fbpx

ยูริกสูง ทำไมต้องงดผลไม้?

ยูริกสูง เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงโรคเกาต์ การรับประทานผลไม้กำลังได้รับความสนใจว่า มีความสัมพันธ์กับระดับกรดยูริคในร่างกาย นอกจากผลไม้จะมีรสชาติที่หวานอร่อยแล้ว ก็ยังมี ‘น้ำตาลฟรุกโตส’ หรือ มีอีกชื่อเรียกหนึ่งว่าเป็นน้ำตาลผลไม้นั่นเอง ซึ่งมีงานวิจัย (Nakagawa, 2019) ระบุว่าปริมาณน้ำตาลฟรุกโตสที่สูง เป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะกรดยูริกในเลือดสูง

กรดยูริก(Uric acid)คืออะไร

กรดยูริค (Uric acid) คือ ของเสียในร่างกายที่เกิดจากการย่อยสลายสารพิวรีน(Purin) ในกระบวนการสลายตัวของเซลล์ และอีกส่วนมาจากอาหารที่มีสารพิวรีนสูงที่เราได้รับประทานเข้าไป เช่น เครื่องในสัตว์ กะปิ ไข่ปลา ปลาดุก ปลาอินทรีย์ เป็ด ไก่ ชะอม กระถิน เห็ด ถั่วแดง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ถั่วดำ และเบียร์ เป็นต้น เมื่อสารพิวรีนเปลี่ยนเป็นกรดยูริก จะทำให้ร่างกายมีระดับกรดยูริกในเลือดเพิ่มสูงขึ้น

ภาวะกรดยูริกในเลือดสูง (Hyperuricemia)

หากกรดยูริคในเลือดสูงและสะสมอยู่ในร่างกายเป็นเวลานานจนร่างกายขับออกทางไตไม่ทัน กรดยูริคจะตกผลึกเป็นเกลือยูเรตสะสมที่กระดูกอ่อนและเนื้อเยื่อรอบข้อ ก่อให้เกิดการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อในข้อ ส่งผลให้มีอาการปวด บวม และแดงบริเวณข้อเฉียบพลันอย่างรวดเร็วในระยะเวลา 12 – 24 ชั่วโมง

ภาวะยูริคในเลือดสูง คือ มากกว่า 6.80 mg/dl

ถ้าระดับกรดยูริกในเลือดที่เกิน 7 mg/dl จะเริ่มมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคข้ออักเสบจากผลึกเกลือยูเรตหรือโรคเกาต์ และเสี่ยงต่อการเป็นนิ่วที่ไต

ผลไม้และกรดยูริคเกี่ยวข้องกันอย่างไร?

“ควรลดการบริโภคน้ำตาลให้น้อยที่สุด และไม่ควรบริโภคผลไม้ที่มีรสหวานมาก”

ผลไม้

เป็นคำแนะนำจากหนังสือ The Principles and Practice of Medicine ปี 1893 เขียนโดย Sor William Osler ดังนั้นหากเรารับประทานผลไม้หรือน้ำผลไม้จำนวนมาก มีค่าเท่ากับเราบริโภคน้ำตาลฟรุกโตสในปริมาณมาก ซึ่งทำให้กระบวนการเผาผลาญฟรุกโตสในร่างกายผลิตยูเรตออกมามากยิ่งขึ้น และจะส่งผลต่อระดับกรดยูริคในร่างกายให้สูงตามขึ้นมาอีกด้วย อย่างไรก็ตามเราไม่จำเป็นต้องงดผลไม้ทุกชนิด แต่ควรเลือกกินผลไม้ที่มีรสหวานน้อย หรือผลไม้ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ เช่น ฝรั่ง กีวี่ แอปเปิ้ล แก้วมังกร สตรอเบอร์รี่ ส้ม ชมพู่ สาลี่ ฯลฯ

ผลไม้น้ำตาลต่ำ-EWC

ฟรุกโตส (Fructose)

เป็นน้ำตาลธรรมชาติที่พบมากในผลไม้และน้ำผึ้ง มีรสชาติหวาน ร่างกายสามารถดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดได้ไม่แตกต่างจากน้ำตาลประเภทอื่น แต่ร่างกายจะนำไปใช้ได้ช้ากว่า เพราะต้องเปลี่ยนสภาพของน้ำตาลฟรุกโตส (Fructokinase) ให้กลายเป็นพลังงานเพื่อให้ร่างกายนำไปใช้ และจะได้ยูเรตออกมา ซึ่งเป็นผลพลอยได้ที่ทำให้ระดับกรดยูริคในเลือดสูงขึ้น นอกจากนี้ยังมีสารให้ความหวานอีกประเภทหนึ่งที่มีส่วนประกอบของฟรุกโตส นั่นก็คือ น้ำเชื่อมข้าวโพด ( High Fructose Corn Syrup: HFCS)

น้ำเชื่อมข้าวโพด (High-Fructose Corn Syrup: HFCS)

น้ำเชื่อมข้าวโพดมีอีกชื่อเรียกหนึ่ง คือ คอร์นไซรัป (Corn syrup) หรือ แบะแซ ผลิตขึ้นจากแป้งข้าวโพด ที่ผ่านกระบวนการทางเคมีทำให้มีมีปริมาณน้ำตาลฟรุกโตสและกลูโคสมากกว่าน้ำตาลกปกติ ถึง 1.7 เท่า มีราคาถูก นิยมนำมาใส่ในเครื่องดื่มน้ำอัดลมสูตรปกติ  น้ำหวาน เบเกอร์รี่ อาหารแปรรูป ขนมถุง หรือนมบางชนิด อย่างไรก็ตามเราไม่ควรกินคอร์นไซรัป เพราะทำให้หิวบ่อย ระดับน้ำตาลและยูริคในเลือดสูง น้ำหนักตัวเพิ่ม และมีความเสี่ยงในการเกิดโรคตับแข็ง

เทคนิคง่ายๆหลีกเลี่ยงน้ำตาลฟรุกโตส ลด ยูริกสูง

  • ไม่เลือกอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของน้ำเชื่อมข้าวโพด (High-Fructose Corn Syrup: HFCS) โดยปกติแล้วบนฉลากจะมีระบุไว้ว่ามีส่วนผสมของน้ำเชื่อมข้าวโพดในปริมาณเท่าไร เพื่อเป็นทางเลือกของผู้บริโภค ซึ่งพบได้ในน้ำอัดลม น้ำผลไม้ เป็นต้น
  • จำกัดปริมาณผลไม้และน้ำผลไม้ ควรบริโภคไม่เกิน 2 – 3 ครั้ง โดยกินผลไม้ครั้งละหนึ่งกำปั้นมือตัวเอง
  • ผลไม้ที่ควรหลีกเลี่ยง ลูกพลับ มะม่วง องุ่น กล้วยสุก น้อยหน่า
  • หลีกเลี่ยงการเติมน้ำตาลหรือน้ำผึ้งลงในอาหารและเครื่องดื่ม

การควบคุมปริมาณฟรุกโตสให้สมดุลเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนที่มีภาวะกรดยูริคในเลือดสูง หากมีข้อกังวลเกี่ยวกับการรับประทานอาหารและการปฏิบัติตัว ควรปรึกษาแพทย์หรือนักกำหนดอาหารเพื่อที่จะได้วางแผนการรับประทานอาหารที่เหมาะสมกับตัวเอง

สรุป

คนที่มีระดับกรดยูริคสูงและมีความเสี่ยงเป็นโรคเกาต์ไม่ควรรับประทานผลไม้จำนวนมาก เนื่องจากว่ามีน้ำตาลฟรุกโตสที่สามารถพบได้มากในผลไม้ เมื่อถูกบริโภคเข้าไปแล้วทำให้เกิดกระบวนการเผาผลาญฟรุกโตสในตับจะได้ยูเรต ซึ่งเป็นสารที่ทำให้ระดับกรดยูริคในเลือดสูงขึ้น

อย่างไรก็ตามผลไม้มีองค์ประกอบที่ซับซ้อน นอกจากน้ำตาลฟรุกโตสแล้วยังมีใยอาหาร วิตามินและเกลือแร่ต่างๆ โดยไฟเบอร์ของผลไม้จะช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลฟรุกโตสเข้าสู่กระแสเลือด ดังนั้นหากเรารับประทานผลไม้ใน

สอบถามเพิ่มเติม Add Line ปรึกษานักกำหนดอาหาร

ดูแลสุขภาพของคุณให้ถูกวิธี

โปรแกรมปรึกษานักกำหนดอาหารคืออะไร ?

พร้อมรับคำปรึกษาจาก

นักกำหนดอาหารวิชาชีพ

ไม่พลาดบทความด้านโภชนาการ

ของ อีทเวลล์คอนเซปต์ ก่อนใคร

แหล่งอ้างอิง

  • Arthritis Today Magazine. (ม.ป.ป.). Fructose and Gout: What’s the Link? เข้าถึงได้จาก https://blog.arthritis.org/gout/fructose-sugar-gout/
  • Congwang Zhang. (2020). Recent advances in fructose intake and risk of hyperuricemia. Biomedicine & Pharmacotherapy.
  • M.D. William Morrison. (29 ตุลาคม 2018). What’s the Relationship Between Gout and Sugar? เข้าถึงได้จาก https://www.healthline.com/health/gout-and-sugar#avoiding-fructose
  • Michalina Lubawy. (2023). High-Fructose Diet–Induced Hyperuricemia Accompanying Metabolic Syndrome–Mechanisms and Dietary Therapy Proposals. International Journal of Environment Research and Public, 20(4), 3596.
  • PPTV Online. (13 มีนาคม 2023). รู้จัก “น้ำเชื่อมข้าวโพด” ภัยแฝงอาหาร กินเกินลิมิตเสี่ยงโรคอ้วน-โรคหัวใจ. เข้าถึงได้จาก https://www.pptvhd36.com/health/food/2980
  • Takahiko Nakagawa. (2019). The effects of fruit consumption in patients with hyperuricaemia or gout. Rheumatology, 1133–1141.
  • ผศ. นพ. กิตติ โตเต็มโชคชัยการ. (ม.ป.ป.). กรดยูริกสูงสร้างปัญหา โรคเก๊าท์ถามหาแถมไตเสื่อม. เข้าถึงได้จาก ศูนย์กล้ามเนื้อ กระดูกและข้อ โรงพยาบาลพญาไท 2: https://www.phyathai.com/th/article/3468-กรดยูริกสูงสร้างปัญหา
  • รศ.นพ.ปารยะ อาศนะเสน. (ม.ป.ป.). คำแนะนำสำหรับผู้ที่มีระดับกรดยูริกในเลือดสูง. เข้าถึงได้จาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล: https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=829

ส่งข้อความถึงเรา