fbpx

กินอย่างไร เมื่อเป็น กรดไหลย้อน

ไลฟ์สไตล์ หรือ พฤติกรรมการกินอาหาร การนอนหลังกินอาหาร รวมถึงการกินอาหารคำใหญ่ หรือ การกินอาหารเร็ว สามารถทำให้เกิดการสำลัก หรือ การติดขัดของทางเดินอาหาร และเกิดกรดไหลย้อนได้ง่าย วิธีแก้คือ ควรจะรับประทานขนาดอาหารให้พอเหมาะ และเคี้ยวให้ละเอียด หรือการดื่มน้ำเปล่า เพื่อช่วยในการกระตุ้นการย่อยอาหาร และทำให้กรดเจือจาง เพื่อลดความเป็นกรดในกระเพาะ แม้แต่การใส่เสื้อผ้าที่รัดช่วงท้องแน่นเกินไป สามารถทำให้ความดันในกระเพาะเพิ่มขึ้น และเกิดการย้อนของกรดได้ง่าย  อาหารก็มีส่วนช่วยในการลดอาการเกิด กรดไหลย้อน  

โรคกรดไหลย้อนคืออะไร?

โรคกรดไหลย้อน ( Gastroesophageal Reflux Disease หรือเรียกสั้นๆ ว่า GERD) คือ โรคที่มีความผิดปกติของการไหลย้อนกลับน้ำย่อยในกระเพาะสู่หลอดอาหาร ทำให้เกิดอาการแสบร้อนที่หน้าอก และลำคอ รู้สึกเปรี้ยวหรือขมในลำคอ จนอาจรบกวนการใช้ชีวิตในประจำวัน ภาวะดังกล่าวนี้มีปัจจัยที่สามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ ได้แก่ พฤติกรรมการรับประทานอาหาร หรือ ความผิดปกติของการบีบตัวของกระเพราะอาหาร รวมถึงโรคอ้วน เป็นต้น

บุคคลใดที่มีความเสี่ยงของการเป็นภาวะ กรดไหลย้อน

1.ผู้ที่มีความผิดปกติของการบีบตัว/คลายตัวของหูรูดของกระเพาะอาหาร หรือหลอดอาหาร
2. ผู้ป่วยที่ติดเชื้อแบคทีเรีย H.Pyroli หรือมีปัจจัยกระตุ้นการเกิดแผลในทางเดินอาหาร
 3. ผู้ที่มีพฤติกรรมในการรับประทานอาหาร เช่น การนอนราบการรับประทานเสร็จทันที การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง
4.ผู้ป่วยที่มีความเครียดในชีวิตประจำวัน
 5.ปัจจัยอื่นๆที่มีผลทางกายภาพ เช่น โรคอ้วน การตั้งครรภ์ สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ การรับประทานยาบางชนิด 

ข้อแนะนำการปฏิบัติตัวสำหรับโรคกรดไหลย้อน

  1. การนอนราบควรรอประมาณ 2-4 ชั่วโมงหลังรับประทานอาหารเสร็จ ไม่ควรนอนทันที
  2. ควรจะรับประทานขนาดอาหารให้พอเหมาะ บดเคี้ยวให้ละเอียด และ ไม่ควรออกกำลังกายหลังกินอาหารทันที
  3. การดื่มน้ำสะอาดหลังมื้ออาหาร
  4. งดสูบบุหรี่  ดื่มแอลกอฮอล์
  5. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มอัดแก๊ส หรือมีส่วนผสมของกาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ
  6. หลีกเลี่ยงการใส่เสื้อผ้าที่รัดช่วงท้องแน่นเกินไป
  7. ปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและปริมาณให้เหมาะสม
  8. หลีกเลี่ยงความเครียด หรือการหากิจกรรมเพื่อคลายเครียด
  9. การลดน้ำหนักในบุคคลที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน

อาหารที่แนะนำสำหรับผู้ที่มีพฤติกรรมเสี่ยงหรือมีอาการของโรค กรดไหลย้อน ?  

อาหารที่ควรจะกินเมื่อมีอาการกรดไหลย้อน จะเป็นอาหารอ่อนๆ หรือเป็นมื้ออาหารที่ช่วยลดความเข้มข้นของกรดในกระเพาะอาหาร ซึ่งสามารถช่วยลดกรด และ ลดอาการแสบร้อนกลางหน้าอกได้

กรดไหลย้อน-EWC
อาหารที่แนะนำสำหรับ กรดไหลย้อน

1.โปรตีนไขมั่นต่ำ

เนื่องจากโปรตีนไขมันต่ำ ช่วยลดระยะเวลาในการที่อาหารจะอยู่ในกระเพาะ ซึ่งสามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกรดไหลย้อนได้  เช่น เนื้อปลาไม่ติดมัน เนื้อไก่ไม่ติดมัน หรือ นมไขมันต่ำ ที่ปรุงด้วยกรรมวิธีที่ไร้น้ำมัน เช่น ต้ม ตุ๋น นึ่ง โดยเมนูแนะนำ ได้แก่ ข้ามต้มเนื้อปลา,ไก่ นมไขมันต่ำ, ไข่ตุ๋น , แกงจืดเต้าหู้ไข่ เป็นต้น

2. ผักและผลไม้

เนื่องจากในผักและผลไม้มีกากใยอาหารที่มีส่วนช่วยในการย่อยอาหาร และกระตุ้นการทำงานของลำไส้ เพิ่มการขับถ่าย เช่น ธัญพืช, ขนมปังโฮลวีท, คะน้า,ผักบุ้ง เป็นต้น โดยผลไม้สำหรับคนเป็นกรดไหลย้อนนั้น ควรเป็นผลไม้ที่ไม่มีกรดมาก อย่างเช่น กล้วย, แตงโม, แคนตาลูป, แอปเปิ้ล, พีช, ลูกแพร์, อะโวคาโด หรือผลไม้รสหวานชนิดอื่น ๆ

3. น้ำเปล่า

เนื่องจากการดื่มน้ำเปล่า จะช่วยลดความเข้มข้นของกรดในกระเพาะอาหาร จึงควรดื่มอย่างน้อย 1 แก้วหลังกินอาหาร เพื่อช่วยบรรเทาอาการแสบร้อนกลางหน้าอก ที่เกิดจากกรดไหลย้อนได้

อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง เมื่อมีอาการโรคกรดไหลย้อน

1.อาหารที่มีไขมันสูง 

อาหารที่มีไขมันสูง สามารถทำให้เกิดโรคกรดไหลย้อนได้ง่าย เนื่องจากการย่อยไขมันที่มากขึ้นจะทำให้การย่อยช้าลง อาหารอยู่ในกระเพาะมากขึ้น ยิ่งเพิ่มความดันในกระเพราะ ทำให้โอกาสในการไหลย้อนเพิ่มขึ้น เช่น ของทอด มันหมู หรืออาหารปิ้งย่างต่างๆ 

2. อาหารรสจัด

อาหารรสเผ็ดเกิน หรือรสเปรี้ยวเกิน สามารถทำให้รู้สึกไม่สบายท้อง เช่น น้ำผลไม้รสเปรี้ยว น้ำอัดลม และอาหารรสจัดจ้านทั้งเค็มจัด หรือหวานจัด

3. อาหารที่ทำให้เกิดการแพ้ / กระตุ้นการอาเจียน

หากรับประทานอาหารทำให้กระตุ้นการแพ้ ยิ่งทำให้เกิดกรดไหลย้อนได้ง่าย เนื่องจากการอาเจียน หรือการคลื่นไส้จะเป็นทางตรงจากการย้อนขึ้นมาของ กรดในกระเพาะอาหาร ทำให้แสบร้อนกลางหน้าอกได้ จึงแนะนำให้หลีกเลี่ยง  เช่น การกินอาหารที่มีรสชาติไม่คุ้นชิน อาหารที่มีการเน่าเสีย หรือ หมดอายุ เป็นต้น

4. การดื่มกาแฟ และ ชา

เนื่องจากกาแฟ ชา ในปริมาณมาก สามารถกระตุ้นการเกิดกรดไหลย้อนได้ จึงควรจะงดในช่วงที่มีอาการ หรือควรจะดื่ม กาแฟและชา ไม่ควรเกิด 1 แก้วต่อวัน

5. เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ / สูบบุหรี่

เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมาก หรือการสูบบุหรี่ จะทำให้ความเสี่ยงในการไหลย้อนกลับของกรดในกระเพาะอาหารเพิ่มขึ้น ควรหลีกเลี่ยงหรืองดในผู้ป่วยที่มีเป็นโรคกรดไหลย้อน

โรคอ้วน สามารถเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคกรดไหลย้อน

จากงานวิจัยเพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างโรคอ้วนและโรคกรดไหลย้อน (GERD and Obesity ,Gastroenterology)1 จากผู้ร่วมทดสอบ 206 คนพบว่า บุคคลที่เป็นโรคอ้วน (BMI >30)2 จะมีความเสี่ยง ที่ความเป็นกรดในกระเพาะอาหารที่เพิ่มขึ้น (pH <4) และการเพิ่มขึ้นของรอบเอว จะทำให้กรดอยู่ในกระเพาะอาหารนานกว่าปกติ (< 5 นาที) จากรอบเอวที่เพิ่มขึ้น  เทียบกับบุคคลที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์มาตรฐาน  (body mass index [BMI], 25–30) ดังนั้นการลดน้ำหนักในบุคคลที่เป็นโรคอ้วน จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกรดไหลย้อนได้

สรุป

โรคกรดไหลย้อนสามารถเกิดได้จากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุส่วนใหญ่ เกิดจาก พฤติกรรมในการกินอาหาร หากในช่วงเริ่มต้น การปรับพฤติกรรมในการกินอาหาร การไม่นอนราบ , การลดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ,การเลือกประเภทอาหาร รวมถึงการลดน้ำหนัก จะมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคกรดไหลย้อนได้ หากอาการของโรคกรดไหลย้อนเริ่มรุนแรงขึ้น เช่น แสบร้อนที่หน้าอก คลื่นไส้อาเจียนรุนแรง ควรปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง เพื่อทำการรักษา และกินยา ควบคู่ไปกับการปรับฤติกรรม และ การลดน้ำหนัก ในกรณีที่ผู้ป่วยมีน้ำหนักเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน

สอบถามเพิ่มเติม Add Line ปรึกษานักกำหนดอาหาร

ดูแลสุขภาพของคุณให้ถูกวิธี

โปรแกรมปรึกษานักกำหนดอาหารคืออะไร ?

พร้อมรับคำปรึกษาจาก

นักกำหนดอาหารวิชาชีพ

ไม่พลาดบทความด้านโภชนาการ

ของ อีทเวลล์คอนเซปต์ ก่อนใคร

แหล่งอ้างอิง

1.Vaezi, M. F. (2008). GERD and Obesity: A Real BIG Issue! Gastroenterology, 134(3), 882–883. https://doi.org/10.1053/j.gastro.2008.01.049

2.Vaezi, M. F. (2008). GERD and Obesity: A Real BIG Issue! Gastroenterology, JAMA 2002;288:1723–1727. https://doi.org/10.1053/j.gastro.2008.01.049

3.Gupta, E. (2021). GERD Diet: Foods That Help with Acid Reflux (Heartburn). https://www.hopkinsmedicine.org/health/wellness-and-prevention/gerd-diet-foods-that-help-with-acid-reflux-heartburn

4.GERD and Caffeine: Are Coffee and Tea Off Limits? (2015, May 13). Healthline. https://www.healthline.com/health/gerd/coffee-tea#:~:text=Caffeine%20

5.โรคกรดไหลย้อน – อาการและการรักษา – ระบบทางเดินอาหาร | บำรุงราษฎร์. (n.d.). Www.bumrungrad.com. ,from https://www.bumrungrad.com/th/conditions/gerd-gastroesophageal-reflux-disease

6.ป่วยเป็นโรคกรดไหลย้อน กินอะไรดีนะ (n.d.). Www.phyathai.com.  https://www.phyathai.com/article_detail/2368/th/

7.กรดไหลย้อนหายได้ แค่ปรับพฤติกรรมการทานอาหาร. (n.d.). รามา แชนแนล. , from https://www.rama.mahidol.ac.th/ramachannel/gallery/

ส่งข้อความถึงเรา