fbpx

มารู้จัก โพรไบโอติกส์ – พรีไบโอติกส์ กันเถอะ!

โพรไบโอติกส์ – พรีไบโอติกส์ แม้ชื่อจะคล้ายกัน แต่ไม่เหมือนกัน เนื่องจากระบบทางเดินอาหารมีความสำคัญไม่แพ้ระบบอื่นๆ ในร่างกาย นอกจากการรับประทานผักผลไม้เพื่อให้ได้ไฟเบอร์แล้ว การกินอาหารที่มีจุลินทรีย์ชนิดดี ‘โพรไบโอติกส์’ คู่กับ ‘พีรไบโอติกส์’ ซึ่งเป็นอาหารของจุลินทรีย์ ได้กลายเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยดูแลระบบทางเดินอาหารของเราให้มีสุขภาพดี

โพรไบโอติกส์ กับ พรีไบโอติกส์ คืออะไร?

โพรไบโอติกส์(Probiotics)

คือ จุลินทรีย์ขนาดเล็กที่อาศัยอยู่ในลำไส้ เป็นจุลินทรีย์ประเภทที่มีประโยชน์ มักพบมากในบริเวณระบบทางเดินอาหาร ทนทานต่อกรดและด่าง ยึดเกาะอยู่กับเยื่อบุลำไส้ ทำหน้าที่คล้ายกับเกราะป้องกันผนังลำไส้ คอยสร้างสารออกมาช่วยกำจัดจุลินทรีย์ชนิดอื่นๆที่ไม่ดีต่อร่างกาย หากมีในปริมาณที่เพียงพอจะมีส่วนช่วยในการดูดซึมสารอาหาร สังเคราะห์วิตามินและยังช่วยปรับภูมิคุ้มกันในร่างกายให้สมดุลได้อีกด้วย

อาหารที่มีโพรไบโอติกส์

โพรไบโอติกส์-EWC
อาหารที่มีโพรไบโอติกส์
  • นมเปรี้ยว
  • โยเกิร์ต
  • ดาร์กช็อกโกแลต
  • ชีส
  • เทมเป้
  • ซุปมิโซะ
  • กิมจิ
  • ชาหมัก/คอมบูชา
  • ถั่วเน่า/นัตโตะ
  • แอปเปิ้ลไซเดอร์

นอกจากนี้ในปัจจุบันมีโพรไบโอติกส์แบบอาหารเสริมหลากหลายรูปแบบ เช่น  โพรไบโอติกส์ชนิดแบบผง  แบบเม็ด  และแบบเยลลี่ ซึ่งเราสามารถเลือกรับประทานได้ตามความชื่นชอบ ทั้งสะดวกและร่างกายจะรับโพรไบโอติกส์ในปริมาณที่เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละวัน

โพรไบโอติกแบบผง

โพรไบโอติกแบบผงเป็นตัวเลือกที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย เนื่องจากให้จุลินทรีย์ในปริมาณมากต่อซอง โดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ต้องการสายพันธุ์ Lactobacillus และ Bifidobacterium ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่ทนกรดในกระเพาะอาหารได้ดี อย่างไรก็ตามโพรไบโอติกแบบผง เราควรหลีกเลี่ยงการละลายโพรไบโอติกด้วยน้ำร้อนเพื่อไม่ให้สลายประสิทธิภาพ ถึงแม้ว่าบางสายพันธุ์สามารถรับประทานได้โดยไม่ต้องละลายน้ำก่อน

BRAND’S แบรนด์®อินเนอร์ไชน์ โพรไบโอ 

ปริมาณ3400 กรัม 30 ซอง(3.4กรัม)
ประเภทผงแบบซอง
โพรไบโอติกต่อ1ซอง-บาซิลลัส โคแอกูแลน
193 มก.
-แลคโตบาซิลลัส แอซิโดฟิลัส 65 มก.
เลขที่อย.10-3-03446-5-004
ราคา864 บาท
*อ่านฉลากได้ที่ผลิตภัณฑ์ต้นทาง
This image has an empty alt attribute; its file name is lazada-click-1024x312.png

PROBIO WEEMIN โพไบโอติก 10 สายพันธ์ุ

ปริมาณ60 กรัม 20 ซอง(3 กรัม)
ประเภทผงแบบซอง
โพรไบโอติกต่อ1ซองอย่างละ 100 mg.
-แล็กโตบาซิลลัส รามโนซัส
-แล็กโตบาซิลลัส พาราคาเซอิ
-แล็กโตบาซิลลัส รียูเทอรี
-แล็กโตบาซิลลัส ซาลิวาเรียส
-แล็กโตบาซิลลัส แอซิโดฟิลัส
-บิฟิโดแบคทีเรียม บิฟิดัม
-บิฟิโดแบคทีเรียม แล็กทิส
-บิฟิโดแบคทีเรียม ลองกัม
-บิฟิโดแบคทีเรียม เบรเว
เลขที่อย.10-1-05061-5-0131
ราคา557 บาท
*อ่านฉลากได้ที่ผลิตภัณฑ์ต้นทาง
This image has an empty alt attribute; its file name is lazada-click-1024x312.png

Lacto-Fit Probiotic GOLD

ปริมาณ160 กรัม 80ซอง(2กรัม)
ประเภทแบบผงซอง
โพรไบโอติกต่อ1ซอง-บาซิลลัส โค แอกกูแลน0.0332กรัม
-แล็คโตบาซิลลัส เพลนทารัม สายพันธุ์2993 0.0166กรัม
-แล็กโทบาซิลลัสแอชิโคฟิลิส 0.01442กรัม
-บิฟิโดแบคทีทีเรียมบิฟิดัม 0.00252กรัม
เลขที่อย.83-4-00659-5-0012
ราคา589 บาท
*อ่านฉลากได้ที่ผลิตภัณฑ์ต้นทาง
This image has an empty alt attribute; its file name is lazada-click-1024x312.png

โพรไบโอติกแบบเม็ด

โพรไบโอติกแบบเม็ดเหมาะสำหรับคนที่ต้องการความสะดวกในการรับประทาน ซึ่งรูปแบบเม็ดมักจะมีส่วนประกอบจุลินทรีย์ที่ไม่ทนกรดในกระเพาะอาหารได้ เมื่อรับประทานเข้าไปแล้วผ่านกระเพาะอาหารจะไปเจอกับน้ำย่อยที่มีฤทธิ์เป็นกรด จุลินทรีย์จะถูกย่อยสลาย ทำให้มีที่รอดชีวิตเหลือมาถึงลำไส้ในปริมาณไม่เพียงพอต่อความต้องการ อีกทั้งโพรไบโอติกแบบเม็ดมีปริมาณจุลินทรีย์น้อยกว่าแบบผง โดยขึ้นอยู่กับขนาดการบรรจุ

เซนจิ โปรไบโอติก ซินไบโอติก

ปริมาณ30 แคปซูล
ประเภทแคปซูล
โพรไบโอติก
ต่อ 1 แคปซูล
อย่างละ 10 mg.
-แล็กโตบาซิลลัส พาราคาเซอิ
-แล็กโตบาซิลลัส แอซิโดฟิลัส
-แล็กโตบาซิลลัส รามโนซัส
-แล็กโตบาซิลลัส รียูเทอรี
-บิฟิโดแบคทีเรียม บิฟิดัม
-บิฟิโดแบคทีเรียม แล็กทิส
-บิฟิโดแบคทีเรียม ลองกัม
-บิฟิโดแบคทีเรียม เบรเว
-บิฟิโดแบคทีเรียม อินฟานติส
เลขที่อย.11-1-14859-5-0083
ราคา358 บาท
*อ่านฉลากได้ที่ผลิตภัณฑ์ต้นทาง
This image has an empty alt attribute; its file name is lazada-click-1024x312.png

Clover Plus Probiotic

ปริมาณ30แคปซูล
ประเภทแคปซูล
โพรไบโอติก
ต่อ 1 แคปซูล
-บาซิลลัส โคแอกกูแลน 50 mg.
-เอ็นเทอโรค๊อกคัส
เฟเซียม 2.5 mg.
เลขที่อย.10-1-17656-5-0050
ราคา159 บาท
*อ่านฉลากได้ที่ผลิตภัณฑ์ต้นทาง
This image has an empty alt attribute; its file name is lazada-click-1024x312.png

โพรไบโอติกแบบเยลลี่

โพรไบโอติกแบบเยลลี่มีลักษณะนุ่ม กลืนง่าย เป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับเด็กที่ไม่ชอบผัก นมเปรี้ยว หรือโยเกิร์ต และ เหมาะกับคนที่ไม่ชอบกินแบบผงและแบบแคปซูล แต่ควรระวังความหวานจากน้ำตาลที่เติมด้วย ดังนั้นจึงควรเลือกซื้อชนิดที่มีน้ำตาลน้อยหรือไม่เติมน้ำตาล และไม่ควรรับประทานมากจนเกินไป

Probalance Jelly the na โปรบาลานซ์

ปริมาณ200 กรัม (20ซอง)
ประเภทเยลลี่ซอง
โพรไบโอติกส์-โยเกิร์ตผง 140 mg.
-แอล ไอโซลูลีน 30 mg.
-แอล ไลซีนโมโนไฮโดรคลอไรด์ 30 mg.
เลขที่อย.12-4-00661-5-0028
ราคา850 บาท
*อ่านฉลากได้ที่ผลิตภัณฑ์ต้นทาง
This image has an empty alt attribute; its file name is lazada-click-1024x312.png

Berry Dophilus

ปริมาณ60 เม็ด
ประเภทเยลลี่เม็ด
โพรไบโอติกส์รวม 56 mg.
-แล็คโตบาซิลลัส เพลนทารัม
-แล็กโตบาซิลลัส แอซิโดฟิลัส
-แล็กโตบาซิลลัส รามโนซัส
-แล็กโตบาซิลลัส ซาลิวาเรียส
-แล็คโตบาซิลลัส คาเซอิ
-แล็คโตบาซิลลัส พาราคาเซอิ
-บิฟิโดแบคทีเรียม แล็กทิส
-บิฟิโดแบคทีเรียม ลองกัม
-บิฟิโดแบคทีเรียม เบรเว
เลขที่อย.10-3-23562-5-0039
ราคา819 บาท
*อ่านฉลากได้ที่ผลิตภัณฑ์ต้นทาง
This image has an empty alt attribute; its file name is lazada-click-1024x312.png

โพรไบโอติกสายพันธุ์ไหนที่ใช่ที่สุด

โพรไบโอติกมีมากมายหลากหลายชนิด แต่สายพันธุ์โพรไบโอติกที่ได้รับความนิยมและพิสูจน์ว่ามีประโยชน์สำหรับบุคคลได้อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่  สายพันธุ์ Lactobacillus และ Bifidobacterium  เนื่องจาก Lactobacillus พบมากในลำไส้เล็กและช่องคลอด และ Bifidobacterium  พบมากในลำไส้ใหญ่

  1. Lactobacillus ผลิตกรดมาลาติกและช่วยควบคุมแบคทีเรียที่เป็นอันตรายในทางเดินอาหารของเรา ยังช่วยในการดูดซึมแร่ธาตุ ตัวอย่างเช่น
    • Lactobacillus acidophilus พบในอาหารหมัก เช่น ซาวเคราวต์ มิโซ และนัตโต๊ะ โดยโพรไบโอติกสายพันธุ์นี้มักจะถูกเพิ่มเข้าไปในโยเกิร์ตและผลิตภัณฑ์นม เนื่องจากมีคุณสมบัติสามารถย่อยสลายแลคโตสเป็นกรดมาลาติก
    • Lactobacillus casei4 พบในโยเกิร์ต นมเชื่อมและชีสบางชนิด เป็นโพรไบโอติกที่ใช้ในการบรรเทาอาการท้องเสีย
    • Lacticaseibacillus rhamnosus ถูกเพิ่มลงไปในโยเกิร์ต ชีส นม และผลิตภัณฑ์นมอื่นๆ เพื่อช่วยเสริมรสชาติ และช่วยสนับสนุนระบบทางเดินอาหาร รวมถึงระบบภูมิคุ้มกัน
    • Lacticaseibacillus reuteri เป็นโพรไบโอติกที่ทนทานต่อกรดและน้ำดี ในลำไส้เล็ก โพรไบโอติกชนิดนี้ ช่วยสนับสนุนสุขภาพช่องปาก
  2. Bifidobacterium โพรไบโอติกที่ช่วยสนับสนุนระบบภูมิคุ้มกัน ด้วยการจำกัดการเจริญขยายของแบคทีเรียอันตรายในลำไส้ ทั้งช่วยในการย่อยสลายแลคโตสอีกด้วย ตัวอย่างเช่น
    • Bifidobacterium longum เป็นสายพันธุ์ที่เฉพาะตัวนี้ สนับสนุนกระบวนการทางเดินอาหารและระบบภูมิคุ้มกัน และบรรเทาอาการท้องผูก มีหน้าที่ป้องกันผนังลำไส้จากแบคทีเรียชนิดที่ไม่ดีนอกจากนี้ยังช่วยย่อยโปรตีนและคาร์โบไฮเดรตอย่างแลคโตส
    • Bifidobacterium infantis มีสายพันธุ์เฉพาะคือ B intantis COMCC313-2 มีประโยชน์ต่อเด็กทารก เนื่องจากช่วยให้ทารกย่อยนมแม่ได้ดีขึ้น และช่วยเพิ่มแบคทีเรียที่ดีในระบบทางเดินอาหารของทารก

โพรไบโอติกทุกสายพันธุ์ในสกุล Bifidobacterium และ Lactobacillus ถูกแบ่งแยกออกเป็นสายพันธุ์ต่างๆ  แต่ละสายพันธุ์มีความเฉพาะ ซึ่งมีหน้าที่แตกต่างกันออกไป

ประโยชน์โพรไบโอติกส์

  • ช่วยกระตุ้นระบบย่อยและระบบขับถ่าย เช่น โรคอุจจาระร่วง ท้องผูก ลำไส้แปรปรวน หรือโรคลำไส้ใหญ่อักเสบเป็นแผลเรื้อรัง ฯลฯ
  • ช่วยสร้างเอนไซม์ที่กระตุ้นการย่อยอาหาร
  • ป้องกันโรคภูมิแพ้ ช่วยกระตุ้นภูมิกันคุ้มกันในร่างกายให้สมดุล
  • ช่วยลดอาการอักเสบต่างๆ เช่น อาการอักเสบในช่องคลอด อาการอักเสบทางเดินปัสสาวะ ฯลฯ
  • ป้องกันการติดเชื้อ ช่วยยับยั้งจุลินทรีย์และเชื้อแบคทีเรียบางชนิด
  • สามารถผลิตวิตามินบี1 วิตามินบี2 วิตามินบี6 วิตามินบี12 ไนอะซิน และกรดโฟลิก

กินโพรไบโอติกส์ เท่าไรถึงจะดี?

สมาคมแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวของสหรัฐอเมริกา (AAFP : American Family Physician) แนะนำปริมาณโพรไบโอติกส์ที่ร่างกายควรได้รับต่อวัน ดังนี้

  • เด็กควรได้รับโพรไบโอติกส์ 5-10 พันล้านตัวต่อวัน
  • ผู้ใหญ่ควรได้รับโพรไบโอติกส์ 10-20 พันล้านตัวต่อวัน

วิธีรับประทานอาหารเสริมโพรไบโอติกส์

ควรกินตอนท้องว่าง โดยกินก่อนมื้ออาหาร 30 นาที หรือ หลังอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมง เนื่องจากหากเรากินพร้อมอาหารทันที อาจจะส่งผลให้โพรไบโอติกส์เกาะกับอาหาร และถูกกรดในกระเพาะอาหารย่อยไปพร้อมกับอาหาร ทำให้มีโอกาสที่โพรไบโอติกส์จะเกาะกับผนังลำไส้หรือทางเดินอาหารของเราลดลง

อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะรับประทานโพรไบโอติกส์ก่อนหรือหลังมื้ออาหาร ก็ไม่สำคัญเท่ากับความสม่ำเสมอในการ ซึ่งควรจะรับประทานโพรไบโอติกส์เป็นประจำในทุกๆ วัน

ผลข้างเคียงของโพรไบโอติกส์

การรับประทานโพรไบโอติกส์มากเกินไป อาจจะทำให้มีผลข้างเคียงกับระบบย่อยอาหาร ดังนี้

  • ท้องอืด (มีแก๊สในกระเพาะ)
  • ท้องไส้ปั่นป่วน
  • ท้องเสีย
  • แน่นท้อง

นอกจากนี้หากเป็นผู้ที่มีปัญหาสุขภาพโรคร้ายแรง หรือมีปัญหาระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ ควรปรึก

พรีไบโอติกส์(Prebiotics)

เป็นสิ่งไม่มีชีวิต ทำหน้าที่เป็นอาหารสำหรับจุลินทรีย์ชนิดที่ดี โดยจะกระตุ้นการทำงานและส่งเสริมการเจริญของโพรไบโอติกส์ ซึ่งร่างกายไม่สามารถย่อยและดูดซึมพรีไบโอติกส์ได้ที่ลำไส้เล็ก จึงถูกส่งต่อไปยังลำไส้ใหญ่และถูกย่อยสลายโดยโพรไบโอติกส์

อาหารที่มีพรีไบโอติกส์

พรีไบโอติกส์-EWC
อาหารที่มีพรีไบโอติกส์

มักจะเป็นอาหารประเภท ผัก ผลไม้ที่มีใยอาหาร สารกลุ่มโพลีแซคาไรด์ และโปรตีน ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นพรีไบโอติกที่ช่วยในเรื่องของการเจริญเติบโตของจุลินทรีย์ที่ดี ได้แก่

  • เห็ด
  • รากชิคอรี่
  • แก่นตะวัน
  • กระเทียม
  • ต้นหอมญี่ปุ่น
  • หัวหอม
  • หน่อไม้ฝรั่ง
  • รำข้าวสาลี
  • แป้งข้าวสาลี
  • ข้าวโอ๊ต
  • ถั่ว

การสร้างสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ ช่วยสร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรง โดยควรจะมีโพรไบโอติกส์ที่มีความหลากหลายและสมบูรณ์ ซึ่งการรับประทานพรีไบโอติกส์ จะช่วยสนับสนุนการทำงานของโพรไบโอติกส์ ทำให้ระบบทางเดินอาหารและลำไส้ให้สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พรีไบโอติกส์และโพรไบโอติกส์ทำงานร่วมกัน ซึ่งจะเรียกว่า ‘ซินไบโอติกส์ (synbiotics)’ ทำหน้าที่ช่วยกระตุ้นการเจริญของจุลินทรีย์ภายในระบบทางเดินอาหารให้สมดุล ซึ่งเราสามารถพบเห็นได้ในผลิตภัณฑ์ในท้องตลาด ที่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้เป็น Synbiotics มากขึ้น

สรุป

สุขภาพที่ดีเริ่มจากจุลินทรีย์ที่สมดุล โดยโพรไบโอติกส์คือจุลินทรีย์ชนิดดีมีประโยชน์ต่อร่างกาย ในขณะที่พรีไบโอติกส์คืออาหารสำหรับโพรไบโอติกส์ ซึ่งการรับประทานทั้งโพรไบโอติกส์และพรีไบโอติกส์ จะช่วยสร้างสมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้ ส่งเสริมสุขภาพระบบย่อยอาหารและระบบภูมิคุ้มกันของเราให้แข็งแรง

สอบถามเพิ่มเติม Add Line ปรึกษานักกำหนดอาหาร

ดูแลสุขภาพของคุณให้ถูกวิธี

โปรแกรมปรึกษานักกำหนดอาหารคืออะไร ?

พร้อมรับคำปรึกษาจาก

นักกำหนดอาหารวิชาชีพ

ไม่พลาดบทความด้านโภชนาการ

ของ อีทเวลล์คอนเซปต์ ก่อนใคร

แหล่งอ้างอิง

Amway. (ม.ป.ป.). โพรไบโอติกคืออะไร? เรื่องที่คนรักสุขภาพต้องรู้! เข้าถึงได้จาก https://www.amway.co.th/nutrilite-probiotic

  • Anongnat Patthanasaksiri. (23 พฤษภาคม 2022). พรีไบโอติกส์ (Prebiotics) VS โพรไบโอติกส์ (Probiotics). เข้าถึงได้จาก มหาลัยมหิดล สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้: https://il.mahidol.ac.th/th/i-learning-clinic/general-articles/พรีไบโอติกส์-prebiotics-vs-โพรไบโอต/
  • MD, MPH, AND ANDREAS COHRSSEN, MD BENJAMIN KLIGLER. (2008). Probiotics. American Family Physician, 78(9):1073-1078. เข้าถึงได้จาก https://www.aafp.org/pubs/afp/issues/2008/1101/p1073.html
  • National Center for Complementary and Integrative Health. (ม.ป.ป.). Probiotics: What You Need To Know. เข้าถึงได้จาก U.S. Department of Health and Human Services: https://www.nccih.nih.gov/health/probiotics-what-you-need-to-know
  • National Institutes of Health. (2 มิถุนายน 2565). Probiotics. เข้าถึงได้จาก NIH: https://ods.od.nih.gov/factsheets/Probiotics-HealthProfessional/
  • PH.D,MCB.A. Mathieu Millette. (1 กรกฎาคม 2564). The Best Probiotic Strains and their Benefits. เข้าถึงได้จาก https://biokplus.com/blogs/news/the-best-probiotic-strains-and-their-benefits
  • Ph.D., CSCS,*D, CISSN & Sarah Lewis, RD Grant Tinsley. (14 กุมภาพันธ์ 2023). Probiotics and Prebiotics: What’s the Difference? เข้าถึงได้จาก https://www.healthline.com/nutrition/probiotics-and-prebiotics#bottom-line
  • Qing Gu and Ping Li. (2016). Biosynthesis of Vitamins by Probiotic Bacteria. ใน Probiotics and Prebiotics in Human Nutrition and Health (หน้า 394).
  • Wellness Hub. (12 มกราคม 2023). Probiotic กินตอนไหน กินวันละเท่าไหร่. เข้าถึงได้จาก อาหารเสริมเพื่อชะลอวัย (SUPPLEMENT FOR ANTI-AGING): https://wellness-hub.co/probiotic-กินตอนไหน/
  • โรงพยาบาลพญาไท นวมินทร์. (06 มิถุนายน 2020). มารู้จัก Probiotic กับ Prebiotic สองสิ่งสำคัญ เพื่อสุขภาพทางเดินอาหารที่ดี. เข้าถึงได้จาก https://www.phyathai.com/th/article/3194-มารู้จัก_probiotic_กับ_prebiotic_สองสิ่งส
Tag :
    ส่งข้อความถึงเรา