fbpx

ป้ายกำกับจากคลังความรู้

Tag : อาหารโรคมะเร็ง

เป็นมะเร็งกินโปรตีนได้ไหม ?

คำถามยอดฮิตสำหรับคนไข้มะเร็งและญาติเลยก็ว่าได้ค่ะ เพราะเมื่อเป็นมะเร็งแล้ว จะมีความเชื่อ และข้อมูลที่ได้รับมาจากสื่อออนไลน์ที่บอกว่าเรา ห้ามกินอันนั้น ห้ามกินอันนี้ ให้กินอันโน้นซิ จะได้ไม่เป็นอาหารของมะเร็ง จนสุดท้ายแล้วคนไข้มักมาพบหมอหรือนักกำหนดอาหารด้วยภาวะขาดสารอาหาร (malnutrition) หรือมีภาวะผอมหนังหุ้มกระดูก (cachexia) ร่วมด้วย เนื่องจากกินอะไรไม่ได้ เพราะถูกจำกัดอาหารมากจนเกินความจำเป็น ภาวะผอมหนังหุ้มกระดูกจากมะเร็ง (cancer cachexia) เป็นภาวะที่มีสูญเสียมวลกล้ามเนื้อลดลงอย่างต่อเนื่องหรือมีการสูญเสียมวลไขมันของร่างกายร่วมด้วย มักเกิดจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ ภาวะขาดสารอาหาร (malnutrition)  และ ความผิดปกติของเมทาบอลิซึมของผู้ป่วยเอง จะเห็นได้ว่าคนไข้ในกลุ่มนี้จะมีรูปร่างที่ซูบผอม กล้ามเนื้อลีบ ไม่มีแรง เบื่ออาหาร และกินอาหารได้น้อย ในฐานะนักกำหนดอาหาร เรามักจะพูดกับคนไข้หรือญาติเสมอว่า “เป็นมะเร็ง กินอะไรก็ได้ ” โดยจะมีหลักจำง่ายๆคือ “ กินอาหารที่มีพลังงานสูง และโปรตีนสูง” หรือ “High Energy High Protein” เนื่องจากร่างกายกายเราจะมีการใช้พลังงานที่มากขึ้น เกิดขึ้นมากจากกระบวนการของเซลล์มะเร็ง หรือถ้าให้เปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายๆเลยก็คือ ตอนนี้เหมือนเราทำงานคนเดียว แต่มีเซลล์มะเร็ง จะเป็นอีกส่วนที่ช่วยใช้เงินอีกหนึ่งคน  ซึ่งถ้าเราไม่ทำงานหาเงินเพิ่ม สุดท้ายเงินที่เราเก็บไว้ก็จะหมดไป เช่นเดียวกันกับการที่เราไม่กินอาหารและโปรตีนเพิ่ม […]

อาหาร สำหรับ ผู้ป่วยมะเร็ง

ผู้ป่วยมะเร็ง จะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะทุพโภชนาการมากกว่าคนปกติ เนื่องจากเนื้องอกที่เกิดขึ้นและสภาวะของร่างกายจะส่งผลต่อการเผาผลาญ ความอยากอาหาร หรือทำให้การกินอาหารของผู้ป่วยเกิดความยากลำบากมากขึ้น รวมถึงการรักษาของแพทย์ก็อาจมีผลข้างเคียงต่อความอยากอาหารของผู้ป่วยด้วย แต่สภาพร่างกายของผู้ป่วยกลับต้องการพลังงานและสารอาหารมากขึ้น เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย การเตรียมสุขภาพผู้ป่วยให้มีความพร้อมในการรับการรักษาของแพทย์ จึงมีบทบาทอย่างมากในการรักษาคนไข้ให้หายขาดจากโรคมะเร็ง แล้วแบบนี้ผู้ป่วยมะเร็ง ควรกิน อาหารอย่างไร และปรับเปลี่ยนประยุกต์อย่างไรให้ผู้ป่วยได้พลังงานและสารอาหารอย่างเพียงพอ ผู้ป่วยมะเร็ง ต้องการพลังงานและสารอาหารเท่าไหร่  โดยทั่วไปคนเราควรได้รับพลังงานต่อวันอยู่ที่ประมาณ 1,600 – 2,000 กิโลแคลอรีต่อวัน ซึ่งอาจจะแตกต่างกันไปตามเพศ วัย องค์ประกอบร่างกายและกิจวัตรประจำวันของแต่ละบุคคล โดยเราสามารถคำนวณหาพลังงานที่ควรได้รับต่อวันได้ที่นี่ คลิก แต่เมื่อร่างกายมีภาวะต่าง ๆ ความต้องการพลังงานก็จะเปลี่ยนแปลงไป โดยตามหลักคำแนะนำของ ESPEN Guideline ได้ให้คำแนะนำในผู้ป่วยมะเร็งควรได้รับพลังงานใกล้เคียงกันกับคนปกติหรือ 25 – 30 กิโลแคลอรี่ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เช่น เรามีน้ำหนัก 60 กิโลกรัม ก็ควรได้รับพลังงานวันละ 1,500 – 1,800 กิโลแคลอรี่ต่อวัน   และส่วนของโปรตีน ผู้ป่วยโรคมะเร็งมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับมากกว่าคนปกติหรืออยู่ที่ 1 – 1.5 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 […]

อาหารเฉพาะโรค วิธีเลือกกินอาหารเมื่อมีโรคประจำตัว

เมื่อผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไต ไขมันสูง ต้องมานอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล “อาหารเฉพาะโรค” มักเป็นอาหารเฉพาะที่ถูกจัดเสิร์ฟให้แก่ผู้ป่วยเสมอ … สงสัยหรือไม่ว่า อาหารที่ว่านี้คืออะไร หน้าตาเป็นแบบไหน แตกต่างจากอาหารทั่วๆ ไปอย่างไร ทำไมจึงสำคัญและกลายเป็นส่วนหนึ่งในวิธีการรักษาผู้ป่วย      อาหารเฉพาะโรค คืออะไร? อาหารเฉพาะโรค (Therapeutic Diet) หมายถึง อาหารที่ได้รับการดัดแปลงส่วนประกอบ เช่น ปริมาณสารอาหาร เนื้อสัมผัส หรือวัตถุดิบ ให้เหมาะสมและเฉพาะเจาะจงกับตัวผู้ป่วยทั้งในแง่ของภาวะร่างกาย ความเจ็บป่วย และความรุนแรงของโรค  โดยช่วยชะลอความรุนแรงของโรค รักษาอาการเจ็บป่วย และส่งเสริมให้การรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์มีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ เช่น ผู้ป่วยเบาหวานก็จะได้รับอาหารเฉพาะโรคที่ถูกดัดแปลงมาให้เหมาะสำหรับโรคเบาหวาน เป็นต้น โรคนี้ กินอะไร ใครเป็นคนตัดสิน?                เมื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาในโรงพยาบาลและมีความจำเป็นต้องได้รับอาหารเฉพาะโรค แพทย์มักจะเป็นผู้ประเมินอาการและกำหนดลักษณะอาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วย เช่น พลังงานรวมที่ควรได้รับ สารอาหารหรือชนิดอาหารที่มีการกำจัดปริมาณ เช่น จำกัดเกลือ 1 กรัม จำกัดโปรตีน 1.2 กรัมต่อน้ำหนักตัว เป็นต้น จากนั้นนักกำหนดอาหารจึงนำใบคำสั่งแพทย์มาคำนวณต่อเป็นปริมาณวัตถุดิบ แล้วทำการดัดแปลงหรือออกแบบมื้ออาหารให้เหมาะสมกับที่ผู้ป่วยควรได้รับ หากผู้ป่วยกำลังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล […]

ส่งข้อความถึงเรา