fbpx

ป้ายกำกับจากคลังความรู้

Tag : ไขมัน

ไขมันพอกตับ แนวทางฟื้นฟูที่ใครใครก็ทำได้

“เหล้าก็ไม่เคยดื่ม ถ้าจะดื่มก็นานทีปีหน แต่ทำไมหมอบอกว่าเป็นไขมันพอกตับได้?” หลายท่านอาจสงสัยกับคำถามนี้ เพราะคิดว่า ไขมันพอกตับ จะต้องเกิดจากการดื่มเหล้าเท่านั้น แต่ในความเป็นจริง ภาวะไขมันพอกตับสามารถเกิดขึ้นได้ แม้คุณจะไม่ได้ดื่มแอลกอฮอล์เลยก็ตาม ภาวะนี้เรียกว่า ภาวะไขมันพอกตับโดยไม่ได้เกิดจากการดื่มแอลกอฮอล์ หรือ Non-Alcoholic Fatty Liver Disease (NAFLD) ซึ่งเป็นภัยเงียบที่ค่อยๆ สะสมอยู่ในตับของเรา โดยมักไม่มีอาการแสดงให้เห็นในระยะแรก แต่สามารถนำไปสู่โรคร้ายแรง เช่น ตับแข็ง หรือมะเร็งตับได้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสม ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ไขมันพอกตับ ทำอย่างไร ให้ห่างไกล ไขมันพอกตับ 1.ลดน้ำหนัก 2.รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ 3.ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ 4.งดหรือจำกัดปริมาณเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 5.ตรวจสุขภาพเป็นประจำ การตรวจสุขภาพประจำปีจะช่วยให้คุณสามารถตรวจพบภาวะไขมันพอกตับได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ทำให้สามารถจัดการและป้องกันปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตได้ ไขมันพอกตับเป็นภัยเงียบที่สามารถทำลายสุขภาพของเราได้โดยที่เราอาจไม่ทันรู้ตัว หลายคนอาจมองข้ามทราบถึงความเสี่ยงที่แฝงอยู่ แต่ความจริงก็คือ ภาวะนี้สามารถส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพของเราได้ในระยะยาว เมื่อเราได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่ามีภาวะไขมันพอกตับ การเริ่มต้นปรับเปลี่ยนพฤติกรรมบางอย่างในชีวิตประจำวันของเราทันทีเป็นสิ่งที่จำเป็น และไม่ใช่เรื่องยากอย่างที่คิด เราสามารถเริ่มต้นได้ด้วยการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเล็กๆ น้อยๆ เช่น การเลือกอาหารที่มีประโยชน์ เพิ่มการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ และหมั่นตรวจสุขภาพเพื่อเฝ้าดูสภาพร่างกายและการเปลี่ยนแปลงของตับอย่างใกล้ชิด อย่ารอให้ปัญหาสุขภาพลุกลามจนยากต่อการรักษา มาเริ่มต้นดูแลตับของเราตั้งแต่วันนี้ ด้วยการทำสิ่งเล็กๆ น้อยๆ ที่สามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงใหญ่ในสุขภาพของเราได้ […]

ลด LDL สูง แค่เลือกกินอาหารให้ถูกต้อง 

“ LDL สูง ไขมันในเลือดสูง ควรงดของทอดและของมันนะคะ” หลายๆ คนอาจเคยได้ยินคำแนะนำนี้จากคุณหมอเมื่อไปตรวจเลือดประจำปีและพบว่าไขมันในเลือดสูงขึ้น บางคนอาจสงสัยว่า “ก็งดของทอด ของมันหมดแล้ว ทำไมค่าไขมัน LDL ไม่ลดลงซักที?”  ในปัจจุบัน เราพบว่าหลายคนต้องเผชิญกับปัญหาระดับ LDL (Low-Density Lipoprotein) หรือที่เรียกกันว่า “ไขมันเลว” ในเลือดสูงขึ้น ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยจากข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (World Health Organization-WHO) ระบุว่าโรคหัวใจและหลอดเลือด (Cardiovascular diseases, CVDs) เป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับหนึ่งทั่วโลก โดยในปี 2019 มีผู้เสียชีวิตประมาณ 17.9 ล้านคนจากโรคนี้ ซึ่งคิดเป็น 32% ของการเสียชีวิตทั้งหมดทั่วโลก สำหรับประเทศไทยจากรายงานของกระทรวงสาธารณสุข ปี 2565 พบการเสียชีวิตของคนไทยด้วยโรคหัวใจและหลอดเลือดมากถึง 7 หมื่นราย เฉลี่ยชั่วโมงละ 8 คน และคาดว่าจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุกปี   “ทุกชั่วโมง จะมีคนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหัวใจ 8 คน” เรามาดูกันว่าไขมันเลวในเลือดของเรา เกิดขึ้นได้อย่างไร […]

สารอาหาร เรื่องง่ายๆ ที่ใครก็เข้าใจได้

สารอาหาร และ อาหาร คงเป็นสองคำที่ทุกคนเคยได้ยินกันบ่อยๆ แม้ชื่อภาษาไทยจะดูคล้ายกัน แต่ในภาษาอังกฤษมีการแยกสองคำนี้ออกจากกันชัดเจน นั่นก็คือ Nutrients (สารอาหาร) และ Food (อาหาร) งั้นเรามาดูกันดีกว่า ว่าแต่ละคำมีความหมายว่าอย่างไร แล้วสารอาหารที่ว่านี้มีตัวไหนที่เราควรรู้จักบ้าง หนึ่ง “อาหาร” … หลาก “สารอาหาร” แม้พูดถึงข้าวเราจะนึกถึงคาร์โบไฮเดรต พูดถึงอกไก่จะนึกถึงโปรตีน แต่จำไว้ว่า “อาหารหนึ่งอย่าง ประกอบไปด้วยสารอาหารหลายชนิด” ยกตัวอย่างเช่น นมจืด 1 กล่อง ที่หลายคนอาจคิดว่าให้แค่โปรตีนและแคลเซียม หากลองไปอ่านข้อมูลโภชนาการที่ฉลากผลิตภัณฑ์แล้ว จะเห็นว่าให้ทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน แร่ธาตุ ครบทั้ง 5 ชนิดของสารอาหารเลย ดังนั้น จะกล้วยหอม 1 ผล หรือ ข้าว 1 จาน ต่างก็ให้สารอาหารได้หลายชนิด ไม่ได้ให้แค่วิตามินหรือคาร์โบไฮเดรตแบบที่บางคนเข้าใจผิดกัน แต่ก็จะมีอาหารบางชนิด ที่ให้สารอาหารบางอย่างสูงเป็นพิเศษ จนเรียกว่าเป็น “แหล่งของ สารอาหาร นั้นๆ” […]

น้ำมันรำข้าว เลือกยังไง มียี่ห้ออะไรบ้าง

น้ำมันรำข้าว มักเป็นหนึ่งในวัตถุดิบการทำอาหาร ที่นักกำหนดอาหารแนะนำให้เลือกไว้ติดบ้าน เนื่องจากมีประโยชน์ ในหลายแง่มุม ไม่ว่าจะเป็น กรดไขมันที่ดีที่มีสัดส่วนมากกว่า ความสามารถในการทนความร้อน หรือสารต้านอนุมูลอิสระ ที่มีอยู่สูงในน้ำมันรำข้าว โดยในปัจจุบันเราพบว่ามีน้ำมันรำข้าวมากมายอยู่ตามท้องตลาดให้เราเลือกซื้อ ประโยชน์ของ น้ำมันรำข้าว น้ำมันรำข้าว (Rice Bran oil) เป็นน้ำมันที่ได้มาจากรำข้าวดิบ โดยมีประโยฃน์มากมาย ได้แก่ เลือกน้ำมันรำข้าวอย่างไร มีงานวิจัยพบว่า 1 วัน เราควรได้รับ สารแกมมา-โอรีซานอล 300 มิลลิกรัมต่อวัน โดยเราสามารถคำนวนกลับเป็นปริมาณ น้ำมันรำข้าวที่ควรกินได้ดังนี้ = 300 x 1,000 / ปริมาณแกมมา-โอรีซานอล (ppm) X ปริมาณน้ำมันต่อขวด (ลิตร) ดังนั้น ถ้าเลือกน้ำมันรำข้าว ขวด 1 ลิตร การกินน้ำมันรำข้าวให้ได้สารแกมมา-โอรีซานอล 300 มิลลิกรัมต่อวัน สามารถเลือกรับประทานได้ ดังนี้ อย่างไรก็ตาม สัดส่วนปริมาณน้ำมันหรือไขมันรวมต่อวัน เป็นสิ่งที่ต้องปรับเปลี่ยนไปตามแต่ความต้องการพลังงานและภาวะร่างกายของแต่ละคนด้วย อย่างไรก็ตาม น้ำมันรำข้าว […]

น้ำมันรำข้าวราคาถูกและแพง แตกต่างกันไหม?

เมื่อพูดถึงการกินอาหารเพื่อสุขภาพ น้ำมันรำข้าว ก็คงเป็นอีกตัวเลือกที่หลาย ๆ คนใช้ในการทำอาหารให้ดีต่อสุขภาพ แต่เมื่อไปถึงชั้นขายของคงทำให้บางคนเกิดความสงสัยทำไมน้ำมันรำข้าวแต่ละขวดมันถูกมีทั้งที่แพงและถูก แล้วน้ำมันรำข้าวที่ราคาแตกต่างกันยังไง ถ้าเป็นแบบนี้เราควรจะต้องหยิบขวดไหนกลับบ้านดี น้ำมันรำข้าว คืออะไร? น้ำมันรำข้าว (Rice Bran oil) เป็นน้ำมันที่ได้มาจากรำข้าวดิบ โดยสามารถนำไปใช้ปรุงประกอบอาหารต่าง ๆ  เช่น ผัด น้ำสลัด เป็นต้น อีกทั้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระมากมายที่ส่งผลดีต่อร่างกาย แต่ทำไมน้ำมันรำข้างขวดนึงถึงมีราคาที่ถูกกว่าอีกขวด ทำไมน้ำมันรำข้าวถึงมีราคาต่างกัน  สาเหตุที่ทำให้น้ำมันรำข้าวบางขวดมีราคาสูงกว่าถึงแม้จะเป็นยี่ห้อเดียวกันก็คือ “โอรีซานอล (Oryzanol)” นั่นเองโดยยิ่งถ้ามีสารโอรีซานอลที่เข้มข้นมาก ราคาก็จะแพงมากขึ้นไปด้วยนั่นเอง แล้วการที่มีสารโอรีซานอลสูงมันดียังไง โอรีซานอล (Oryzanol) คืออะไร โอรีซานอล (Oryzanol) หรือชื่อเต็ม ๆ แกมมา-โอรีซานอล (gamma-Oryzanol) เป็นสารกลุ่มไฟโตสเตอรอล หรือคอเลสเตอรอลที่พบในพืชนั่นเอง แต่ว่าสามารถพบได้ในข้าวเท่านั้น โดยการสกัดน้ำมันออกมาจากรำข้าวก็จะได้สารนี้ออกมาด้วย แต่การนำน้ำมันรำข้าวไปประกอบอาหารสาร แกรมมา-โอรีซานอล อาจเกิดการสลายตัวถ้ามีอุณภูมิที่สูงกว่า 160 องศาเซลเซียสเป็นเวลานาน ดังนั้นการนำน้ำมันรำข้าวมาปรุงประกอบอาหารทอดอาจทำให้ได้รับประโยชน์จาก แกมมา-โอรีซานอล ลดลงได้ แกมมา-โอรีซานอล (Gamma-Oryzanol)สูงหรือน้อยดีกว่ากัน จากการศึกษาที่มีตั้งแต่ก่อนปี 2000 […]

ส่งข้อความถึงเรา