แต่อย่างไรก็ตามจะต้องมีการจำกัดในปริมาณต่อวันและสำหรับคนที่มีโรคประจำตัวบางโรค ก็ต้องจำกัดปริมาณเพื่อการกิน เพื่อให้ได้รับประโยชน์จากคาเฟอีนในระดับที่เหมาะสม และไม่ส่งผลร้ายต่อผู้รับประทานเอง คนธรรมดาทั่วไป สามารถรับคาเฟอีนได้เท่าไหร่ จากคำแนะนำของ องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (United States Food and Drug Administration หรือFDA)  แนะนำว่าปริมาณคาเฟอีน ไม่เกิน 400 มิลลิกรัมต่อวัน หรือเทียบเท่ากาแฟ 4-5 แก้วต่อวัน ยังถือว่าเป็นปริมาณที่ปลอดภัยในผู้ใหญ่ที่สุขภาพดี สำหรับในประเทศไทย มีคำแนะนำเช่นกัน ว่าไม่ควรรับคาเฟอีนเกิน 400 มิลลิกรัมต่อวัน คาเฟอีน อยู่ในไหนบ้าง วิธีการดูว่ามีคาเฟอีนเท่าไร เราสามารถดูปริมาณคาเฟอีนได้จากฉลากโภชนาการ ถ้าเป็นเครื่องดื่มตามร้านกาแฟหรือคาเฟ่ทั่วไปสามารถกะปริมาณคร่าวๆ ได้จากปริมาณกาแฟที่ใช้ชง โดยทั่วไปกาแฟ 1 ช็อต (30-45 มิลลิลิตร) จะมีคาเฟอีนประมาณ 60 -100 […]

  • Food and Nutrition

ลิวซีน อาหาร สร้างกล้ามเนื้อ นักกล้าม นักเพาะกาย

หากคุณเป็น นักกล้าม หรือ นักเพาะกาย คุณคงทราบดีว่าโปรตีนเป็นสารอาหารที่สำคัญที่สุดในการสร้างและฟื้นฟูกล้ามเนื้อ กรดอะมิโน ลิวซีน (Leucine) ที่มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างกล้ามเนื้ออย่างยิ่ง โดยเฉพาะ นักกล้าม และ นักเพาะกาย ที่อยากจะรักษามวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นยังไงและไม่รู้ว่าที่กินอยู่ตอนนี้ถูกต้องเหมาะกับตัวเราไหม สามารถปรึกษานักกำหนดอาหารวิชาชีพที่จะช่วยคำนวณและดูแลเรื่องอาหารเฉพาะบุคคลให้ โปรตีน : พื้นฐานของการสร้างกล้ามเนื้อ         โปรตีนคือส่วนประกอบหลักของกล้ามเนื้อและเป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการสร้างและซ่อมแซมกล้ามเนื้อหลังการฝึกซ้อมอย่างหนัก สำหรับนักกล้ามและนักเพาะกาย การบริโภคโปรตีนที่เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยควรบริโภคโปรตีนประมาณ 1.6-2.2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน ตัวอย่างเช่น หากคุณมีน้ำหนัก 70 กิโลกรัม คุณควรบริโภคโปรตีนประมาณ 112-154 กรัมต่อวัน ลิวซีน : พระเอกของการสร้างกล้ามเนื้อ ลิวซีนเป็นหนึ่งในกรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ ต้องได้รับจากอาหาร ลิวซีนมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นกระบวนการสร้างโปรตีนในกล้ามเนื้อ หรือที่เรียกว่า Muscle Protein Synthesis (MPS) ทำไมลิวซีนถึงสำคัญต่อนักกล้ามและนักเพาะกาย? 1.กระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีนในกล้ามเนื้อ    ลิวซีนช่วยกระตุ้นเส้นทาง mTOR (mechanistic target of rapamycin) ซึ่งเป็นเส้นทางสำคัญในการควบคุมการสังเคราะห์โปรตีนในกล้ามเนื้อ การมีลิวซีนเพียงพอจะช่วยให้กล้ามเนื้อเจริญเติบโตและฟื้นฟูได้ดีขึ้น […]

  • Health

คาเฟอีน กาแฟ ตัวช่วยเสริมการ ออกกำลังกาย

ในคนที่ชอบ ออกกำลังกาย หรือนักกีฬาอาจจะเคยได้ยินมาว่า คาเฟอีน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกายหรือการฝึกซ้อมได้  จากการศึกษาพบว่า คาเฟอีนมักเห็นผลได้ชัดกับการออกกำลังกายแบบฝึกความทนทาน (Endurance training) เช่น ว่ายน้ำ ปั่นจักรยาน หรือวิ่งระยะยาว เช่น การวิ่งมาราธอน ได้ดีกว่าการออกกำลังกายแบบฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ (Strength Training) เช่น ยกน้ำหนัก เป็นต้น คาเฟอีน ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการ ออกกำลังกาย ได้อย่างไรหล่ะ ? 1.ช่วยให้ออกกำลังกายได้หนักและนานขึ้น เนื่องจากคาเฟอีนทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้น โดยการขัดขวางการดูดซึมสารอะดีโนซีน (adenosine) ซึ่งเป็นสารที่ทำให้ร่างกายรู้สึกเหนื่อยล้า ทำให้มีร่างกายความตื่นตัวและช่วยลดการรับรู้ความเหนื่อยล้า ทำให้สามารถออกกำลังกายได้นานขึ้นและหนักขึ้น รวมถึงยังพบว่าช่วยลดอาการปวดหลังจากออกกำลังกายในวันถัดไปได้เช่นเดียวกัน 2. เพิ่มการใช้ไขมันเป็นพลังงาน คาเฟอีนช่วยเพิ่มการสลายไขมันในร่างกาย ทำให้มีกรดไขมันอิสระในกระแสเลือดมากขึ้น ซึ่งร่างกายสามารถใช้เป็นแหล่งพลังงานระหว่างการออกกำลังกายที่มีความหนักต่ำถึงปานกลางได้ทำให้สามารถรักษาไกลโคเจนในกล้ามเนื้อไว้ได้ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานสำรองทำให้ออกกำลังกายได้นานขึ้นโดยไม่รู้สึกเหนื่อยล้าเร็ว 3. อาจมีส่วนช่วยให้ออกกำลังกายประเภทเวทเทรนนิ่งได้ ถึงแม้ว่าคาเฟอีนสามารถช่วยเพิ่มการหดตัวของกล้ามเนื้อโดยการเพิ่มความสามารถในการนำแคลเซียมเข้าสู่เซลล์กล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อสามารถทำงานได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น แต่ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่าช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการออกกำลังกายประเภทนี้ได้จริง จึงจำเป็นต้องรองานวิจัยในอนาคตเพื่อยืนยันต่อไปค่ะ ตัวอย่างการใช้ คาเฟอีน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการ ออกกำลังกาย การวิ่ง: นักวิ่งสามารถดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนประมาณ 30-60 นาทีก่อนการวิ่ง เพื่อเพิ่มความทนทานและลดความรู้สึกเหนื่อยล้า […]

  • Health

เพิ่มค่าเลือด อยากบริจาคเลือด ต้องกินยังไง?

ในปัจจุบันพบว่าในโรงพยาบาลและคลินิกต้องการเลือดจำนวนมากเพื่อรักษาผู้ป่วย แต่ปริมาณเลือดที่ได้รับบริจาคมักจะไม่เพียงพอ หากคุณเป็นหนึ่งคนที่เริ่มอยากบริจาคโลหิต เราเลยจะมาสนับสนุนสำหรับคนที่อยากบริจาคเลือดว่า ต้องกินยังไง เพิ่มค่าเลือด ก่อนบริจาคโลหิต เรา “ทีมนักกำหนดอาหารจาก Eat well concept” มีวิธีการเตรียมตัวมาฝากกัน ประโยชน์ของการบริจาคเลือด การบริจาคโลหิตไม่ใช่เพียงการให้เลือด แต่มันคือการให้ชีวิต การให้โอกาสใหม่ และการเติมเต็มความหวังให้กับผู้ป่วยที่ต้องการเลือดในสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น การผ่าตัด การรักษามะเร็ง หรือการรักษาอุบัติเหตุ 4 วิธี เพิ่มค่าเลือด ก่อนบริจาคเลือด 1. กินอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง : ธาตุเหล็กเป็นส่วนสำคัญในการสร้างเม็ดเลือดแดง การรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงช่วยเพิ่มระดับฮีโมโกลบินในเลือด เช่น เนื้อแดง (เช่น เนื้อวัวและหมู), ตับ, หอยแครง, ทูน่า, ผักใบเขียวเข้ม (เช่น ผักโขม, คะน้า) เป็นต้น 2. กินอาหารที่มีวิตามินซี : วิตามินซีช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็กจากอาหาร การรับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดูดซึมธาตุเหล็ก เช่น ผลไม้สด (เช่น ส้ม, กีวี, ฝรั่ง) และผัก […]

  • Food and Nutrition

คู่มือเลือก อาหารเพิ่มกล้ามเนื้อ ที่หาซื้อได้ 7-11

พอพูดถึงกล้ามเนื้อ ทุกคนอาจจะคิดถึงคุณพี่ก้ามปู กล้ามเป็นมัดๆ แต่จริงๆ แล้ว กล้ามเนื้อ  ไม่ได้สร้างง่ายขนาดนั้น  ยิ่งเมื่อเรา อายุมากขึ้น ร่างกายจะเริ่มสูญเสียกล้ามเนื้อและความแข็งแรงเพิ่มมากขึ้น  โดยกระบวนการนี้จะ เริ่มจะตั้งแต่อายุประมาณ 30 ปีขึ้นไป และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นนั่นเป็นสาเหตุว่า ทำไม พออายุเริ่มมากขึ้นน้ำหนักก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย เพราะกล้ามเนื้อเป็นเตาเผาพลังงานชั้นดี ที่ถ้ายิ่งมีมากก็จะช่วยเผาผลาญพลังงานจากอาหารที่เรากินได้ แต่เมื่อกล้ามเนื้อลดลง พลังงานต่างๆ ก็จะใช้ลดลง ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น แถมยังจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดการบาดเจ็บจากการหกล้มเพิ่มจนก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาได้ในที่สุด ดังนั้น อาหารเพิ่มกล้ามเนื้อ ที่แนะนำก็คือ โปรตีน นั่นเอง อยากสร้างกล้าม ต้องกินโปรตีนให้เพียงพอ  โปรตีนที่แนะนำต่อวัน คนทั่วไป : น้ำหนักตัว x (0.8-1) กรัมของโปรตีนต่อวัน เช่น หากเรามีน้ำหนัก 60 กิโลกรัม ดังนั้น เราควรได้รับโปรตีน 48-60 กรัมต่อวัน คนที่เล่นกล้าม : น้ำหนักตัว x (1.6 – 2.2) กรัมของโปรตีนต่อวัน เช่น หากเรามีน้ำหนัก 60 กิโลกรัม […]

  • Food and Nutrition

ลดไขมันพอกตับ แก้ได้ด้วยการเลือกกินอาหาร

ลดไขมันพอกตับ ด้วยการเลือกกินอาหารมีส่วนทำให้ไม่ซ้ำเติมการทำงานของตับ รู้หรือไม่ว่า ‘ตับ’ ทำหน้าที่เป็นแหล่งเก็บสะสมพลังงาน ช่วยสร้างเอนไซม์ย่อยอาหาร และขจัดล้างสารพิษในร่างกาย แต่ถ้าเรามีพฤติกรรมชอบปาร์ตี้ กินอาหารหวานๆมันๆ และดื่มสุราเป็นประจำ ตับก็มีวันที่จะถูกไขมันพอกได้ ซึ่งภาวะไขมันพอกตับเป็นจุดเริ่มต้น นำไปสู่ตับอักเสบและเป็นพังพืด ยิ่งเราปล่อยทิ้งไว้นานเท่าไร ไม่ดูแลรักษาก็สามารถกลายเป็นโรคมะเร็งตับที่อันตรายต่อชีวิต สาเหตุการเกิดไขมันพอกตับ พบประมาณ 20-40 % เกิดจากผู้ที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากและเป็นระยะเวลานาน เนื่องจากแอลกอฮอล์เป็นเครื่องดื่มที่ให้พลังงานสูงถึง 7 กิโลแคลอรี่ต่อกรัม ซึ่งก่อให้เกิดไขมันสะสมในตับ อีกทั้งแอลกอฮอล์เป็นพิษต่อตับโดยตรง ทำให้ตับอักเสบ กระบวนการเกิดไขมันพอกตับ                 การสะสมไขมันในตับจะอยู่ในรูปของไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglyceride) เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นไขมันที่ร่างกายสังเคราะห์ขึ้นในตับ หรือร่างกายได้รับจากการรับประทานอาหารประเภทไขมันโดยตรง เช่น หมูกรอบ เค้ก โดนัท ฯลฯ ถ้าหากร่างกายได้รับพลังงานมากเกินความจำเป็น พลังงานจากอาหารส่วนเกินนี้ก็จะถูกเปลี่ยนเป็นไขมันที่ถูกสะสมในส่วนต่างๆของร่างกาย เมื่อเก็บสะสมไว้เรื่อยๆก็จะกลายเป็นไขมันพอกตับ (Fatty Liver) อาหารกับไขมันพอกตับ แม้ว่าอาหารที่มีพลังงานสูงจะเป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้เกิดไขมันพอกตับ แต่ ‘อาหาร’ ก็เป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยรักษา ถ้าเรารู้วิธีการกินอาหารที่ถูกต้องและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม ดังนี้ วิธีเลือกกินอาหาร ลดไขมันพอกตับ เลือกกินเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ธัญพืชไม่ขัดสี […]

  • Food and Nutrition

6 วิธี ลดไขมัน ลดไตรกลีเซอไรด์ ง่ายๆ 

ไขมันไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides) เป็นไขมันชนิดหนึ่งที่พบในเลือด ระดับไตรกลีเซอไรด์ที่สูงเกินไปสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดได้ การควบคุมระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดให้เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญในการดูแลสุขภาพ และสามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยการปรับเปลี่ยนอาหารการกินของเรา มาดูกันว่ามีวิธีอะไรบ้างที่ช่วยลดไขมัน ลดไตรกลีเซอไรด์ ได้ อาหารที่แนะนำ สำหรับ ลดไตรกลีเซอไรด์ 1.ลองเพิ่มผักใยใส่จาน  อาหารที่มีกากใยสูงเช่น ผักใบ และธัญพืชเต็มเมล็ด จะช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลและไขมันเข้าสู่กระแสเลือด ทุกคนสามารลองเพิ่มผักในมื้ออาหารทุกมื้อ ให้ได้สักครึ่งจาน และเลือกข้าวกล้องหรือข้าวที่ไม่ผ่านขัดสีแทนข้าวขาว ไม่ว่าจะเป็นข้าวหอมนิล ไรซ์เบอรี่ หรือ เลือกขนมปังโฮลวีตแทนขนมปังขาวทั่วไป   2. คุมแป้ง และ ผลไม้ ถึงแม้ว่าผลไม้จะกากใยสูง แต่รู้ไหมคะว่าน้ำตาลในผลไม้ก็สามารถทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์เพิ่มได้เช่นเดียวกัน ถ้าเรากินผลไม้มากเกินไป โดยทั่วไปเราจะแนะนำให้กินครั้งละไม่เกิน 1 กำปั้น โดยใน 1 วันสามารถกินได้วันละ 1-2 ครั้ง โดยควรเลือกกินผลไม้ที่มีน้ำตาลต่ำ เช่น มะละกอ แอปเปิ้ล กีวี่ แก้วมังกร สาลี่  สำหรับ ทุเรียน ลำไย เงาะ มังคุด ยังพอกินได้แค่ชิ้นเล็กๆ หรือ […]

  • Food and Nutrition

แหล่งอาหารวิตามิน ที่จำเป็นต่อคนวัยผู้ใหญ่

ในวัยผู้ใหญ่มักจะไม่มีเวลาในการเลือกกินอาหาร ทำไมวิตามินถึงจำเป็นต่อร่างกาย เพราะถ้าขาดวิตามินระยะเวลานานจะทำให้เกิดความเสี่ยงโรคต่างๆได้ จริงๆแล้ว วิตามิน สามารถหากินได้ตาม อาหาร ทั่วไป แต่คนมักจะเสริมวิตามินด้วยผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจึงเป็นตัวเลือกแรกๆในการเริ่มดูแลตนเอง การเสริมวิตามิน เองอาจเกิดผลเสียต่อร่างกายในระยะยาวได้หากกินไม่ถูกวิธี   วิตามิน เป็นสารอาหารจำเป็นที่ไม่ให้พลังงาน มีความต้องการน้อยมากแต่ก็ขาดไม่ได้ จึงทำให้อาการแสดงเมื่อมีการขาดวิตามินจึงพบได้ยาก1 เว้นเสียแต่ว่ามีการขาดวิตามินเหล่านั้นเป็นระยะเวลานาน ซึ่งในวัยทำงานด้วยลักษณะในการใช้ชีวิต ความเร่งรีบในแต่ละวัน หรือในวัยทำงานแต่ละคนอาจมีความต้องการวิตามินบางชนิดมากขึ้น จึงอาจเพิ่มความเสี่ยงในการขาดสารอาหารได้ โดยเราคัด 5 วิตามินที่คนวัยทำงานอาจเสี่ยงต่อการขาดได้ วิตามินสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ตามการละลาย ดังนี้ วิตามินละลายในน้ำ (Water-soluble vitamin) : วิตามินกลุ่มนี้ไม่ถูกสะสมในร่างกาย เมื่อได้รับเกินกว่าที่ร่างกายต้องการจะถูกขับออกทางปัสสาวะ ได้แก่ วิตามินซี และกลุ่มวิตามินบี วิตามินละลายในไขมัน (Fat-soluble vitamin) : วิตามินกลุ่มนี้จำเป็นจะต้องรับประทานร่วมกับอาหารที่มีไขมันเป็นส่วนประกอบเพื่อให้สามารถละลายและดูดซึมเข้าร่างกายได้ และวิตามินชนิดนี้จะเก็บสะสมได้ในร่างกายได้จึงต้องระมัดระวังการได้รับในปริมาณมากเกินอาจทำให้เกิดผลเสียได้ วิตามินในกลุ่มนี้ ได้แก่ วิตามิน เอ ดี อีและเค วิตามิน แต่ละชนิดที่สามารถพบใน อาหาร ทั่วไป วิตามินดี(Vitamin […]

  • Food and Nutrition

การดูแล อาหาร ผู้สูงอายุ

เมื่อคนเราอายุมากขึ้น ร่างกายก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆไปตามเวลา นั่นยิ่งทำให้ต้องมีการดูแลสุขภาพเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของอาหารที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อสุขภาพของผู้สูงอายุ เพราะหากผู้สูงอายุได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ มีภาวะโภชนาการที่ไม่เหมาะสม ก็จะส่งผลต่อสุขภาพ รวมถึงคุณภาพชีวิตได้เช่นเดียวกัน ดังนั้นเราจึงควรใส่ใจ ดูแลเรื่องอาหารของผู้สูงอายุให้ได้รับสารอาหารที่เพียงพอครบถ้วน เพื่อการมีสุขภาพที่ดี แล้วการดูแล อาหาร สำหรับ ผู้สูงอายุ ควรดูแลเรื่องใดบ้าง มาดูกัน พลังงาน อาหาร ที่สำคัญใน ผู้สูงอายุ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ผัก ผลไม้ แคลเซียม วิตามินดี ของดีช่วยดูดซึมแคลเซียม น้ำเปล่า สิ่งที่สำคัญที่สุด ควบคุมอาหารตามโรคประจำตัว ลักษณะ อาหาร ที่เหมาะกับ ผู้สูงอายุ นอกจากนี้การดูแลด้านจิตใจของผู้สูงอายุก็เป็นสิ่งที่จำเป็น การกินข้าวพร้อมกับคนในครอบครัว มีคนคอยนั่งเป็นเพื่อนขณะกินอาหาร และหน้าตาอาหารที่น่ากิน ก็มีส่วนช่วยให้ผู้สูงอายุกินอาหารได้เยอะขึ้นเช่นเดียวกัน อย่าลืมลองนำเทคนิคการดูแลอาหารสำหรับผู้สูงอายุเหล่านี้ ไปดูแลผู้สูงอายุที่บ้านของทุกคน ให้มีการกินที่ดี เพื่อให้มีสุขภาพที่ดีกันนะคะ ส่วนใครที่ดูแลผู้สูงอายุ คุณพ่อ คุณแม่ คุณปู่ คุณยาย แล้วมีโรคประจำตัวสามารถปรึกษากับนักกำหนดอาหารกับเราได้ นักกำหนดอาหารวิชาชีพ (มีใบประกอบโรคศิลป์) จะวิเคราะห์ผลตรวจโรคและออกแบบเพลนอาหารให้ความรู้ให้ตรงกับโรคและความต้องการของร่างกายรายบุคคล ดูแลเรื่องอาหารให้กินได้อย่างอร่อย […]

  • Food and Nutrition

รวม สูตรลดน้ำหนัก ด้วยการกินอาหาร

          สูตรลดน้ำหนัก ที่เราเคยผ่านตาตามอินเทอร์เน็ต มักจะเป็นสูตรหรือเมนูอาหารที่ต้องปรุงประกอบเอง เพื่อให้สามารถคำนวนพลังงานได้อย่างแน่ชัด ซึ่งอาจจะเป็นที่ไม่สะดวกของใครหลายคน จึงมีการเพิ่มตัวเลือกเป็นการสั่งอาหารมาส่งที่บ้านรายสัปดาห์ แต่ก็พบว่าเมนูอาหารอาจถูกปากและมีราคาสูง จนอาจทำให้แผนการลดน้ำหนักของใครหลายคนเป็นอันต้องล้มเลิกไป วันนี้นักกำหนดอาหารได้รวบรวมสูตรอาหารลดน้ำหนักที่เป็นที่รู้จักมาสรุปเป็นแนวทางให้กับผู้ที่ตั้งใจจะเริ่มกลับมาลดน้ำหนักเพื่อสุขภาพที่ดีในระยะยาว สูตรลดน้ำหนัก โดยอาหารแบ่งตามลักษณะการจำกัดเป็น  3  แบบ (1) 1. สูตรลดน้ำหนัก ด้วยการจำกัดชนิดอาหาร โดยมีรูปแบบการจำกัดชนิดอาหารหรือสารอาหารบางชนิดให้น้อยลงจากเดิม หรือมีการงดเลี่ยงอาหารบางประเภทเนื่องจากเชื่อว่าอาหารเหล่านั้นอาจทำให้น้ำหนักตัวขึ้น หรือเชื่อว่าจะช่วยปรับการเผาผลาญของร่างกาย 1.1 อาหารไขมันต่ำ (Low fat diet) ที่มีการจำกัดปริมาณไขมันไม่เกินร้อยละ 10 – 30 ของพลังงานที่ได้รับต่อวัน และไขมันไม่เกินร้อยละ 7 – 10 ของพลังงานทั้งหมด ตามงานวิจัยพบว่าการกินอาหารไขมันต่ำสามารถช่วยลดน้ำหนักได้เมื่อเทียบกับกลุ่มที่กินอาหารตามปกติ แต่ให้ผลไม่ต่างจากกลุ่มที่กินอาหารแบบแป้งและน้ำตาลต่ำ หรืออาหารคีโต (2) แต่พบว่ามีส่วนช่วยในการลดไขมันในเลือดตัวที่ไม่ดี และไตรกลีเซอไรด์ได้ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด หากกินอาหารไขมันต่ำร่วมกับการกินอาหารที่มีใยอาหารสูงจะมีส่วนช่วยในการป้องกันและลดอัตราการตายของมะเร็งลำไส้ใหญ่และมะเร็งเต้านม (3) ในกลุ่มที่มีน้ำหนักตัวเกินได้อีกด้วย เทคนิคในการกินอาหารรูปแบบนี้ คือ การลด-เลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ของทอด เนื้อสัตว์ติดมัน แกงกะทิ ขนมกะทิ เบเกอรี […]

  • Health

เครื่องชั่งน้ำหนัก เลือกใช้ให้เหมาะ มีแบบไหนบ้าง?

การมีน้ำหนักตัวที่สมดุลส่งผลให้ร่างกายของเราทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การเคลื่อนไหวที่คล่องแคล่ว และยังจะช่วยให้ทราบถึงการเปลี่ยนแปลงของร่างกายอีกด้วย ซึ่งเครื่องมือที่ทำให้เรารู้ว่าตัวเองมีค่าน้ำหนักตัวเท่าไรนั้นก็คือ ‘ เครื่องชั่งน้ำหนัก ’ เป็นหนึ่งในเครื่องมือการแพทย์ที่เราคุ้นเคยกันมากที่สุดนั่นเอง เครื่องชั่งน้ำหนัก ปกติในโรงพยาบาล หรือ คลินิกต่างๆ เครื่องชั่งน้ำหนักมีบทบาทสำคัญในการประเมินและติดตามสภาพร่างกายของผู้ป่วย จึงควรที่จะต้องเป็นเครื่องชั่งน้ำหนักที่แม่นยำและผ่านการรับรองมาตรฐานจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  เครื่องชั่งน้ำหนักถูกแบ่งตามการใช้งาน ดังนี้ เครื่องชั่งน้ำหนัก แบบใช้ที่บ้าน ด้วยปัจจุบันมีนวัตกรรมออกใหม่และสะดวกสบายมากขึ้น เครื่องชั่งน้ำหนัก แบบใช้ที่บ้าน ราคาไม่กี่ร้อยก็สามารถให้ผลความแม่นยำใกล้เคียงกับเครื่องชั่งในโรงพยาบาลแบบเครื่องใหญ่ได้ อีกทั้งสะดวกในการใช้งานในระบบดิจิทัลเชื่อมต่อกับแอพพลิเคชั่นในโทรศัพท์ สามารถคำนวณ BMI บางเครื่องดูได้ถึงค่าไขมัน ค่ากล้ามเนื้อกันเลยทีเดียว อย่างไรก็ตาม การตรวจติดตามน้ำหนัก อาจไม่ใช่ดัชนีชี้วัดสุขภาพอย่างเดียว หากสามารถมองหาเครื่องชั่งน้ำหนักที่มีการวัดองค์ประกอบร่างกาย เพื่อตรวจสอบว่า เรามีน้ำหนักไขมัน และกล้ามเนื้อมากน้อยอย่างไร ก็เป็นอีกแนวทางในการติดตามสุขภาพที่ละเอียดขึ้นได้ เครื่องชั่งน้ำหนักช่วยอ่านค่าน้ำหนักโดยรวมของร่างกาย เพราะน้ำหนักตัวมีความสำคัญในการช่วยประเมินสุขภาพเบื้องต้น ปัจจุบันเราสามารถหาซื้อเครื่องชั่งน้ำหนักด้วยตนเองได้ง่ายผ่านทางออนไลน์ หรือจะร้านค้าต่างๆ น้ำหนักบอกอะไรเราได้ ? โดยค่าที่อ่านได้จากเครื่องชั่งจะบอกถึง ‘น้ำหนัก’ ของตัวบุคคล มีหน่วยเป็นกิโลกรัม ซึ่งน้ำหนักตัวนั้นสามารถบอกถึง ‘สุขภาพ’ ของตัวบุคคล สื่อให้รู้ว่าบุคคลนั้นมีน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่ และมีการเปลี่ยนแปลงน้ำหนักขึ้น-ลงอย่างไร เพื่อที่จะสามารถบอกหมอได้ว่ามีน้ำหนักลดลงเร็วผิดปกติหรือเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนเครื่องชั่งดิจิทัลปัจจุบันมีค่าต่างๆมากมายเรามาดูกันว่ามันคืออะไร การตรวจติดตามน้ำหนักตัว ถือว่าเป็นแนวทางหนึ่งในการติดตามสถานะสุขภาพของตัวเองที่ง่าย และทำได้ที่บ้าน […]

  • Food and Nutrition

ทางเลือกสายสุขภาพที่รัก คาร์บ เเต่ยังดูสุขภาพดี   

“อย่ากินแป้งนะ อย่ากินข้าวนะ ถ้าไม่อยากเป็นโรค” เชื่อว่าหลายๆท่านที่เลือกเส้นทางสาย Healthy หรือสายดูแลสุขภาพน่าจะเคยได้ยินคำพูดเหล่านี้ ไม่ว่าจากคนรู้จัก หรือจากโลกโซเชียล แต่เคยสงสัยไหมคะว่าการที่เราเลือกที่ดูแลสุขภาพตัวเอง การงด คาร์บ งดแป้ง งดข้าว เป็นสิ่งจำเป็นจริงๆเหรอ ? แล้วถ้าเราเป็นคนชอบกินข้าว กินแป้ง หรือเป็น Carb lover ล่ะ เรายังสามารถเป็นสายดูแลสุขภาพได้อยู่หรือเปล่า ?  คาร์โบไฮเดรต มีประโยชน์ยังไง  คาร์โบไฮเดรตถือว่าเป็นสารอาหารหลักของร่างกาย และมีหน้าที่ที่สำคัญต่อร่างกายหลายอย่าง ดังนี้  1.เป็นแหล่งพลังงานหลัก        คาร์โบไฮเดรตเป็นแหล่งพลังงานหลักของร่างกาย โดยปริมาณของคาร์โบไฮเดรตอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวัน 2563 (Dietary Reference Intake (DRI) สำหรับทุกช่วงวัย คิดเป็นร้อยละ 45-65 ของพลังงานที่ควรได้รับต่อวัน โดยคาร์โบไฮเดรต จะถูกย่อยเป็นน้ำตาลขนาดเล็กๆ และเป็นแหล่งพลังงานสำคัญให้กับอวัยวะต่างๆ เช่นสมอง และ กล้ามเนื้อ   2.เป็นแหล่งพลังงานสำรอง       คาร์โบไฮเดรตจะถูกเก็บเป็นพลังงานสำรองไว้ในรูปของ “ไกลโคเจน” เก็บสะสมไว้ในส่วนต่างๆของร่างกาย โดยเฉพาะในตับและกล้ามเนื้อ เมื่อร่างกายต้องการพลังงานอย่างรวดเร็ว จะเปลี่ยนไกลโครเจมาเป็นกลูโคสเพื่อให้พลังงานแก่ร่างกายได้ทันเวลา  […]

  • Food and Nutrition

เทคนิคการเสริม โปรตีน ในผู้สูงอายุ

เมื่อก่อนเราอาจจะเคยได้ยินเรื่องของความเชื่อที่ว่า “อายุเยอะแล้ว ไม่ต้องกินเนื้อสัตว์เยอะหรอก ให้เน้นกินพืชกินผักมากกว่า” ซึ่งในความเป็นจริงเราพบว่าความเชื่อเหล่าเป็นสิ่งที่ผิด เนื่องจากเราพบว่า เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น อัตราการสลายกล้ามเนื้อก็เพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกันและการทำกิจกรรมหรือการขยับตัวก็ลดลง ยิ่งกระตุ้นให้กล้ามเนื้อสลายมากขึ้น รวมทั้งปัจจัยในเรื่องการบริโภคโปรตีนหรือเนื้อสัตว์ที่ลดลง โดยอาจมาจากปัญหาเรื่องช่องปาก เช่น มีฟันเหลือน้อย หรือไม่มีฟัน หรืออาจจะรู้สึกว่าเนื้อสัตว์ต่างๆมีกลิ่นคาวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลให้ผู้สูงอายุได้รับโปรตีนที่ไม่เพียงพอต่อรางกาย เมื่อได้รับโปรตีนลดลง ร่างกายสลายมากขึ้น เราจึงพบเห็นว่าผู้สูงอายุจะเริ่มเดินไม่ไหวกันมากขึ้น และสุดท้ายก็เกิดภาวะป่วยติดเตียงตามมานั่นเอง จากคำแนะนำของ European Society of Parenteral and Enteral Nutrition (ESPEN) ในปี 2022 แนะนำว่าในผู้สูงอายุควรได้รับโปรตีน อย่างน้อย 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แต่โดยทั่วไป เราจะแนะนำอยู่ที่ 1-1.2 กรัมของโปรตีนต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ในผู้สูงอายุสุขภาพดีทั่วไป และมีความต้องการเพิ่มขึ้นหากมีภาวะเจ็บป่วยอื่นๆ เช่น มีการอักเสบต่างๆ ติดเชื้อ มีบาดแผล หรือในกลุ่มที่มีการออกกำลังกายมากๆ แต่หลายครั้งเราพบว่าปัญหาที่เกิดจากกินโปรตีนหรือเนื้อสัตว์ที่ลดลง ไม่ได้เกิดจากผู้สูงอายุไม่อยากกิน แต่เกิดจากปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้ไม่สามารถรับประทานได้ เช่นปัญหาทางช่องปาก […]

  • Blog from Eatology

แคดเมียม อาหารบางอย่างอาจปนเปื้อนได้

ประเด็นเรื่องการพบกาก แคดเมียม จำนวนมากที่ไม่ถูกเก็บให้ถูกวิธีในไทยเป็นเรื่องที่คนไทยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญและติดตามข่าวสารอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะคนที่อยู่ในพื้นที่หรืออยู่ใกล้พื้นที่ที่มีโลหะดังกล่าว แคดเมียม (Cadmium) คือ ? เป็นโลหะชนิดหนึ่ง ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น แบตเตอร์รี่, เคลือบโหละต่างๆ,ส่วนผสมของสีในพลาสติก เซลามิก และแก้วบางชนิด ในอุตสาหกรรมโซลาเซลล์ก็มีการใช้เช่นกัน สารแคดเมียมมีครึ่งชีวิตหรือ half life ในร่างกายมนุษย์ถึง 30 ปี หากเราได้รับแคดเมียมปริมาณมาก ย่อมเกิดผลเสียต่างๆต่อร่างกาย และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆเพิ่มมากขึ้น โดยองค์การอนามัยโลก กำหนดไว้ว่าคนปกติไม่ควรได้รับแคดเมียมเกินสัปดาห์ละ 0.40-0.50 มิลลิกรัม ความเสี่ยงเกิดโรคในการสะสมแคดเมียมในร่างกาย โดยทั่วไปเราสามารถได้รับแคดเมียมได้จากอาหารที่เรารับประทานกันในประจำวันอยู่แล้ว เนื่องจากแคดเมียมเป็นสารที่จะผสมอยู่ในดิน น้ำ และอากาศ ทำให้สัตว์และพืชที่เจริญเติบโตในบริเวณที่มีแคดเมียมปนเปื้อนได้รับสารเหล่านี้ และเราในฐานะผู้บริโภค จึงไม่สามารถหลีกหนีการได้รับแคดเมียมได้เลย แหล่งอาหารที่มีความเสี่ยงแคดเมียมสูง *และจะมีปริมาณแคดเมียมเพิ่มมากขึ้น เมื่ออยู่ในพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนจากแคดเมียม ในฐานะนักกำหนดอาหาร เราจึงแนะนำให้มีการจำกัดความถี่และปริมาณการรับประทานอาหารในกลุ่มดังกล่าว เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการได้รับแคดเมียมปริมาณมาก ที่สำคัญเลยคือการเลือกรับประทานอาหารให้หลากหลาย ไม่ซื้ออาหารจากแหล่งเดิมซ้ำๆ ก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการรับแคดเมียมหรือโลหะหนักหรือสารพิษอื่นๆได้เช่นเดียวกันค่ะ

  • Food and Nutrition

เบาหวาน เป็นแล้วกินอย่างไรดี

เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่พบมากในทั่วโลกและเป็นโรคยอดฮิตที่พบในหมู่ผู้ใหญ่ ซึ่งหลายคนมองข้ามเนื่องจากด้วยอาการแสดงให้เห็นมีน้อยกว่าจะรู้ตัวอีกทีตอนตรวจสุขภาพประจำปีหรือตรวจเฉพาะเจาะจงเลย ปัญหาที่เกิดจากภาวะเบาหวาน คือเรื่องหลอดเลือดต่างๆ ในร่างกายที่ทำให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมาอีกมาก ฉะนั้นเมื่อพบว่าเป็นเบาหวานแล้ว เราจึงควรดูแลสุขภาพไม่ให้น้ำตาลขึ้นสูงผิดปกติป้องกันตัวเองจากปัญหาแทรกซ้อนอันเนื่องมาจากเบาหวานต่าง ๆ นั่นเอง โรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน -โรคหลอดเลือดหัวใจ เมื่อน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน ทำให้ผนังหลอดเลือดเสื่อมสภาพ สูญเสียความยืดหยุ่น นำมาสู่โรคหลอดเลือดหัวใจ -โรคหลอดเลือดสมอง เช่นเดียวกับโรคหลอดเลือดหัวใจ เมื่อทำให้หลอดเลือดเกิดความผิดปกติ เกิดที่เลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนใด ก็ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่นั่น หากเกิดที่บริเวณสมอง ก็นำไปสู่โรคหลอดเลือดสมอง -โรคไต น้ำตาลที่สะสมไว้สูงเป็นเวลานานบริเวณหลอดเลือดฝอยที่ไต ทำให้เกิดการตีบ และอุดตัน ส่งผลให้ประสิทธิภาพการกรองของเสียของไตลดลง -โรคจอประสามตาเสื่อม เบาหวานขึ้นตาเป็นโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากหลอดเลือดอักเสบ โป่งพอง -เกิดแผลติดเชื้อที่เท้า เส้นเลือดตีบอุดตันทำให้ขาดเนื้อเยื้อไปเลี้ยงและเลือดไปเลี้ยงไม่พอ เบาหวาน โรคที่รักษาได้ด้วยการปรับอาหาร เบาหวาน (Diabetes Mellitus) คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติในการนำสาร อาหาร กลุ่มคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงาน1 แต่เมื่อร่างกายนำน้ำตาลไปใช้ไม่ได้ จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดมีค่าสูงผิดปกติ จนสร้างความเสียหายต่อระบบอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โรคเบาหวานแบ่งได้เป็น 4 ชนิด ได้แก่ โรคเบาหวานชนิดที่ 1, โรคเบาหวานชนิดที่ 2, […]

  • private nutrition consult

โปรแกรมลดไขมัน ด้วย SAKID application

“ไขมันนี้ พี่จะขยี้ให้แหลก” โปรแกรมลดไขมัน เพื่อดูแลสุขภาพที่จะช่วยให้คุณลดไขมันได้อย่างสนุก และสุขภาพดี โปรแกรมลดไขมัน รูปแบบใหม่กับนักกำหนดอาหารแล้วจะรู้ว่าทำได้ไม่ยาก ในการชิงรางวัลไปเลย คุ้มกว่านี้ไม่มีอีกแล้ว สมัครตอนนี้ สุดคุ้ม ราคาพิเศษ Early bird 2,499 บาท (ก่อน 30 เมษายน 2567) คุ้มที่1 ปรึกษากำหนดอาหารวิชาชีพ 60 นาที (มูลค่า 1,500 บาท) คุ้มที่2 แพคเกจตรวจไขมันในเลือด หลังจบโปรแกรม (มูลค่า 600 บาท) คุ้มที่3 นักกำหนดอาหารคอยให้คำปรึกษาตลอดกิจกรรม ผ่าน SAKID application ที่ช่วยปรับการกินเป็นเรื่องง่าย คุ้มกว่านี้ เงินรางวัล และของรางวัลกิจกรรมต่างๆ มากมาย ราคาสมัครหลัง วันที่ 30 เมษายน 2024 ราคาปกติ 2,990 บาท รับสมัครจำนวนจำกัดเพียง 50 ท่าน ระยะเวลาโปรแกรม […]

  • Lifestyle

รวม เครื่องมือทางการแพทย์ ที่ควรพกติดบ้าน

เครื่องมือทางการแพทย์ คือ เครื่องมือ เครื่องใช้อุปกรณ์ เครื่องจักร วัตถุที่ใช้ใส่เข้าไปในร่างกายมนุษย์ น้ำยาที่ใช้ตรวจในห้องปฏิบัติการ และตัวสอบเทียบ (Calibrator) ซอฟต์แวร์วัสดุหรือสิ่งที่คล้ายกันหรือเกี่ยวข้องกัน ทั้งนี้เครื่องมือการแพทย์มีวัตถุประสงค์ดังนี้ ในปัจจุบันเครื่องมือการแพทย์อื่น ที่มีมาตรฐานมีวางขายตามเว็บไซต์ บนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ (E-Commerce) และร้านขายยา รวมถึงร้านค้าทั่วไป ซึ่งเป็นอีกช่องทางที่ทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงเครื่องมือการแพทย์ได้ง่ายขึ้น ซึ่งมักจะเป็นเครื่องมือที่มีวิธีการใช้งานง่ายและไม่ซับซ้อน โดยเราควรเลือกซื้อเครื่องมือที่มีมาตรฐานที่ได้รับการรับรองจากกองควบคุมเครื่องมือแพทย์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เครื่องมือทางการแพทย์ ที่ควรพกติดบ้าน มาดูกันว่าเครื่องมืออันไหนที่ควรมีติดบ้านไว้ โดยที่ใช้ได้ทั่วไปและเฉพาะบ้านที่มีผู้ใหญ่และผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว ซึ่งเครื่องมือแต่ละประเภทสามารถประเมินได้เบื้องต้นมีความแม่นยำในระดับหนึ่ง แต่ไม่สามารถเทียบเท่ากับโรงพยาบาลได้ ดังนั้นโปรดอ่านรายระเอียดคู่มือการใช้งานของเครื่องมือแต่ละประเภทว่ามีวิธีการใช้งานอย่างไร ผลแปลที่วัดออกมาระดับไหนและควรที่จะรีบไปพบแพทย์เมื่อไร ปรอทวัดไข้ เครื่องวัดค่าอุณหภูมิร่างกาย เครื่องวัดปริมาณออกซิเจนปลายนิ้ว เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องวัดค่าน้ำตาลในเลือด Smart Watch ในปัจจุบัน นาฬิกาได้ถูกพัฒนาเพื่อตอบสนองการดูแลสุขภาพที่มีฟังชั่นหลากหลายไม่ว่าจะวัดอัตราการเต้นของหัวใจ วัดออกซิเจน นับก้าวเดิน ดูเรื่องการออกกำลังกายประเภทต่างๆ จับการนอนหลับ อุณหภูมิร่างกาย ซึ่งข้อมูลที่ตรวจจับร่างกายสามารถวิเคราะห์และรายงานผลผ่านแอพของแต่ละแบรนด์ในมือถือได้ เรียกได้ว่าครบในที่เดียว ส่วนเรื่องความแม่นยำต้องดูข้อมูลโดยตรงแต่ละรุ่นและแบรนด์จะมีความแตกต่างกันออกไป ส่วนการเลือกซื้อขึ้นอยู่ที่เราจะเลือกการใช้งานฟังชั่นแบบไหนและแบรนด์ที่ชอบได้เลย โดยทั้งหมดนี้สามาถใช้อ้างอิงข้อมูลเบื้องต้นของเราได้ แต่ไม่ควรใช้ข้อมูลที่ได้จากการตรวจวัดนี้ในการวินิจฉัยรักษาโรคหรือสั่งยาด้วยตัวเอง ควรเอาข้อมูลไปปรึกษาแพทย์หรือตรวจเชิงลึกกับโรงพยาบาลอีกที เครื่องมือการแพทย์ที่ใช้ในโรงพยาบาลเท่านั้น ตามโรงพยาบาลก็ยังมีเครื่องมือการแพทย์ที่เหมาะสมกับลักษณะและอาการของโรคนั้นๆ สำหรับแพทย์หรือบุคลากรทางการแพทย์เพื่อใช้ในการตรวจวินิจฉัยและรักษา เช่น […]

  • Health

5 อาหาร ไม่แนะนำ เมื่อ ไขมันพอกตับ

ไขมันพอกตับหรือไขมันเกาะตับ เกิดจากไขมันประเภทไตรกลีเซอไรด์ ที่มีเกินความจำเป็นต่อร่างกาย และไขมันจะถูกสะสมที่ตับ  ซึ่งเป็นภาวะที่สามารถพบได้ในคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะคนที่อ้วนลงพุงและคนที่ดื่มแอลกอฮอล์ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน หากมีไขมันเกาะตับอยู่หนาแน่นก็จะนำไปสู่การทำงานของตับล้มเหลว คนที่เป็นโรคอ้วน ไขมันในเลือดสูง และเบาหวานสามารถเสี่ยงพบไขมันพอกตับได้เช่นกัน ส่วน ไขมันพอกตับ อาหาร ที่ไม่แนะนำหลักๆมีอะไรบ้าง ภาวะไขมันพอกตับเกิดได้ทั้งกับคนที่ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำและไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์ แต่คนที่ดื่มแอลกอฮอล์เป็นประจำในปริมาณมากเป็นระยะเวลานาน จะเสี่ยงเป็นโรคตับมากกว่า เนื่องจากแอลกอฮอล์ส่งผลให้ไขมันแทรกในตับ ซึ่งนำไปสู่การเกิดการอักเสบและเกิดพังผืดในตับตามมา น้ำอัดลมที่มีฟรุกโตสคอร์นไซรัป (High-fructose corn syrup; HFCS) ซึ่งสามารถตรวจดูได้จากฉลากบนบรรจุภัณฑ์ การที่มีปริมาณน้ำตาลส่วนเกินที่เกิดจากการได้รับน้ำตาลมากเกินความต้องการของร่างกาย จะทำให้ตับนำเอาน้ำตาลส่วนเกินไปสร้างเป็นไขมันและเก็บสะสมไว้ในตับ เมื่อนานเข้าก็จะกลายเป็นไขมันพอกตับ ขนมขบเคี้ยวอุดมไปด้วยน้ำตาลที่ให้ความหวาน โซเดียมที่ให้ความเค็ม และไขมันทรานส์ที่ให้ความมัน แม้จะทำให้มีรสชาติอร่อย ถูกใจผู้บริโภค แต่ทั้งน้ำตาล โซเดียม และไขมันทรานส์ ล้วนเป็นสาเหตุของการเกิดภาวะน้ำหนักเกิน ไขมันในเลือดสูง และน้ำตาลในเลือดสูง โดยภาวะเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับการเกิดไขมันพอกตับ ผงชูรส หรือ MSG (Monosodium glutamate) เป็นเครื่องปรุงที่นิยมใส่ในอาหารเพื่อเพิ่มรสชาติให้กลมกล่อม ซึ่งมีงานวิจัย (Collison, 2009) ชี้ให้เห็นว่าผงชูรสเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดไขมันพอกตับ เนื่องจากผงชูรสจะไปทำลายประสิทธิภาพการทำงานของกระบวนการสลายกรดไขมัน (Fatty acid β-oxidation) และการสร้างน้ำดี (Bile Synthesis) […]

  • Food and Nutrition

อาหารที่ควรกิน หลัง ผ่าตัดลำไส้

การพักฟื้นนั้นเป็นช่วงเวลาสำคัญสำหรับผู้ป่วยหลังผ่าตัดลำไส้ ซึ่งระยะเวลาที่ต้องใช้ในการพักฟื้นเพื่อกลับคืนสู่สภาพปกติจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับลักษณะของการผ่าตัดและสภาพร่างกายของบุคคลนั้น ๆ โดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยหลังผ่าตัดลำไส้ต้องการอาหารที่เหมาะสมเพื่อสนับสนุนกระบวนการฟื้นฟูที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ อาหารและโภชนาการสำหรับผู้ป่วย ผ่าตัดลำไส้ ผู้ป่วยหลังผ่าตัดลำไส้ออกไป อาจเกิดอาการปวดเกร็งช่องท้อง คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย และอาจพบอาการน้ำตาลในเลือดต่ำร่วมด้วย หรือที่เรียกว่า ดัมปิ้ง ซินโดรม (Dumping Syndrome) ซึ่งเกิดจากการที่อาหารผ่านกระเพาะอาหารเข้าสู่ลำไส้เล็กเร็วเกินไป มักพบในผู้ป่วยที่รับการผ่าตัดกระเพาะอาหารหรือลำไส้ ดังนั้นผู้ป่วยหลังผ่าตัดลำไส้จึงควรได้รับการดูแลอาหารเป็นพิเศษ ดังนี้ 1.อาหารหนึ่งถึงสองมื้อแรกหลังการผ่าตัดลำไส้จะเป็นอาหารเหลวใส ระหว่างเวลานี้ผู้ป่วยจะถูกจำกัดอาหารและมีการจำกัดน้ำ เนื่องจากลำไส้ต้องการระยะเวลาในการฟื้นฟู หากรับประทานอาหารทางปากได้แล้ว ก็ต้องค่อยๆ เริ่มจากอาหารเหลว เช่น น้ำหวาน น้ำสมุนไพร น้ำซุปใส น้ำผลไม้กรองกาก ไปสู่อาหารที่มีเนื้อสัมผัสมากขึ้น จนสามารถกลับมารับประทานได้อย่างปกติ  ซึ่งควรที่จะเลือกกินตามที่ทางโรงพยาบาลจัดเตรียมไว้ให้ เพราะเป็นการจัดตามคำสั่งของแพทย์ 2.กินอาหารปริมาณครั้งละน้อย แบ่งเป็นมื้อเล็ก ๆหลายๆมื้อ กินให้บ่อยขึ้นทุก 2-3 ชั่วโมง หรืออย่างน้อยวันละ 4-6 มื้อ หรือ เสริมอาหารมื้อว่าง  เพื่อให้ร่างกายได้พลังงานเพียงพอ เนื่องจากผู้ป่วยหลังผ่าตัดมักมีภาวะอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ และอาเจียน 3.เลือกกินอาหารอ่อนเป็นระยะเวลา 2-8 สัปดาห์หลังการผ่าตัดลำไส้ คืออาหารที่ผ่านการสับ […]

  • Health

วิตามิน และสารอาหารที่จำเป็นต่อคนวัยทำงาน

          ในวิถีชีวิตที่เร่งรีบจึงทำให้คนวัยทำงานส่วนใหญ่มักไม่มีเวลาในการเลือกกินอาหาร ตัวเลือกอาหารส่วนใหญ่จึงเป็นอาหารจานด่วน เบเกอรี่ หรือแม้แต่การข้ามมื้ออาหารนั้นๆไป ในระยะหลังคนวัยทำงานเริ่มหันมาสนใจดูแลสุขภาพของตัวเองมากยิ่งขึ้น การเสริมผลิตภัณฑ์เสริมอาหารจึงเป็นตัวเลือกแรกๆในการเริ่มดูแลตนเอง การเสริม วิตามิน เอง อาจเกิดผลเสียต่อร่างกายในระยะยาวได้หากกินไม่ถูกวิธี            วิตามิน เป็นสารอาหารจำเป็นที่ไม่ให้พลังงาน มีความต้องการน้อยมากแต่ก็ขาดไม่ได้ จึงทำให้อาการแสดงเมื่อมีการขาดวิตามินจึงพบได้ยาก1 เว้นเสียแต่ว่ามีการขาดวิตามินเหล่านั้นเป็นระยะเวลานาน ซึ่งในวัยทำงานด้วยลักษณะในการใช้ชีวิต ความเร่งรีบในแต่ละวัน หรือในวัยทำงานแต่ละคนอาจมีความต้องการวิตามินบางชนิดมากขึ้น จึงอาจเพิ่มความเสี่ยงในการขาดสารอาหารได้ โดยเราคัด 5 วิตามินที่คนวัยทำงานอาจเสี่ยงต่อการขาดได้ สารอาหารที่สำคัญในวัยทำงานมีอะไรบ้าง วิตามินดี มีส่วนช่วยในการดูดซึมแคลเซียม รักษาสมดุลแคลเซียมและฟอสเฟตในเลือด หากท่านอยู่ในกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อการขาดวิตามินดีจากการโดนแดดไม่เพียงพอ นักกำหนดอาหารแนะนำให้หาโอกาสโดนแดดอย่างน้อย 3 วันต่อสัปดาห์ อย่างน้อย 25 นาทีต่อครั้ง หากท่านอยู่ในกลุ่มที่มีโรคประจำตัว นักกำหนดอาหารแนะนำให้มาพบแพทย์เพื่อตรวจระดับวิตามินดีในเลือดเพื่อประเมินเสริมวิตามินดีในปริมาณที่เหมาะสมต่อไป แคลเซียม เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของกระดูก วิตามินเอ วิตามินเอมีส่วนช่วยหลักในเรื่องการมองเห็น วิตามินซี ทำหน้าที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ในคนที่สามารถกินผักและผลไม้ดังกล่าวได้ดีอยู่แล้วไม่มีความจำเป็นต้องเสริมวิตามินซี เนื่องจากร่างกายจะสามารถดูดซึมวิตามินซีได้ดีกว่ากลุ่มคนที่มีการเสริมวิตามินซี เพราะยิ่งเสริมมากร่างกายจะมีการดูดซึมลดลง แม้ว่าการเสริมวิตามินซีในปริมาณสูง (2000 มิลลิกรัมต่อวัน) จะยังไม่มีข้อมูลที่แน่ชัดทางคลินิคว่าจะก่อให้เกิดอาการข้างเคียงที่รุนแรง แต่พบว่าการเสริมวิตามินซีในปริมาณสูงมีผลต่อการสร้างออกซาเลตซึ่งเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นนิ่วในไต ดังนั้นหากต้องการเสริมวิตามินซี แนะนำให้เพิ่มการดื่มน้ำระหว่างวันมากขึ้น และควรหลีกเลี่ยงการเสริมวิตามินซีในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงโรคไตและผู้ป่วยโรคธาลัสซีเมียที่มีภาวะเหล็กเกิน วิตามิน บี 1 […]

  • Clinical Nutrition

5 อาหารเลือกกินอย่างไร…เมื่อ ไขมันพอกตับ

ภาวะไขมันพอกตับ (Fatty Liver) เป็นภาวะที่มีไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์มาเกาะอยู่ที่ตับของเราประมาณ 5-10% ของน้ำหนักตับ ซึ่งเป็นภาวะที่สามารถพบได้ในคนทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะคนที่อ้วนลงพุงและคนที่ดื่มแอลกอฮอล์ต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน หากมีไขมันเกาะตับอยู่หนาแน่นก็จะนำไปสู่การทำงานของตับล้มเหลว ซึ่งวิธีง่ายๆที่ช่วยลด ไขมันพอกตับ ของเราได้ ก็คือการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมทางโภชนาการนั่นเอง โภชนาการที่ดีต่อภาวะไขมันพอกตับ               แม้ว่าตับเป็นอวัยวะที่มีความสามารถในการซ่อมแซมตัวเองได้อย่างน่าทึ่ง อย่างไรก็ตามการควบคุมอาหารคือปัจจัยหนึ่งที่ช่วยลดไขมันพอกตับ โดยเริ่มจากการลดการบริโภคอาหารมันๆ หวานๆ และเพิ่มการกินอาหารที่มีไฟเบอร์สูง อย่างผัก ผลไม้ ธัญพืช และถั่ว ซึ่งเราควรเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อตับ และหลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้ไขมันพอกตับมากขึ้น ดังนี้ 5 อาหารแนะนำ เมื่อ ไขมันพอกตับ ถั่วเหลือง หรือ เต้าหู้ เป็นแหล่งโปรตีนชนิดที่ดีและมีไขมันต่ำมีการศึกษา (Mega, 2021) ได้กล่าวเอาไว้ว่าการบริโภคถั่วเหลือง ช่วยลดไขมันพอกตับ เนื่องจากถั่วเหลืองมีเบต้า-คอนไกลซิน(β-conglycinin) ที่มีคุณสมบัติช่วยลดไขมันไตรกลีเซอไรด์ และมีสารไอโซฟลาโวน(Isoflavones) ที่ช่วยเพิ่มการหลั่งฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่ในการควบคุมระดับน้ำตาลและการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย ทำให้ลดการสะสมของไขมันในช่องท้อง ข้าวกล้องเป็นธัญพืชที่ไม่ขัดสี มีไฟเบอร์สูง ถือว่าเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน มีบทบาทในการช่วยชะลอการดูดซึมไขมันและน้ำตาลในกระแสเลือด ทำให้ร่างกายได้รับพลังงานส่วนเกินที่จะเปลี่ยนไปเป็นไขมันสะสมน้อยลง ซึ่งสามารถช่วยลดไขมันพอกตับได้ อย่างไรก็ตามควรควบคุมปริมาณการกินให้อยู่ที่ราว 2-3 ทัพพีต่อมื้อ (ไม่เกิน 150 […]

  • Food and Nutrition

นมวัว นมธัญพืช กินอันไหนดีกว่ากัน

นมวัวเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมาตลอดตั้งแต่ในอดีต แต่การเลือกดื่มนมในปัจจุบันมีความหลากหลายมากขึ้น นอกจากนมวัวแล้ว ยังมี นมธัญพืช หลายชนิด เช่น นมถั่วเหลือง นมข้าวโพด นมอัลมอนด์และอื่นๆ ได้กลายมาเป็นอีกทางเลือกหนึ่งให้แก่ผู้บริโภค แล้วนมทั้งหมดนี้มีความแตกต่างกันหรือไม่ลองไปดูกัน นมวัว คือ เครื่องดื่มที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูง มีลักษณะเป็นของเหลวสีขาว รสจืดหอมมัน นอกจากนี้ยังมีการปรุงแต่งรสแบบอื่นๆให้มีความหลากหลาย เช่น รสช็อกโกแลต รสสตอเบอร์รี่ รสกล้วย เป็นต้น นมวัวอุดมไปด้วยสารอาหารชนิดต่างๆ ดังนี้ นมธัญพืช(plant based milk) นมธัญพืช คือเครื่องดื่มที่ทำมาจากธัญพืช  เช่น นมถั่วเหลือง นมข้าวโอ๊ต นมอัลมอนด์ ฯลฯ โดยทั่วไปแล้วร่างกายสามารถดูดซึมแคลเซียมจากการดื่มนมธัญพืชได้น้อยกว่านมวัว เพราะธัญพืชมีสารไฟเตท (Phytate) สารจากธรรมชาติที่มีคุณสมบัติการขัดขวางการดูดซึมแคลเซียมได้ นมธัญพืช แต่ละชนิดประกอบด้วยสารอาหารแตกต่างกันจึงควรอ่านข้อมูลโภชนาการและส่วนประกอบที่ระบุบนฉลากผลิตภัณฑ์ก่อนเลือกซื้อ และรับประทานอาหารอื่นๆที่มีประโยชน์และหลากหลายเพื่อให้ได้รับสารอาหารครบถ้วน เช่น ความแตกต่างระหว่างนมวัวและนมธัญพืช สารอาหารที่อยู่ในน้ำนมทั้งสองชนิด โดยเฉพาะโปรตีน ฟอสฟอรัส แคลเซียม และโพแทสเซียม โดยธรรมชาติแล้วในนมวัวจะมีปริมาณมากกว่านมธัญพืช แต่ปัจจุบันอุตสาหกรรมอาหารได้มีการเติมสารอาหารเหล่านี้ในระหว่างกระบวนการผลิต ทำให้ทั้งนมวัวและนมธัญพืชมีปริมาณสารอาหารที่ใกล้เคียงกัน น้ำตาลแลคโตสเป็นน้ำตาลที่อยู่ในนมวัว ซึ่งนมธัญพืชจะไม่มี ภายในร่างกายมนุษย์จะมีเอนไซม์ที่ชื่อว่าแลคเตส […]

  • Food and Nutrition

สารอาหาร จะวัยไหนๆ กินอย่างไร ให้ดี !

หากถามว่าอะไรจำเป็นในการดำรงชีวิต อาหาร คงเป็นคำตอบแรกๆ ที่พูดถึง สารอาหาร สำคัญ ตั้งแต่เราเป็นทารกอยู่ในท้อง จนกระทั่งคลอดออกมา จนเติบโตมาเรื่อย ๆ และเข้าสู่วัยเด็ก วัยหนุ่มสาว วัยผู้ใหญ่  สุดท้ายเข้าสู่ในช่วงวัยผู้สูงอายุ อาหารคือสิ่งจำเป็นที่ขาดไม่ได้  ไม่ว่าจะเลือกกินอาหารที่ดีหรือไม่ดี เหมาะสมหรือไม่เหมาะสมย่อม็ส่งผลต่อร่างกายโดยตรง รวมไปถึงคุณภาพชีวิตที่ดี และสุขภาพที่ดีก็จะ เริ่มต้นได้ด้วยการเลือกกินอาหารที่เหมาะสมและเข้ากับช่วงวัยนั่นเอง อาหารหลักที่จำเป็นทุกช่วงวัย อาหารที่จำเป็นทุกช่วงวัย คืออาหารที่ให้สารอาหารหลัก (Macronutrients) เป็นกลุ่มสารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน สารอาหารรอง (Micronutrients) ได้แก่ วิตามินและเกลือแร่ ซึ่งแม้จะเป็นสารอาหารที่ไม่ให้พลังงานและร่างกายต้องการในปริมาณที่น้อย แต่ก็ขาดไม่ได้ เพราะมีบทบาทที่สำคัญให้กระบวนการต่างๆ ในร่างกายทำงานได้เป็นปกติ  ในประเทศไทยนิยมใช้ธงโภชนาการในการแนะนำการกินอาหาร ในธงโภชนาการจะบอกถึงปริมาณ สัดส่วน และความหลากหลายของอาหารที่คนไทยอายุ 6 ปีขึ้นไป ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ ควรกินใน 1 วัน โดยนำเอาอาหารหลัก 5 หมู่ มาแบ่งเป็น 4 ชั้น 6 […]

  • Food and Nutrition

เป็นมะเร็งกินโปรตีนได้ไหม ?

คำถามยอดฮิตสำหรับคนไข้มะเร็งและญาติเลยก็ว่าได้ค่ะ เพราะเมื่อเป็นมะเร็งแล้ว จะมีความเชื่อ และข้อมูลที่ได้รับมาจากสื่อออนไลน์ที่บอกว่าเรา ห้ามกินอันนั้น ห้ามกินอันนี้ ให้กินอันโน้นซิ จะได้ไม่เป็นอาหารของมะเร็ง จนสุดท้ายแล้วคนไข้มักมาพบหมอหรือนักกำหนดอาหารด้วยภาวะขาดสารอาหาร (malnutrition) หรือมีภาวะผอมหนังหุ้มกระดูก (cachexia) ร่วมด้วย เนื่องจากกินอะไรไม่ได้ เพราะถูกจำกัดอาหารมากจนเกินความจำเป็น ภาวะผอมหนังหุ้มกระดูกจากมะเร็ง (cancer cachexia) เป็นภาวะที่มีสูญเสียมวลกล้ามเนื้อลดลงอย่างต่อเนื่องหรือมีการสูญเสียมวลไขมันของร่างกายร่วมด้วย มักเกิดจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ ภาวะขาดสารอาหาร (malnutrition)  และ ความผิดปกติของเมทาบอลิซึมของผู้ป่วยเอง จะเห็นได้ว่าคนไข้ในกลุ่มนี้จะมีรูปร่างที่ซูบผอม กล้ามเนื้อลีบ ไม่มีแรง เบื่ออาหาร และกินอาหารได้น้อย ในฐานะนักกำหนดอาหาร เรามักจะพูดกับคนไข้หรือญาติเสมอว่า “เป็นมะเร็ง กินอะไรก็ได้ ” โดยจะมีหลักจำง่ายๆคือ “ กินอาหารที่มีพลังงานสูง และโปรตีนสูง” หรือ “High Energy High Protein” เนื่องจากร่างกายกายเราจะมีการใช้พลังงานที่มากขึ้น เกิดขึ้นมากจากกระบวนการของเซลล์มะเร็ง หรือถ้าให้เปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายๆเลยก็คือ ตอนนี้เหมือนเราทำงานคนเดียว แต่มีเซลล์มะเร็ง จะเป็นอีกส่วนที่ช่วยใช้เงินอีกหนึ่งคน  ซึ่งถ้าเราไม่ทำงานหาเงินเพิ่ม สุดท้ายเงินที่เราเก็บไว้ก็จะหมดไป เช่นเดียวกันกับการที่เราไม่กินอาหารและโปรตีนเพิ่ม […]

  • Health

อาหารเพื่อสุขภาพ สุขภาพดีได้ อร่อยเหมือนเดิม

เมื่อสังคมไทยก้าวเข้าสู่สังคมสูงวัย จึงทำให้ ผู้คนจึงเริ่มหันมาสนใจรักษาสุขภาพกัน ทำให้ โดยปัจจุบันเทรนด์อาหารสุขภาพกำลังมาแรง เพื่อให้มีร่างกายที่แข็งแรง ห่างไกลโรคภัยไข้เจ็บ โดยเฉพาะโรคยอดฮิตอย่างโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs diseases) เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน โรคความดันโลหิตสูง เป็นต้น การเลือกกินอาหารจึงเป็นสิ่งที่สำคัญถ้าอยากจะสุขภาพแข็งแรง อาหารเพื่อสุขภาพ ตอบโจทย์การกินเพื่อให้ร่างกายสุขภาพแข็งแรง ซึ่งจริงๆ แล้วอยู่ที่การมองของแต่ละคนว่าจะมองแบบไหน ถ้าเรารู้จักการกินก็สามารถอร่อยและมีความสุขได้ เพราะว่าการกินต้องทำให้สุขภาพใจเราดีด้วย อาหารเพื่อสุขภาพ คือ อาหารที่ให้คุณค่าทางโภชนาการครบถ้วน ทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามินและเกลือแร่ ซึ่งเป็นอาหารที่มาจากธรรมชาติ ไม่ผ่านการปรุงแต่ง หรือปรุงแต่งน้อยที่สุด ช่วยก่อประโยชน์ให้แก่ร่างกาย เลือกกินอาหารอย่างไรเพื่อสุขภาพที่ดี กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ควรเลือกรับประทานข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ข้าวซ้อมมือ ขนมปังโฮลวีต ข้าวโอ๊ต ฯลฯหลีกเลี่ยง ข้าวขาว ขนมปังขาว บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ฯลฯ เลือกส่วนที่มีไขมันต่ำ เช่น อกไก่ เนื้อปลา นมรสจืดพร่องมันเนย ถั่วและเต้าหู้ ฯลฯ หลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ที่มีไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลสูง […]

  • Food and Nutrition

ยูริกสูง ทำไมต้องงดผลไม้?

ยูริกสูง เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงโรคเกาต์ การรับประทานผลไม้กำลังได้รับความสนใจว่า มีความสัมพันธ์กับระดับกรดยูริคในร่างกาย นอกจากผลไม้จะมีรสชาติที่หวานอร่อยแล้ว ก็ยังมี ‘น้ำตาลฟรุกโตส’ หรือ มีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่าเป็นน้ำตาลผลไม้นั่นเอง ซึ่งมีงานวิจัย (Nakagawa, 2019) ระบุว่าปริมาณน้ำตาลฟรุกโตสที่สูง เป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะกรดยูริกในเลือดสูง กรดยูริก(Uric acid)คืออะไร กรดยูริค (Uric acid) คือ ของเสียในร่างกายที่เกิดจากการย่อยสลายสารพิวรีน(Purin) ในกระบวนการสลายตัวของเซลล์ และอีกส่วนมาจากอาหารที่มีสารพิวรีนสูงที่เราได้รับประทานเข้าไป เช่น เครื่องในสัตว์ กะปิ ไข่ปลา ปลาดุก ปลาอินทรีย์ เป็ด ไก่ ชะอม กระถิน เห็ด ถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วดำ และเบียร์ เป็นต้น เมื่อสารพิวรีนเปลี่ยนเป็นกรดยูริก จะทำให้ร่างกายมีระดับกรดยูริกในเลือดเพิ่มสูงขึ้น ภาวะกรดยูริกในเลือดสูง (Hyperuricemia) หากกรดยูริคในเลือดสูงและสะสมอยู่ในร่างกายเป็นเวลานานจนร่างกายขับออกทางไตไม่ทัน กรดยูริคจะตกผลึกเป็นเกลือยูเรตสะสมที่กระดูกอ่อนและเนื้อเยื่อรอบข้อ ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อในข้อ ส่งผลให้มีอาการปวด บวม และแดงบริเวณข้อเฉียบพลันอย่างรวดเร็วในระยะเวลา 12 – 24 ชั่วโมง ภาวะยูริคในเลือดสูง คือ […]

  • Food and Nutrition

มารู้จัก โพรไบโอติกส์ – พรีไบโอติกส์ กันเถอะ!

โพรไบโอติกส์ – พรีไบโอติกส์ แม้ชื่อจะคล้ายกัน แต่ไม่เหมือนกัน เนื่องจากระบบทางเดินอาหารมีความสำคัญไม่แพ้ระบบอื่นๆ ในร่างกาย นอกจากการรับประทานผักผลไม้เพื่อให้ได้ไฟเบอร์แล้ว การกินอาหารที่มีจุลินทรีย์ชนิดดี ‘โพรไบโอติกส์’ คู่กับ ‘พีรไบโอติกส์’ ซึ่งเป็นอาหารของจุลินทรีย์ ได้กลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยดูแลระบบทางเดินอาหารของเราให้มีสุขภาพดี โพรไบโอติกส์ กับ พรีไบโอติกส์ คืออะไร? โพรไบโอติกส์(Probiotics) คือ จุลินทรีย์ขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในลำไส้ เป็นจุลินทรีย์ประเภทที่มีประโยชน์ มักพบมากในบริเวณระบบทางเดินอาหาร ทนทานต่อกรดและด่าง ยึดเกาะอยู่กับเยื่อบุลำไส้ ทำหน้าที่คล้ายกับเกราะป้องกันผนังลำไส้ คอยสร้างสารออกมาช่วยกำจัดจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆที่ไม่ดีต่อร่างกาย หากมีในปริมาณที่เพียงพอจะมีส่วนช่วยในการดูดซึมสารอาหาร สังเคราะห์วิตามินและยังช่วยปรับภูมิคุ้มกันในร่างกายให้สมดุลได้อีกด้วย อาหารที่มีโพรไบโอติกส์ นอกจากนี้ในปัจจุบันมีโพรไบโอติกส์แบบอาหารเสริมหลากหลายรูปแบบ เช่น  โพรไบโอติกส์ชนิดแบบผง  แบบเม็ด  และแบบเยลลี่ ซึ่งเราสามารถเลือกรับประทานได้ตามความชื่นชอบ ทั้งสะดวกและร่างกายจะรับโพรไบโอติกส์ในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน โพรไบโอติกแบบผง โพรไบโอติกแบบผงเป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากให้จุลินทรีย์ในปริมาณมากต่อซอง โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ต้องการสายพันธุ์ Lactobacillus และ Bifidobacterium ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ทนกรดในกระเพาะอาหารได้ดี อย่างไรก็ตามโพรไบโอติกแบบผง เราควรหลีกเลี่ยงการละลายโพรไบโอติกด้วยน้ำร้อนเพื่อไม่ให้สลายประสิทธิภาพ ถึงแม้ว่าบางสายพันธุ์สามารถรับประทานได้โดยไม่ต้องละลายน้ำก่อน โพรไบโอติกแบบเม็ด โพรไบโอติกแบบเม็ดเหมาะสำหรับคนที่ต้องการความสะดวกในการรับประทาน ซึ่งรูปแบบเม็ดมักจะมีส่วนประกอบจุลินทรีย์ที่ไม่ทนกรดในกระเพาะอาหารได้ เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วผ่านกระเพาะอาหารจะไปเจอกับน้ำย่อยที่มีฤทธิ์เป็นกรด จุลินทรีย์จะถูกย่อยสลาย ทำให้มีที่รอดชีวิตเหลือมาถึงลำไส้ในปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการ อีกทั้งโพรไบโอติกแบบเม็ดมีปริมาณจุลินทรีย์น้อยกว่าแบบผง […]

  • private nutrition consult

ปรึกษานักกำหนดอาหาร ลดหย่อนภาษี E-Receipt ได้

ปรึกษานักกำหนดอาหาร นอกจากสุขภาพดีแล้ว ลดหย่อนภาษี E-Receipt ได้อีกด้วย นักกำหนดอาหารของเราจะเข้ามาช่วยคุณ วิเคราะห์ ผลตรวจสุขภาพประจำปี และ ปัญหาสุขภาพต่างๆ อย่างละเอียดว่าควรลดอาหารประเภทไหน และสามารถกินอะไรทดแทนได้บ้าง ปริมาณที่ควรกินเป็นเท่าไหร่  สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้คุณลดความเสี่ยงและตอบโจทย์สุขภาพของคุณเอง โดยนักกำหนดอาหารของเราจะพาคุณไปบรรลุเป้าหมายร่วมกันค่ะ โปรแกรม นักกำหนดอาหาร ของเรา สามารถซื้อแล้ว ให้คุณพ่อ คุณแม่ คุณลูก ปรึกษาได้ ให้นักกำหนดอาหารของเราเป็นผู้ช่วยที่ทำให้คุณเข้าใจเรื่องการกินมากขึ้น ให้เราคอยวางแผนการกินและปรับการกินให้เข้ากับตัวคุณให้มี ความสุขกับการกินและสุขภาพดีขึ้น ซื้อง่ายผ่านเว็บ จ่ายผ่าน 2C2P หรือสามารถซื้อผ่าน Line shop สามารถดูรายระเอียดแต่ละโปรแกรมได้ด้านล่างนี้ บริการของ Eatwellconcept ของเราได้ขึ้นทะเบียน E-Receipt และได้รับการรับรองการใช้ระบบ e-Tax Invoice ผ่านเว็บไซต์ ของกรมสรรพากร สามารถนำเลขบริษัทอีทเวลล์คอนเซปต์ที่จดทะเบียนภาษีเลขที่ 0105563014621 นำเลขไปค้นหาได้ที่ https://efiling.rd.go.th/rd-questionnaire-web/etax-invoice ขั้นตอนในการขอใบกำภาษี เงื่อนไขในการเข้าร่วมโครงการ Easy E-Receipt ลดหย่อนภาษี

  • Food and Nutrition

อาหารเด็ก และคุณแม่ เสริมสร้างร่างกาย By นักกำหนดอาหาร

มาดูกันว่ามีอาหารอะไรที่จำเป็นในการเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรงตามความต้องการของร่างกาย มีทั้ง อาหารเด็ก ตั้งแต่แรกเกิดจนถึงวัยรุ่น และ คุณแม่ตั้งครรภ์และให้นมลูกก็จำเป็นต้องกินอาหารให้ถูกหลักเพื่อร่างกายของตัวเองและลูกน้อย นอกจากอาหาร 5หมู่ที่จำเป็นทุกช่วงวัยแล้ว แล้วยังมีปริมาณอาหารและแร่ธาตุที่จำเป็นในแต่ละช่วงวัยด้วย อาหารสำหรับเด็ก สำหรับวัยเด็กแรกเกิด จนถึงวัยรุ่น เป็นวัยที่ต้องการอาหารเพื่อสร้างการเจริญเติบโตของร่างกายให้ทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพในแต่ละช่วงวัยต่างๆของเด็ก อาหารเด็ก ที่ประกอบไปด้วยอาหาร 5 หมู่และแร่ธาตุA, B1, B2, B6, B12, C, D, E, K และ แคลเซียม ธาตุเหล็ก ไอโอดีน ที่ถ้าขาดไปอาจจะทำให้เกิดโรคต่างๆขึ้นได้ วัยทารก แรกเกิด – 5 เดือน  น้ำนมแม่เป็น อาหารเด็ก ที่ดีที่สุดสำหรับวัยนี้ ประกอบไปด้วย ไขมัน โปรตีน คาร์โบไฮเดรตสายสั้น (Human Milk Oligosaccharides หรือ HMOs) ในน้ำนมแม่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์และแบคทีเรียที่ช่วยสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ลูกได้ และวิตามินและแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโต ได้แก่ A, B1, B2, B6, B12, […]

  • Food and Nutrition

เคล็ดลับ เลือกใช้น้ำมันทำกับข้าว อย่างไรให้ดีต่อสุขภาพ

การปรุงอาหารประเภทผัดและทอดล้วนต้องใช้น้ำมันเป็นวัตถุดิบประกอบอาหาร โดยน้ำมันถูกจัดอยู่ในหมวดหมู่ไขมัน ซึ่งคือสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ทำหน้าที่เป็นแหล่งพลังงานหลักเพื่อให้ร่างกายนำไปใช้ทำกิจกรรมต่างๆในระหว่างวัน ถึงแม้ว่าน้ำมันจะมีความสำคัญ แต่หากร่างกายได้รับมากจนเกินไปก็จะส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ปัจจุบันมีน้ำมันหลากหลายประเภทให้เลือกบริโภค ไม่ว่าจะเป็น น้ำมันพืช น้ำมันหมู เนย มาการีย เราจึงควรศึกษาวิธีเลือกใช้น้ำมันแต่ละประเภทให้ถูกต้องและเหมาะสม น้ำมันมีกี่ประเภท? น้ำมันถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน ได้แก่ 1.น้ำมันสัตว์ มาจากไขมันสัตว์ โดยสามารถพบได้ในสัตว์หลายๆชนิด ด้วยวิธีการสกัดไขมัน เช่น น้ำมันหมู น้ำมันไก่ เนย ฯลฯ 2.น้ำมันพืช เป็นน้ำมันที่ได้จากการสกัดธัญพืชและถั่ว เช่น น้ำมันถั่วเหลือง น้ำมันเมล็ดทานตะวัน น้ำมันงา น้ำมันปาล์ม น้ำมันมะพร้าว ฯลฯ แต่ละประเภทของน้ำมันมีลักษณะและคุณสมบัติที่แตกต่างกัน ทำให้มีความเหมาะสมในด้านการใช้งานที่แตกต่างกันซึ่งสามารถแยกได้ด้วย ‘กรดไขมัน’ กรดไขมันเป็นสารประกอบที่อยู่ในไขมันและน้ำมัน มีโครงสร้างทางเคมีที่ประกอบด้วยหมู่คาร์บอกซิล (COOH) ที่แสดงความเป็นกรดต่ออยู่กับสายของไฮโดรคาร์บอน ซึ่งกรดไขมันแบ่งได้เป็นหลายชนิด โดยแบ่งตามจำนวนคาร์บอน ดังนี้ การเลือกใช้น้ำมัน การเลือกใช้น้ำมันควรเลือกให้เหมาะสมกับวิธีการปรุงอาหาร เพราะน้ำมันแต่ละชนิดมีจุดเกิดควันและระดับการทนความร้อนของน้ำมันที่แตกต่างกัน โดยจะมีวิธีเลือกใช้น้ำมันดังนี้ การทอด เลือกน้ำมันที่มีจุดเกิดควัน (smoking point) สูง […]

  • Food and Nutrition

100 เมนู อาหารโรคไต

อาหารโรคไต เป็นอาหารที่สามารถหากินได้ทั่วไป แต่จะมีข้อจำกัดในบางเมนูที่ไม่สามารถกินได้ หรือกินได้น้อย ด้วยเหตุผลที่ว่าต้องการดูแลรักษาไต เป็นสิ่งที่สำคัญ ฉะนั้นผู้ป่วยหรือคนดูแลโรคไต ต้องใส่ใจเกี่ยวกับอาหารให้มากขึ้นเพื่อไม่ให้ไตและร่างกายมีอาการแย่ลงไปจากเดิม ผู้ป่วยโรคไต มีการจำกัดปริมาณน้ำ และโซเดียมในอาหารที่กิน เพราะว่าร่างกายไม่มีความสามารถในการกำจัดสารแร่ธาตุต่างๆ ผ่านทางไตได้น้อยลง ทำให้มีแรธาตุตกค้างอยู่ในเลือดจำนวนมากและทำให้เกิดปัญหาในร่างกายผู้ป่วยได้ เช่น อาการคันตามผิวหนัง ปัสสาวะผิดปกติ และเท้าบวม เป็นต้น  100 เมนู อาหารโรคไต ข้าวผัดไข่ขาว ยำวุ้นเส้น ยำไข่ขาวดาวทอด ยำไข่ขาวต้ม ยำมะเขือเผา ตำแตงกวา ไข่ขาวตุ๋น ไข่ขาวเจียวมะระ แกงจืดไข่น้ำ ไข่ขาวเจียวหอมใหญ่ ข้าวผัดปลานิล ข้าวผัดหมู ไก่ผัดผงกะหรี่ไข่ขาว ข้าวผัดสับปะรด หมูอบวุ้นเส้น(ใส่ขิง) เห็ดหูหนูผัดพริกไทยดำ เห็ดหูหนูผัดไข่ขาว ข้าวผัดไก่ ปลานึ่งขิง ปลาทอดขมิ้น มะระผัดไข่ขาว แตงกวาผัดไข่ขาว ไก่/หมูผัดขิง ปลาผัดขิง ไก่ทอดขมิ้น ผัดผักกาดขาว ไก่/หมูผัดขี้นช่าย ปลาผัดขึ้นช่าย บวบผัดไข่ขาว กะหล่ำปลีผัดไข่ขาว ไข่ขาวหลอด ผัดพริกไทยดำ หมู/ไก่ […]

  • Health

น้ำตาลเทียม เลือกกินอย่างไร ให้ปลอดภัย

น้ำตาลเทียม หรือ สารที่ใช้แทนความหวานถูกสังเคราะห์ขึ้นเพื่อมาใช้แทนน้ำตาลทราย เนื่องจากว่าน้ำตาลเทียมไม่ให้พลังงาน หรือมีพลังงานที่น้อยมาก ซึ่งแตกต่างจากน้ำตาลทรายที่ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี่ต่อ 1 กรัม หากบริโภคมากเกินไปก็จะทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น โรคอ้วน โรคเบาหวาน ฯลฯ ดังนั้นจึงมีการสังเคราะห์น้ำตาลเทียมเข้ามาเป็นหนึ่งในทางเลือกของคนรักสุขภาพที่ตั้งใจจะลดน้ำตาล ลดการกินหวาน และลดน้ำหนัก ชนิดของน้ำตาลเทียม 1. สารให้ความหวานที่มีคุณค่าทางโภชนาการ สารให้ความหวานประเภทน้ำตาลแอลกอฮอล์จะให้พลังงานประมาณ 50-60% ของน้ำตาลทราย หรือ 2 กิโลแคลอรี/กรัมได้แก่ ซอร์บิทอล (Sorbitol), แมนนิทอล (Mannitol), ไซลิทอล (Xylitol), ไอโซมอลต์ (Isomalt), มาลิทอล (Malitol), แลคติทอล (Lactitol), และทากาโลส (Tagalose) 2. สารให้ความหวานที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ สารให้ความหวานที่ไม่ให้พลังงานหรือให้พลังงานต่ำมาก องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA)ยอมรับให้ใช้ได้อย่างปลอดภัย มี 8 ชนิด ได้แก่ แซคคาริน (Saccharin), แอสปาร์เทม (Aspartame), ซูคราโลส (Sucralose), […]

  • Lifestyle

กระเช้าปีใหม่ สุขภาพดี

เริ่มต้นปีใหม่ สุขภาพดีด้วย กระเช้าปีใหม่ สุขภาพดี จาก นักกำหนดอาหาร Eatwellconcept สามารถส่งของขวัญถึงคนที่คุณเป็นห่วงได้ ผลิตภัณฑ์ที่รวบรวม คัดสรรโดยนักกำหนดอาหาร ไม่ว่าจะ พลังงานต่ำ แคลอรีต่ำ โซเดียมต่ำ และมีประโยชน์ ครบทั้ง 5 หมู่ พรีออเดอร์ กระเช้าสุขภาพดีปีใหม่ 1.กระเช้าปีใหม่ สุขภาพดี กระเช้าปีใหม่สุขภาพดี  รวบรวมผลิตภัณฑ์สุขภาพที่นักกำหนดอาหารคัดสรรมาแล้ว ประกอบด้วย  ซื้อง่ายผ่าน Line shop สามารถกดส่งเป็นของขวัญได้ ส่งตรงถึงหน้าบ้าน *สินค้าพรีออเดอร์ พร้อมจัดส่ง วันที่ 2 มกราคม 2567 สินค้ายังไม่รวมค่าจัดส่ง สามารถเลือกได้ว่าขนส่งผ่านไปรษณีย์ไทยหรือไลน์แมน(กรุงเทพฯ) 2.กระเช้าปีใหม่ สุขภาพดี พร้อมปรึกษานักำหนดอาหารออนไลน์ 30 นาที นอกจากจะได้รับผลิตภัณฑ์แล้ว พิเศษ!! ได้ปรึกษานักกำหนดอหารออนไลน์ 30นาที พร้อมรับคำแนะนำและสรุปรายงาน ไม่ว่าจะปรึกษาลดน้ำหนัก เพิ่มน้ำหนัก อ่านผลตรวจสุขภาพประจำปี การเลือกอาหารสำหรับโรคไต ไขมันสูง โรคมะเร็ง ปรึกษาสุขภาพได้ทุกเรื่องที่เกี่ยวกับอาหาร […]

  • Food and Nutrition

ผงผัก vs ผัก เลือกกินอันไหนให้ดีต่อร่างกาย

ยุคของคนรักสุขภาพ ย่อมมีการเกิดขึ้นของอาหารชนิดใหม่ๆ ที่สร้างสรรค์มาเพื่อคนรักสุขภาพก็มีเพิ่มเรื่อยๆ เช่นเดียวกัน เพื่อแก้ปัญหาการกินอาหารในบ้างชนิด เช่น ในคนที่กินโปรตีนไม่พอ ก็มีการผลิตผงโปรตีน เพื่อให้ได้สารอาหารชนิดโปรตีนมากขึ้นได้โดยไม่ต้องกินเนื้อสัตว์ ไข่ ไก่ ในสัดส่วนที่มาก เป็นต้น ดังนั้นในคนที่มีปัญหาการกินผัก กินได้ปริมาณ ไม่ถึงวันละ 6 ทัพพี   ก็มีการสร้างนวัตกรรมการกินผักในรูปแบบใหม่มาเช่นเดียวกัน เรียกว่า ผงผัก  นั้นเอง ผงผัก คือการนำผัก มาล้างให้สะอาด หั่นให้มีขนาดเล็ดลง นำไปลวก และทำให้คลายความร้อน และทำให้ขนาดเล็กลง เสร็จแล้วนำไปอบแห้งไล่ความชื้น จากนั้นนำมาโม่หรือบดให้เป็นผงละเอียด สามารถนำไปผสมกับอาหารต่างๆ หรือชงดื่มได้เลย  ผักที่นำมาทำผักผงนั้นสามารถใช้ผักได้หลายชนิด เช่น ผักแช่แข็ง ผักกระป๋อง  ผักแห้ง หรือผักที่ใช้ทำซุปก็สามารถใช้ได้เช่นเดียวกัน ทำไมเราถึงต้องกินผัก   ใครๆก็รู้ว่าการกินผักนั้นมีประโยชน์ต่อร่างกายเป็นสารอาหารหนึ่งในอาหารหลัก 5 หมู่ที่สำคัญ ใยอาหารในผักช่วยลดความเสี่ยงลดโรคเรื้อรังได้ เช่น ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ โรคเบาหวาน หลอดเลือดสมอง เป็นต้น ช่วยความคุมระดับน้ำตาล  ช่วยทำความสะอาดลำไส้ ช่วยดูดซึมไขมันและคอเรสเตอรอลในเลือด ผักมีวิตามินและแร่ธาตุช่วยปรับสมดุลเอนไซม์และฮอร์โมนในร่างกาย รวมถึงสีสารพฤกษเคมีช่วยต้านมะเร็งบางชนิดได้ […]

  • Food and Nutrition

3 เทคนิคการ ลดน้ำหนัก สำหรับ ผู้ชาย

เทคนิค ลดน้ำหนัก ผู้ชาย รู้หรือไม่ว่า ผู้ชายนั้นสามารถลดความอ้วนได้ง่ายกว่าผู้หญิงจริง มีงานวิจัย  (Millward, 2014) ระบุไว้ว่าเพศชายน้ำหนักลดลงได้มากกว่าเพศหญิงถึงสองเท่า  เพราะผู้ชายมีโครงสร้างร่างกายที่ใหญ่และมีมวลกล้ามเนื้อมากกว่า รวมถึงฮอร์โมนเพศชายสามารถช่วยกระตุ้นการสร้างกล้ามเนื้อให้เกิดขึ้นได้ง่ายกว่า นั่นทำให้ผู้ชายออกกำลังกายแล้วลดน้ำหนักได้เร็วกว่าผู้หญิงเพราะสามารถเผาผลาญพลังงานที่กล้ามเนื้อได้มากกว่า อย่างไรก็ตามไม่ใช่ว่าผู้ชายทุกคนจะลดน้ำหนักได้ง่ายและเร็วกว่าผู้หญิงเสมอไป ผู้เชี่ยวชาญหลายคนชี้ให้เห็นว่าการลดน้ำหนักนั้นขึ้นอยู่กับพฤติกรรมเป็นสำคัญ โดยควรเลือกรับประทานอาหารและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอนั่นเอง เลือกกินแบบไหนให้พุงลดลง             การลดน้ำหนัก คือการเริ่มต้นจากตัวเอง  ซึ่งการเลือกอาหารเพื่อควบคุมน้ำหนักและเป็นการส่งเสริมสุขภาพ เราควรปฏิบัติ ดังนี้ เช่น อกไก่ เนื้อปลา เนื้อไม่ติดมัน ไข่ เต้าหู้ และถั่ว ซึ่งอาหารเหล่านี้เป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพดี มีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกาย โปรตีนนั้นสำคัญต่อการสร้างกล้ามเนื้อ และยังเพิ่มอัตราการเผาผลาญไขมันของร่างกาย เลือกเป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนจะทำให้ร่างกายใช้เวลาย่อยแป้งเป็นน้ำตาลนาน ดีต่อกระบวนการเผาผลาญ เช่น ธัญพืชไม่ขัดสี ข้าวกล้อง ข้าวไรซ์เบอร์รี่ ขนมปังโฮวีต ข้าวโอ๊ต ข้าวโพด  มันเผา และฟักทอง เป็นต้น หลีกเลี่ยงของหวานหรืออาหารที่มีน้ำตาลสูง เช่น น้ำหวาน น้ำอัดลม ลูกอม เค้ก โดนัท คุกกี้ และขนมไทยต่างๆ เป็นต้น […]

  • Food and Nutrition

กินอาหารแบบเดิมซ้ำๆ ส่งผลต่อร่างกายอย่างไร?

               วันนี้กินอะไรดี? คือคำถามที่คนเรามักจะถามกับตัวเอง การกินอาหารแบบเดิมซ้ำๆ เกิดจากพอไม่รู้ว่าจะกินอะไรก็จะเลือกกินเมนูอาหารที่ชอบหรือไม่เบื่อจนกินทำให้เรากินอาหารซ้ำแบบเดิม โดยเฉพาะกับคนที่มักจะซื้ออาหารนอกบ้านรับประทาน รู้หรือไม่ว่าหากกินอาหารเมนูเดิมซ้ำ ๆ ทุกวันติดต่อกันเป็นเวลานาน จากร้านอาหารเดิมด้วยแล้วอาจเกิดความเสี่ยงของปัญหาสุขภาพโดยไม่รู้ตัว พฤติกรรมการเลือกกินอาหาร             การกินอาหารก็ถือว่าเป็นพฤติกรรมอย่างหนึ่ง โดยในแต่ละบุคคลก็จะมีการเลือกกินอาหารที่แตกต่างกันไป ซึ่งพฤติกรรมการเลือกกินอาหารแบบซ้ำเดิมมักจะถูกกำหนดโดยการผสมผสานของปัจจัยเหล่านี้ ได้แก่            ปัจจัยในข้างต้นสอดคล้องกับผลสำรวจ คนไทยกินอะไรกัน? ของอีไอซี (Economic Intelligence Center; EIC) ปี 2560 ว่าปัจจัยอันดับหนึ่งที่คนไทยเลือกซื้ออาหารจากความชอบ หรือ รสชาติ คิดเป็นร้อยละ 22.1 กินอาหารซ้ำเดิม ส่งผลต่อร่างกายอย่างไร?                 การกินอาหารซ้ำเดิม คือ การที่ร่างกายจะได้รับอาหารชนิดเดิมๆและสารอาหารเดิมๆเข้าสู่ร่างกาย เมื่อสะสมเป็นระยะเวลาหนึ่งจะทำให้ร่างกายขาดชนิดสารอาหารที่ไม่ได้กินเข้าไป และส่งผลเสียต่อสุขภาพตามมา ตัวอย่างเช่น น้องมะลิชอบสั่งหมูกรอบราดข้าว ร้านป้าข้างที่ทำงานกินทุกวัน ดังนั้นสารอาหารที่น้องมะลิได้ มีดังนี้                 เราจะเห็นได้ว่ากะเพราหมูกรอบ 1 จาน มีสารอาหารไม่สมดุล โดยพฤติกรรมการกินอาหารซ้ำเดิมของน้องมะลิทำให้ได้รับไขมันอิ่มตัวมากเกินไป เพิ่มความเสี่ยงภาวะไขมันในเลือดสูง ในขณะเดียวกันก็ทำให้ร่างกายน้องมะลิขาดสารอาหารบางชนิด เช่น วิตามิน แร่ธาตุ บางชนิด รวมไปถึงใยอาหาร ที่ควรได้จากผัก […]

  • Food and Nutrition

อาหารสำหรับผู้ป่วยโรคแพ้ภูมิตัวเอง (SLE)

(Systemic Lupus Erythematosus – SLE) โรคแพ้ภูมิตัวเอง หรือกลุ่มผู้ป่วยโรคลูปัส หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อของโรคเอสแอลอี (Systemic Lupus Erythematosus – SLE) หรือโรคหลายคนรู้จักในนามโรคพุ่มพวง เป็นโรคที่เกิดจากภูมิคุ้มกันทำลายเนื้อเยื่อของตัวเองและก่อให้เกิดการอับเสบตามอวัยวะอื่น ๆ ทั่วร่างกาย เช่น ไต ปอด หลอดเลือด สมอง ผิวหนัง กระดูกและข้อ เป็นต้น 1 ปัจจุบันยังไม่มีงานวิจัยศึกษาในระยะยาวเกี่ยวกับอาหารที่ช่วยลดอาการในผู้ป่วยกลุ่มนี้ แต่มีงานวิจัยพบว่าการรับประทานอาหารที่เหมาะสม และการปรับพฤติกรรมจะมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงในการเกิดโรคร่วมต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน และโรคไขมันในเลือดสูง ทั้งยังจะช่วยทำให้ผู้ป่วยโรคลูปัสมีคุณภาพชีวิตที่ดีได้ 2,3 คำแนะนำในการเลือกรับประทานอาหารที่เหมาะสมและการปรับพฤติกรรม 1. พยายามควบคุมระดับน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ (โปรแกรมคำนวณพลังงานที่ควรได้รับในแต่ละวัน) เพราะในการรักษาโรคแพ้ภูมิตัวเองในบางครั้ง ต้องใช้ยาสเตียรอยด์ในการรักษา ที่อาจเพิ่มความอยากอาหารทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น จนส่งผลทำให้ร่างกายมีการสะสมไขมันเพิ่มขึ้น ทำให้ร่างกายมีความอักเสบเพิ่มขึ้นจนทำให้มีอาการข้างเคียง และเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคร่วมเช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน และโรคไขมันในเลือดสูงได้ 2,3,4 2. ควรรับประทานอาหารที่มีโอเมก้า 3 อย่างน้อยวันละ 2 […]

  • Food and Nutrition

Carnivore diet การกินเพื่อลดน้ำหนักที่เน้นเนื้อสัตว์

เป็นที่ทราบกันดีว่า อาหารเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพ การที่เรามีพฤติกรรมการกินอาหารที่ดีจะทำให้เรามีสุขภาพที่ดีตามไปด้วย ดังนั้นในปัจจุบันจึงมีรูปแบบการกินที่เชื่อว่าจะดีต่อสุขภาพมากมาย เช่น จำกัดเวลาการกิน จำกัดชนิดอาหารที่กินได้ อย่างเช่น เลือกกินเฉพาะไขมัน กินคาร์โบไฮเดรตต่ำ รวมถึงไปถึงการเน้นกินแต่เนื้อสัตว์ ที่เรียกว่า Carnivore diet ซึ่งเป็นการกินรูปแบบหนึ่งที่ได้รับความนิยม เพราะเชื่อว่าการกินรูปแบบนี้จะดีและทำให้น้ำหนักลดลงได้ แต่ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกินเพื่อลดน้ำหนักที่เน้นเนื้อสัตว์ เป็นอย่างไร เราจะมาดูกัน Carnivore diet คืออะไร Carnivore diet หรือ ตัวย่อว่า  CD เป็นรูปแบบการกินรูปแบบหนึ่งที่ต้องจำกัดชนิดอาหาร โดยสามารถกินได้แค่เนื้อสัตว์ ไขมันจากสัตว์ ไข่ ผลิตภัณฑ์จากนมที่มีน้ำตาลแลคโตสต่ำหรือปราศจากน้ำตาลแลคโตส เช่น เนย ชีส และห้ามกินอาหารประเภทอื่นเลย ทั้งธัญพืช ผัก ผลไม้ และถั่ว ทั้งนี้อาจจะเรียกได้ว่าการกินแบบ Carnivore diet คือการกินแบบขั้นกว่าของ Low carb diet และ Ketogenic diet เพราะรูปแบบการกินทั้งสองนั้นแค่จำกัดปริมาณคาร์โบไฮเดรตแต่ Carnivore diet ไม่สามารถกินคาร์โบไฮเดรตได้เลย Do […]

  • Health

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ เลือกกินอาหารอย่างไรดี?

อาหาร คือหนึ่งในเรื่องที่คุณแม่ขณะตั้งครรภ์จะต้องใส่ใจดูแลเป็นพิเศษ เพื่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ แต่ไม่ใช่ว่าจะกินอะไรก็ได้ตามใจตัวเอง ตัวคุณแม่เองจะต้องระวังไม่ให้ระดับระดับน้ำตาลในเลือดสูง จะทำให้มีความเสี่ยงเกิด ‘ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์’ ซึ่งสามารถส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้โดยตรง ผลที่ร้ายแรงที่สุดก็อาจทำให้เด็กพิการและเสียชีวิต ประเภทของเบาหวาน เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ การตรวจคัดกรองและประเมินความเสี่ยง ผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มความเสี่ยงสูงควรตรวจคัดกรองให้เร็วที่สุด ถ้าผลปกติให้ตรวจซ้ำในช่วงอายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์โดยเริ่มจากการประเมินความเสี่ยงตามแนวปฏิบัติ ดังนี้ การตรวจคัดกรองและวินิจฉัยในผู้หญิงตั้งครรภ์ยึดตามแนวปฏิบัติขององค์การอนามัยโลก(WHO) ในปี 1999 และ American College of Obstetricians and Gynecologists (ACOG) ในปี 2001 ทำการตรวจแบบ 2 ขั้นตอน (2 Step Screening) วิธีการตรวจแบบ 2 ขั้นตอน (Two Step Screening) ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 Glucose Challenge Test คือ การตรวจคัดกรองด้วยการกินน้ำตาลกลูโคส 50 […]

  • Food and Nutrition

ลดน้ำหนักหลังคลอด กับนักกำหนดอาหาร

          หลังจากเจ้าตัวน้อยได้ลืมดูโลก ในช่วงแรกๆ คุณแม่คงวุ่นกับการดูแลเจ้าตัวน้อยเพราะการดูแลเด็กอ่อนอาจเป็นเรื่องใหม่มากๆ สำหรับแม่ๆ หลายคน กว่าจะปรับตัวได้คงใช้เวลาระยะหนึ่ง จนบางทีคุณแม่ๆ ก็อาจจะเผลอลืมที่จะดูแลตัวเอง โดยหนึ่งในความกังวลที่พบจากคุณแม่หลังคลอด คือ การที่น้ำหนักไม่ลดลงเท่าก่อนตั้งครรภ์ หรือบางคนพอคลอดลูกแล้วมีน้ำหนักที่มากกว่าเดิม และยากเหลือเกินที่จะลดน้ำหนักลงให้เท่าๆ กับก่อนตั้งครรภ์ วันนี้ทางนักกำหนดอาหารพามาดูวิธี ลดน้ำหนักหลังคลอด กันค่ะ เรื่องปกติ ที่น้ำหนักจะขึ้นเมื่อตั้งครรภ์          โดยทั่วคุณแม่ที่ตั้งครรภ์จะมีการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักตัว ปัจจัยที่ทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น ในระหว่างตั้งครรภ์ ได้แก่ รก น้ำคร่ำ เนื้อเยื่อเต้านม ปริมาณเลือด ไขมันที่สะสมไว้เพื่อสร้างนมแม่ มดลูกใหญ่ขึ้น ลูก และของเหลวอื่นๆ เป็นต้น น้ำหนักที่เหมาะสมคือเพิ่มขึ้น 10-12 กิโลกรัม ซึ่งแต่ละคนจะมีการเพิ่มของน้ำหนักไม่เท่ากัน โดยทั่วไปน้ำหนักจะค่อยๆ เพิ่มขึ้น ในช่วง 3 เดือนแรก น้ำหนักจะเพิ่มประมาณ 1-2 กิโลกรัม หลังจากนั้นจะเพิ่มปริมาณครึ่งกิโลกรัมต่อสัปดาห์จนคลอด จากที่กล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่าคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ มักจะมีอัตราการเพิ่มขึ้นของน้ำหนักที่ค่อนข้างมาก และโดยปกติแล้วหลังคลอดร่างกายของคุณแม่จะปรับตัวได้ และมีน้ำหนักลดลง เรื่อยๆ เอง 8-12 […]

  • Food and Nutrition

14 ของว่าง พลังงานต่ำ ของกินเล่นสำหรับคนลดน้ำหนัก

ส่วนใหญ่คนเรามักจะกินอาหาร 3 มื้อหลัก แต่ก็อาจจะมีบ้างบางทีที่มีมื้อรองท้อง ของว่าง หรือ snack กินเล่นๆ   แต่คนที่กำลังจะลดน้ำหนักส่วนใหญ่ มักจะได้ยินว่า อย่ากินจุบจิบ อย่ากินขนม หรืออย่ากินพลังงานเกิน จะได้ไม่เป็นการเพิ่มพลังงานที่เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้น้ำหนักตัวไม่ลด หรือเพิ่มขึ้นได้  แต่ครั้นจะให้กินเหลือแค่ 3 มื้อหลักๆ  บางครั้งมันก็หิวและทรมานใจเหลือเกิน กินหมดมื้อนี้ คิดถึงมื้อหน้าอีกแล้ว ไม่ต้องห่วงค่ะ วันนี้นักกำหนดอาหาร มี ขนมลดน้ำหนัก Snack หรือ มื้อว่าง ที่พลังงานต่ำ สำหรับคนอยากลดน้ำหนักมาฝาก   ทำไมควรเลือก อาหารว่าง หรือ snack พลังงานต่ำ   คำแนะนำของ snack หรืออาหารว่าง1มื้อ คือ  ไม่ควรมีพลังงานเกิน 150 kcal (กิโลแคลอรี) สำหรับผู้หญิง หรือ 200 kcal สำหรับผู้ชาย  โดยคิดมาจาก คำแนะนำว่า อาหารว่างควรให้พลังงานไม่ควรเกินร้อยละ 10 ของพลังงานที่ร่างกายต้องการในแต่ละวัน ( […]

  • Health

10 วิธีลดน้ำหนักผู้หญิง

วิธีการลดน้ำหนัก เป็นหนึ่งในคำค้นหาสุดฮิตตั้งแต่เมื่อก่อนคนถึงปัจจุบัน โดยเฉพาะในผู้หญิงที่น้ำหนักเกินหรืออยากลดน้ำหนักเพื่อให้ได้รูปร่างที่น่าพอใจยิ่งขึ้น วิธีลดน้ำหนักผู้หญิง มีมากมายแต่หลายคนอาจลดน้ำหนักไม่สำเร็จเพราะเลือกวิธีที่ไม่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ตัวเอง ทำได้ไม่นานก็เลิก ซึ่งการลดน้ำหนักให้ได้ผลต้องอาศัยการทำอย่างสม่ำเสมอและเหมาะกับชีวิตประจำวันด้วย วิธีการลดน้ำหนักในผู้หญิง วิธีที่ 1 รับประทานอาหารให้น้อยกว่าพลังงานที่ใช้ออกไป การควบคุมอาหารโดยการจำกัดพลังงานในอาหารเป็นวิธีหนึ่งที่แนะนำให้ใช้ในการรักษาผู้ที่มีน้ำหนักเกินหรือโรคอ้วน ทำให้น้ำหนักลดลงแบบค่อยเป็นค่อยไป การกำหนดการลดพลังงานในอาหารที่รับประทาน โดยปกติจะให้ลดลง 500 กิโลแคลอรี่ จากพลังงานที่ร่างกายต้องการต่อวัน ทำให้ผลที่ได้คือ น้ำหนักจะลดลง 0.5 กิโลกรัมต่อสัปดาห์  เนื่องจากการใช้พลังงานที่ลดลงทุกๆ 3,500 กิโลแคลอรี่ สามารถทำให้น้ำหนักลดลงได้ถึง 0.5 กิโลกรัม การจำกัดพลังงานในอาหารมีหลายวิธี เช่น การจำกัดพลังงานในอาหารแบบต่อเนื่องโดยการลดพลังงานในอาหารลง 25-50% ของพลังงานทั้งหมด (Low caloric diet) การรับประทานอาหารที่มีพลังงานต่ำมาก ( Very low caloric diet)หรือการควบคุมสารอาหารหลัก เช่น คุมไขมัน (Low fat diet). หรือคุมแป้ง(Low carb diet) ทั้งสองสามารถทำให้น้ำหนักลดลงได้เข่นเดียวกัน  การคุมไขมัน (Low fat diet) […]

  • Health

IF เทรนด์การกินยอดฮิตเพื่อลดน้ำหนัก

หลายคนคงเคยได้ยินมาว่าการมีน้ำหนักตัวที่มากเกินไปจะส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ รวมถึงเป็นที่ทราบกันดีว่า น้ำหนักตัวเกิน มักมีปัจจัยสำคัญมาจากการกินอาหาร ดังนั้นจึงมีสูตรการกินเพื่อลดน้ำหนักมากมายหลายสูตรที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นมา การทำIF ก็เป็น 1 ในสูตรการกินอาหารเพื่อลดน้ำหนักที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในปัจจุบัน แต่จริงๆ แล้ว IF คืออะไร และการทำ IF ทำให้น้ำหนักตัวลดลงได้จริงหรือไม่ เราจะมาดูไปพร้อมกัน IF (Intermittent fasting) คือ การกำหนดช่วงเวลาการอดอาหาร (Fasting) และการกินอาหาร (Feeding) อย่างชัดเจน ในช่วงเวลาที่กิน สามารถกินได้ตามปกติ ไม่มีการกำหนดชนิดของอาหารที่กินได้ สูตรการทำ IF ก็มีหลายรูปแบบ แต่ที่นิยมกันจะมีอยู่ 5 รูปแบบ IFเหมาะกับใคร                 การทำ IF ที่มีการกำหนดเวลากิน และอดอาหารที่ชัดเจน อาจเหมาะกับคนที่ชอบกินจุกจิก การมีกฏเกณฑ์นี้ก็จะช่วยบังคับให้ลดการกินอาหารตลอดเวลาลง จึงลดโอกาสได้รับพลังงานส่วนเกิน รวมถึงคนที่กินอาหารไม่ตรงเวลา การกำหนดช่วงเวลาการกินที่ชัดเจนจะช่วยฝึกวินัยให้กินอาหารให้ตรงเวลามากขึ้น แต่ถ้าลองเอาไปทำแล้วไม่เข้ากับวิถีชีวิตประจำวัน ก็อาจจะลองปรับเพิ่มเติมหรือเลือกลองวิธีอื่นก็สามารถทำได้ ประโยชน์ของ IF นอกจากการลดน้ำหนัก                 เมื่อเรามีการจำกัดเวลาการกิน พลังงานที่เราได้รับต่อวันก็จะลดลง นั่นเป็นเหตุผลง่ายๆ […]

  • Lifestyle

หาคำตอบที่ไม่มีในกูเกิ้ล ถามนักกำหนดอาหาร

หากเราเกิดเจ็บป่วยตรงไหนยังไง เราก็ยังต้องรักษากับคุณหมอ เพราะการวินิจฉัยและการดูแลรักษา จำเป็นต้องใช้การตรวจและเครื่องมือทางการแพทย์ที่เฉพาะเจาะจง รวมถึงประสบการณ์ของแพทย์ และความเชี่ยวชาญของแพทย์แต่ละสาขาในการดูแลรักษา สำหรับเรื่องอาหารก็เช่นกัน แม้ว่าเรื่องอาหารการกินหลายคนอาจจะมองว่าไม่ใช่เรื่องใหญ่อะไร แต่ถ้ามีโรคประจำตัว การกินอาหารเป็นได้ทั้งการป้องกัน และการดูแลรักษาร่างกายของเรา หากเรากินอาหารที่ไม่ถูกต้องกับโรคที่เราเป็นอาจจะได้ผลลัพธ์คล้ายกับคนแพ้อาหารหรือทำให้อาการเหล่านั้นแย่ลงได้ ฉะนั้นการหาคำตอบจากกูเกิล อาจจะไม่ได้ครอบคลุมทุกอย่าง เพราะอินเทอร์เน็ต อาจไม่ได้ช่วยให้เราได้คำตอบที่จำเพาะกับตัวเรา ซึ่งต่างกับการไปพบผู้เชี่ยวชาญเรื่องอาหารอย่าง นักกำหนดอาหาร ที่จะมีการวิเคราะห์จากผลตรวจต่างๆ และวิเคราะห์ผลว่าเราสามารถกินอะไรได้บ้าง นักกำหนดอาหารวิชาชีพ หลายคนที่เคยรักษาตัวในโรงพยาบาลอาจจะคุ้นเคยกันดีว่า นักกำหนดอาหาร มีหน้าที่คอยดูแล และให้ความรู้เรื่องอาหารให้ผู้ป่วยรายบุคคล จากผลตรวจโรคหรือหลังผ่าตัดแล้วมากำหนดอาหารให้คนไข้เพื่อฟื้นฟูร่างกายหรือควบคุมการกินอาหารให้ตรงกับโรคเพื่อไม่ให้ป่วยหนักกว่าเดิม คอยติดตาม วางแผนการกินอาหาร โดยนักกำหนดอาหารจะคอยช่วยคุณดูแลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินให้เหมาะสมให้สอดคล้องกับเป้าหมายรายคนกันไป เพราะว่าร่างกายแต่ละคนมีความต้องการที่แตกต่างกัน ส่วนใครอยากรู้จักนักกำหนดอาหาร สามารถอ่านได้ที่บทความนี้ นักกำหนดอาหาร ผู้ดูแลสุขภาพทุกคนด้วยอาหาร  หาคำตอบเรื่องอาหารกันอยู่ใช่ไหม? แต่ละคนมีรายละเอียดประวัติสุขภาพต่างกันออกไป จะให้ใช้วิธีรักษาเหมารวมก็ไม่ได้ คำตอบจากอินเทอร์เน็ตก็กว้างไม่ได้เฉพาะเจาะจง เพราะรายละเอียดที่มีเยอะ ดังนั้นนักกำหนดอาหารที่ทำงานใกล้ชิดกับคุณหมอ ที่จะมาคอยดูแลโภชนาการเรื่องอาหารให้กับผู้ป่วยโรคต่างๆ และรวมไปถึงบุคคลทั่วไป ที่อยากเพิ่มกล้ามเนื้อ ลดน้ำหนัก อยากดูแลตัวเองให้สุขภาพดีด้วยอาหารการกินเพื่อลดความเสี่ยงของโรค เรามาดูกันว่าทำไม คำตอบที่หากันอยู่ถึงตอบไม่ได้ในโลกอินเทอร์เน็ตทั่วไป คุณกำลังหาคำตอบของคำถามเหล่านี้อยู่ใช่ไหม ?? คำตอบคือ ถ้าอยากให้ชัวร์ นักกำหนดอาหารต้องขอดูผลตรวจต่างๆ ค่าเลือดต่างๆ ก่อนถึงจะให้คำตอบได้เพราะอะไร? บางคนบอกแค่ว่าเป็นโรคไต […]

  • Food and Nutrition

Do and Don’t เพื่อการ ลดน้ำหนักยั่งยืน

“ลดน้ำหนัก” เหมือนเป็นปัญหาโลกแตกของใครหลายๆคน บางคนก็ไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มต้นด้วยสูตรไหน เห็นต้องลดแคล ? ลดแป้ง ? ลดไขมัน? หรือต้องกินแบบ IF ? กินแบบคีโต ? ตอนระหว่างทางการลดก็ท้อแท้ ทำไม่ได้ระยะยาว อยากจะถอดใจไปกลางคันเสียก่อน หรือบางคนลดน้ำหนักได้แล้ว สักพักอีก 2-3 เดือน น้ำหนักกลับมาอีกแล้ว แล้วอย่างนี้ควรจะลดน้ำหนักอย่างสุขภาพดีอย่างไรให้ได้ “ระยะยาว” ดีนะ?  บทความนี้ นักกำหนดอาหารรวบรวม concept ต่างๆ ของการลดน้ำหนักระยะยาวแบ่งเป็น Do&Don’t เพื่อการลดน้ำหนักอย่างยั่งยืน 3 สิ่งห้ามทำ และ 6 สิ่งควรทำ เพื่อลดน้ำหนัก อย่างยั่งยืน Don’t 1 อย่าโฟกัสแค่ ‘แคลอรี’ (พลังงาน) ในที่นี้แยกได้เป็น 2 ส่วนคือ 1.1  การโฟกัสที่ตัวเลขแคลอรี (พลังงาน) ของอาหารที่กินเข้าไป              การลดน้ำหนักไม่ใช่แค่การสนใจของ อาหารที่มีแคลอรี หรือ พลังงานต่ำเท่านั้น […]

  • Health

ลดพุง ง่ายๆ สไตล์นักกำหนดอาหาร 

‘พุง’ คือปัญหากวนใจของใครหลายคน หน้าท้องที่ยื่นออกมาคือหนึ่งในจุดที่มักจะมีไขมันส่วนเกินเข้าไปสะสม ยิ่งมีไขมันสะสมลบริเวณหน้าท้องไว้มากพุงก็จะยิ่งยื่นออกมาให้เห็นได้อย่างชัดเจน ซึ่งไม่ว่าจะเป็นคนอ้วนหรือคนผอมก็สามารถมีพุงได้ โดยพุงแต่ละแบบนั้นก็จะมีสาเหตุการเกิดที่แตกต่างกัน มาเริ่มต้น ลดพุง กันเลย พุงหน้าท้องมี 5 แบบ ก่อนอื่นเรามาดูกันก่อนว่า เรามี พุง ประเภทแบบไหนกัน? เพื่อที่เราจะได้หาสาเหตุและ ลดพุง ได้ถูกจุด พุงหน้าท้องที่ยื่นออกมาจะเกี่ยวข้องกับอาหารการกินเป็นหลัก ยิ่งอาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูงจะยิ่งทำให้เกิดไขมันสะสม เช่น ขนมเบเกอรี่ กะทิ พิซซ่า แฮมเบอร์เกอร์ ชานมไข่มุก ฯลฯ อีกทั้งยังรวมถึงไลฟ์สไตล์ของเรา หากนั่งๆนอนๆ ไม่ออกกำลังกาย ก็ยิ่งจะทำให้เกิดการเผาผลาญไม่เพียงพอต่ออาหารที่เรากินเข้าไป จนนำไปสู่ภาวะอ้วนลงพุง เราอ้วนลงพุงหรือไม่? เพราะเส้นรอบพุงที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 5 ซม. จะเพิ่มโอกาสการเกิดโรคเบาหวาน 3-5 เท่า โดยเราสามารถวัดพุงได้จากการวัดผ่านบริเวณสะดือในจังหวะที่หายใจออก(ท้องแฟบ) ให้สายวัดแนบกับลำตัวไม่รัดแน่นจนเกินไป และวางสายวัดในแนวขนานกับพื้น เมื่อได้ผลเเล้ว นำความยาวที่ได้ในหน่วยเซนติเมตร มาเปรียบเทียบกับสูตรนี้   เช่น นางสาว A สูง 160 ซม. วัดเส้นรอบพุงได้ 86 […]

  • Health

เครื่องดื่มลดน้ำหนัก

ปัจจุบันอุตสาหกรรมเครื่องดื่มได้มีผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มออกมาหลากหลายรูปแบบทั้งที่ปรุงแต่งกลิ่นและรสเพื่อให้ถูกปากผู้บริโภค โดยเฉพาะเครื่องดื่มที่มีรสชาติหวาน เช่น น้ำผลไม้ น้ำอัดลม นมช็อกโกแลต ชานมไข่มุก ฯลฯ ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมากที่สุก อย่างไรก็ตามผู้บริโภคอาจจะไม่รู้ว่าเครื่องดื่มเหล่านี้ก็เป็นสาเหตุหนึ่งของน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น น้ำหนักขึ้นเกิดจากเครื่องดื่ม…               เครื่องดื่มมักจะมีการผสม ‘น้ำตาล/น้ำเชื่อม’ เพื่อเพิ่มรสชาติหวานให้ถูกใจผู้บริโภค อีกทั้งเครื่องดื่มบางชนิดมีการผสมนมข้นหวาน/ครีมเทียม เพื่อให้เกิดรสชาติหวานมัน เช่น มอคค่า ชาชัก มัทฉะลาเต้ เป็นต้น เครื่องดื่มเหล่านี้จะมีพลังงาน/แคลอรี่สูงจากน้ำตาลและไขมัน หากร่างกายได้รับพลังงานในปริมาณที่มากเกินความต้องการของร่างกาย จะทำให้พลังงานส่วนเกินไปสะสมตามส่วนต่างๆของร่างกาย เกิดเป็นไขมันหน้าท้อง ต้นแขน หรือต้นขา เป็นต้น ลดน้ำหนักเพียงแค่ปรับเปลี่ยนการเลือกเครื่องดื่ม น้ำเป็นเครื่องดื่มและก็เป็นสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกาย เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องดื่มเป็นประจำทุกวัน หากร่างกายขาดน้ำจะทำให้เสียชีวิตภายใน 2-3 วัน ในหนึ่งวันจึงควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว หรือประมาณ 2 ลิตรต่อวัน แต่บางครั้งเราเองก็ไม่อยากจะดื่มแต่น้ำเปล่า ดังนั้นหากต้องการลดน้ำหนักเราควรจะเลือก ‘เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลต่ำ’ ซึ่งเราสามารถตรวจสอบได้จากฉลากโภชนาการ โดยปริมาณน้ำตาลไม่ควรเกิน 8 กรัม หรือ ความหวานไม่เกิน 2 ช้อนชาต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ควรเลือกเครื่องดื่มอย่างไรดี เห็นง่าย ๆ บนฉลากเครื่องดื่มมั่นใจได้เลยว่าสุขภาพแน่นอน […]

  • Blog from Eatology

5 ผลไม้ ตัวช่วยลดความอ้วน

ผลไม้คือหนึ่งในอาหาร 5 หมู่ที่เราควรกินเป็นประจำ เพราะให้ทั้งวิตามินและเกลือแร่หลากหลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย นอกจากนี้ผลไม้ยังมี ‘ไฟเบอร์’ หรือ ‘ใยอาหาร’ ตัวช่วยจากธรรมชาติที่ทำให้ร่างกายรู้สึกอิ่มและไม่หิวเร็ว ซึ่งทำให้ผลไม้เป็นหนึ่งในอาหารที่เหมาะสมกับการลดน้ำหนัก  อย่างไรก็ตามผลไม้ก็มีหลากหลายชนิด บางชนิดก็มีรสหวานฉ่ำ บางชนิดก็ให้รสหวานมัน  หรือบางชนิดรสเปรี้ยวอมหวาน ดังนั้นหากเรามีเป้าหมายเพื่อลดน้ำหนัก การเลือกกินผลไม้กินเองก็สำคัญไม่แพ้กัน ใยอาหาร สิ่งสำคัญที่หาได้จากผลไม้ทุกชนิด ไฟเบอร์ หรือใยอาหารมักจะพบในผักและผลไม้เป็นส่วนใหญ่ เราสามารถแบ่งใยอาหารออกเป็น 2 ชนิด ดังนี้ ค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index : GI) ตัวชี้วัดคุณภาพน้ำตาลในผลไม้ ค่าดัชนีน้ำตาล (Glycemic Index : GI) คือ อัตราเร็วการเปลี่ยนแปลงอาหารที่กินเข้าไปเป็นน้ำตาลเพื่อดูดซึม โดยจะเปรียบเทียบกับน้ำตาลกลูโคสที่ดูดซึมได้เร็วที่สุด (ซึ่งมีค่า GI = 100) หากกินอาหารที่มีค่าดัชนีน้ำตาลสูงเป็นประจำ จะกระตุ้นให้ร่างกายเกิดภาวะดื้ออินซูลิน(Insulin Resistance) และทำให้ร่างกายหิวง่าย และหิวบ่อยขึ้น ตารางแสดงตัวอย่างชนิดผลไม้ตามค่าดัชนีน้ำตาล ค่าดัชนีน้ำตาล(Glycemic Index : GI) ผลไม้ GI ระดับต่ำ(GI […]

  • Food and Nutrition

ผงไข่ขาว กับผู้ป่วยมะเร็ง

                ผู้ป่วยโรคมะเร็ง มีความต้องการพลังงานและโปรตีนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงทำการบำบัดรักษาด้วยวิธี chemotherapy (เคมีบำบัด) ฉายแสง หรือผ่าตัด เพื่อให้ร่างกายได้รับการฟื้นฟู ทั้งกล้ามเนื้อ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว ซึ่งเป็นไปตามหลักของโภชนบำบัดในผู้ป่วยมะเร็ง (oncology nutrition) ภาวะโภชนาการสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง         อาการเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งรับประทานอาหารได้น้อยลง นำไปสู่ภาวะขาดสารอาหาร (malnutrition) ส่งผลให้เม็ดเลือดขาวต่ำ และไม่สามารถรับเคมีบำบัดได้ ดังนั้น ผู้ป่วยมะเร็ง จึงควรได้รับพลังงานและโปรตีนเพิ่มมากขึ้น โปรตีนที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งควรได้รับเพิ่มขึ้น สามารถได้จากแหล่งเนื้อสัตว์  นม  ไข่ทั้งฟอง และ ไข่ขาว            ไข่ขาว เป็นโปรตีนหนึ่งที่เป็นโปรตีนแหล่งที่ดี แพทย์และนักกำหนดอาหารแนะนำให้ผู้ป่วยได้รับเพิ่มขึ้น โดยมีโปรตีนที่เป็นพระเอก ที่เรียกว่า “อัลบูมิน” ที่มีบทบาทสำคัญต่อผู้ป่วยโรคมะเร็ง ปัจจุบันมีนวัตกรรม “ผงไข่ขาว” เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่เป็นโปรตีนทางเลือก รูปแบบชงดื่ม หรือ นำไปประกอบอาหาร ทำให้ผู้ป่วยมะเร็ง รวมทั้งคนทั่วไปที่มีความต้องการโปรตีนเพิ่มมากขึ้น ได้รับโปรตีนสูงและสะดวกต่อการบริโภคมากยิ่งขึ้น คุณสมบัติของไข่ขาวต่อผู้ป่วยมะเร็ง คุณประโยชน์ของไข่ขาว ด้านอื่นๆ  โปรตีน “อัลบูมิน” คืออะไร อัลบูมิน […]

  • Food and Nutrition

หญ้าหวาน สารให้ความหวานจากธรรมชาติ

                เป็นที่ทราบกันดีว่าน้ำตาลหากบริโภคเยอะเกินจำเป็น สามารถสะสมทำให้น้ำหนักตัวขึ้นและนำมาสู่โรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้มากมาย หลายคนจึงเริ่มหันมาสนใจกับวัตถุดิบกลุ่มหนึ่งที่ให้ความหวานแทนน้ำตาลได้ และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ นั่นคือ สารให้ความหวานแทนน้ำตาล (Artificial sweeteners) ซึ่งสารให้ความหวานแทนน้ำตาลนี้ก็มีอยู่หลายชนิด แต่ที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ก็คือ หญ้าหวาน ที่เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลจากธรรมชาติ และถูกนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหารคาว ขนมหวาน และเครื่องดื่มอยู่มากมายในปัจจุบัน หญ้าหวาน  คืออะไร ?                 หญ้าหวาน เป็นพืชชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางอเมริกาใต้ สามารถให้ความหวานได้โดยธรรมชาติ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stevia Rebaudiana Bertoni  หรือเรียกสั้นๆ ว่า Stevia เมื่อนำใบหญ้าหวานแห้งมาสกัดจะได้สารสกัดบริสุทธิ์ ชื่อว่า สตีวิออลไกลโคไซด์ (Steviol glycosides)  ซึ่งมีความคงตัวสูงในตัวทำละลาย กรดอ่อน เบสอ่อน ทนความร้อนได้ถึง 200 องศาเซลเซียส และหวานกว่าน้ำตาลทราย 150 – 300 เท่า โดยที่ไม่มีคาร์โบไฮเดรตและไม่ให้พลังงาน ทั้งนี้สารสกัดจากใบหญ้าหวานที่ได้รับการยอมรับจาก คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญว่าด้วยวัตถุเจือปนอาหารขององค์การ อาหารและเกษตร และองค์การอนามัยโลก แห่งสหประชาชาติ (The […]

  • Food and Nutrition

แพ้ถั่ว (Nut Allergy) มาทำความรู้จักกันว่าเป็นอย่างไร

การ แพ้ถั่ว (Nut Allergy) คือโรคภูมิแพ้ชนิดหนึ่งพบได้บ่อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ เกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อโปรตีนในถั่ว ร่างกายจะการปล่อยแอนติบอดี้เพื่อกำจัดโปรตีนที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ และกระตุ้นให้ร่างกายปล่อยสารฮิสตามีน(Histamine) ส่งผลให้แสดงอาการแพ้ออกมา   ถั่ว แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ ได้แก่  สาเหตุของโรคภูมิแพ้ถั่ว  หากคุณเป็นคนหนึ่งที่แพ้ถั่ว เมื่อมีการสัมผัสถั่วไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม ก็จะทำให้ร่างกายของคุณเกิดอาการแพ้ออกมาในกระแสเลือด ซึ่งโรคภูมิแพ้ถั่วเกิดขึ้นจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันเข้าใจผิดว่า “โปรตีนถั่ว” คือสิ่งที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย ระบบภูมิคุ้มกันของคุณจึงปล่อยสารฮิสตามีน(Histamine)ออกมาเพื่อกำจัด และส่งผลให้ร่างกายมีอาการแพ้เกิดขึ้น  อาการแพ้ถั่วเป็นอย่างไร  การแพ้ถั่วจะเกิดขึ้นหลังรับประทานถั่วหรืออาหารที่มีส่วนประกอบของถั่วเข้าไปภายในไม่กี่นาทีหรือไม่เกิน 1 ชั่วโมง โดยอาการแพ้ที่สามารถพบเห็นบ่อย ได้แก่  สำหรับคนบางคนที่มีอาการแพ้ถั่วอาจจะเป็นอันตรายถึงชีวิต หากรับประทานถั่วในปริมาณเล็กน้อยก็อาจสามารถก่อให้เกิดปฏิกิริยาแพ้ที่รุนแรงได้ (Anaphylaxis) โดยอาจมีอาการต่าง ๆ ข้างต้นร่วมกับผิวหนังแดง หายใจลำบาก หายใจมีเสียงหวีด ลำคอบวม หัวใจเต้นเร็ว เวียนศีรษะ ความดันโลหิตลดลง และอาจหมดสติได้  อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง  สาเหตุส่วนใหญ่ในการเกิดภูมิแพ้ถั่ว คือการรับประทานถั่วหรืออาหารที่มีส่วนประกอบของถั่วเข้าไปนั่นเอง ในบางครั้งก็มีโอกาสเกิดอาการแพ้ หากคุณสูดหายใจเอาฝุ่น หรือละอองที่มีแป้งถั่วหรือน้ำมันถั่วสำหรับทำอาหารเข้าไป   วิธีตรวจสอบว่าแพ้ถั่วหรือไม่?  วิธีการปฏิบัติตัวและการวางแผนการรับประทานอาหาร สรุป  ถั่ว คือหนึ่งในอาหารยอดฮิตที่ทำให้ร่างกายเกิดอาการแพ้ โดยแต่ละคนจะมีการแสดงอาการแพ้ที่แตกต่างออกไป อย่างไรก็ตามถั่วมีหลากหลายชนิด […]

  • Health

Sugar blues ชีวิตขาดหวานไม่ได้ เสพติดน้ำตาล

เราอาจจะได้ยินสโลนแกนคุ้นหูที่ว่า “เพราะชีวิตขาดหวานไม่ได้” ประโยคคำพูดนี้ได้รับอิทธิพลมาจากโฆษณาขนมกรอบยี่ห้อหนึ่ง และได้นำมาใช้กันอย่างแพร่หลายจนถึงปัจจุบัน รสชาติหวานเกิดจาก ‘น้ำตาล’ ซึ่งเป็นสารอาหารที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย แต่ถ้าหากกินมากเกินไปก็เป็นโทษ ส่งผลกระทบด้านลบต่อสุขภาพ ถ้าหากตอนนี้เราเป็นคนหนึ่งที่กำลังรู้สึกว่าขาดรสหวานไม่ได้ อยากกินขนมหวาน น้ำผลไม้ น้ำอัดลม ชานมไข่มุก หรือลูกอมหวานๆตลอดเวลา เมื่อไม่ได้กินจะรู้สึกโหยหาย จนทำให้เกิดอารมณ์หงุดหงิด ฉุนเฉียว บางรายอาจจะมีอารมณ์ซึมเศร้า ซึ่งอาการเหล่านี้เป็นสัญญาณของคนที่กำลังตกอยู่ใน “ภาวะเสพติดน้ำตาล (Sugar blues)” ภาวะเสพติดน้ำตาล (Sugar blues) คือ ภาวะที่ร่างกายมีความต้องการกินอาหารหรือเครื่องดื่มรสหวานอยู่ตลอดเวลา ทำให้ร่างกายได้รับน้ำตาลในปริมาณมาก จนเกิดอาการเสพติด หรือเรียกได้ว่าเป็นอาการ ‘ติดหวาน’ นั่นเอง เนื่องจากการรับประทานอาหารรสหวานเข้าไป ความหวานที่ลิ้นสัมผัสจะไปกระตุ้นการทำงานของสมอง เพื่อหลั่งฮอร์โมนแห่งความสุขที่ชื่อว่า ‘โดพามีน (Dopamine)’ ซึ่งกระบวนการนี้จะทำให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลายจนเกิดการเสพติด หากไม่ได้กินจะแสดงอารมณ์ที่ผิดปกติ เช่น รู้สึกหงุดหงิด อารมณ์ไม่ดี ขาดสมาธิการทำงาน ตลอดจนมีอาการซึมเศร้า สาเหตุการเสพติดน้ำตาล เสพติดน้ำตาลเสี่ยงเป็นโรค… รสหวานคือ รสชาติที่ทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคมากที่สุด เพราะน้ำตาลเป็นตัวกระตุ้นให้ฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) เพิ่มปริมาณสูงขึ้น ซึ่งมีผลให้การสะสมของไขมันไปเพิ่มตามส่วนต่างๆของร่างกายมากขึ้น และก็ให้เกิดเป็นโรคเรื้องรังตามมา ดังนี้ […]

  • Food and Nutrition

กินอย่างไร เมื่อเป็น กรดไหลย้อน

ไลฟ์สไตล์ หรือ พฤติกรรมการกินอาหาร การนอนหลังกินอาหาร รวมถึงการกินอาหารคำใหญ่ หรือ การกินอาหารเร็ว สามารถทำให้เกิดการสำลัก หรือ การติดขัดของทางเดินอาหาร และเกิดกรดไหลย้อนได้ง่าย วิธีแก้คือ ควรจะรับประทานขนาดอาหารให้พอเหมาะ และเคี้ยวให้ละเอียด หรือการดื่มน้ำเปล่า เพื่อช่วยในการกระตุ้นการย่อยอาหาร และทำให้กรดเจือจาง เพื่อลดความเป็นกรดในกระเพาะ แม้แต่การใส่เสื้อผ้าที่รัดช่วงท้องแน่นเกินไป สามารถทำให้ความดันในกระเพาะเพิ่มขึ้น และเกิดการย้อนของกรดได้ง่าย  อาหารก็มีส่วนช่วยในการลดอาการเกิด กรดไหลย้อน   โรคกรดไหลย้อนคืออะไร? โรคกรดไหลย้อน ( Gastroesophageal Reflux Disease หรือเรียกสั้นๆ ว่า GERD) คือ โรคที่มีความผิดปกติของการไหลย้อนกลับน้ำย่อยในกระเพาะสู่หลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการแสบร้อนที่หน้าอก และลำคอ รู้สึกเปรี้ยวหรือขมในลำคอ จนอาจรบกวนการใช้ชีวิตในประจำวัน ภาวะดังกล่าวนี้มีปัจจัยที่สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ พฤติกรรมการรับประทานอาหาร หรือ ความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพราะอาหาร รวมถึงโรคอ้วน เป็นต้น บุคคลใดที่มีความเสี่ยงของการเป็นภาวะ กรดไหลย้อน 1.ผู้ที่มีความผิดปกติของการบีบตัว/คลายตัวของหูรูดของกระเพาะอาหาร หรือหลอดอาหาร2. ผู้ป่วยที่ติดเชื้อแบคทีเรีย H.Pyroli หรือมีปัจจัยกระตุ้นการเกิดแผลในทางเดินอาหาร 3. ผู้ที่มีพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร เช่น การนอนราบการรับประทานเสร็จทันที การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง4.ผู้ป่วยที่มีความเครียดในชีวิตประจำวัน 5.ปัจจัยอื่นๆที่มีผลทางกายภาพ เช่น […]

  • Health

ดื่มน้ำแค่ไหน ป้องกันโรคไต

ร่างกายของมนุษย์มีน้ำเป็นส่วนประกอบกว่าร้อยละ 60 และในการทำงานของระบบต่างๆ ของร่างกายล้วนต้องอาศัยน้ำ เป็นสารหล่อลื่นตามข้อต่อ มีส่วนช่วยในการย่อยและดูดซึมสารอาหาร นอกจากนี้น้ำยังช่วยรักษาระบบสมดุลในร่างกาย ทั้งสมดุลกรดด่างและรักษาอุณหภูมิ รวมถึงเป็นส่วนสำคัญในการขับของเสียที่ได้จากระบบต่าง ๆในร่างกายทิ้งในรูปของปัสสาวะผ่านการทำงานของไต1,2 ไต ทำหน้าที่เหมือนโรงงานบำบัดน้ำเสียให้แก่ร่างกาย โดยอาศัยการหมุนเวียนของเลือดที่จะนำของเสียมาให้ไตกรองของเสียเหล่านั้นออกเพื่อขับทิ้งในรูปของปัสสาวะ และจะรับน้ำและสารอาหารที่ไตดูดซึมกลับมาได้ไปหมุนเวียนต่อทั่วร่างกาย ดังนั้นหากไตทำงานได้น้อยลงจากโรคไตเรื้อรังก็อาจทำให้มีของเสียคั่งในร่างกายมากขึ้น และถูกเลือดนำไปยังส่วนต่าง ๆทำให้อวัยวะในร่างกายเกิดการทำงานที่ผิดปกติ จนทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์เช่น การคลื่นไส้อาเจียน เบื่ออาหาร กล้ามเนื้ออ่อนแรง จนอาจมีอันตรายถึงชีวิต สาเหตุของการเกิดโรคไตเรื้อรัง การป้องกัน หรือชะลอความเสื่อมของโรคไตเรื้อรัง10 ปริมาณน้ำที่เพียงพอต่อวัน7           สำนักโภชนาการระบุปริมาณน้ำที่เหมาะสมในบุคคลสุขภาพดีแต่ละช่วงอายุในเอกสารปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2563 ดังตารางด้านล่าง หรือสามารถคำนวณได้จาก น้ำหนักตัว x 30-35 มิลลิลิตร/วัน8 เช่น หนัก 50 ควรได้รับน้ำ 50*30 ถึง 50*35 = 1500-1750 ml การดื่มน้ำมากกว่าความต้องการของร่างกายอาจทำให้เกิดภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ ทำให้เกิดอาการมึน สับสน คลื่นไส้อาเจียนได้ แม้อาการนี้จะเกิดขึ้นได้น้อยมากในกลุ่มคนที่มีสุขภาพดี แต่จากการศึกษาพบว่าคนที่ดื่มน้ำเปล่ามากกว่า 5 ลิตรต่อวันจะมีระดับโซเดียมในเลือดต่ำกว่าที่ควรเป็น12 ดังนั้นควรดื่มน้ำในปริมารที่พอดีต่อร่างกาย […]

  • Food and Nutrition

สารให้ความหวาน ไม่ได้ช่วยควบคุมน้ำหนัก

ปัจจุบันเราอาจจะได้ยินโฆษณาที่กล่าวถึงเครื่องดื่มไม่มีน้ำตาล ไม่มีพลังงาน แต่ก็ยังมีรสชาติหวานเนื่องจากมีการใช้ สารให้ความหวาน แทนน้ำตาลธรรมชาติที่เข้ามามีบทบาทต่อพฤติกรรมการบริโภคของมนุษย์ด้วยวัตถุประสงค์หลากหลาย เช่น การลดน้ำหนัก การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หรือการลดพฤติกรรมติดหวาน เป็นต้น สารให้ความหวานแทนน้ำตาล (Artificial sweeteners)  คือสารเคมีที่แต่งเติมรสชาติหวานให้กับอาหารและเครื่องดื่ม ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ ไม่ให้พลังงาน หรือให้พลังงานต่ำซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของสารให้แทนความหวาน โดยนิยมนำมาใช้แทนน้ำตาลธรรมชาติ ประกาศข้อแนะนำจากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization; WHO) เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2566 องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้มีการประกาศข้อแนะนำ เรื่องการไม่ควรใช้ สารให้ความหวาน ทดแทนน้ำตาลสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำหนัก หรือใช้เพื่อลดความเสี่ยงการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) เช่น โรคอ้วน โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ เป็นต้น การทบทวนงานวิจัย(Systematic review) เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสารให้แทนความหวานกับความอ้วน การเกิดโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ (Non-Communicable Diseases; NCDs) และอัตราการเสียชีวิต ชี้ให้เห็นว่ามีงานวิจัยประเภทการทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุม (Randomized controlled trial) ระบุว่าสารให้แทนความหวานจะทำให้น้ำหนักตัวเฉลี่ยลดลง 0.71 กิโลกรัม […]

  • Food and Nutrition

ของดอง เสี่ยงมะเร็งจริงไหม?

ของดอง อาหารหมักดอง อาหารที่แค่ฟังชื่อก็เปรี้ยวปาก น้ำลายสอแล้ว ไม่ว่ายุคไหน ฤดูกาลอะไร หรือชนชาติไหนก็มีของกินที่เป็นของดองหลากหลายเมนู เป็นที่ชื่นชอบของหลายๆ คน ไม่ว่าจะเป็นผักดองและผลไม้ดอง ที่กินสนุกกินเพลิน กินแล้วชื่นใจ เป็นของกินเล่นหรือเครื่องเคียงได้ แต่จะมีใครรู้บ้างว่าอาหารเหล่านี้หากกินมากเกินไป อาจเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดโรคมะเร็งได้  ก่อนที่เราจะไปดูเรื่องของดองหรืออาหารหมักดองกัน เรามารู้กันก่อนว่า มะเร็งคืออะไรกัน “มะเร็ง” คือโรคที่เกิดจากความผิดปกติของเซลล์ในอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย โดยเกิดการเปลี่ยนแปลงทางพันธุกรรมของเซลล์ ก่อให้เกิดเป็นเซลล์มะเร็งที่มีการเจริญเติบโตโดยไม่อยู่ภายใต้การควบคุมที่เหมาะสม เมื่อมีการเจริญเติบโตมากพอ เซลล์มะเร็งมักจะแทรกซึมเข้ากระแสเลือดหรือทางน้ำเหลือง ไปยังอวัยวะเป้าหมาย แล้วการกินของดองเสี่ยงมะเร็งจริงหรือไม่มาลองดูงานวิจัยกัน การดอง เป็นวิธีถนอมอาหารวิธีหนึ่ง โดยนำอาหารแช่ในน้ำเกลือที่มีค่าเป็นกรดหรือน้ำส้มสายชู เพื่อให้มีรสเค็มหรือรสเปรี้ยว ซึ่งจะช่วยยืดอายุอาหาร และเป็นการถนอมอาหารที่ใช้เวลาไม่นาน  การดองมี 4 แบบ ดังนี้   การดองเปรี้ยว การดองเค็ม การดองหวาน การดอง 3 รส ตัวอย่างสารก่อมะเร็งในของดอง  หลากหลายความเชื่อ ที่มีการกล่าวว่า กินของดองแล้วเป็นมะเร็ง ในความเป็นจริง มะเร็งแต่ละชนิดก็มีสาเหตุที่แตกต่างกันไป อย่างไรก็ตาม ในของหมักดองที่มีสารแปลกปลอมมาก อาจมีสารก่อมะเร็ง ซึ่งทำให้เกิดโรคมะเร็งได้จริง   เกลือ    ของดอง นับว่าอาหารที่มีเกลือ และจัดเป็นอาหารที่มีโซเดียมสูง […]

  • Health

ลดไขมัน ลดแป้ง ลดแบบไหนดีกว่ากัน?

ในปัจจุบันการดูแลสุขภาพด้านการกินถูกพูดถึงกันในวงกว้าง  ไม่ว่าจะเป็นการกินเพื่อให้มีสุขภาพที่ดี การกินเพื่อป้องกันโรค  ลดความรุนแรงของโรค รวมถึงรูปแบบการกินเพื่อลดน้ำหนัก ที่กำลังได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก ทำให้หลายคนสรรหาวิธีการลดน้ำหนักที่ได้ผลดีมาบอกเล่า มาแนะนำกัน ซึ่งวิธีที่มักถูกพูดถึงได้แก่ การ ลดไขมัน และ การลดแป้ง เพื่อลดน้ำหนัก แล้ววิธีไหนที่ได้ผลกับการลดน้ำหนัก บทความนี้ ลดไขมัน ลดแป้ง แล้วไขมันกับแป้ง คืออะไร ? ไขมัน คือ สารอาหารหลักประเภทหนึ่งที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย โดยไขมัน 1 กรัม จะให้พลังงาน 9 กิโลแคลอรี่ ประโยชน์ของไขมัน คือ ช่วยดูดซึมวิตามินเอ ดี อี เค ซึ่งละลายในไขมัน  ช่วยให้เซลล์ของร่างกายเจริญเติบโต มีส่วนช่วยในการสร้างฮอร์โมนบางชนิด รวมถึงทำให้อาหารอร่อยขึ้นด้วย แต่อย่างไรก็ตามหากกินไขมันมากเกินไปก็เกิดโทษต่อร่างกายได้  ทั้งเพิ่มความเสี่ยงการเกิดกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด ให้พลังงานแก่ร่างกายเยอะเกินกว่าที่ร่างกายจะเผาผลาญหมด ทำให้เกิดการสะสมจนน้ำหนักตัวขึ้นได้ ไขมัน สามารถแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ ไขมันอิ่มตัว ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว และไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน แป้งหรือคาร์โบไฮเดรต คือ สารอาหารหลักชนิดหนึ่งที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย […]

  • Food and Nutrition

โรคไต ดื่มน้ำ อะไรได้บ้าง 

โรคไตเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรังโรคหนึ่งที่มีข้อจำกัดในการรับประทานอาหารอาจทำให้เกิดความสับสนและไม่เข้าใจให้แก่ญาติและผู้ป่วย จนหลายครั้งอาจเกิดความเข้าใจผิดในเรื่องการรับประทานอาหารจนไปเร่งความเสื่อมของโรคไตได้   โรคไต ดื่มน้ำ อะไรได้ไหม นอกจากน้ำเปล่า ? ผู้ป่วยโรคไตอาจจะเบื่อ อยากดื่มเครื่งดื่มอื่น ๆ ซึ่ง ในปัจจุบันก็มีผู้ผลิตเครื่องดื่มใหม่ๆที่น่าสนใจหลายแบบ ทั้งมีการแต่งสี แต่งกลิ่น เติมวิตามินและเกลือแร่ หรือสารอาหารอื่นๆลงในเครื่องดื่ม เพื่อให้เป็นที่น่าดึงดูดแก่ผู้ซื้อ แต่ในทางกลับกันหากผู้ป่วยโรคไตดื่มเครื่องดื่มที่มีการเติมสารอาหารเหล่านั้น หรือเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลอาจเกิดผลเสียต่อไตจนทำให้ไตเสื่อมเร็วขึ้นได้1 ดังนั้นเราจึงรวมรวบแนวทางการเลือกเครื่องดื่มในผู้ป่วยโรคไต รวมถึงแนะนำเครื่องดื่มที่แนะนำและเครื่องดื่มที่ควรหลีกเลี่ยงในผู้ป่วยโรคไตในแต่ละระยะ เพื่อช่วยในการตัดสินใจเลือกซื้อเครื่องดื่มได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม  การแบ่งระยะของโรคไต โรคไตแบ่งเป็น 2 ระยะหลักคือ ระยะก่อนฟอกไตและระยะหลังฟอกไต โดยระยะก่อนฟอกไตจะแบ่งเป็นอีก 5 ระยะย่อยดังภาพ  โดยโรคไตในแต่ละระยะจะมีข้อจำกัดในการรับประทานอาหารไม่เหมือนกัน สามารถอ่านเพิ่มเติมได้จากที่นี่ กินอย่างไรเมื่อ (ไต) ถามหา โดยผู้ป่วยโรคไตในระยะต้น (ระยะที่ 1-2) หากมีการควบคุมอาหารและควบคุมโรคประจำตัวได้เป็นอย่างดีจะสามารถชะลอความเสื่อมของไตได้ ผู้ป่วยโรคไตระยะกลางจนถึงระยะท้ายหากได้รับคำแนะนำเรื่องการรับประทานอาหารเป็นอย่างดีจะสามารถชะลอความเสื่อม ลดโรคแทรกซ้อนและลดโอกาสในนอนรักษาในโรงพยาบาลได้มากกว่ากลุ่มผู้ป่วยที่ไม่ได้รับคำแนะนำ2  การจำกัดน้ำดื่มในโรคไตแต่ละระยะ โรคไต กับ การ ดื่มน้ำ เพื่อป้องกันและชะลอความเสื่อมของโรคไตในแต่ละระยะ  โรคไตระยะที่ 1 และ โรคไตระยะที่ 2 คือกลุ่มคนที่มีค่าอัตราการกรอง (eGFR) มากกว่าหรือเท่ากับ […]

  • Food and Nutrition

ปรับเปลี่ยนการกินเมื่อ คอเลสเตอรอลสูง

เมื่อก้าวเข้าไปในโรงพยาบาลเพื่อต้องการจะตรวจสุขภาพประจำปี ค่าผลเลือดหนึ่งที่มักจะตรวจกันก็คือ ค่าไขมันในเลือด หรือที่คุ้นเคยกันว่า ตรวจคอเลสเตอรอลในเลือด ซึ่งผลที่ออกมาบางครั้งก็น่าพอใจ แต่บางครั้งก็พบว่า ค่าไขมันในเลือดของตัวเองนั้นผิดปกติ หรือมี คอเลสเตอรอลสูง แล้วเมื่อตรวจเจอแบบนั้น เราควรทำอย่างไรดี ไขมันในเลือด มีทั้งหมดกี่ชนิด ?                 โดยปกติแล้วจะมีการตรวจไขมันในเลือด 4 ชนิด ได้แก่ คอเลสเตอรอลรวม (Total Cholesterol) ไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) ไขมันชนิดเลว (LDL-Cholesterol) และไขมันชนิดดี (HDL-Cholesterol) แต่ในปัจจุบันบางสถานพยาบาลจะมีการตรวจค่า  Very Low-Density Lipoprotein (VLDL) ร่วมด้วย เท่าไหร่?  ถึงจะเรียกว่า คอเลสเตอรอลสูง ค่ามาตรฐานของระดับไขมันในเลือด ระดับไขมัน ค่ามาตรฐาน คอเลสเตอรอลรวม (Total Cholesterol) น้อยกว่า 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ไตรกลีเซอร์ไรด์ (Triglyceride) น้อยกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ไขมันชนิดดี (HDL-Cholesterol) เพศชาย […]

  • Health

ผ่าตัดกระเพาะ…ดีจริงไหม เหมาะกับใคร? 

โรคอ้วน คือโรคชนิดหนึ่ง จากการศึกษา พ.ศ. 2552 พบว่า “ โรคอ้วน” เป็นปัจจัยเสี่ยงและภัยเงียบสำคัญ อันดับ 1 และอันดับ 6 ของการสูญเสียปีสุขภาวะในหญิงไทย และชายไทย  โรคอ้วน คือภาวะที่ร่างกายมีการสะสมของไขมันมากกว่าปกติ มีการสะสมของไขมันที่บริเวณช่องท้องและอวัยวะภายใน เช่น ตับ ไต ลำไส้ กระเพาะอาหารและอื่นๆทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนต่างๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคไขมันในเลือดสูง โดยรอบพุงที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 5 ซม. จะเพิ่มโอกาสเกิดโรคเบาหวาน 3-5 เท่า นอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุของการเกิดโรคมะเร็งอย่างน้อย 18 ชนิด   ดังนั้นเราจึงควรลดน้ำหนักเพื่อป้องกันโรคร้ายต่างๆที่เป็นภัยแฝงมากับโรคอ้วน แต่บางครั้งไม่ว่าจะพยายามควบคุมอาหารหรือออกกำลังกายด้วยวิธีไหนก็ไม่เป็นผล ปัจจุบันวิทยาศาสตร์ทางการแพทย์มีวิธีการรักษาที่รวดเร็ว นั่นก็คือ การผ่าตัดกระเพาะอาหาร  การผ่าตัดกระเพาะอาหาร (Bariatric Surgery)   คือ การผ่าตัดเพื่อลดขนาดกระเพาะให้เล็กลง หรือเพื่อลดการดูดซึมของกระเพาะอาหาร ซึ่งสามารถเรียกได้ว่าเป็นการผ่าตัดเพื่อรักษาโรคอ้วน เพราะว่าในกระเพาะอาหารของเรามีฮอร์โมนชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดความอยากอาหาร เมื่อเราตัดลดขนาดกระเพาะลง ก็จะตัดส่วนที่มีฮอร์โมนชนิดนี้ออกไปส่งผลให้ความอยากอาหารลดลง   โดยการลดความอ้วนมีหลายวิธี ได้แก่  […]

  • Food and Nutrition

แพ้นม (Milk Allergy) หรือ แค่ย่อยแลคโตสไม่ได้ 

การแพ้นม คืออะไร  การแพ้นม เกิดจากการที่ร่างกายมีปฏิกิริยาตอบสนองมากเกินไปต่อโปรตีนในนม หากคนที่ แพ้นม ดื่มนมหรือกินอาหารที่มีส่วนผสมของนมเข้าไป ระบบภูมิคุ้มกันของผู้ที่แพ้นมจะคิดว่าโปรตีนนมเป็นสิ่งแปลกปลอม ร่างกายจึงตอบสนองด้วยการหลั่งสารเคมี อย่างเช่น ฮีสตามีน ทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้ตามมา การแพ้นมวัว่พบได้บ่อยโดยเฉพาะในเด็กอย่างไรก็ตามการแพ้นมจากสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นก็พบได้เช่นกัน เช่น นมแพะ นมแกะ นมม้า เป็นต้น  อาการ แพ้นม  อาการแพ้นม นั้นแตกต่างกันขึ้นอยู่กับการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย แบ่งออกเป็น   1. อาการแพ้เฉียบพลัน เกิดจากร่างกายสร้างแอนติบอดี้ ชนิด IgE ขึ้นมาหลังกินโปรตีนนม อาการจะเกิดขึ้นทันทีภายในไม่กี่นาทีถึงสองชั่วโมง เช่น ผื่นลมพิษ คัน ปากบวม ลิ้นบวม หายใจไม่ออก ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน ในบางรายอาจเกิดอาการภูมิแพ้รุนแรงเฉียบพลัน (Anaphylaxis) ซึ่งอันตรายถึงชีวิตได้  2. อาการแพ้ไม่เฉียบพลัน เป็นการตอบสนองแบบ non-IgE อาการจะเกิดขึ้นช้าหลายชั่วโมง หรือหลายวันหลังได้รับโปรตีนนม อาการไม่ชัดเจนและระบุได้ยาก การแพ้ชนิดนี้ไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต แต่อาจส่งผลรบกวนกับการใช้ชีวิตประจำวันได้ เช่น ปวดท้อง ท้องอืด ท้องผูกหรือถ่ายเหลว ผื่นคัน […]

  • Health

กินต้าน ฝุ่น pm 2.5 

ปัญหา PM 2.5 เป็นปัญหาที่เราสังเกตได้ชัดเจน ในปัจจุบัน จากท้องฟ้าที่เคยเป็นสีฟ้าแต่ตอนนี้กลับกลายเป็นสีเทาขมุกขมัว จากที่เคยมองเห็นภูเขาเป็นลูกกลับกลายเป็นความว่างเปล่า เหลือแต่ท้องฟ้าสีเทาฟุ้งๆ บดบังวิสัยทัศน์ในการมองเห็น นั่นหมายความว่าชั้นบรรยากาศกำลังมีการรวมตัวของฝุ่น PM 2.5 กันอย่างหนาแน่น จนไปบดบังแสงจากดวงอาทิตย์ที่จะส่องลงมาบนพื้นโลก หากเราสูดดมฝุ่น PM 2.5 สะสมเข้าไปมากๆก็อาจจะส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย  PM 2.5 คือ?  ฝุ่น PM 2.5 เป็นชื่อที่หลายคนได้ยินจนคุ้นหู โดย PM ย่อมาจาก Particulate matter หรือผุ่นละออง และ 2.5 ก็คือขนาดของฝุ่นชนิดนี้ ที่มีขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน หากถามว่าเล็กขนาดเท่าไร ก็คือเล็กจนตาไม่สามารถมองเห็นได้ เปรียบเทียบได้เป็น 1 ใน 25 ส่วนของเส้นผ่านศูนย์กลางเส้นผม เรียกได้ว่าเล็กจนขนาดขนจมูกของคนเราที่ทำหน้าที่กรองฝุ่นนั้น ไม่สามารถดักจับฝุ่นชนิดนี้ได้    อันตรายจากฝุ่น PM 2.5 เกิดจากการที่ตัวของฝุ่นสามารถทำหน้าที่เป็นตัวกลางพาสารต่างๆเข้าสู่ปอด ด้วยการให้สารพิษมาเคลือบบนผิวของฝุ่น เช่น สารก่อมะเร็ง สารโลหะหนัก เป็นต้น […]

  • Food and Nutrition

10 สมุนไพร ที่ต้องระวังในคนไข้ โรคไต

สมุนไพร โรคไต กับผู้ป่วยหลายคนที่ต้องการใช้สมุนไพร หรือยาสมุนไพร เพื่อบรรเทาอาการของโรคไตเสื่อมเรื้อรังให้ดีขึ้น แต่รู้หรือไม่ว่า สมุนไพรบางชนิดจากที่จะส่งผลดี อาจส่งผลเสียทำให้โรคไตแย่ลง หรือร้ายแรงถึงชีวิต ทั้งนี้  National Kidney Foundation ได้ระบุไว้ใน แนวทางเวชปฏิบัติของโรคไต (Kidney Disease Outcomes Quality Initiative ; KDOQI) ว่า ไม่แนะนำให้ใช้สมุนไพรในการนำมาใช้รักษาโรคในผู้ป่วยโรคไตเสื่อมเรื้อรัง             ไตเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ขับสารต่างๆออกจากร่างกายทางปัสสาวะ แต่เมื่อไตเสื่อมแล้ว ประสิทธิภาพการทำงาน เช่น การขับของสารต่างๆ จะลดลง เพราะฉะนั้น ก่อนจะฟังคำบอกเล่าปากต่อปาก หรือ คำกล่าวอ้างทางโฆษณา ทางแพทย์และนักกำหนดอาหารอยากให้คนไข้โรคไตทุกท่าน พิจารณาให้ดีเพื่อสุขภาพของคุณ หรือคนที่คุณรัก             ทั้งนี้ คนไข้โรคไตเสื่อมเรื้อรังควรทราบว่าการควบคุมจำกัดสารอาหารและสารต่างๆในปริมาณที่กำหนดมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นโปรตีน  วิตามิน และเกลือแร่ โดยเกลือแร่หลัก 3 ตัว ที่มีความสำคัญต่อโรคไต คือ โซเดียม โพแทสเซียม  ฟอสเฟต จากรายงานจำนวนไม่น้อยพบคนไข้โรคไตได้รับพิษจากการใช้สมุนไพร   เนื่องจากสมุนไพรส่วนใหญ่มีเกลือแร่โพแทสเซียม ฟอสเฟตสูง […]

  • Health

Fat Burner กับการลดน้ำหนัก

ยีน (Gene) คือรหัสพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด  เเละมนุษย์เองก็มีรหัสพันธุกรรมนี้อยู่ในร่างกายด้วยเช่นกัน โดยยีนจะควบคุมลักษณะการแสดงออกของคนให้มีความแตกต่างกัน  ไม่ว่าจะเป็นหน้าตา สรีระ ความแข็งแรง  การทำงานของอวัยวะต่าง ๆ สุขภาพภายใน หรือแม้กระทั่งน้ำหนักตัว จะมีใครเคยได้ยินเรื่อง ยีนเผาผลาญไขมัน หรือ Fat burner gene กันบ้างไหม ซึ่งเป็นปัจจัยภายในร่างกายของเรา โดยสามารถตรวจได้จากการ ตรวจ DNA ที่วิเคราะห์ร่างกายได้ เพื่อนำมาเป็นแนวทางพิจารณาในการวางแผนลดน้ำหนัก ช่วยให้เราเข้าใจร่างกายตัวเองและรู้วิธีลดน้ำหนักที่เหมาะสม มีประสิทธิภาพได้ ซึ่งหลายๆ คนอาจเคยใช้วิธีการลดน้ำหนักตามคนอื่นๆ แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ด้วยความแตกต่างไปแต่ละคน วิธีหนึ่งอาจได้ผลกับบางคน แต่กับอีกคนกลับใช้ไม่ได้ผล บางคนบอกว่ากินเท่ากัน กินเหมือนกัน แต่อีกคนยังอ้วนอยู่ ส่วนอีกคนลดน้ำหนักได้ดีกว่า ซึ่งเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง หนึ่งในนั้นมักเกี่ยวข้องกับการยีนที่ควบคุมกำกับดูแลการเผาผลาญพลังงาน โดยเราพบว่า บางคนอาจเผาผลาญไขมันเก่ง แต่บางคนอาจเผาผลาญไขมันไม่เก่งนั่นเอง มารู้จัก “กระบวนการเผาผลาญไขมัน”กันก่อนดีกว่า             กระบวนการเผาผลาญไขมันเป็น กระบวนการที่ร่างกายเปลี่ยนพลังงานไขมันเป็น ATP (Adenosine Triphosphate) ซึ่งคือ รูปแบบพลังงานที่เซลล์ในร่างกายเราสามารถนำไปใช้ได้เลย สิ่งที่ทำให้เกิดการเผาผลาญไขมันเพิ่มขึ้นมีหลายปัจจัย เช่น Fat burner […]

  • Health

5 วิธี เพิ่มน้ำหนักผู้หญิง ให้ได้หุ่นดี

            ค่านิยมของคำว่า “หุ่นดี” ในแต่ละยุคสมัยนั้นแตกต่างกันไป ปัจจุบันเทรนด์ “beauty at everysize” กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะอยากให้ผู้หญิงทุกคนสวยและมั่นใจในหุ่นของตัวเอง อย่างไรก็ตาม ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า หุ่นแบบ “ฟิตแอนด์เฟิร์ม” ไม่ผอมไป ไม่อ้วนไป การ เพิ่มน้ำหนักผู้หญิง นอกจากจะทำให้รูปร่างและบุคลิกดีแล้ว สิ่งที่สำคัญคือ ช่วยให้มีสุขภาพที่ดีในระยะยาว              สาวๆ รูปร่างผอมส่วนใหญ่ มักจะถูกอิจฉาใช่ไหมคะว่า “กินอะไรก็ไม่อ้วนเลย ดีจัง”  หรือถ้าใครน้ำหนักลงช่วงไหนไม่ได้เจอใครนานๆ อาจจะถูกทักว่า “ผอมจัง กินเยอะๆหน่อย”  ซึ่งได้ยินบ่อยๆ ก็อาจจะแอบกลับมาสงสัยต้องเองว่า หรือเราผอมไป? แต่พยายามกินเท่าไหร่ก็ยังไม่อ้วนขึ้น              เรื่องของความมั่นใจในรูปร่างอาจจะเป็นเรื่องหนึ่ง แต่ถ้าหากรู้สึกไร้เรี่ยวแรง หมดพลัง เจ็บป่วยง่าย ก็อาจมีสาเหตุมาจากน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ได้ แต่ยังไม่ต้องเครียดไปนะคะ วันนี้เราจะทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องรูปร่างกันใหม่ และเรียนรู้การเพิ่มน้ำหนักให้ได้หุ่นดีแบบสุขภาพดี ไปด้วยกันค่ะ             ก่อนอื่น อยากให้ทุกคนทำความรู้จักกับคำสำคัญสำหรับน้ำหนักและรูปร่างกันก่อน นั่นคือคำว่า “ดัชนีมวลกาย” หรือ “BMI” (Body mass index) ซึ่งอธิบายง่ายๆว่าเป็นสัดส่วนของน้ำหนักต่อส่วนสูงของเรานั่นเอง […]

  • Health

กิน อาหารเสริมแคลเซียม อย่างไรให้ปลอดภัย

เมื่อพูดถึง แคลเซียม เราก็จะนึกถึงว่าเป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อกระดูกและฟันของเรา ไม่ว่าจะช่วยในการสร้างกระดูกและฟันในเด็ก เพิ่มความแข็งแรงให้กระดูกในวัยรุ่น นอกจากนี้ แคลเซียมยังเป็นส่วนสำคัญในการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ เช่น การเต้นของหัวใจ การแข็งตัวของหลอดเลือด การทำงานของระบบประสาท และการหดตัวของกล้ามเนื้อ แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่เราได้รับจากอาหารที่กิน แต่ทว่าจากสถิติของประเทศไทยพบว่าคนไทยนั้นได้รับแคลเซียมเพียงแค่ 361 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งคิดเป็นเพียงร้อยละ 45 ของปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน จึงทำให้แพทย์หรือใครหลาย ๆ คนเลือกที่จะใช้การเสริมแคลเซียมในรูปแบบผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเข้ามาเป็นตัวช่วย แต่อย่างไรก็ตามการกิน อาหารเสริมแคลเซียม ก็ทำให้ผู้วิจัยหลาย ๆ คนเกิดความสงสัยว่า แคลเซียม จะทำให้เกิดโรคหัวใจมากขึ้นหรือไม่  แหล่งของ แคลเซียม แร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกาย  แคลเซียม เป็นแร่ธาตุที่สามารถพบได้มากที่สุดในร่างกาย โดยจะเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกและฟัน หากร่างกายได้รับแคลเซียมไม่เพียงพออาจจะนำไปสู่การเกิดภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis) และอาจมีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาอีกด้วย จึงทำให้การได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอเป็นสิ่งที่สำคัญต่อคนในแต่ละช่วงวัยอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการเสริมแคลเซียมในเด็กเพื่อให้เสริมสร้างกระดูกอย่างเหมาะสม หรือในผู้ใหญ่ที่เป็นการเสริมความแข็งแรงของกระดูกนั่นเอง  สำหรับแหล่งอาหารที่มีแคลเซียม ได้แก่ นมหรือผลิตภัณฑ์จากนมที่เป็นแหล่งของแคลเซียมที่ดีที่สุดเพราะมีอยู่ในปริมาณมากและสามารถดูดซึมได้ดี ถั่วเมล็ดแห้งหรืองา และผักใบเขียว แต่ในปัจจุบันก็ได้มีผลิตภัณฑ์แคลเซียมที่ใช้ในการเสริมแบบเม็ดออกมา เพื่อให้คนที่ไม่สามารถกินอาหารที่เป็นแหล่งของแคลเซียมได้อย่างเพียงพออีกด้วย เพราะจากการสำรวจพบว่าคนไทยได้รับแคลเซียมเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 361 มิลลิกรัมเพียงเท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยกว่าปริมาณที่ควรได้รับต่อวันเกือบ […]

  • Health

ภูมิแพ้อาหารแฝง ภูมิแพ้อาหาร ต่างกันอย่างไร?

‘อาหาร’ คือ สิ่งที่จำเป็นสำหรับร่างกายในการเสริมสร้างและซ่อมแซมอวัยวะต่างๆ ซึ่งควรจะต้องมีความหลากหลาย มีสารอาหารครบถ้วนและมีปริมาณที่เหมาะสม จึงจะทำให้เรามีสุขภาพที่ดีปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ แต่ในขณะเดียวกันอาหารที่เหมาะสมกับคนอื่นอาจจะไม่เหมาะสมกับร่างกายของเรา เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของคนเราแต่ละคนไม่เหมือนกัน ถ้าหากร่างกายของเราไม่ยอมรับอาหารชนิดนั้นๆ อาหารจะกลายเป็น ‘สารพิษ’ ที่เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยและก่อให้เกิดความเสื่อมไปทั่วร่างกาย ซึ่งถูกเรียกว่า ‘ปฏิกิริยาภูมิแพ้อาหาร’ ซึ่งเราจะมาดูกันอีกทีว่า ภูมิแพ้อาหาร กับ ภูมิแพ้อาหารแฝง มันคืออะไรกัน ปฏิกิริยาภูมิแพ้อาหาร สามารถแบ่งออกเป็นภูมิแพ้อาหาร(Food Allergy) และ ภูมิแพ้อาหารแบบแอบแฝง (Food Intolerance) Food Allergy หรือ ภูมิแพ้อาหาร การรักษาเบื้องต้น คือ รับประทานยาแก้แพ้ แต่ถ้าหากอาการรุนแรงมากๆ ต้องรีบนำตัวส่งโรงพยาบาล แพทย์จะฉีดยาแก้แพ้หรือยาสเตียรอยด์เพื่อควบคุมอาการไว้ไม่ให้ลุกลาม Food Intolerance หรือ ภูมิแพ้อาหารแฝง เมื่อร่างกายสะสมต่อเนื่องไปนานๆ อาจจะก่อให้เกิดปัญหาโรคเรื้อรัง เช่น กลุ่มโรคภูมิแพ้ตัวเอง โรคระบบลำไสรั่ว ลำไส้อักเสบเรื้อรัง หรือแม้แต่เกิดการรบกวนการทำงานระบบประสาท เช่น ภาวะสมาธิสั้น เครียด ไมเกรน เป็นต้น กลไกการเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้แฝง ผลภูมิแพ้อาหารแฝง (Food […]

  • Food and Nutrition

แพ้ไข่ กินอะไรได้บ้าง? 

ไข่ (Egg) เป็นอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงมาก เป็นแหล่งของโปรตีนที่มีคุณภาพดี เพราะมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายครบถ้วน สามารถหากินได้ง่าย มีราคาถูก และนำไปประกอบอาหารได้หลากหลาย แต่เพราะร่างกายของคนเราไม่เหมือนกัน บางคนกินไข่เข้าไปแล้วเกิดอาการแพ้ โดยอาจทำให้เกิดลมพิษ มีผื่นขึ้น คลื่นไส้ อาเจียน หรือมีปัญหาเกี่ยวกับระบบย่อยอาหาร  ซึ่งอาการเหล่านี้เราเรียกว่า การ แพ้ไข่ (Egg Allergy)  สาเหตุของอาการแพ้ไข่  อาการแพ้ไข่คือโรคภูมิแพ้ชนิดหนึ่ง เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายเข้าใจผิดว่าโปรตีนในไข่(Antigen)เป็นสิ่งที่ก่ออันตรายต่อร่างกาย จนทำให้เซลล์ระบบภูมิคุ้มกันปล่อยสารฮิสตามีนและสารเคมีอื่นๆ(Antibody) ซึ่งเป็นสาเหตุที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ออกมา โดยทั้งไข่แดงและไข่ขาวมีโปรตีนที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่บางคนอาจจะแพ้เฉพาะไข่ขาวหรือไข่แดง ขณะที่บางคนแพ้ทั้งไข่แดงและไข่ขาว  อาการ แพ้ไข่  อาการแพ้ไข่อาจแสดงทันทีหลังกินไข่หรืออาหารที่มีไข่เป็นส่วนประกอบ หรืออาจจะนานหลายชั่วโมง หรือหลายวัน ซึ่งความรุนแรงและอาการแสดงออกมีความแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล โดยผู้ที่แพ้ไข่อาจมีอาการต่าง ๆ ดังนี้  ภาวะแทรกซ้อนของอาการ แพ้ไข่  ภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายที่สุดของอาการแพ้ไข่คือ ปฏิกิริยาภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง(Anaphylaxis) ซึ่งมีอาการที่รุนแรงเป็นสัญญาณบ่งบอกเช่น หายใจลำบาก ชีพจรเต้นเร็ว ความดันโลหิตลดต่ำลงอย่างมาก จนนำไปสู่ภาวะช็อกหรือหมดสติ และอาจมีอันตรายถึงชีวิตจำเป็นต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน  นอกจากนี้ปฏิกิริยาของระบบภูมิคุ้มกันที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ไข่ก็อาจทำให้เสี่ยงต่อการแพ้อื่น ๆ เช่น แพ้นม ถั่วลิสง ถั่วเหลือง ขนสัตว์ ไรฝุ่น […]

  • Food and Nutrition

เนื้อสัตว์จากพืช Plant Based Meat

ทางเลือกใหม่ที่ใส่ใจสุขภาพและโลกมาขึ้น เนื้อสัตว์จากพืช กำลังได้รับความนิยมที่เพิ่มมากขึ้น ผลมาจากการแพร่โรคระบาดในสัตว์ ทำให้เนื้อสัตว์ขาดตลาด และการปล่อยก๊าซมีเทนจากการทำอุตสาหกรรมปศุสัตว์ทำให้เกิดภาวะโรคร้อน จึงเกิดการคิดค้นนวัตกรรมอาหารเนื้อสัตว์จากพืช ซึ่งมีโปรตีนเทียบเคียงกับเนื้อสัตว์แถมคอลเลสเตอรอลไม่มีอีกด้วย ทั้งนี้ร้านอาหารใหญ่ ๆ ก็เริ่มหันมาใช้เนื้อสัตวืจากพืช เป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคกันมากขึ้น เรียกได้ว่าถูกใจ สายลดน้ำหนัก หรือ ผู้ที่ไม่กินเนื้อสัตว์ Plant Based Meat เนื้อสัตว์จากพืช อยู่ในกลุ่มโปรตีนสูง เช่น พืชตระกูลถั่ว ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา เห็ด สาหร่าย ข้าวโอ๊ต ที่มีการดัดแปลงส่วนผสมที่สำคัญคือ ฮีม (Heme) จากในธัญพืชต่าง ๆ ให้คล้ายกับสารฮีมของเนื้อสัตว์ จึงทำให้เนื้อสังเคราะห์ ออกมาหน้าตา รสชาติ กลิ่น สี คล้ายกับเนื้อสัตว์จริงๆ เนื้อสัตว์จากพืช (Plant Based Meat) ดีต่อสุขภาพยังไง จากรูป เราจะเห็นได้ว่าเนื้อสัตว์จากพืช กับเนื้อสัตว์จริง ก็มีข้อได้เปรียบและเสียเปรียบ ที่แตกต่างกันคนละด้าน แล้ว มัง เจ วีแกน สามารถกิน […]

  • Health

คอลลาเจน กินอย่างไรให้ได้ผล

ในปัจจุบันคงพูดได้ว่าการดูแลตัวเองถือเป็นส่วนที่สำคัญอย่างมากเพื่อเป็นการเสริมสร้างความมั่นใจให้กับตัวเอง และถ้าพูดถึงอาหารที่เกี่ยวข้องกับการดูแลผิวพรรณ คำว่า คอลลาเจน คงจะต้องปรากฎขึ้นมาเป็นสิ่งแรก ๆ อย่างแน่นอน ด้วยเหตุนี้ทำให้เกิดผลิตภัณฑ์คอลลาเจนสำหรับการดูแลผิวพรรณไม่ว่าจะช่วยเพิ่มความยืดหยุ่น เรียบเนียนให้ผิว ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบผลิตภัณฑ์อาหารเสริมหรือผลิตภัณฑ์ทาผิวก็ตาม แต่ทว่าคอลลาเจนนั้นจะสามารถช่วยบำรุงผิวพรรณของเราได้จริงหรือไม่ และถ้าช่วยได้เราจะต้องกินคอลลาเจนอย่างไรให้ผิวของเราดีขึ้น  ทำความรู้จักกับคอลลาเจน  คอลลาเจน คือ โปรตีนเชิงโครงสร้างที่สามารถพบได้ในร่างกายของเราตามส่วนต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นบริเวณใต้ผิว เส้นผม เล็บ กระดูก และข้อต่อของเรา ซึ่งโปรตีนนี้จะทำหน้าที่คล้ายกับกาวที่คอยยึดเหนี่ยวโครงสร้างของเนื้อเยื่อต่าง ๆ โดยในแต่ละอวัยวะของร่างกายก็จะพบคอลลาเจนที่ต่างชนิดกัน โดยจากการศึกษาพบว่าในร่างกายมีคอลลาเจนมากมายถึง 16 ชนิด ซึ่งชนิดที่สามารถพบได้เป็นหลักในร่างกาย ได้แก่ คอลลาเจนชนิดที่ 1 , 2 , 3 และ 5 แล้วคอลลาเจนมีประโยชน์อย่างไร จะเห็นว่า คอลลาเจนนั้น สามารถพบได้ทั่วร่างกายของเรา ทั้งนี้ปกติร่างกายของเรานั้นจะสามารถสร้างคอลลาเจนได้เอง แต่เมื่อเรามีอายุที่มากขึ้น อัตราการสร้างคอลลาเจนภายในร่างกายจะลดลงในขณะที่ยังมีการสูญเสียคอลลาเจนไปอยู่เรื่อย ๆ จึงทำให้ระดับคอลลาเจนในร่างกายลดลงและเกิดเปลี่ยนแปลงบริเวณผิวและกระดูกจนเกิดริ้วรอยและปัญหาปวดข้อต่าง ๆ นั่นเอง ด้วยเหตุผลจากการที่ร่างกายเสียคอลลาเจนต่าง ๆ จึงทำให้มีการศึกษาถึงประโยชน์ของคอลลาเจนว่าจะเมื่อเสริมคอลลาเจนในรูปแบบของผลิตภัณฑ์อาหารเสริมนั้นจะมีผลดีต่อร่างกายจริงหรือไม่ ซึ่งจากการศึกษาต่าง ๆ ก็ได้พบประโยชน์ ดังนี้ […]

  • Health

5 วิธี เพิ่มน้ำหนัก สร้างกล้ามเนื้อ ของคุณผู้ชาย

ในยุคที่เทรนด์สุขภาพมาแรงอย่างนี้ ใครๆ ก็หันมาดูแลใส่ใจสุขภาพตัวเอง ไม่เว้นแม้กระทั่งคุณผู้ชายหลายๆคน ที่สนใจในรูปร่างของตัวเองมากขึ้น ด้วยเหตุผลต่างกันไป บางคนอยากหุ่นกระชับใส่เสื้อผ้าแล้วดูดีขึ้น บางคนอยากเพิ่มความแข็งแรงให้ร่างกาย หรือแม้แต่หนุ่มร่างบางที่อยากดูสมส่วนขึ้น ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆ สิ่งพื้นฐานที่เราควรให้ความสนใจคือ การ สร้างกล้ามเนื้อ ให้กับร่างกาย โดยการ เพิ่มน้ำหนัก เพราะสิ่งนี้จะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่คุณต้องการได้ กล้ามเนื้อ เป็นเนื้อเยื่อที่พบในอวัยวะเกือบทุกชนิดในร่างกาย สามารถแบ่งชนิดของกล้ามเนื้อได้ตามลักษณะโครงสร้างทางกายวิภาคและหน้าที่การทำงานทางสรีรวิทยาได้เป็น 3 ประเภท คือ กล้ามเนื้อลาย กล้ามเนื้อหัวใจและกล้ามเนื้อเรียบ กล้ามเนื้อ สำคัญอย่างไร? กล้ามเนื้อมีความสำคัญต่อช่วยพยุงโครงสร้างร่างกาย และเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวร่างกายด้วย อีกทั้งยังช่วยเผาผลาญพลังงานไขมันได้อีกด้วย ทำไมถึงควรเพิ่มกล้ามเนื้อ?           กล้ามเนื้อสามารถลดลงและเสื่อมประสิทธิภาพเมื่ออายุมากขึ้น การเสริมสร้างกล้ามเนื้อจะช่วยให้ร่างกายแข็งขึ้น สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นการเล่นกีฬา การใช้ชีวิตประจำวันต่างๆ อีกทั้งกล้ามเนื้อที่มากขึ้น ร่างกายก็จะเผาผลาญไขมันได้มากขึ้นตามไปด้วย  ซึ่งการที่กล้ามเนื้อเป็นเตาเผาไขมันขนาดใหญ่นั้น จะช่วยทำให้เราสามารถควบคุมน้ำหนักได้ง่ายขึ้น  การมีกล้ามเนื้อที่มากขึ้นยังส่งผลด้านอารมณ์ คือ สามารถลดความเครียดได้ด้วย แล้วเมื่อไหร่ละที่ควร เพิ่มน้ำหนัก?           คนที่มีอายุมากขึ้น  หรือมีดัชนีมวลกายต่ำกว่าเกณฑ์ (BMI น้อยกว่า 18.5 ; คำนวนได้จากการน้ำหนักหารด้วยส่วนสูงหน่วยเป็นเมตร […]

  • Food and Nutrition

เวย์โปรตีน เลือกแบบไหนดี

เวย์โปรตีน ตัวช่วยยอดฮิต ที่สายสุขภาพหลายๆ คนหันมาสนใจ บางที่เราอาจจะสังเกตุว่าเพื่อนรอบตัวเรา ที่เริ่มสนใจสุขภาพ หรือ เล่นกล้าม หลายๆ คนมัก เลือกกิน เวย์โปรตีน กันเพิ่มขึ้น เวย์โปรตีน เป็นอาหารเสริมที่ไม่ว่าจะเป็นคนที่ออกกำลังกายและไม่ได้ออกกำลังกายก็กินได้เหมือนกัน ยกเว้นแต่คนที่มีปัญหาโรคไตที่จะต้องควบคุมปริมาณโปรตีนในแต่ละวัน ที่จะต้องระวังการกินโปรตีนมากเกินไป วันนี้เรามาทำความรู้จักกันดีกว่าว่า เวย์โปรตีนคืออะไร และมีแบบไหนให้เลือกกินกันบ้าง เวย์โปรตีน คือ โปรตีนที่สกัดจาก นมวัว ซึ่งโปรตีนจากนมวัวจะมีส่วนของทั้ง Whey และ Casein แต่นิยมเหลือแต่ส่วนของโปรตีน “เวย์” ที่มีส่วนของโปรตีนคุณภาพสูงในรูปแบบ “ผง” ดูดซึมไปใช้ได้ง่ายและเร็ว แต่เนื่องจากมีบางคนแพ้แลคโตสที่อยู่ในนมวัว เลยมีการสกัดโปรตีนจากแหล่งโปรตีนที่มาจากพืชด้วย ไม่ว่าจะเป็น ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา เมล็ดฟักทอง เพื่อให้กลุ่มคนที่แพ้นม หรือแลคโตสอีกด้วย เรียกได้ว่าถ้าแพ้ถั่ว ก็หันไปกินเวย์โปรตีนที่มากจากนม ถ้าแพ้นมก็หันมากินโปรตีนจากพืช นอกจากนี้ เวย์โปรตีนเป็น รูปแบบผง ที่สะดวกชงละลายน้ำกินได้อย่างง่าย ซึ่งหลายยี่ห้อก็มีการพัฒนาสูตรรสชาติให้หลากหลายถูกปากกินได้ง่าย ส่วนเรื่องวิตามิน แร่ธาตุ กรดอะมิโน ที่เติมเข้าไปก็สามารถดูได้ตามแต่ยี่ห้อของเวย์โปรตีนได้ เวย์โปรตีน แบ่งออกได้ […]

  • Food and Nutrition

รวม อาหารแคลเซียมสูง

แคลเซียม จัดเป็นแร่ธาตุหลัก (macrominerals) ที่ร่างกายต้องการปริมาณมากกว่า 100 มิลลิกรัมต่อวัน ร่างกายมีแคลเซียมเป็นองค์ประกอบหลักถึง 99% โดยอยู่ในรูปของกระดูกและฟัน  และอีก 1% พบในระบบไหลเวียนเลือด กล้ามเนื้อ และเนื้อเยื่อต่างๆ ถ้ารู้แบบนี้แล้วเรามาดูกันว่า อาหารแคลเซียมสูง มีอะไรบ้างเพื่อที่จะกินให้ร่างกายได้รับและนำแคลเซียมไปใช้ได้อย่างเต็มที่กัน หน้าที่ของแคลเซียม ก่อนอื่นเรามาดูประโยชน์ของแคลเซียมที่มีความสำคัญต่อร่างกายอย่างมาก ว่ามีหน้าที่หลัก คือการรักษารูปร่างและความแข็งแรงของกระดูก ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน การส่งสัญญาณในร่างกาย มีส่วนสำคัญในการหดและขยายตัวของกล้ามเนื้อ หลอดเลือด และระบบประสาท รวมถึงการเต้นของหัวใจ ควบคุมความดันโลหิต ระดับฮอร์โมนในร่างกาย และการแข็งตัวของเลือด ความต้องการแคลเซียมต่อวัน ร่างกายได้รับแคลเซียมจาก 2 ช่องทาง ช่องทางแรกจากการรับประทานอาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีแคลเซียม อีกหนึ่งช่องทางจากการสลายออกมาจากกระดูก ดังนั้นหากรับประทานแคลเซียมไม่เพียงพอจะเพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคกระดูกพรุน (Osteoporosis) ได้ โดยสำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ. 2563 ได้กำหนดปริมาณแคลเซียมที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน ตามแต่ละช่วงวัย ดังนี้ เด็ก  ผู้ใหญ่ หญิงตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร อย่างไรก็ตามมีข้อมูลว่า ในผู้สูงอายุ การได้รับแคลเซียม […]

  • Food and Nutrition

ลดน้ำหนักยังไง ไม่ให้ โยโย่ เอฟเฟกต์ โดยนักกำหนดอาหาร

‘น้ำหนัก’ คือตัวเลขที่ใครหลายคนกังวล ถ้าหากมัน มาก เกินไป เราจึงต้องการที่จะ ลด ให้น้อยลงมา เคยไหมเมื่อเรากำลังไดเอต ในช่วงแรกน้ำหนักลดลงอย่างน่าประทับใจ แต่จนถึงจุดหนึ่ง น้ำหนักกลับดีดขึ้นสูงและ ลดน้ำหนักไม่ได้ หรือ ผอมได้ไม่นานแต่ทำไมถึงกลับไปอ้วนอีก? ถ้าหากคุณมีอาการลักษณะนี้…เราต้องบอกคุณว่านี่คือสัญญาณอันตรายของการลดน้ำหนักผิดวิธี ซึ่งร่างกายของคุณกำลังเผชิญกับปัญหา โยโย่ เอฟเฟกต์ (Yo – Yo Effect) โยโย่ เอฟเฟกต์ (Yo – Yo Effect) คือ ? สภาวะที่น้ำหนักตัวมีการผันผวน เดี๋ยวสูงเดี๋ยวต่ำ คล้ายกับการเล่นลูกข่าง หรือ ลูกโยโย่ เมื่อเราโยนลูกโย่โย่ออกไป ลูกโยโย่จะตกลงตามแรงโน้มถ่วง(น้ำหนักลดลง) แล้วแรงดึงจากปลายสายเชือกทำให้ลูกโยโย่ดีดตัวกลับขึ้นมา(น้ำหนักเพิ่มขึ้น) ส่วนวิธีการเล่นลูกโยโย่ เปรียบเสมือนเป็นวิธีการลดน้ำหนัก ยิ่งเราใช้แรงมากลูกโย่โย่ก็จะหมุนตกลงเร็ว ขณะเดียวกันแรงในการดีดกลับขึ้นมาก็แรง เราจึงเรียกการเหวี่ยงตัวขึ้นของน้ำหนักตัวอย่างผิดปกติหลังลดน้ำหนักว่า…โยโย่เอฟเฟกต์ เพราะเราลดน้ำหนัก ‘ผิด’ วิธี จึงเกิด ‘โยโย่ เอฟเฟกต์’ โยโย่เอฟเฟกต์ เกิดจาก ? 1.พฤติกรรมการรับประทานอาหาร หรือ […]

  • Food and Nutrition

อาหารทางการแพทย์ สูตรไหน เหมาะสำหรับใคร หาซื้อได้ที่บ้าง

อาหารทางการแพทย์ เป็นอาหารทางเลือกสำหรับบุคคลทั่วไป และผู้ป่วยที่ขาดสารอาหารไม่สามารถกินอาหารให้ครบถ้วนหรือตามต้องการของร่างกายได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ ผู้ที่เคี้ยวกลืนได้ลำบาก เพื่อช่วยให้ได้รับสารอาหารที่เพียงพอในการทำให้ร่างกายแข็งแรง วิธีเลือก อาหารทางการแพทย์ อย่างไรให้เหมาะสม เลือกจากความเหมาะสมกับโดยพิจารณาจากโรคประจำตัวเพราะว่าอาหารทางการแพทย์แต่ละสูตรมีความแตกต่างเรื่องส่วนผสมเพื่อให้เหมาะสมกับร่างกายและได้รับประโยชน์จากสารอาหารตรงจุด เช็คดูส่วนประกอบว่ามีสารอาหารที่แพ้ไหม เช่น โปรตีนจากนม โปรตีนจากถั่วเหลือง น้ำมันปลา ดังนั้นสามารถศึกษาข้อมูลจากฉลากบนกระป๋องบรรจุภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ ว่ามีส่วนประกอบอะไรบ้าง ผู้ป่วยกินเองทางปาก หรือ ให้อาหารทางสายให้อาหาร ถ้าให้อาหารทางสารรสชาติไม่มีผลต่อการเลือก เรื่องปริมาณและความเข้มข้นของอาหารอาจจะต้องปรึกษาแพทย์ หรือตามคำแนะนำของนักกำหนดอาหาร ผู้ป่วยกินเอง สามารถเลือกรสชาติและกลิ่นที่ชอบในแต่ละสูตรที่เหมาะสมกับโรคนั้น ๆ หรือแบรนด์ที่ชอบได้เลยเพื่อให้เกิดความพอใจในการกิน อาหารทางการแพทย์ โดยไม่ฝืนตัวเอง สูตร อาหารทางการแพทย์ แบ่งเป็น 3 แบบ 1. สูตรครบถ้วน (Standard formula) สูตรครบถ้วน คือ มีสารอาหารครบ 5 หมู่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน เกลือแร่ ไขมัน โดยส่วนประกอบหลักจะเป็น เวย์โปรตีน ที่ย่อยง่าย ร่างกายดูดซึมนำไปใช้ได้เร็ว ทำให้โดยรวมของสูตรนี้ได้สารอาหารได้ใกล้เคียงกับมื้ออาหาร ซึ่งไม่มีผลกับการรักษาโรค แค่ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารและฟื้นฟูตัวเองเท่านั้น […]

  • Food and Nutrition

รวมเมนูกิน ป้องกันไตเสื่อม

ไตเสื่อม หรือเรียกว่า ‘ไตวายเรื้อรัง’ คือการที่เนื้อไตค่อย ๆ ถูกทำลาย ส่งผลต่อการทำงานของไต ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่ในการกรองของเสียและของเหลวส่วนเกินออกจากเลือด โดยในระยะลุกลามอาจทำให้ของเหลว แร่ธาตุ และของเสียต่างๆ สะสมในร่างกายในระดับที่เป็นอันตรายได้ ฉะนั้นการดูแลร่างกายเพื่อ ป้องกันไตเสื่อม เป็นสิ่งที่สำคัญญอย่างยิ่ง โดยปัจจัยที่ทำให้เพิ่มความเสี่ยงของการ เกิดปัญหาไตเสื่อมมากที่สุด คือ โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นอีก เช่น โรคอ้วน สูบบุหรี่ กรรมพันธุ์ เพศและอายุ “ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคไตมากถึง 8 ล้านคน หรือ คิดเป็น 17.5% ของประชากร” จากรายงานของสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย มีการประมาณการว่ามีผู้ป่วยโรคไตระยะที่ 1 – 5 มากถึง 8 ล้านคนหรือ 17.5% ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป และมีผู้ป่วยรายใหม่ที่ต้องได้รับการบำบัดทดแทนไตหรือฟอกไต ปีละประมาณ 20,000 คน วันนี้ อีทเวลล์คอนเซปต์จึงรวบรวมเมนูอาหาร เพื่อป้องกันไตเสื่อม สำหรับทุกคนที่ยังไม่เป็น หรือเป็นไตเสื่อมแล้ว รวมถึงเทคนิคการดูแลสุขภาพของไตมาฝากกัน วิธีดูแลสุขภาพไต […]

  • Food and Nutrition

กิน อาหารเสริมภูมิคุ้มกัน อย่างไรดี

ทุกวันนี้โรคติดต่อใหม่ๆ เกิดขึ้นอย่างมากมาย บวกกับสภาพอากาศที่แปรปรวน ฝุ่นมลภาวะต่างๆ ที่รบกวนการดำเนินชีวิตประจำวันของเรา สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยภายนอกที่ส่งผลให้ร่างกายของเราเจ็บป่วยได้ง่ายขึ้น เพื่อเสริมสร้างร่างกายให้แข็งแรง การเติมอาหารที่มีประโยชน์ที่เสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ต่อสู้กับเชื้อโรคและ มลภาวะภายนอกเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เราแข็งแรง โดยทุกวันนี้อาหารที่เราสามารถกินได้ในชีวิตประจำวันอยู่แล้ว เราก็สามารถเลือกกินให้ได้สารอาหารที่ดี และมีประโยชน์ โดยไม่ต้องไปกินอาหารเสริม หรือยาต่างๆ เลย  วันนี้อีทเวลล์คอนเซปต์จะขอแนะนำตัวอย่าง อาหารเสริมภูมิคุ้มกัน ให้กับร่างกายของเราว่ามีอะไรบ้าง ระบบภูมิคุ้มกัน คืออะไร ? เป็นระบบสำคัญระบบหนึ่งของร่างกาย โดยการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันจะเกิดเมื่อตัวเราได้รับสิ่งแปลกปลอมที่เป็นอันตรายเข้ามาในร่างกายแล้วระบบจะทำหน้าที่คอยปกป้องและกำจัดเชื้อโรคเพื่อไม่ให้ร่างกายเราป่วย  หรือลดความรุนแรงของอาการเจ็บป่วยนั้นๆ ถ้าลองสังเกตกันดู จะพบว่า แม้ว่าจะเป็นคนที่ป่วยด้วยโรคเดียวกัน แต่ความรุนแรงของโรคของแต่ละคนก็ย่อมแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ ประเภทเชื้อโรค การดูแลรักษา รวมไปถึงพื้นฐานร่างกายว่าแข็งแรงและมีภูมิคุ้มกันที่ดีหรือไม่นั่นเอง 1.โปรตีนและสังกะสีจากเนื้อสัตว์ต่างๆ   สารอาหารสำคัญพื้นฐานที่ร่างกายต้องการ ซึ่งพบได้ในเนื้อสัตว์ทั่วไป เช่น หมู ไก่ ไข่ ปลา เนื้อวัว นอกจากนี้  สังกะสีเป็นส่วนสำคัญในการสร้างโปรตีนซึ่งเป็นส่วนสำคัญสารภูมิคุ้มกัน พวก เม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ   นอกจากนี้โปรตีนยังมีประโยชน์มีดีต่อร่างกายอื่นๆ อีกด้วยโดยสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ ที่นี่ 2.สารต้านอนุมูลอิสระจากอาหารกลุ่มพืชผักผลไม้   ผักและผลไม้หลากสีนับว่าเป็นเหล่งของวิตามิน แร่ธาต และสารต้านอนุมูลอิสระต่างๆ ช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานเป็นปกติ ยกตัวอย่างเช่น   วิตามินซี พบมากในผักและผลไม้ ฝรั่ง พริกหวาน สตอรว์เบอร์รี่ […]

  • Health

กินเพิ่มน้ำหนัก ให้สมส่วนสุขภาพดี

“ทำไม ต้อง กินเพิ่มน้ำหนัก” ในเมื่อค่านิยมทุกวันนี้การที่เรามีรูปร่างผอมอาจจะถือเป็นรูปร่างที่ดีในสังคม ดังนั้น จึงมีการแชร์วิธีมากมายในการลดน้ำหนักมากกว่าการเพิ่มน้ำหนัก แต่ยังมีจำนวนคนอีกไม่น้อยที่ต้องการจะเพิ่มน้ำหนักตัวเองเพราะรูปร่างที่ผอมเกินไป โดยอาจจะเป็นจากพันธุกรรมหรือการมีระบบเผาผลาญที่ดี และยังมีสาเหตุจากการเจ็บป่วยโรคต่าง ๆ เช่น โรคพฤติกรรมการกินอาหารผิดปกติ โรคเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ โรคเบาหวานประเภทที่ 1 และโรคมะเร็ง เป็นต้น  นอกจากนี้ การที่มีน้ำหนักตัวน้อยเกินไป อาจส่งผลอันตรายต่อสุขภาพมากกว่าที่คิด มีการศึกษาหนึ่ง พบว่า ในคนที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์มีความเสี่ยงในการเสียชีวิตเกือบ 2 เท่าเมื่อเทียบกับคนอ้วน ดังนั้น อาจพูดได้ว่า ผอมเกินไปอาจจะส่งผลเสียต่อสุขภาพเหมือนกัน แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเมื่อไหร่ที่เราควรจะเพิ่มน้ำหนัก  เราสามารถดูได้จากค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ซึ่งจะบอกได้ว่าน้ำหนักตัวตอนนี้ของเราเหมาะสมกับส่วนสูงหรือไม่ โดยสำหรับคนเอเชียจะมีเกณฑ์ดังนี้   อย่างไรก็ตาม ค่าดัชนีมวลกายไม่ได้เป็นเกณฑ์ที่ถูกต้องเสมอไปเนื่องจากดูแค่น้ำหนักและส่วนสูง ไม่ได้พูดถึงเรื่ององค์ประกอบของร่างกายอย่างกล้ามเนื้อและไขมัน ดังนั้น ถ้าให้ละเอียดขึ้นอาจจะต้องไปตรวจองค์ประกอบของร่างกายเพื่อดูว่าตอนนี้ร่างกายของเรามีกล้ามเนื้อและไขมันอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือไม่  พอเรารู้แล้วว่า ตอนนี้เราควรเพิ่มน้ำหนักหรือไม่ สิ่งที่ต้องทำต่อไป คือ การหาวิธีเพิ่มน้ำหนักนั่นเอง วันนี้อีทเวลล์คอนเซปต์จึงมีหลากหลายวิธีที่แสนจะง่ายมาแนะนำเพื่อที่จะช่วยให้คุณมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นได้   หลักการเพิ่มน้ำหนัก  มีหลากหลายวิธีในการ กินเพิ่มน้ำหนัก โดยวิธีที่น่าจะง่ายและเห็นผลที่สุดคือ การเพิ่มพลังงานขาเข้า ง่าย ๆ ก็คือ การที่เรากินอาหารเข้าไปเราจะได้รับพลังงานเข้าไปด้วย และการที่ร่างกายเรายังสาสามารถดำงชีวิตอยู่ได้ก็เป็นเพราะมีการใช้พลังงานออกไปรวมถึงการออกกำลังกาย การทำกิจวัตรประจำวันก็เป็นพลังงานขาออก […]

  • Health

ลดน้ำหนัก 1 เดือน เป็นไปได้

“ ลดน้ำหนัก ใน 1 เดือน เป็นไปได้ไหม?” คำถามที่หลายคน อาจสงสัย และพยายามหาคำตอบ และเมื่อเราได้ลงมือทำจริงๆ จะพบว่า คำตอบ คือ “ได้” นั่นเอง เราสามารถ ลดน้ำหนัก ใน 1 เดือนได้ โดยน้ำหนักที่เหมาะสมอยู่ที่ 0.5 – 1 กิโลกรัม/สัปดาห์ หรือ 1 – 2 กิโลกรัม/เดือน เป็นน้ำหนักที่ไม่น้อยหรือมากเกินไปเหมาะสำหรับการ ลดน้ำหนัก ในระยะยาว วันนี้อีทเวลล์คอนเซปต์จะมาแนะนำเทคนิคในการลดน้ำหนักใน 1 เดือน แบบสุขภาพดี เพื่อลดน้ำหนักของไขมันของเรากันค่ะ วิธี ลดน้ำหนัก ใน 1 เดือน มีวิธีมากมายในการลดน้ำหนักทั้งในการเลือกควบคุมอาหารและออกกำลังกาย การที่จะทำได้ยั่งยืนก็ควรเลือกวิธีและรูปแบบที่เหมาะสมกับตัวเองจะดีกว่าเพื่อเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระยะยาวส่งผลให้น้ำหนักคงตัวหลังจากลดน้ำหนักแล้ว เราเลยมีเทคนิคในการเลือกทานและควบคุมอาหารที่เหมาะสมมาเป็นตัวเลือกให้ทุกคนได้ไปปรับใช้กันค่ะ  1. เพิ่มโปรตีนในมื้ออาหาร โดยเฉพาะมื้อแรกของวัน ควรทานโปรตีนในมื้อเช้าให้มาก จะช่วยลดความหิวระหว่างวันรวมไปถึงลดพลังงานที่จะได้รับในวันนั้นด้วย โดยโปรตีนส่วนใหญ่พบได้ใน เนื้อสัตว์ และรวมถึงผลิตภัณฑ์จากนม อาหาร […]

  • Food and Nutrition

5 เมนูอาหาร โปรตีนสูง

โปรตีน คืออะไร โปรตีน เป็นสารอาหารที่สำคัญต่อโครงสร้างและการทำงานของเซลล์ในร่างกาย และจำเป็นต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน การเคลื่อนไหว ปฏิกิริยาเคมี การสังเคราะห์ฮอร์โมนต่าง และอีกหนึ่งหน้าที่ที่เราอาจคุ้นเคยกันสำหรับโปรตีน คือ การที่โปรตีนถูกสังเคราะห์เป็นโครงสร้างที่สำคัญอย่างกล้ามเนื้อ ทำให้ในคนที่ออกกำลังกายที่อยากจะเพิ่มกล้ามเนื้อมักจะนิยมทานอาหารที่มี โปรตีนสูง อาหาร โปรตีนสูง เหมาะกับใคร ? วันนี้อีทเวลล์คอนเซปต์ขอนำเสนอ 5 เมนูอาหาร โปรตีน สูง ให้ทุกคนได้ไปเลือกทานกัน เมนูอาหาร โปรตีนสูง 1. แร็ปไข่ขาวปลาแซลมอน (Salmon Egg Wraps) วัตถุดิบ ไข่ขาว 6 ฟอง แป้งอัลมอนด์ 1 ช้อนโต๊ะ แซลมอนดิบ 160 กรัม เชดดาชีส 1 แผ่น เกลือ 1/4 ช้อนชา น้ำมันรำข้าว 1/2 ช้อนโต๊ะ น้ำสลัด 1 ช้อนชา พริกไทยเหยาะตามชอบ ผักสลัดตามชอบ ส่วนประกอบของ […]

  • Health

5 ผลไม้โพแทสเซียมสูง สำหรับคุมความดัน

ความดันโลหิตสูง เป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสำคัญ โดยพบว่า โรคความดันโลหิตสูงนั้นถือเป็นโรคอันดับต้นๆ ที่ผู้สูงอายุ จะเป็นกันอีกทั้งโรคนี้ยังส่งผลเทำให้พิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคอื่น ๆ อีกหลายโรค เช่น โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไต เป็นต้น นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทำให้เราต้องมาใส่ใจดูแลสุขภาพตัวเองกันมากขึ้น และควบคุมภาวะความดันโลหิตสูง ให้ลดลงมาปกติ ไม่ว่าจะการกินยาอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมการกินอาหารที่มีโซเดียมสูง เพิ่มการกินผักผลไม้ที่สีเข้มซึ่งมี “โพแทสเซียม” สูง หรือการเพิ่มการออกกำลังกาย หรือ การขยับให้มากขึ้น (โดยเฉพาะการออกกำลังกายประเภทคาร์ดิโอ) โพแทสเซียม หรือแร่ธาตุที่เรามักนิยมเห็นเขียนกันด้วยตัวอักษร K (มาจากคำว่า Kalemia ในภาษา Latin ซึ่งแปลว่าแร่ธาตุโพแทสเซียม นั่นเอง) แร่ธาตุตัวนี้มีผลดีต่อความดันของเราโดยจากการศึกษาพบแล้วว่าหากผู้ที่มี ความดันโลหิตสูงได้รับโพแทสเซียมเพียงพอจะมีส่วนช่วยในการลดระดับความดันโลหิตลงได้ด้วย วันนี้อีทเวลล์คอนเซปต์เลยอยากมาแนะนำให้ทุก ๆ คนได้รู้จักกับ ผลไม้โพแทสเซียมสูง กันค่ะ 5 ผลไม้โพแทสเซียมสูง 1. กล้วยทุกชนิด ไม่ว่าจะกล้วยน้ำว้า กล้วยหอม กล้วยไข่ ก็ล้วนมีโพแทสเซียมที่สูงมาก โดยอย่างกล้วยน้ำว้า 1 ลูกมีโพแทสเซียมสูงถึง 128 มิลลิกรัมและถ้าเป็นกล้วยหอมก็มีโพแทสเซียมสูงถึง 400 มิลลิกรัม […]

  • Food and Nutrition

ของเหลือแช่ตู้เย็น ไม่ได้กินได้ตลอดไป

ตั้งเเต่มีในวัตกรรมที่เรียกว่า ตู้เย็น ไม่ว่าของกินประเภทไหน อะไรที่เราซื้อมากินหรือทำกินเองแล้ว มี ของเหลือแช่ตู้เย็น แล้วอยากจะกินวันถัดไปก็จะใส่เข้าไปในตู้เย็นโดยที่ไม่ต้องคิดทันที มีใครเป็นบ้างไม่ว่าจะเป็นตัวเราเอง หรือคนในบ้านชอบเก็บอาหารที่เหลือไว้กินในมื้อถัด ๆ ไป บางทีของกินที่ดองไว้ในตู้เย็นหลายวันมาก ๆ ก็ยังเอาออกมากินอยู่ ซึ่งทางเราก็เป็นห่วงจริงๆว่ามันจะปลอดภัยไหม วันนี้อีทเวลล์คอนเซปต์เลยไปหาข้อมูลว่าจริง ๆ แล้วอาหารที่แช่ในตู้เย็นจะอยู่ได้กี่วัน และควรทำอย่างไรเพื่อให้สามารถกินได้อย่างปลอดภัยมาฝากทุกคนกันค่ะ How to เก็บอาหารในตู้เย็น           อาหารพร้อมทาน สามารถอยู่โดยเก็บในตู้เย็นได้ประมาณ 2 – 3 วันหรือกินเสร็จแล้ว (ต้องใช้ช้อนตักแยกถ้วยออกมาก่อนหรือใช้ช้อนกลางนะคะ) และจะต้องอุ่นร้อนก่อนทานด้วยอุณภูมิที่มากกว่า 60 องศาเซลเซียสเท่านั้น และแม้ว่าจะอยู่ได้หลายวันก็อย่าลืมดูสีและกลิ่นก่อนนำมาอุ่นทานด้วยนะคะ การวางอาหารไว้ในอุณภูมิห้อง           แต่ทั้งนี้ต้องขอยกเว้นอาหารที่เราตั้งไว้ที่อุณหภูมิห้องตั้งแต่ 2 ชั่วโมงขึ้นไป เพราะอุณหภูมิใน่ช่วง 5 – 60 องศาเซลเซียสถือเป็นจุดอันตรายที่เชื้อโรคหรือเชื้อแบคทีเรียในอาหารสามารถเติบโตได้ดี ดังนั้นถ้าเรานำอาหารที่ตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องกว่าครึ่งวันแล้วนำอาหารไปแช่ตู้เย็น ก็ไม่ช่วยเรื่องการชะลอเชื้อแล้วเพราะเชื้อขึ้นเต็มไปหมดแล้ว โดยทางที่ดีที่สุด อยากจะแนะนำให้ทุกคนทำก็คือ แค่นี้เราก็ไม่ต้องกังวลเรื่องเชื้อต่าง ๆ ที่อาจปนเปื้อนจากอาหารค้างคืนแล้ว แต่หากใครบอกมันเยอะจริง ๆ ยังไงก็เหลือ แบ่งออกมาทานครึ่งหนึ่งแล้วเข้าตู้เย็นทันทีเพื่อเป็นการเก็บจะดีกว่า […]

  • Food and Nutrition

ถั่วขาว ลดน้ำหนัก ได้จริงหรือ?

หลาย ๆ คนอาจจะเคยได้ยินเรื่องเกี่ยวกับ ‘ ถั่วขาว ช่วยลดน้ำหนักได้ ‘  ถ้าใครเคยเห็นในโฆษณาผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มีขายกันตามท้องตลาดทั่วไปแล้วสงสัยว่ามันจะลดน้ำหนักได้จริงๆไหม วันนี้ อีทเวลล์คอนเซปต์ จะขอพาทุกคนไปรู้จักกับถั่วขาวกันค่ะ ว่าถั่วขาวมีคุณสมบัติที่ช่วยลดน้ำหนักของเราได้อย่างไรกัน   ถั่วขาว คืออะไร ? ถั่วขาวหรือชื่อทางวิทยาศาตร์ “Phaseolus vulgaris” เป็นพืชตระกูลถั่วที่ต้นกำเนิดในพื้นที่สูงแถบอเมริกากลางและอเมริกาใต้ เป็นพืชที่ต้องการอยู่ในอากาศหนาวเย็นในช่วงที่มันจะเจริญเติบโต ส่วนในประเทศไทยนั้นถั่วขาวสามารถปลูกได้ดีบนพื้นที่สูงทางภาคเหนือ แต่ยังไม่แพร่หลายมากนัก โดยถั่วขาวนั้นจัดอยู่ในพืชตระกูลเดียวกับถั่วเหลือง ซึ่งถือเป็นแหล่งอาหารที่มีโปรตีนสูง ถั่วขาวก็เช่นกัน สารอาหารใน ถั่วขาว ถั่วขาว เป็นอาหารที่ประกอบไปด้วยสารอาหารที่สำคัญมากมาย มีทั้งโปรตีนและใยอาหาร รวมไปถึงพวกวิตามินและเกลือแร่ต่าง ๆ เช่น โฟเลท แมกนีเซียม และวิตามินบี 6 ถั่วขาว 1 ถ้วยตวง (น้ำหนักสุก 179 กรัม) ให้สารอาหารต่าง ๆ ดังนี้ (1) วิตามินและเกลือแร่ที่พบมากในถั่วขาว นอกจากนี้ถั่วขาวยังมีสารต้านอนุมูลอิสระในปริมาณที่สูง ที่จะสามารถช่วยยับยั้งการกระบวนการอักเสบของร่างกาย ที่เป็นสาเหตุของการเกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ […]

  • Lifestyle

รวมเรื่อง หวาน ๆ ที่เราต้องระวัง และแนวทางการ คุมน้ำตาล

น้ำตาล (Sugar) ถือว่าเป็นอาหารที่เรียกได้ว่าพบเจอในทุกเมนูอาหารในชีวิตประจำวันโดยเฉพาะอย่างยิ่ง น้ำหวานและเมนูขนมหวานต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ชานมไข่มุก เค้ก ช็อคโกแลต ไอศกรีม รสชาติหวานเป็นรสชาติที่ถูกใจใครหลายๆ คนเพราะความหวานอร่อย ทำให้เรารู้สึกสดชื่น ยากที่จะหยุดกินได้บางคนถึงกับเสพติดความหวานเลยทีเดียว แต่ความหวานนี้เป็นภัยเงียบที่แฝงมากับของหวาน  ที่นอกจากจะทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นแล้ว ยังมีโรคอื่นๆ ที่ตามมาอีกด้วย ดังนั้นการ คุมน้ำตาล ได้จะช่วยให้คุณสุขภาพดียิ่งขึ้น รู้ตัวก่อน ว่าเราติดหวานเกินไปมั้ย ลองมาทำ Checklist ระดับการกินอาหารหวานกันดู เพื่อเริ่มต้น คุมน้ำตาล โดยการทบทวนว่า ใน 1 สัปดาห์ นี้เรากินอาหารเหล่านี้บ่อยแค่ไหน ผลประเมินการกินหวานของคุณ   5 คะแนน คุณมีความเสี่ยงต่ำที่จะได้รับน้ำตาลเกิน เพราะพฤติกรรมการกินของคุณไม่ค่อยติดในรสชาติหวานมากจนเกินไปทำให้มีโอกาสรอบพุงเกินน้อยลง  6-9 คะแนน คุณมีความเสี่ยงปานกลางในการได้รับน้ำตาลเกิน เพราะค่อนข้างติดใจในรสหวาน และอาจเริ่มมีรอบพุงหรือมีดัชนีมวลกายเกินเกณฑ์มาตรฐานแล้ว  10-13 คะแนน คุณมีความเสี่ยงสูงในการได้รับน้ำตาลเกิน เพราะมีพฤติกรรมการกินที่อาจได้รับน้ำตาลปริมาณมากเกือบทุกวัน ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเกินจากปริมาณที่กรมอนามัยแนะนำเอาไว้ คือ วันละ 6 ช้อนชา   14-15 คะแนน คุณมีความเสี่ยงสูงมากจากการติดรสชาติหวาน จนทำให้ได้รับน้ำตาลสูงเกินไปจากนิสัยการบริโภคนี้  […]

  • Blog from Eatology

ลดข้าวแล้วทำไมไม่ผอมสักที

สำหรับการลดน้ำหนัก เชื่อว่าใครหลาย ๆ คนอาจเลือกการควบคุมอาหารมากกว่าการออกกำลังกาย ก็การออกกำลังกายต้องใช้เวลาทำอย่างต่อเนื่อง แต่พอถึงเวลาเลิกงานก็เหนื่อยจะแย่แล้ว แต่พอเราคุมอาหาร ลดข้าว ไปสักพักทำไมน้ำหนักของเราถึงไม่ลงกันนะ อีทเวลล์คอนเซปต์จะพามาดูสาเหตุกันค่ะ ว่าทำไม? ลดข้าวแล้ว น้ำหนักไม่ลดลงด้วย ลดข้าว แล้วน้ำหนักไม่ลด ลองมาสำรวจตัวเองกันสักหน่อยว่า นอกจากเราลดข้าวแล้ว ยังมีปัจจัยอื่นๆอีกไหม ที่ทำให้น้ำหนักไม่ลดลง นี่ก็คือปัจจัยหลัก ๆ เลยว่าทำไมน้ำหนักของเราถึงได้ไม่ลดลงกัน เพราะการควบคุมอาหารถือเป็นการดูแลน้ำหนักตัวในช่วงสั้น ๆ เพียงเท่านั้น ดังนั้นเราจึงควรออกกำลังกายควบคู่ไปกับการเลือกกินอาหารให้เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการคาร์ดิโอเพื่อเผาผลาญไขมัน การเล่นเวทเทรนนิ่งเพื่อเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ร่วมกับการกินอาหารให้มีพลังงานและโปรตีนเพียงพอ เพื่อที่ร่างกายจะได้แข็งแรงชะลอการสลายของกล้ามเนื้อนั่นเองค่ะ อีกอย่างที่อยากจะบอกเลยก็คือว่า น้ำหนักตัว ถือเป็นแค่เพียงการวัดสุขภาพแบบง่าย ๆ แต่ไม่ได้แม่นยำ 100% เพราะหากเราออกกำลังกายจนมีกล้ามเนื้อมากขึ้น น้ำหนักของเราอาจจะเพิ่มแต่หุ่นของเราอาจจะฟิตแอนด์เฟิร์มมาก ๆ ก็ได้ เพราะฉะนั้นอย่าไปโฟกัสกับน้ำหนักตัวมากเกินไปจนเกิดความเครียดที่ส่งผลต่อสุขภาพได้อีกด้วย ส่งท้ายด้วยบทความสุขภาพจากนักกำหนดอาหารที่เกี่ยวกับ การลดน้ำหนัก ถ้าใครได้ลองเข้าไปอ่านแล้ว ลองเลือกวิธีและนำปรับใช้กับตัวเองดูได้เลย

  • Blog from Eatology

ดื่มน้ำวันละ 2 ลิตร ช่วยลดน้ำหนักได้จริงหรือ?

หลายๆ คนอาจเคยได้ยินว่า ดื่มน้ำวันละ 2 ลิตร เป็นวิธีลดความอ้วน อย่างหนึ่ง วันนี้เราจะมาไขข้อข้องใจ ว่าการ ดื่มน้ำลดน้ำหนัก ได้จริงหรือไม่ ก่อนอื่นเลยที่เราอยากบอกให้รู้คือ ร่างกายของเราประกอบไปด้วยน้ำ 45-75 % ของน้ำหนักตัวเลยทีเดียว โดยน้ำจะเข้าไปอยู่เป็นหนึ่งในองค์ประกอบของ เลือด น้ำเหลือง และอวัยวะต่าง ๆ เช่น สมองเองก็มีน้ำเป็นองค์ประกอบอยู่ถึง 85 % ของน้ำหนักสมอง นอกจากนี้น้ำยังเป็นส่วนสำคัญในการทำงานของระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ดังนั้น การดื่มน้ำให้เพียงพออย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน ก็ช่วยให้ร่างกายของเราทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ดื่มน้ำลดน้ำหนัก ได้อย่างไรหล่ะ การดื่มน้ำช่วยเพิ่มการเผาผลาญร่างกาย จากงานวิจัยพบว่า การดื่มน้ำ 1.5 ลิตร ทุกวัน ช่วยเพิ่มการเผาผลาญพลังงานได้ โดยพบว่า ผู้ที่ดื่มน้ำไม่ต่ำกว่า 500 มิลลิลิตร 3 ครั้งต่อวัน หรือ 1.5 ลิตร ทุกวันเป็นระยะ 8 […]

  • private nutrition consult

นักกำหนดอาหาร ผู้ช่วยที่ทำให้คุณเข้าใจเรื่องการกินมากขึ้น

เรื่องสุขภาพ เป็นสิ่งที่สำคัญ แต่ใครหลายคนก็มักจะละเลยไปบ้าง เพราะด้วยภาระหน้าที่หลายๆ อย่าง ทำให้รู้ตัวอีกทีผลตรวจสุขภาพประจำปี ที่มีพวกผลเลือด หรือค่าต่างๆ ที่ผิดปกติ ก็มาอยู่ในมือแล้ว หลายครั้งสิ่งที่ได้กลับมาคือคำแนะนำว่า ต้องไปคุมอาหาร แต่ก็ไม่รู้ว่า อาหารแบบไหนที่ต้องควบคุม การได้พูดคุยกับ นักกำหนดอาหาร จะทำให้คุณได้รู้ว่าอาหารแบบไหนที่คุณควรกิน ถ้าจะเลือกหาข้อมูลในอินเตอร์เน็ต ก็มีข้อมูลเป็นพันเป็นหมื่นหน้า ให้เลือกอ่าน หรือ ถ้าจะดูจากเพื่อนรอบข้างว่าเค้าทำกันอย่างไร บางครั้งก็ยังไม่สามารถลงมือทำตามจริงๆได้ หลายครั้งที่คุณเห็นเพื่อนคนนั้น คนนี้ ทำสิ่งต่างๆ ให้เราเห็น แล้วพบว่าเค้านั้นก็สามารถลดน้ำหนัก ลดไขมัน คุมน้ำตาล หรือเพิ่มกล้ามได้ แต่พอมาใช้วิธีนั้นๆ กับเรา กลับไม่เป็นผลอย่างคนอื่นเขา นั่นก็เพราะว่าแต่ละคน ก็มีเงื่อนไขชีวิตที่แตกต่างกันออกไป เพราะความแตกต่างของแต่ละคน นักกำหนดอาหารจึงมาเป็นผู้ช่วยที่ทำให้คุณเข้าใจเรื่องการกินมากขึ้น นักกำหนดอาหารจะคอยช่วยคุณดูแลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินให้เหมาะสมให้สอดคล้องกับเป้าหมายรายคนกันไป เพราะว่าร่างกายแต่ละคนมีความต้องการที่แตกต่างกัน อาจจะมีรายละเอียดประวัติสุขภาพที่ต่างกันออกไป บางครั้งเราก็ไม่สามารถค้นหาข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตได้หมดเกี่ยวกับอาหารที่กินแล้วเหมาะกับตัวเราหรือโรคที่เป็นอยู่จะดีกว่าไหมที่จะมีผู้เชี่ยวชาญปรึกษาด้านอาหารเฉพาะบุคคลที่คอยตอบคำถามเกี่ยวกับอาหารให้เข้าใจและสอดคล้องกับร่างกายที่เป็นอยู่  ในการให้คำปรึกษา นักกำหนดอาหารของเราจะใช้หลัก Nutrition care process และมีการพูดคุยถึงไลฟ์สไตล์ การใช้ชีวิต พฤติกรรมการกิน และเป้าหมายที่คุณต้องการ หลังจากนั้นคุณจะได้รับตารางอาหารที่เหมาะกับตัวคุณเอง โดยที่สามารถนำไปปรับใช้ได้กับชีวิตประจำวันของคุณ โปรแกรม นักกำหนดอาหาร […]

  • Blog from Eatology

เมนู ลดน้ำหนัก ที่หาซื้อได้ในร้านสะดวกซื้อ

ทุกวันนี้ร้านสะดวกซื้อ ไม่ว่าจะเป็น เซเว่นเอเลฟเว่น (7-11), Lawson , Family mart , Lotus , Jett หรือร้านสะดวกซื้ออื่นๆ ที่มีกระจายอยู่ทั่วไป และนั่นทำให้เราเองนั้น หาซื้อของกินได้ค่อนข้างง่ายขึ้น และมีทางเลือกให้เราสามารถเลือกกินอาหารได้หลากหลาย สำหรับคนที่ลดน้ำหนัก และมีเวลาอย่างจำกัด ร้านสะดวกซื้อที่เข้าถึงง่าย ก็เป็นแหล่งที่เราจะหาซื้ออาหารเพื่อควบคุมน้ำหนัก หรือ ลดน้ำหนัก ของเราได้เช่นกัน วิธีการเลือก เมนู ลดน้ำหนัก ในร้านสะดวกซื้อ ในร้านสะดวกซื้อมีอาหารหลากหลายประเภทเรียกได้ว่ามีทุกสิ่งทุกอย่างเลยก็ว่าได้ ขึ้นอยู่กับเราที่ว่าจะเลือกหยิบอะไรหลักการง่ายๆ คือ 1. อ่านฉลากโภชนาการก่อนซื้อ การอ่านฉลากโภชนาการก่อนซื้อ จะทำให้เราทราบรายละเอียด ของส่วนประกอบอาหาร พลังงาน น้ำตาล ไขมัน และโปรตีน เพื่อที่ให้เราสามารถดูเพื่อประกอบการตัดสินใจได้และรายระเอียดปริมาณที่สามารถควบคุมได้อย่างตรงจุดมากยิ่งขึ้น 2. เลือกหยิบ หวานน้อย (No sugar , Low sugar) ไขมันต่ำ (Low fat) เค็มน้อย (Low Salt) […]

  • private nutrition consult

Mealplan : ตารางอาหารประจำวัน

ตัวช่วยที่ทำให้คุณกินอาหารได้ดี และเหมาะกับตัวเองมากขึ้น ไม่รู้ว่าจะกินอะไรดี ?  เป็นคำถามที่หลายๆ คน มักจะเกิดขึ้นบ่อยๆ  หลายครั้งที่เรานึกไม่ออก ไม่มีไอเดีย และไม่รู้ว่าจะกินอะไร จะกดสั่งเมนูอะไรในแอพฟู้ดเดลิเวอรี่ดี สำหรับคนธรรมดาทั่วไป ปัญหานี้ก็เรามักเจออยู่เป็นประจำอยู่แล้ว แต่ยิ่งถ้าเรามีปัญหาด้านสุขภาพที่ต้องดูแล ลดน้ำหนัก เพิ่มกล้ามเนื้อ คุมไขมัน ชะลอไตเสื่อม คุมน้ำตาล ลดเบาหวาน หรือ เป็นมะเร็ง  ปัญหาเหล่านี้อาจยิ่งถาโถมทำให้เรานึกไม่ออกอีกว่า มื้อหน้า เราควรจะกินอะไรต่อไป เพื่อให้เหมาะกับร่างกายของเรากันแน่  Mealplan ของเราจะมาช่วยคุณแก้ปัญหาตรงนี้ MEALPLANหรือตารางอาหารที่ออกแบบมาเพื่อคุณ จึงมาเป็นตัวช่วยหนึ่งที่ช่วยให้คุณ ลดเวลาในการคิดว่าต้องกินอะไร เตรียมอะไรในมื้อถัดไป โดยตัวอย่าง Meal plan ที่เราออกแบบให้แต่ละคนนั้น จะเป็นตารางอาหารสำหรับ 1 อาทิตย์ หรือ 7 วันนั่นเอง ซึ่งทำให้แต่ละคนสามารถนำไปใช้ประมาณการในการซื้อประจำอาทิตย์ได้  หรือ สั่งอาหารสดมาส่งที่บ้านอาทิตย์ละครั้งก็ได้เช่นกัน    ทั้งนี้ MEALPLAN ที่เราออกแบบจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับ   MEALPLAN ให้อะไรกับเราบ้าง ในตารางอาหารจะประกอบด้วย   1.สัดส่วนของอาหารแต่ละประเภทที่คุณควรได้รับในแต่ละวัน ซึ่งกระจายตามมื้อ ๆ […]

  • private nutrition consult

ตรวจสุขภาพประจำปี ผลเลือดเป็นอย่างไร ให้เราช่วยคุณแก้ไขด้วยอาหาร

ตรวจสุขภาพประจำปี เป็นสิ่งที่หลายคนจะต้องทำเกือบทุกปี นั่นเพราะการตรวจสุขภาพประจำปี จะทำให้เราได้รู้ว่าเรามีความเสี่ยงอะไร เราต้องระวังเรื่องอะไร และถ้าหากเรามีความผิดปกติอะไร เราจะได้ป้องกัน รักษาตั้งแต่เนิ่นๆ และไม่ได้ทำให้โรคที่อาจจะเกิดขึ้นนั้น มันรุนแรงลุกลามเกินกว่าจะรักษาได้ แต่ก็มีหลายคนที่ เห็นผลตรวจเลือดมากมาย ค่าตรวจต่างๆออกมา เป็นตัวเลขเยอะเเยะ ทั้งผิดปกติบ้าง ปกติบ้าง บางครั้งแม้ คุณจะทราบผลตรวจคร่าว ๆ แล้วแต่ก็ยังไม่รู้ว่า คุณเองจะต้องเริ่มโฟกัสเรื่องการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์จากตรงไหนก่อนดี ตรวจสุขภาพประจำปี แล้วก็ไม่รู้ว่าจะทำอย่างไรต่อ ลองส่งผลมาให้เราช่วยแปล และออกแบบแผนการกินโดยนักกำหนดอาหารวิชาชีพ นักกำหนดอาหารของเราจะเข้ามาช่วยคุณ วิเคราะห์ ผลตรวจสุขภาพประจำปี อย่างละเอียดว่าควรลดอาหารประเภทไหน และสามารถกินอะไรทดแทนได้บ้าง ปริมาณที่ควรกินเป็นเท่าไหร่  สิ่งเหล่านี้จะช่วยให้คุณลดความเสี่ยงและตอบโจทย์สุขภาพของคุณเอง โดยนักกำหนดอาหารของเราจะพาคุณไปบรรลุเป้าหมายร่วมกันค่ะ ให้เราช่วยคุณดูแลและแนะนำเรื่องการปรับเปลี่ยนการรับประทานอาหารเพื่อลดความเสี่ยงต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคต  ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง คุมน้ำหนัก ลดไขมัน คุมน้ำตาล ชะลอไตเสื่อม ป้องกันโรคตับ หรือเพิ่มน้ำหนักอย่างสุขภาพดี  และถ้าเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตั้งแต่วันนี้ คุณจะอยู่ห่างไกลจากความเสี่ยงเหล่านั้นอย่างแน่นอน หมดกังวลว่าจะกินอะไรได้หรือไม่ได้บ้าง ให้นักกำหนดอาหารของเราเป็นคนช่วยตอบคำถามที่คุณสงสัยได้เลยค่ะ รู้จักนักกำหนดอาหารมากขึ้นอ่านเพิ่มเติมได้ ที่นี่ ขั้นตอนการรับปรึกษานักกำหนดอาหาร หลังจากได้ ผลตรวจสุขภาพประจำปี ก่อนเข้ารับคำปรึกษา สิ่งที่จะได้รับ Meal plan […]

  • Blog from Eatology

นักกำหนดอาหาร เดอะ ซีรีส์

นักกำหนดอาหาร (Dietitian) คือ หนึ่งในทีมบุคลากรทางการแพทย์หรือที่เรียกว่า “สหสาขาวิชาชีพ” ที่มีความเชี่ยวชาญด้านโภชนาการและอาหารและสามารถนำความรู้ทางด้านโภชนาการและอาหารมาใช้ในการกำหนดอาหารให้เหมาะสมกับสภาวะและความต้องการของผู้ป่วยหรือบุคคลทั่วไปในแต่ละช่วงวัย

  • Clinical Nutrition

อาหารโรคไต กินอย่างไรเมื่อ (ไต) ถามหา

อาหารโรคไต มีข้อจำกัดด้านสารอาหารหลายชนิด อาจสร้างความสับสนและความกังวลใจให้แก่ผู้ป่วยและญาติ จนไม่กล้ารับประทานอาหาร ทำให้เบื่ออาหารและนำไปสู่ภาวะขาดสารอาหารได้ ดังนั้น การปรับความเข้าใจเรื่องการรับประทาน อาหารโรคไต จะเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่อาจทำให้ผู้ป่วยมีความสุขในการรับประทานอาหารและมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้นได้ เช็คระยะ(ไต) ก่อน Start โรคไตเรื้อรัง แบ่งเป็น 2 ระยะหลัก คือระยะก่อนฟอกไต และระยะหลังฟอกไต โดยระยะก่อนฟอกไตจะแบ่งเป็น 5 ระยะย่อย *ค่า eGFR สามารถบอกได้ถึงความสามารถในการกรองของเสียของไต เมื่อเป็นโรคไตเรื้อรัง ไตทำงานได้น้อยลง ค่านี้ก็จะลดลงเช่นกัน อาหารโรคไต ระยะไหน ควรกินอย่างไรดี การรับประทาน อาหารโรคไต แบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ การคุมอาหารโรคไตในระยะก่อนฟอกไตเพื่อชะลอความเสื่อมของโรคไต และการคุมอาหารโรคไตในระยะหลังฟอกไตเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ แต่การคุมอาหารใน 2 ระยะนี้ต่างมีจุดมุ่งหมายในการป้องกันภาวะขาดสารอาหารที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง3 I. ระยะก่อนฟอกไต อาหารโรคไตเพื่อชะลอความเสื่อมของไต ในระยะนี้การคุมอาหารที่เหมาะสมต่อระยะของโรคไตเรื้อรังสามารถชะลอความเสี่อมไตและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้น4,5 โดยแบ่งกลุ่มอาหารที่ต้องดูแลเป็น 3 หัวข้อใหญ่ โปรตีน      ปริมาณโปรตีนที่แนะนำ ในโรคไตเสื่อมระยะที่ 1, 2, […]

  • Clinical Nutrition

ไขมันในเลือดสูง จุดเสี่ยงหลายโรคแก้ได้ด้วยอาหาร

ไขมันในเลือดสูง เทรนด์ยอดฮิตมาแรงของคนยุคใหม่ ทั้งวัยรุ่นและวัยทำงาน ทุกคนมีโอกาสเป็นโดยไม่รู้ตัว และยังเป็นภัยเงียบที่เพิ่มความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งเป็นสาเหตุอันดับต้นของการเสียชีวิต เพราะทุกครั้งที่ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดเพิ่มขึ้น 1% เท่ากับเพิ่มโอกาสการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจขึ้นถึง 2% 1 หากไม่อยากเจ็บป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่มากับไขมัน เริ่มต้นพิชิตภาวะไขมันในเลือดสูงด้วยเคล็ดลับเปลี่ยนสุขภาพร้ายกลายเป็นดีแก้ได้ด้วยอาหาร ภาวะ ไขมันในเลือดสูง อ้วนหรือผอมก็เกิดขึ้นได้ ภาวะไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidemia) คือ ภาวะที่ร่างกายมีระดับไขมันในเลือดสูงผิดปกติ ได้แก่ คอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์ ความน่ากลัวของภาวะคอเลสเตอรอลสูง คือ แทบไม่มีอาการแสดงที่สังเกตได้เลย ทำให้หลายคนไม่ทราบมาก่อน จนกว่าจะได้ตรวจสุขภาพ2 โดยนิยามของระดับไขมันในเลือดผิดปกติ (Dyslipidemia) สามารถแบ่งรูปแบบเฉพาะได้ 5 แบบ1 ดังนี้ โดยปกติ ร่างกายสามารถสร้างคอเลสเตอรอล เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย และรับจากอาหารที่รับประทานเพิ่มเติมหากเรากินอาหารที่มีไขมันหรือคอเลสเตอรอลสูงเป็นเวลานาน ๆ ก็อาจส่งผลให้ระดับไขมันตัวร้าย (LDL-c) ที่สร้างและขนส่งออกมา มีปริมาณเยอะมากขึ้น จนเกิดปัญหาโรคหลอดเลือดอุดตันหรือตีบตัน ที่ทำให้เกิดภาวะเส้นเลือดตีบหรือเส้นเลือดอุดตัน โดยปัจจัยอื่นที่เพิ่มโอกาสเสี่ยงต่อการมีไขมันในเลือดสูง1 ได้แก่ จะเห็นได้ว่าปัจจัยบางอย่าง ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่การเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาพนั้น เป็นสิ่งที่สามารถทำได้ด้วยตัวเอง และช่วยให้คุมไขมันได้ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด พิชิต ไขมันในเลือดสูง […]

  • Clinical Nutrition

ไขข้อข้องใจอาหารสำหรับ โรคมะเร็ง โดย นักกำหนดอาหาร

โรคมะเร็ง โรคร้ายที่ไม่มีใครอยากเจอ เพราะส่งผลกระทบต่อสุขภาพใจและกายของผู้ป่วยเป็นอย่างมาก ทั้งผลข้างเคียงจากการรักษา การลุกลามของโรค รวมถึงการกินอาหารอีกด้วย ผู้ป่วยและญาติหลายรายมักเกิดความกังวลว่า เป็นมะเร็งแล้ว สามารถรับประทานอะไรได้บ้าง และอาหารอะไรบ้างที่ต้องหลีกเลี่ยง ในฐานะนักกำหนดอาหารที่ดูแลผู้ป่วยในกลุ่มนี้ จะมาไขข้อข้องใจในเรื่องของการกินอาหารเมื่อป่วยเป็น โรคมะเร็ง รู้จักกับ โรคมะเร็ง มะเร็ง (cancer) เป็นกลุ่มโรคขนาดใหญ่ เกิดขึ้นเมื่อเซลล์หรือเนื้อเยื่อในร่างกายมีการเจริญเติบโตผิดปกติจนควบคุมไม่ได้ ทำให้ลุกลามไปยังเนื้อเยื่อและอวัยวะอื่น ๆ ทั่วร่างกาย ส่งผลให้ระบบอวัยวะทำงานล้มเหลว เกิดภาวะแทรกซ้อน และทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต มะเร็งจึงได้รับการขนานนามว่าเป็นโรคร้ายที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น เมื่อตรวจพบว่าเป็นมะเร็งแล้ว การรักษาโรคขึ้นอยู่กับชนิดและระยะของการที่ลุกลาม โดยการรักษาแต่ละรูปแบบก็ส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพและร่างกาย อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อภาวะโภชนาการของผู้ป่วยอีกด้วย เพราะเหตุใด โรคมะเร็ง ทำให้ร่างกายขาดสารอาหาร ผู้ป่วยมะเร็งส่วนใหญ่จะมีปัญหาเรื่องของน้ำหนักตัวลดลง เนื่องจากตัวโรคส่งผลให้ร่างกายมีการปรับตัวให้ใช้พลังงานมากขึ้น เปรียบเหมือนเชื้อเพลิงที่ถูกเร่งให้เผาไหม้อย่างรวดเร็ว หากมีเชื้อเพลิงหรือสารอาหารไม่เพียงพอ ก็ส่งผลให้ผู้ป่วยขาดอาหารได้ โดยปัญหาสำคัญทางโภชนาการที่ผู้ป่วย พบเจอทั้งจากตัวโรคและการรักษา ได้แก่ อีกเรื่องที่ขาดไม่ได้คือ “ความเชื่อและความเข้าใจผิดในเรื่องการกินอาหาร” ส่งผลให้ผู้ป่วยหลีกเลี่ยงอาหารบางชนิดหรือไม่กล้ากินอะไรเลย เพราะกลัวและกังวลว่าจะทำให้มะเร็งแย่ลง ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารไม่พอ ร่างกายอ่อนแอลง เพิ่มโอกาสการติดเชื้อ และเสียชีวิตได้จากภาวะขาดสารอาหาร สารอาหารที่ผู้ป่วย โรคมะเร็ง ควรได้รับ ผู้ป่วยมะเร็งทุกรายควรได้รับการประเมินภาวะโภชนาการ คำนวณความต้องการสารอาหาร รวมถึงได้คำแนะนำว่าควรรับประทานอะไร […]

  • Clinical Nutrition

โรคเบาหวาน คุมอาหารอย่างไร ให้น้ำตาลดีจนหมอยังชม

ยิ่งอายุมากขึ้น ยิ่งต้องใส่ใจเรื่อง อาหาร โดยเฉพาะเมื่อเป็น เบาหวาน โรคเรื้อรังสุดฮิตที่เป็นกันมากในหมู่ผู้ใหญ่ เจาะน้ำตาลกันทีสูงปรี๊ดเนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่อาจไม่ได้ระวัง และวิถีชีวิตที่ออกกำลังกายน้อยลง เรียนรู้เคล็ดลับง่ายๆ ใช้ได้จริง สำหรับการดูแลตัวเองที่จะช่วยทำให้น้ำตาลดีขึ้นจนหมอยังทัก เบาหวาน โรคที่รักษาได้ด้วยการเปลี่ยนวิถี อาหาร เบาหวาน (Diabetes Mellitus) คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติในการนำสาร อาหาร กลุ่มคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงาน1 แต่เมื่อร่างกายนำน้ำตาลไปใช้ไม่ได้ จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดมีค่าสูงผิดปกติ จนสร้างความเสียหายต่อระบบอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โรคเบาหวานแบ่งได้เป็น 4 ชนิด ได้แก่ โรคเบาหวานชนิดที่ 1, โรคเบาหวานชนิดที่ 2, โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ และโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์2 เป็นต้น ซึ่งโรคเบาหวานที่พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ คือ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เกิดจากการที่ร่างกายดื้อต่ออินซูลิน (ฮอร์โมนที่ควบคุมน้ำตาลในเลือด) หรือร่างกายสร้างและหลั่งอินซูลินไม่เพียงพอ น้ำตาลจึงสูงค้างอยู่ในเลือด ทำให้มีอาการของโรคเบาหวาน ได้แก่ น้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะกลางคืน เป็นต้น เริ่มต้นคุมอาหารอย่างไร…เมื่อตรวจพบ เบาหวาน เมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคเบาหวานแล้ว การรักษาเบาหวานให้ได้ผลดีร่วมกับการใช้ยา […]

  • Health

อาหารทางการแพทย์ – รีวิวสูตรอาหารจากมุมนักกำหนดอาหาร

ปัจจุบันสื่อโฆษณาและแอปพลิเคชั่นซื้อของออนไลน์ทำให้สามารถเข้าถึง อาหารทางการแพทย์ ได้ง่ายกว่าแต่ก่อนที่จะซื้ออาหารทางการแพทย์ได้จากโรงพยาบาลหรือร้านขายยาเท่านั้น ด้วยเทคโนโลยีด้านอาหารที่ก้าวหน้าทำให้อาหารทางการแพทย์มีมาให้เลือกมากมาย แต่อาหารทางการแพทย์แบบไหนที่จะถูกปากและเหมาะสมกับคนที่เรารักมากที่สุด หยิบตะกร้าแล้วเดินตามนักกำหนดอาหารมาได้เลย ความ “เหมือนและแตกต่าง” ของอาหารการแพทย์และนมทั่วไป ตามคำนิยามอาหารทางการแพทย์ (Medical Food) เป็นอาหารที่ผลิตขึ้นมาสำหรับดื่มทางปากหรือให้ผ่านสายให้อาหาร เพื่อให้ได้รับพลังงานและสารอาหารครบถ้วนต่อความต้องการและเหมาะสมต่อภาวะโรคที่เป็นอยู่ โดยต้องใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือบุคคลากรทางการแพทย์1 ลักษณะของอาหารทางการแพทย์ส่วนใหญ่มักมีสีและกลิ่นคล้ายนม จึงอาจเป็นที่เข้าใจผิดว่าการดื่มนมกล่องทั่วไปก็เพียงพอต่อความต้องการ แต่เมื่อศึกษาพลังงานและสารอาหารในปริมาณนมที่เท่ากันก็จะพบว่าอาหารทางการแพทย์ให้พลังงาน โปรตีนและสารอาหารสูงกว่านมทั่วไป  เมื่อไหร่ที่ควรเสริมด้วยอาหารทางการแพทย์ (When to start supplment)          หากผู้ป่วยสามารถกินอาหารทางปากและยังพอมีความอยากอาหารอยู่บ้าง จะเริ่มเสริมอาหารทางการแพทย์ เมื่อผู้ป่วยสามารถกินอาหารได้น้อยกว่าครึ่งของความต้องการพลังงานมามากกว่า  1 สัปดาห์2 ในอีกกรณีหนึ่งจะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอาการเบื่ออาหาร กินอาหารน้อยลงจากเดิม ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง จนทำให้มีน้ำหนักตัวลดลงและมีสุขภาพร่างกายที่แย่ลงได้3 โดยช่องทางการให้อาหารทางการแพทย์สามารถดื่มทางปาก และให้ทางสายให้อาหาร ซึ่งการเลือกช่องทางการให้อาหารทางการแพทย์จะอยู่ภายใต้การพิจารณาของแพทย์ ซึ่งสามารถประเมินได้ด้วย แบบคัดกรองภาวะโภชนาการ อาหารทางการแพทย์มีกี่แบบ          อาหารทางการแพทย์สามารถแบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่  1. สูตรครบถ้วน (Standard formula) คือ สูตรพื้นฐานเปรียบเทียบเหมือนกับอาหารทั่วไปที่อาจอยู่ในรูปของผง หรือ เครื่องดื่มเหลวพร้อมดื่ม ให้พลังงานและสารอาหารครบถ้วน 2. สูตรเฉพาะโรค […]

  • Food and Nutrition

อาหารแลกเปลี่ยน เทคนิคการสับเปลี่ยนอาหารที่ทำให้ชีวิตดีขึ้นแบบเห็นๆ!

“ถ้าไม่อยากกินข้าวแป้ง สามารถทานอะไรเพื่อทดแทนได้บ้าง” นี่เป็นหนึ่งในประโยชน์ของ อาหารแลกเปลี่ยน ที่จะช่วยให้เราได้รับสารอาหารที่ครบถ้วน หลากหลายและหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารซ้ำซ้อน จนอาจนำไปสู่ ภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์ หรือภาวะ อ้วน ได้ ด้วยเทคนิคง่ายๆ ที่ใครก็ทำตามได้ อาหารแลกเปลี่ยน คืออะไร? อาหารแลกเปลี่ยน หรือ รายการอาหารแลกเปลี่ยน (Food Exchange List ) คือ รายการที่รวบรวมชื่อและปริมาณของอาหารเอาไว้ มีการแยกเป็นหมวดๆ ซึ่งอาหารในหมวดเดียวกัน หากรับประทานตามปริมาณที่ระบุแล้ว จะได้รับสารอาหารและพลังงานในปริมาณใกล้เคียงกัน จึงสามารถสับเปลี่ยนทดแทนกันได้ ตัวอย่างในตารางนี้คือรายการอาหารแลกเปลี่ยนประเภท “ข้าวแป้ง” หลายคนอาจจะเคยคิดว่า ข้าวแบบไหนก็ดูเหมือนกันหมด แต่ความจริงแล้วข้าวแต่ละประเภทมีความแตกต่างกัน จากตารางจะเห็นได้ว่า ‘ข้าวสวย มีปริมาณ 1 ส่วน เท่ากับ 1 ทัพพี ให้พลังงานประมาณ 80 กิโลแคลอรี และสารอาหารดังที่แสดง ถ้าตักข้าวสวย 3 ทัพพี (3 ส่วน) ก็จะได้รับพลังงานอยู่ที่ราวๆ 240 กิโลแคลอรี’ หากวันนั้นเราอยากเปลี่ยนไปกินข้าวเหนียวหรือข้าวต้ม […]

  • Clinical Nutrition

6 วิธี พิชิต เก๊าท์ ปรับการกินเมื่อเป็นโรค

เก๊าท์ – โรคต้องสงสัยแรกที่เราคิดว่าต้องใช่ ต้องใช่แน่ๆ เมื่อมีอาการปวดข้อเข่า หรือบริเวณข้อต่างๆ ในร่างกาย แท้จริงแล้ว โรคนี้มีสาเหตุจากอะไร ทำไมเราจึงมีอาการปวดข้อเข่า ห้ามกินไก่ จริงมั้ย แล้ว หรือ ควรจะกินอะไร แทน เพื่อป้องกันอาการและโรค ทำความรู้จักโรค เก๊าท์ โรค เก๊าท์ เป็นโรคที่เกิดจากการมีกรดยูริก (Uric acid) ในเลือดสูงเป็นระยะเวลานานพอสมควร เมื่อร่างกายมีการสะสมของกรดยูริกในปริมาณที่มากเกินไป จนกระทั่งเกิดการตกผลึกในข้อหรือเนื้อเยื่อรอบๆ ข้อ ทำให้เกิดการอักเสบที่บริเวณข้อต่างๆ โดยอาการของโรค คือ อาการปวด บวม ร้อน อย่างรุนแรงที่บริเวณข้อหรือเนื้อเยื่อรอบๆ ข้อต่างๆ อย่างเฉียบพลัน ไม่เพียงแต่ ปวดข้อเข่า เท่านั้น อาการของโรคมักเริ่มต้นขึ้นที่อาการปวดข้อบริเวณนิ้วหัวแม่เท้า และอาจปวดบริเวณข้อเท้าหรือ ปวดข้อเข่า ร่วมด้วย โรค เก๊าท์ เกิด เมื่อกรดยูริกเกินจำเป็น เมื่อตัวการหลักของการเกิดโรค เก๊าท์ คือ การมีกรดยูริกสะสมในร่างกายมากเกินไปจนตกผลึกที่บริเวณข้อ การรักษาโรคจึงพุ่งเป้าไปที่การลดระดับกรดยูริกเป็นหลัก แล้วกรดยูริกนี่มันมาจากไหนกัน? กรดยูริกถือได้ว่าเป็นสารของเสียในร่างกายที่เกิดจากการกินอาหารที่มีสารพิวรีน […]

  • Health

อาหารคีโต (Keto) Vs ไขมันต่ำ (Low fat) ประโยชน์ดีจริง หรือแค่ติดเทรนด์

อาหารคีโต หรือ อาหารคีโตเจนิก ถือเป็นเทรนด์รูปแบบของ อาหารลดน้ำหนัก ที่ถูกพูดถึงผ่านทางคอลัมน์โภชนาการ สื่อกระแสสังคม รวมถึงอินฟลูเอ็นเซอร์ ซึ่งเป็นรูปแบบที่ได้รับความนิยม เนื่องจากถูกอ้างว่าช่วยให้ลดน้ำหนักได้จริง และลดได้เร็วมากกว่าอาหารรูปแบบอื่นๆ ไม่ว่าจะเทียบกับ การบริโภคอาหารแป้งต่ำ (Low carb diet) อาหารไขมันต่ำ (low fat) อาหารมังสวิรัติ (Vegetarian diet) หรือการบริโภคแบบอดอาหารสลับช่วง (Intermittent fasting) โดยบทความนี้ จะขอเทียบระหว่างเทรนด์อาหารที่ต่างกันสุดขั้วอย่าง อาหารคีโต vs อาหารไขมันต่ำ ในฐานะนักกำหนดอาหาร จึงขอนำทุกท่านเข้าสู่สังเวียนระหว่างฝ่ายแดง อาหารคีโต ชกกับ ฝ่ายน้ำเงิน อาหารไขมันต่ำ เทียบกันแบบหมัดต่อหมัด แบบไหนกินอย่างไร กินแล้วดีจริงไหม อาหารคีโตเจนิก หรือ อาหารคีโต (Ketogenic Diet) คือ อะไร? อาหารคีโตเจนิก หรือเรียกสั้นๆ ว่า อาหารคีโต คือ รูปแบบอาหารที่บริโภคเพื่อให้เกิดสารคีโตนขึ้นในร่างกาย ในภาวะปกติจะเกิดสารคีโตนต่อเมื่อร่างกายอดอาหารอย่างต่อเนื่องหลายชั่วโมงหรือออกกำลังกายต่อเนื่อง พูดให้เข้าใจง่ายว่า การกินอาหารคีโต […]

  • Health

9 Superfood สุดยอดอาหารโภชนาการสูง แต่หาทานได้จริง!

“Superfood” เป็นหนึ่งคำที่ใช้เรียกอาหารกลุ่มหนึ่งที่ถึงแม้ว่ายังไม่มีคำจำกัดความชัดเจน แต่คำนี้กลับกลายเป็นกระแสโด่งดังในกลุ่มผู้รักสุขภาพ ทำให้หลายๆ คนอยากทำความรู้จัก และอยากปรับเปลี่ยนมาลองกินอาหารกลุ่ม Superfood มากขึ้น “Superfood” สุดยอดอาหาร โภชนาการสูง คืออะไร ไม่ใช่อาหารเหนือมนุษย์หรืออาหารที่เราไม่สามารถจับต้องได้แต่อย่างใด แต่ Superfood ถูกนำมาใช้เรียกกลุ่มอาหารที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการ ให้ประโยชน์ต่อร่างกายของเราอย่างมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นกรดไขมันจำเป็น กรดอะมิโนจำเป็น วิตามิน เกลือแร่ ใยอาหาร หรือสารต้านอนุมูลอิสระต่างๆ ที่อัดแน่นอยู่ในอาหารเหล่านั้น แบบไหนถึงเรียกว่า Superfood สุดยอดอาหาร จากนิยามข้างต้น อาจจะยังเห็นภาพไม่ชัด ลองดูตัวอย่าง ” 9 Superfood ” ที่เราสามารถหาทานได้ง่ายๆ พร้อมปริมาณที่แนะนำให้กินต่อมื้อหรือต่อวัน เพื่อให้ได้รับ สารอาหาร ครบถ้วนและเกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ การบริโภคควรได้รับในปริมาณที่เหมาะสมและหลากหลาย สลับเปลี่ยนหมุนเวียนกันไปด้วย ผักใบเขียว นอกจากจะเป็นแหล่งของใยอาหารแล้ว พืชผักที่มีใบสีเขียวยังเป็นแหล่งสารอาหารชั้นดีของวิตามินและเกลือแร่ ได้แก่ วิตามิน A C แคลเซียม ธาตุเหล็ก โพแทสเซียม และสารพฤกษเคมี (Phytonutrients) มากมาย […]

  • Clinical Nutrition

ความดันโลหิตสูง ลดเค็มก็แล้ว ทำไมคุมไม่ได้

ความดันโลหิตสูง เป็นอีกหนึ่งโรคที่พบมากขึ้นในคนไทย จากข้อมูลสถานการณ์โรคความดันโลหิตสูงในประเทศไทย พบว่า โดยมากพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิงและจะพบเพิ่มขึ้นตามอายุที่เพิ่มขึ้น1 ความดันสูง มักถูกเรียกว่าเป็นมัจจุราชเงียบ (silent killer) เนื่องจากไม่มีการแสดงอาการออกมา หากปล่อยไว้โดยไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดอันตรายต่อหลอดเลือดซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของการเกิดหัวใจวาย (heart attack), หลอดเลือดสมอง (stroke) และอาการทางหัวใจอื่น ๆ ได้2 ความดันเท่าไหร่ถึงจะเป็น ความดันโลหิตสูง ? การวัดความดันโลหิต โดยทั่วไปแล้วเราจะทำการวัดระดับความดันโลหิต 2 ค่า ได้แก่ ความดันซิสโตลิก (systolic blood pressure) และความดันไดแอสโตลิก (diastolic blood pressure) จากเกณฑ์ของสมาคมโรคหัวใจของสหรัฐฯ (the American Heart Association) กำหนดค่าความดันโลหิตในระดับต่าง ๆ ไว้ ดังตาราง3 จากตารางจะเห็นว่าหากค่าความดันของเราน้อยกว่า 120 และ 80 มิลลิเมตรปรอทจะถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปกติ ในขณะถ้าหากค่าความดันมีค่ามากกว่า 130 และ 80 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป จะถือว่าอยู่ในเกณฑ์ของคนที่มีความดันโลหิตสูง […]

  • Food and Nutrition

โปรตีน แหล่งพลังงานยอดฮิต ประโยชน์มีดีต่อร่างกาย

โปรตีน เป็นหนึ่งในสารอาหารที่กลายมาเป็นขวัญใจของกลุ่มคนที่ต้องการสร้างกล้ามเนื้อหรือต้องการดูแลสุขภาพเพื่อให้ร่างกายแข็งแรงเพิ่มมากขึ้น พอพูดถึงโปรตีนหลายคนอาจจะเข้าใจว่า เนื้อสัตว์เป็นอาหารเพียงอย่างเดียวที่ให้โปรตีนเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วเรายังสามารถพบโปรตีนได้ในอาหารกลุ่มอื่น ไม่ว่าจะเป็นนม, ถั่วเปลือกแข็ง, ธัญพืช รวมไปถึงผักชนิดต่าง ๆ อีกด้วย เพื่อที่จะทำความรู้จักกับโปรตีนให้ดียิ่งขึ้น เรามาดูกันดีกว่าว่าจริง ๆ แล้วโปรตีนนั้นคืออะไร มีกี่ชนิด และมีประโยชน์อะไรต่อร่างกายของเราบ้าง โปรตีน ประโยชน์ที่มากกว่าช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ โปรตีน (Protein) เป็นหนึ่งสารอาหารหลักที่จำเป็นและมีความสำคัญกับร่างกาย โดยโปรตีน 1 กรัม จะให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี่ นอกจากนี้โปรตีนยังมีหน้าที่เฉพาะอีกหลายอย่างซึ่งช่วยส่งเสริมให้ร่างกายทำงานได้อย่างปกติ1 ไม่ว่าจะเป็น กรดอะมิโนตัวจิ๋ว รวมกันกลายเป็น โปรตีน หลายคนอาจจะยังไม่ทราบว่า โปรตีน ที่เป็นสารอาหารอย่างที่เรารู้จักนั้นที่จริงแล้วเกิดมาจากการที่กรดอะมิโน (amino acid) หลายชนิดมารวมตัวกันจนกลายเป็นโปรตีน ในธรรมชาตินั้นกรดอะมิโนจะมีทั้งหมด 20 ชนิด โดยเราสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กรดอะมิโนจำเป็น (essential amino acid) และ กรดอะมิโนไม่จำเป็น (nonessential amino acid) […]

  • Clinical Nutrition

อาหาร สำหรับ ผู้ป่วยมะเร็ง

ผู้ป่วยมะเร็ง จะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะทุพโภชนาการมากกว่าคนปกติ เนื่องจากเนื้องอกที่เกิดขึ้นและสภาวะของร่างกายจะส่งผลต่อการเผาผลาญ ความอยากอาหาร หรือทำให้การกินอาหารของผู้ป่วยเกิดความยากลำบากมากขึ้น รวมถึงการรักษาของแพทย์ก็อาจมีผลข้างเคียงต่อความอยากอาหารของผู้ป่วยด้วย แต่สภาพร่างกายของผู้ป่วยกลับต้องการพลังงานและสารอาหารมากขึ้น เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย การเตรียมสุขภาพผู้ป่วยให้มีความพร้อมในการรับการรักษาของแพทย์ จึงมีบทบาทอย่างมากในการรักษาคนไข้ให้หายขาดจากโรคมะเร็ง แล้วแบบนี้ผู้ป่วยมะเร็ง ควรกิน อาหารอย่างไร และปรับเปลี่ยนประยุกต์อย่างไรให้ผู้ป่วยได้พลังงานและสารอาหารอย่างเพียงพอ ผู้ป่วยมะเร็ง ต้องการพลังงานและสารอาหารเท่าไหร่  โดยทั่วไปคนเราควรได้รับพลังงานต่อวันอยู่ที่ประมาณ 1,600 – 2,000 กิโลแคลอรีต่อวัน ซึ่งอาจจะแตกต่างกันไปตามเพศ วัย องค์ประกอบร่างกายและกิจวัตรประจำวันของแต่ละบุคคล โดยเราสามารถคำนวณหาพลังงานที่ควรได้รับต่อวันได้ที่นี่ คลิก แต่เมื่อร่างกายมีภาวะต่าง ๆ ความต้องการพลังงานก็จะเปลี่ยนแปลงไป โดยตามหลักคำแนะนำของ ESPEN Guideline ได้ให้คำแนะนำในผู้ป่วยมะเร็งควรได้รับพลังงานใกล้เคียงกันกับคนปกติหรือ 25 – 30 กิโลแคลอรี่ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เช่น เรามีน้ำหนัก 60 กิโลกรัม ก็ควรได้รับพลังงานวันละ 1,500 – 1,800 กิโลแคลอรี่ต่อวัน   และส่วนของโปรตีน ผู้ป่วยโรคมะเร็งมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับมากกว่าคนปกติหรืออยู่ที่ 1 – 1.5 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 […]

  • Food and Nutrition

กินผัก อย่างไรให้ได้เพียงพอต่อวัน

กินผัก ถือเป็นสิ่งที่ส่งผลดีต่อร่างกายเป็นอย่างมาก เพราะผักนั้นอุดมไปด้วยสารอาหารมากมาย ไม่ว่าจะเป็นวิตามิน แร่ธาตุ ใยอาหาร และที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ สารต้านอนุมูลอิสระ ที่จะแตกต่างกันไปตามสีของผักแต่ละชนิด ซึ่งสารอาหารต่าง ๆ เหล่านี้จะช่วยส่งเสริมให้สุขภาพของเราแข็งแรง ช่วยให้ร่างกายของเราห่างไกลจากโรคเรื้อรัง รวมถึงมีส่วนช่วยในการคุมน้ำหนักอีกด้วย ซึ่งในปัจจุบันได้มีคำแนะนำให้กินผักและผลไม้ให้ได้วันละ 400 กรัมต่อวัน ซึ่งสำหรับบางคนนั้นการกินผักอาจจะเป็นเรื่องยากหรือเบื่อกับการที่จะต้องกินผักในปริมาณมาก ๆ วันนี้เราเลยมีเทคนิคต่าง ๆ มาเพื่อช่วยให้คุณสามารถกินผักได้หรือกินได้มากยิ่งขึ้น  ถ้าให้พูดการ กินผัก สำหรับใครหลาย ๆ คนอาจเป็นเรื่องที่อยาก แต่เรานักกำหนดอาหารจาก Eatwellconcept ก็อยากให้คุณได้รับประโยชน์จากผักและผลไม้ต่าง ๆ อย่างครบถ้วน เพื่อที่สุขภาพของคุณจะได้แข็งแรง พร้อมที่จะต่อสู้กับโรคเรื้อรังต่าง ๆ ซึ่งถ้าคุณไม่รู้จะลองปรับเมนูอย่างไร ต้องกินผักมากน้อยแค่ไหน ก็ลองทักเข้ามาปรึกษาเราให้ช่วยออกแบบตารางเมนูอาหารที่เฉพาะเหมาะสมกับคุณได้เลย อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม คลิก

  • Clinical Nutrition

โภชนบำบัด ในผู้ป่วย ไขมันพอกตับ

ไขมันพอกตับ (Non-alcoholic fatty liver disease, NAFLD) ถือเป็นปัญหาที่เรื้อรังและส่งผลต่อสุขภาพโดยรวมอย่างมาก  ซึ่งจากการสำรวจพบว่าในปี พ.ศ.2561 มีผู้ที่มีภาวะตับแข็งทั้งจากแอลกอฮอล์และปัจจัยอื่น ๆ มากถึง 200,000 คน โดยปัญหาภาวะไขมันพอกตับนั้น มักพบควบคู่กับโรคเรื้อรังหรือปัญหาทางสุขภาพอื่น ๆ เช่น อ้วนลงพุง ภาวะดื้ออินซูลิน เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง เป็นต้น โดยภาวะไขมันพอกตับนี้จะเกิดจากการสะสมของไขมันภายในเนื้อเยื่อตับทำให้เกิดการแข็งตัวจนก่อให้เกิดโรคตับแข็ง หรือมะเร็งตับได้ในที่สุด  สำหรับการดูแลหรือรักษาภาวะไขมันพอกตับนั้นจะให้ความสำคัญไปในด้านของการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้ดีต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นการควบคุมอาหาร การออกกำลังกาย และที่เห็นได้ชัดเจนที่สุดว่ามีผลนั่นก็คือการลดน้ำหนักหรือควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ซึ่งในวันนี้ที่เราจะพูดถึงอย่างเจาะลึกคือการปรับโภชนาการ เปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหาร หรือ โภชนบำบัดในผู้ป่วยโรคไขมันพอกตับ  ความสำคัญของสารอาหารหลักต่อภาวะ ไขมันพอกตับ  ถ้าพูดถึงสารอาหารหลัก ๆ ที่เราจะต้องรู้จักกันเป็นอย่างดี ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน ซึ่งถือเป็นสารอาหารหลักที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย (Macronutrient) ซึ่งได้มีการศึกษาพบหลักฐานที่แสดงถึงความสัมพันธ์ระหว่างสารอาหารเหล่านี้กับการเกิดโรคภาวะไขมันพอกตับ โดยพบว่า  อาหารกลุ่มไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ น้ำตาลทราย และน้ำตาลฟรุกโตส มีความสัมพันธ์กับการเกิดไขมันพอกตับ นอกจากนั้นอาหารเหล่านี้จะส่งผลต่อระดับของไตรกลีเซอไรด์ในเลือดและความสามารถในการทำงานของตับ เราลองไปเจาะลึกว่าสารอาหารแต่ละชนิดกันมีผลต่อตับของเราอย่างไรบ้าง  ไขมันจะสามารถแบ่งออกได้เป็น […]

  • Food and Nutrition

ไขความลับประโยชน์ของ โอเมกา 3

โอเมกา 3 คือชื่อของไขมันไม่อิ่มตัวที่ใครหลาย ๆ คนอาจเคยได้ยินชื่อนี้ตามโฆษณาต่าง ๆ มาอย่างมากมาย โดยเฉพาะในผลิตภัณฑ์นมสำหรับเด็กหรือผลิตภัณฑ์จากปลา เพราะโอเมกา 3 ถือว่าเป็นไขมันที่จำเป็นต่อการทำงานของร่างกายและสมอง อีกทั้งกรดไขมันโอเมกา 3 นี้ร่างกายไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ ต้องได้รับจากอาหารเพียงเท่านั้น แล้วไขมันตัวนี้จะมีประโยชน์ต่อร่างกายและสมองของเราอย่างไรบ้าง   โอเมกา 3 คืออะไร กรดไขมัน โอเมกา 3 จัดเป็นไขมันไม่อิ่มตัวและเป็นกรดไขมันชนิดหนึ่งที่สำคัญต่อร่างกาย ที่จะได้รับจากการกินอาหารเพียงเท่านั้น เพราะร่างกายไม่สามารถสร้างเองได้ ซึ่งที่มาของการตั้งชื่อว่าโอเมกา แล้ว 3 ที่ต่อท้ายนั้น เพราะว่าโครงสร้างโมเลกุลตัวกรดไขมันนี้มีพันธะคู่ของคาร์บอนอยู่ ณ ตำแหน่งที่ 3 ซึ่งไขมันโอเมกา 3 นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้   กรดไขมัน ALA นั้นเป็นชนิดที่สามารถพบได้มากในอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งใน เมล็ดแฟลกซ์  วอลนัทและน้ำมันถั่วเหลือง โดยกรดไขมันตัวนี้ถือว่าเป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์กรดไขมันอย่างที่สำคัญอย่าง EPA และ DHA    กรดไขมัน EPA จะเป็นกรดไขมันที่สามารถได้รับจากอาหารจำพวก ปลา อาหารทะเล และสามารถสร้างขึ้นเองภายในร่างกายจากการเปลี่ยนกรดไขมัน ALA ได้ แต่ก็เกิดขึ้นได้ในปริมาณที่น้อยมาก ๆ จึงจำเป็นต้องได้รับจากอาหาร  กรดไขมัน DHA นั้นก็จัดเป็นกรดไขมันที่สามารถได้รับจากอาหารจำพวก ปลา อาหารทะเล เป็นหลัก และอาจจะมีการสร้างขึ้นเองจากการเปลี่ยนกรดไขมัน ALA แต่ก็พบได้ในปริมาณที่น้อยเช่นเดียวกับกรดไขมัน EPA  แล้วไขมันโอเมก้า 3 นั้นมีประโยชน์ต่อเราอย่างไรบ้าง ไขความลับ ประโยชน์ของไขมันโอเมกา 3   และนี่ก็เป็นข้อดีของไขมันโอเมกา 3 ที่สามารถพบได้ในอาหารหลากหลายชนิดแต่อาหารชนิดไหนที่จะมีกรดไขมันโอเมกา 3 มากที่สุด  อาหารที่อุดมไปด้วยไขมันโอเมกา 3  […]

  • Blog from Eatology

กินอาหารอย่างไรเมื่อ ไขมันพอกตับ

ไขมันพอกตับ (Fatty Liver) คือ ภาวะที่ตับมีการสะสมไขมันในรูปของไตรกลีเซอไรด์ ซึ่งเป็นภาวะที่สามารถพบได้บ่อยและไม่แสดงอาการผิดปกติใด ๆ แต่ภาวะไขมันพอกตับนั้นจะส่งผลให้การทำงานของตับแย่ลง และนำไปสู่สุขภาพโดยรวมที่แย่ลงอีกด้วย หากเป็นในระยะเวลานานและรุนแรงพอ จะก่อให้เกิดมะเร็งตับได้ แล้วแบบนี้ผู้ที่มีภาวะไขมันพอกตับควรเลือกกินอาหารอย่างไรหรือคุมอาหารอย่างไร เพื่อชะลอการเสื่อมลงของตับ รวมถึงลดปริมาณของไขมันที่สะสมในตับลงได้  เจาะลึกเรื่องชนิดและอาการของ ไขมันพอกตับ  ไขมันพอกตับ เป็นภาวะที่มีไขมันชนิดไตรกลีเซอไรด์สะสมอยู่ภายในเซลล์ตับมากขึ้น ส่งผลให้ตับเกิดการอักเสบและกลายเป็นตับแข็งในที่สุด ซึ่งในขณะเดียวกันนั้น การทำงานของตับก็จะลดลงแล้วก็ส่งผลให้สุขภาพร่างกายโดยรวมแย่ลงอีกด้วย แต่ว่าโรคไขมันพอกตับนั้นไม่มีอาการแสดงออกอย่างชัดเจน ทำให้เราจะทราบว่าเป็นไขมันพอกตับอยู่หรือไม่จากการตรวจสุขภาพเท่านั้น โดยโรคไขมันพอกตับนั้น จะถูกแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ดังนี้  และแม้ว่าอาการของไขมันพอกตับนั้นจะไม่ชัดเจน แต่ก็จะมีอาการแสดงเล็กน้อยให้เห็นได้เมื่อตับมีการสะสมของไขมันในปริมาณมาก ซึ่งอาการที่สามารถพบได้บ่อยคือ  แม้ว่าโรคไขมันพอกตับ จะมีอาการแสดงเล็กน้อย แต่มักจะคล้ายคลึงกับการที่พักผ่อนไม่เพียงพอ จึงอาจทำให้ยากต่อการทราบว่าตนเองเกิดภาวะไขมันพอกตับแล้ว ทำให้ส่วนใหญ่ผู้ป่วยจะสามารถรู้ว่าตนเองมีไขมันพอกตับจะมาจากการตรวจเลือดในการตรวจสุขภาพประจำปีหรือตามคำแนะนำของแพทย์  5 ทริคง่าย ๆ ในการกินเมื่อไขมันพอกตับ  ด้วยปัจจัยหลาย ๆ อย่างทำให้ผู้ที่มีภาวะไขมันพอกตับจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ ให้ดีต่อสุขภาพมากขึ้น เพื่อที่จะชะลอการสะสมไขมันที่ตับและการนำไขมันที่สะสมไปใช้เพื่อให้ตับกลับมาใช้งานได้ดีมากขึ้น ซึ่งเราก็ได้รวบรวมเทคนิคง่าย ๆ ที่จะช่วยให้คุณสามารถดูแลตับได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนี้  และนี่ก็คือ 5 เทคนิคง่าย ๆ ที่จะช่วยให้ผู้ที่มีภาวะไขมันพอกตับหรือคนที่เริ่มมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะนี้สามารถดูแลตัวเองได้อย่างง่าย […]

  • Food and Nutrition

ในหนึ่งวัน ดื่มกาแฟได้กี่แก้ว ?

ดื่มกาแฟได้กี่แก้ว อาจเป็นคำถามในใจของคอกาแฟหลาย ๆ คน เนื่องจากใครหลายคนอาจจะเริ่มต้นวันใหม่ด้วยกาแฟกลิ่นหอม ๆ สักแก้ว ด้วยรสชาติขม อมเปรี้ยว หรือบางคนก็เติมหวานให้ละมุน พร้อมกลิ่นที่อบอวลที่เป็นเอกลักษณ์จะช่วยเติมพลังและความตื่นตัวของเราให้พร้อมกับการทำงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ ในวันนั้นได้อย่างเต็มที่ จนถึงขั้นที่ในบางคนอาจจะรู้สึกว่าไม่สามารถขาดกาแฟไปได้ ไขความลับของ กาแฟ  กาแฟ ถือเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีส่วนช่วยให้เรารู้สึกตื่นตัว ไม่ง่วง พร้อมกับการทำงาน โดยกาแฟจะมีสารที่มีชื่อว่า “คาเฟอีน” ซึ่งเป็นสารที่มีหน้าตาคล้ายกันกับ อะดีโนซีน หรือสารที่ทำให้เรารู้สึกง่วงนอน อ่อนเพลียนั่นเอง ดังนั้นการดื่มเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีนอย่างกาแฟจึงทำให้สารอะดีโนซีนไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ เราจึงไม่รู้สึกอ่อนเพลียหรือง่วงนอนนั่นเอง ทั้งนี้คาเฟอีนยังอาจไปกระตุ้นให้ร่างกายเกิดการหลั่งฮอร์โมนอะดรีนาลีนได้อีกด้วย จึงทำให้บางครั้งอาจเกิดอาการใจสั่น มือสั่นได้ แต่โดยส่วนใหญ่มักจะพบอาการเหล่านี้ได้ในผู้ที่ดื่มกาแฟมากเกินไปนั่นเอง  และนอกจากกาแฟจะช่วยให้เรารู้สึกตื่นตัวได้แล้ว ยังได้มีการศึกษาอื่น ๆ เพิ่มเติมมากมายเพื่อดูค้นคว้าถึงประโยชน์เพิ่มเติมจากกาแฟต่อร่างกาย ซึ่งจากการศึกษาได้พบประโยชน์ ดังนี้  หนึ่งวันจะ ดื่มกาแฟได้กี่แก้ว สำหรับปริมาณกาแฟที่แนะนำให้สามารถดื่มได้ในแต่ละวันนั้น จะขึ้นอยู่กับปริมาณคาเฟอีนภายในกาแฟแต่ละชนิด ซึ่งจะมีปริมาณดังนี้  ซึ่งในแต่วันเราไม่ควรได้รับคาเฟอีนมากกว่า 300 มิลลิกรัม หรือถ้าเทียบเป็นการดื่มกาแฟก็คือ ดื่มกาแฟดำหรือกาแฟซองได้ละวันละ 3 – 4 แก้ว หากเลือกเป็นกาแฟสดแนะนำที่ไม่เกิน 3 […]

  • Clinical Nutrition

ลดความเสี่ยง Alzheimer ทำอย่างไรดี

อัลไซเมอร์ ( Alzheimer ) ถือเป็นหนึ่งในโรคที่มักพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งส่งผลให้การทำงานของสมองลดลงได้ แล้วนอกจากการกินอาหารทั้ง 3 รูปแบบที่เราเคยพูดถึงกันไปแล้ว ยังมีวิธีการใดที่จะช่วย ลดความเสี่ยง Alzheimer ลงได้อีกบ้าง  อัลไซเมอร์ ( Alzheimer ) คืออะไรกัน  อัลไซเมอร์ เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของสมองที่สามารถพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ ซึ่งไม่ได้เกิดขึ้นโดยธรรมชาติแต่จะเกิดจากการที่สมองมีการสะสมของสาร เบต้า-อะไมลอยด์ (Beta-amyloid) จนเกิดเป็นคราบบริเวณเซลล์สมอง ส่งผลให้การทำงานของสมองเริ่มลดลง โดยอาจเริ่มจากหลงลืมเกี่ยวกับความทรงจำระยะสั้น ๆ และอาจร้ายแรงถึงไม่สามารถเกิดการเรียนรู้และลืมการดำเนินชีวิตไปได้อีกด้วย ซึ่งอย่างที่เคยกล่าวไปแล้วว่าโรคอัลไซเมอร์มีปัจจัยต่าง ๆ มากมาย ดังนี้ อายุที่มากขึ้น โดยในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปจะมีความเสียงสูงขึ้น 2 เท่าในทุก 5 ปีที่อายุเพิ่มขึ้น  พันธุกรรม เช่น มีญาติที่มีภาวะอัลไซเมอร์ เป็นต้น  การประสบอุบัติเหตุที่ส่งผลโดยตรงต่อศีรษะ  โรคหลอดเลือดหัวใจ ที่มีปัจจัยย่อย ๆ ได้แก่ 1.อายุที่มากขึ้น โดยในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปจะมีความเสียงสูงขึ้น 2 เท่าในทุก 5 […]

  • Food and Nutrition

อาหารเฉพาะโรค วิธีเลือกกินอาหารเมื่อมีโรคประจำตัว

เมื่อผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไต ไขมันสูง ต้องมานอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล “อาหารเฉพาะโรค” มักเป็นอาหารเฉพาะที่ถูกจัดเสิร์ฟให้แก่ผู้ป่วยเสมอ … สงสัยหรือไม่ว่า อาหารที่ว่านี้คืออะไร หน้าตาเป็นแบบไหน แตกต่างจากอาหารทั่วๆ ไปอย่างไร ทำไมจึงสำคัญและกลายเป็นส่วนหนึ่งในวิธีการรักษาผู้ป่วย      อาหารเฉพาะโรค คืออะไร? อาหารเฉพาะโรค (Therapeutic Diet) หมายถึง อาหารที่ได้รับการดัดแปลงส่วนประกอบ เช่น ปริมาณสารอาหาร เนื้อสัมผัส หรือวัตถุดิบ ให้เหมาะสมและเฉพาะเจาะจงกับตัวผู้ป่วยทั้งในแง่ของภาวะร่างกาย ความเจ็บป่วย และความรุนแรงของโรค  โดยช่วยชะลอความรุนแรงของโรค รักษาอาการเจ็บป่วย และส่งเสริมให้การรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์มีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ เช่น ผู้ป่วยเบาหวานก็จะได้รับอาหารเฉพาะโรคที่ถูกดัดแปลงมาให้เหมาะสำหรับโรคเบาหวาน เป็นต้น โรคนี้ กินอะไร ใครเป็นคนตัดสิน?                เมื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาในโรงพยาบาลและมีความจำเป็นต้องได้รับอาหารเฉพาะโรค แพทย์มักจะเป็นผู้ประเมินอาการและกำหนดลักษณะอาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วย เช่น พลังงานรวมที่ควรได้รับ สารอาหารหรือชนิดอาหารที่มีการกำจัดปริมาณ เช่น จำกัดเกลือ 1 กรัม จำกัดโปรตีน 1.2 กรัมต่อน้ำหนักตัว เป็นต้น จากนั้นนักกำหนดอาหารจึงนำใบคำสั่งแพทย์มาคำนวณต่อเป็นปริมาณวัตถุดิบ แล้วทำการดัดแปลงหรือออกแบบมื้ออาหารให้เหมาะสมกับที่ผู้ป่วยควรได้รับ หากผู้ป่วยกำลังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล […]

  • Food and Nutrition

อาหารบำรุงสมอง 5 ชนิด

สมอง ถือเป็นอีกอวัยวะที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตของเราเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีหน้าที่ในการควบคุมการทำงานต่าง ๆ เช่น การเคลื่อนไหว การจดจำ และการทำงานของอวัยวะ เป็นต้น และถ้านึกถึงสมองสิ่งแรกที่หลายคนน่าจะคิดออกเป็นลำดับแรกก็คือ “ด้านความจำ” เพราะเมื่อเรามีอายุที่มากขึ้นสมองของเราจะเกิดการเสื่อมลง ทำให้อาจเกิดการหลง ๆ ลืม ๆ และอาจก่อให้เกิดการตีบของหลอดเลือดสมองและเกิดอันตรายถึงชีวิตได้ วันนี้ นักกำหนดอาหารเลยมีคำแนะนำสำหรับ 5 อาหารบำรุงสมอง และสามารถหากินได้ง่าย  อาหารอะไรบ้างที่ดีต่อสมอง  1.ไข่ต้ม   หนึ่งในอาหารสามัญประจำบ้านที่เราทุกคนต้องเคยได้ลิ้มลองกันมาแล้ว ซึ่งเมนูง่าย ๆ นี้อุดมไปด้วยวิตามินบี 6 และบี 12 ที่มีส่วนช่วยให้การทำงานของระบบประสาทและสมองเป็นปกติ อีกทั้งยังมีโคลีนซึ่งเป็นสารสำคัญในการสร้างสารสื่อประสาทที่เกี่ยวข้องกับอารมณ์และความทรงจำ นอกจากนี้การเสริมโคลีนนั้นมีส่วนช่วยให้อารมณ์และการจดจำดีขึ้นด้วย  2.ปลา เป็นแหล่งของโปรตีนที่ดีย่อยได้ง่าย อีกทั้งยังอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมกา  3 ซึ่งเป็นกรดไขมันที่มีส่วนช่วยในการการทำงานของสมอง เพราะจากการศึกษาพบว่ากว่า 60% ของสมองเราประกอบด้วยไขมัน ฉะนั้นเมื่อเรากินปลาที่อุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมกา 3 จะช่วยให้การทำงานของสมองในด้านความจำดีขึ้นและสามารถทำงานได้ตามเป็นปกติอย่างเต็มประสิทธิภาพ อีกทั้งยังเป็นสารอาหารที่สำคัญในทารกและหญิงตั้งครรภ์เนื่องจากเป็นส่วนช่วยให้พัฒนาการสมองของทารกเป็นไปตามปกติอีกด้วย  3.ดาร์กช็อกโกแลต หรือ ผงโกโก้ ถือเป็นเครื่องดื่มหรือของว่างที่มีสารต้านอนุมูลอิสระอย่างฟลาโวนอยด์ และสารที่กระตุ้นระบบประสาทอย่างคาเฟอีน ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการทำงานของสมองคล้ายกับการดื่มกาแฟ และยังพบอีกว่าฟลาโวนอยด์นั้นก็มีส่วนช่วยให้มีความจำที่ดีขึ้น โดยจากการทดลองให้คนกว่า 900 […]

  • Clinical Nutrition

น้ำตาลในเลือด เท่าไหร่ถึงเป็น เบาหวาน

เบาหวาน (Diabetes Mellitus: DM) เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมระดับ น้ำตาล ในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้จนทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง โดยเกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ได้อย่างเพียงพอหรือไม่สามารถตอบสนองต่อฮอร์โมนนี้ได้ตามปกติ (ภาวะดื้อต่ออินซูลิน) ซึ่งอินซูลินถือว่าเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยตรงนั่นเอง  ด้วยภาวะทั้งสองที่กล่าวไป ทำให้ร่างกายหรือเซลล์ไม่สามารถนำน้ำตาลที่อยู่ภายในเลือดไปใช้เป็นพลังงานได้อย่างปกติ จนเกิดเป็นการสะสมอยู่ภายในเลือด ซึ่งหากปล่อยไว้เป็นเวลานานก็จะก่อให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนหรือเป็นอันตรายต่ออวัยวะต่าง ๆ ได้   ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานจึงจำเป็นต้องควบคุมอาหารให้เหมาะสมเพื่อป้องกันภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ    รู้ได้อย่างไรว่าเป็น เบาหวาน  การวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานจะสามารถทำได้ด้วยการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นหลัก รวมถึงแพทย์จะสอบถามอาการผู้ป่วย ประวัติการเจ็บป่วยของผู้ป่วยและของบุคคลในครอบครัว  โดยมีวิธีการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดหลายวิธีและจะแปรผลได้ ดังนี้  แต่การตรวจโดยส่วนใหญ่ที่นิยมใช้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดมักจะถูกรวมอยู่ในการตรวจสุขภาพประจำปีคือ ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง (FPG) ซึ่งหากมีระดับน้ำตาลมากกว่า 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แพทย์จะนัดทำการตรวจซ้ำอีกครั้งเพื่อยืนยันผล โดยอาจจะใช้การตรวจหลังอดอาหารหรือแบบอื่น ๆ ก็ได้เช่นกัน โดยหากมีค่ามากกว่าเกณฑ์ที่กล่าวไปข้างต้นก็จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานโดยแพทย์ และจะได้รับคำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการกินอาหาร การออกกำลังกาย เพื่อชะลอและป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากเบาหวานนั่นเอง  ดังนั้นเราจึงควรคุมอาหารอาหาร ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูงกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรเพื่อลดความเสี่ยงในการที่จะเป็นโรคเบาหวานและโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้จากเบาหวานและภาวะอ้วน   […]

  • Clinical Nutrition

เป็น เบาหวาน จะสามารถกิน ผลไม้ หรือไม่?

ผู้เป็น เบาหวาน มีปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ จึงมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารเพื่อให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในช่วงปกติ ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยเบาหวานหลาย ๆ คนสงสัยว่าเป็นเบาหวาน กินอะไรดีและอย่าง ผลไม้ ที่มีรสหวานจะสามารถกินได้หรือไม่  เจาะลึกเรื่อง เบาหวาน  เบาหวาน คือ ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้ผู้เป็นโรคเบาหวานจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหาร เช่น ควบคุมคาร์โบไฮเดรต เลี่ยงอาหารหวาน เลี่ยงอาหารมัน เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อที่จะลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน หากไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ จะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนอันเนื่องมาจากเบาหวานได้ เช่น เบาหวานขึ้นตา โรคไต หลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบตัน ซึ่งเป็นปัญหาทางสุขภาพที่ลดคุณภาพชีวิตของผู้เป็นเบาหวานอย่างมาก แล้วแบบนี้ผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องระมัดระวังปริมาณน้ำตาลในอาหารจะสามารถกินผลไม้ที่มีรสหวานจากธรรมชาติได้หรือไม่  ผลไม้ เป็น เบาหวาน จะกินได้ไหม  หลายคนอาจสงสัยว่าโรคเบาหวานที่ต้องควบคุมน้ำตาลในเลือด จะกินผลไม้ได้จริง ๆ ใช่หรือไม่ โดยตามหลักการดูแลของผู้ป่วยโรคเบาหวาน สามารถสรุปอย่างง่ายได้ว่า  ผู้เป็นโรคเบาหวานสามารถกินผลไม้ได้ เพราะถึงแม้ผู้เป็นเบาหวานจะต้องควบคุมน้ำตาล แต่ก็สามารถกินผลไม้ได้ทุกชนิด โดยจะต้องเลือกชนิดและปริมาณให้เหมาะสมด้วย เพื่อไม่ให้ร่างกายเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตไปเป็นน้ำตาลในเลือดมากจนเกินไป ซึ่งปริมาณของผลไม้ที่แนะนำให้ผู้เป็นเบาหวานสามารถกินได้ในหนึ่งวัน คือ ครั้งละ 1 คาร์บ เทียบได้กับผลไม้ประมาณ 1 […]

  • Food and Nutrition

Food Combination ดีจริงหรือไม่

การกินอาหารถือเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญอย่างมากในการดูแลสุขภาพ ทำให้ในปัจจุบันเกิดการกินอาหารรูปแบบต่าง ๆ มากมาย ซึ่งหนึ่งในหลักการกินอาหารที่ได้รับความนิยมไม่น้อยก็คือ “การกินแบบ Food combination” หรือการจับคู่อาหารนั่นเอง วันนี้มาลองฟังข้อมูลจากนักกำหนดอาหารกันว่า รูปแบบการกินนี้จะดีต่อสุขภาพจริงหรือไม่ การกินอาหารแบบ Food combination คืออะไร การกินอาหารตามหมวด คือ หลักการกินอาหารที่เกิดขึ้นภายใต้แนวคิดการจับคู่อาหารที่กินคู่กันแล้ว อาจส่งผลดีต่อสุขภาพที่มากขึ้นได้ รวมถึงการหลีกเลี่ยงการกินอาหารบางชนิดที่ไม่ควรกินร่วมกัน เพื่อไม่ให้ระบบย่อยอาหารของเราทำงานหนักจนเกินไป และป้องกันการเกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง แล้วการกินอาหารแบบจับคู่นี้ดีต่อสุขภาพของเราจริงหรือไม่ เราไปหาคำตอบกัน  ไขความลับหลากเทคนิคของการจับคู่ของการกินอาหารตามหมวด  กินให้ดี ไม่ควรกินผลไม้พร้อมอาหาร  ตามหลักการกินอาหารข้อแรก คือแนะนำไม่ให้เรากินผลไม้ต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แตงโม คู่กับการกินอาหารอื่น ๆ เนื่องจากจะทำให้การย่อยอาหารทำงานหนักและใช้เวลาในการย่อยมากขึ้น แต่หากดูข้อมูลจนถึงปัจจุบันนี้ พบว่าไม่ได้มีผลการศึกษาที่ชัดเจนว่า การกินผลไม้พร้อมอาหาร จะทำให้ร่างกายทำงานหนักมากขึ้น ในทางตรงกันข้ามยังพบว่าสารอาหารบางอย่างในผลไม้ เช่น วิตามินซียังมีบทบาทช่วยในการดูดซึมธาตุเหล็ก1ได้อีกด้วย หรือสารเบต้าแคโรทีนที่พบในผักผลไม้สีเหลือง-ส้มนั้น จำเป็นต้องดูดซึมไปพร้อมกับไขมันในอาหาร2 จนกล่าวได้ว่าหากกินผักผลไม้ที่มีเบตาแคโรทีน โดยปราศจากไขมันในมื้อนั้นแล้วล่ะก็ เหมือนกับเราสูญเสียสารตัวนี้ออกไปจากร่างกายเลย เป็นต้น  อย่ากินข้าวพร้อมกับเนื้อสัตว์  จากแนวคิดการกินอาหารแบบ Combination นั้น จะเชื่อว่าโปรตีนถือเป็นชนิดของอาหารที่ย่อยได้เร็วที่สุด […]

  • Clinical Nutrition

3 รูปแบบการกินอาหารลดความเสี่ยง อัลไซเมอร์

อัลไซเมอร์ เป็นหนึ่งในโรคที่มักพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ โดยโรคนี้จะเกิดจากการเสื่อมถอยของการทำงานของสมอง แต่ไม่ใช่การเสื่อมโดยธรรมชาติ จึงไม่จำเป็นว่าเมื่อสูงอายุแล้วจะต้องเป็นโรคนี้ทุกคน แต่การเสื่อมลงของสมองนี้ เกิดจากหลายปัจจัยด้วยกัน หนึ่งในนั้นคือการสะสมสารที่มีชื่อว่า เบต้า-อะไมลอยด์ (Beta amyloid) ที่ส่งผลให้การทำงานของสมองลดลง โดยอาจเริ่มจากการทำให้หลงลืมเกี่ยวกับความจำระยะสั้น เช่น ลืมกิจกรรมที่เพิ่งดำเนินไปเสร็จสิ้นมา ลืมว่ากินข้าวมาเมื่อกี้ ลืมว่าเข้าห้องน้ำแล้ว แสดงพฤติกรรมซ้ำเหมือนว่ายังไม่ได้ดำเนินการใด ๆ เป็นต้น และอาจร้ายแรงได้ถึงการเรียนรู้และการรับรู้ความรู้สึก ซึ่งจากการสำรวจพบว่าผู้สูงอายุในประเทศไทยมีปัญหาอัลไซเมอร์ถึง 1 ใน 8 ของจำนวนผู้สูงอายุ หรือคิดได้เป็น 800,000 คนที่มีปัญหาอัลไซเมอร์ แล้วถ้าการเสื่อมนี้ไม่ได้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ นอกจากปัจจัยการสะสมของสาร Beta amyloid แล้วยังมีสาเหตุอื่น ๆ ที่มีความสัมพันธ์ ได้แก่ปัจจัยเหล่านี้  สำหรับผู้ที่มีข้อสงสัยว่า การเสริมผลิตภัณฑ์เสริมอาหารต่าง ๆ ที่วางขายอยู่ในปัจจุบันนั้น มีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงอัลไซเมอร์ลงได้หรือไม่ ผลการศึกษาต่าง ๆ รายงานว่า การเสริมวิตามินบี 6 วิตามินบี 12 วิตามิน เอ ซี และอี หรือแม้แต่การเสริมด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 […]

  • Clinical Nutrition

เบาหวาน เป็นแล้ว กินอย่างไรดี

เบาหวาน เบาหวาน เป็นภัยเงียบหนึ่งที่คนไทยหลายคนมองข้าม เนื่องด้วยอาการแสดงให้เกิดความตระหนักนั้นมีน้อย ถ้าไม่ตรวจสุขภาพประจำปีหรือตรวจร่างกายโดยละเอียดแล้ว แทบจะไม่พบปัญหาทางสุขภาพนี้เลย ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นจากการมีภาวะเบาหวานนั้น หลักๆ จะมาจากการเกิดปัญหาของหลอดเลือดต่าง ๆ ในร่างกาย ทำให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมาอีกมาก ฉะนั้นหากพบว่าเป็นเบาหวานแล้ว เราจึงควรดูแลสุขภาพไม่ให้น้ำตาลขึ้นสูงผิดปกติ เพื่อเป็นการรักษาสุขภาพของหลอดเลือดและป้องกันตัวเองจากปัญหาแทรกซ้อนอันเนื่องมาจากเบาหวานต่าง ๆ นั่นเอง การกินอาหารเมื่อมีภาวะเบาหวาน จะเน้นหนักที่หลักการกินอาหารให้สมดุล สุขภาพดีและรักษาระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแนวทางมีหลายประเด็นดังนี้ นอกจากนี้ แนวทางการเลือกรับประทานอาหารเพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือดนั้น อาจจำเป็นต้องวางแผนควบคู่กับการใช้ยาประจำตัวของผู้เป็นเบาหวานด้วย เพราะผู้เป็นเบาหวานจำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับปริมาณคาร์โบไฮเดรต แหล่งอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต และการอ่านฉลากโภชนาการอย่างถูกต้องด้วย เพื่อให้การวางแผนควบคุมน้ำตาลในเลือดและการบริโภคอาหารเป็นไปอย่างปกติและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

  • Clinical Nutrition

7 อาหารบำรุง หัวใจ

หัวใจ ถือเป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างมากต่อร่างกาย เนื่องจากมีหน้าที่คอยบีบตัว เพื่อส่งเลือดไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อขนส่งสารอาหาร ออกซิเจนและสารสำคัญต่าง ๆ ให้เซลล์ในร่างกายแต่ละเซลล์ ทำให้อวัยวะต่าง ๆ สามารถทำงานได้อย่างปกติ ดังนั้น การดูแลหัวใจให้แข็งแรงจึงเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะหากหัวใจทำงานได้แย่ลง หรือไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ก็จะส่งผลให้ร่างกายโดยรวมแย่ลงด้วยเช่นกัน ซึ่งอาหารก็จัดเป็นหนึ่งปัจจัยที่ช่วยให้หัวใจแข็งแรง โดยช่วยควบคุมระดับความดันโลหิต ไขมันในเลือด เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดนั่นเอง บทความนี้จึงได้รวบรวม อาหารบำรุง หัวใจมาให้คุณได้ดูกัน นี่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ อาหารบำรุง หัวใจ ของเราให้แข็งแรงได้มากขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญคือการเลือกกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสหวานจัด มันจัด และเค็มจัด รวมถึงออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อรักษาสุขภาพของร่างกายและหัวใจของเราให้แข็งแรงอยู่ตลอดเวลานั่นเอง นอกจากนี้คุณยังสามารถให้ Eatwellconcept ทีมนักกำหนดอาหาร นักวิทยาศาสตร์การกีฬา นักจิตวิทยา ช่วยออกแบบตารางอาหารคุมน้ำหนัก อาหารบำรุง หัวใจ ตารางการออกกำลังกาย และการให้คำแนะนำในการจัดการความเครียด เพื่อให้คุณมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ควบคู่จิตใจที่แข็งแรงพร้อมกับการทำกิจกรรมในทุก ๆ วัน แหล่งอ้างอิง 

  • Food and Nutrition

ทำไมกิน ของทอด แล้วถึง เจ็บคอ ?

ของทอด อีกเมนูโปรดของใครหลาย ๆ คน ด้วยความกรุบกรอบตอนกัด กลิ่นหอมเฉพาะตัวและความชุ่มฉ่ำที่หาเมนูเปรียบเทียบได้ยาก ทำให้หลายคนชื่นชอบและอาจกินเป็นประจำ แต่เคยรู้สึกเจ็บคอหรือระคายคอหลังจากกินอาหารทอดกันบ้างหรือเปล่า ถ้าเคยเกิดอาการเหล่านี้แล้วสงสัยบ้างไหมว่า เพราะอะไรการกินอาหารทอดถึงทำให้เราเกิด การระคาย และ เจ็บคอ   ของทอด กับอาการ เจ็บคอ  จากข้อมูลที่ศึกษาอาการเจ็บคอหลังจากกินอาหารทอด พบว่าอาการต่าง ๆ เหล่านี้ เกิดขึ้นได้จากหลายปัจจัย ซึ่งหนึ่งในปัจจัยที่มีผลต่ออาการระคายคอ หนึ่งในนั้นคือภาวะ “กรดไหลย้อน” เพราะอาหารทอดนั้นจะม