fbpx

อาหาร สำหรับ ผู้ป่วยมะเร็ง

ผู้ป่วยมะเร็ง จะมีความเสี่ยงในการเกิดภาวะทุพโภชนาการมากกว่าคนปกติ เนื่องจากเนื้องอกที่เกิดขึ้นและสภาวะของร่างกายจะส่งผลต่อการเผาผลาญ ความอยากอาหาร หรือทำให้การกินอาหารของผู้ป่วยเกิดความยากลำบากมากขึ้น รวมถึงการรักษาของแพทย์ก็อาจมีผลข้างเคียงต่อความอยากอาหารของผู้ป่วยด้วย แต่สภาพร่างกายของผู้ป่วยกลับต้องการพลังงานและสารอาหารมากขึ้น เพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย การเตรียมสุขภาพผู้ป่วยให้มีความพร้อมในการรับการรักษาของแพทย์ จึงมีบทบาทอย่างมากในการรักษาคนไข้ให้หายขาดจากโรคมะเร็ง แล้วแบบนี้ผู้ป่วยมะเร็ง ควรกิน อาหารอย่างไร และปรับเปลี่ยนประยุกต์อย่างไรให้ผู้ป่วยได้พลังงานและสารอาหารอย่างเพียงพอ

ผู้ป่วยมะเร็ง ต้องการพลังงานและสารอาหารเท่าไหร่ 

กินอย่างไรเมื่อไขมันพอกตับ

โดยทั่วไปคนเราควรได้รับพลังงานต่อวันอยู่ที่ประมาณ 1,600 – 2,000 กิโลแคลอรีต่อวัน ซึ่งอาจจะแตกต่างกันไปตามเพศ วัย องค์ประกอบร่างกายและกิจวัตรประจำวันของแต่ละบุคคล โดยเราสามารถคำนวณหาพลังงานที่ควรได้รับต่อวันได้ที่นี่ คลิก แต่เมื่อร่างกายมีภาวะต่าง ๆ ความต้องการพลังงานก็จะเปลี่ยนแปลงไป โดยตามหลักคำแนะนำของ ESPEN Guideline ได้ให้คำแนะนำในผู้ป่วยมะเร็งควรได้รับพลังงานใกล้เคียงกันกับคนปกติหรือ 25 – 30 กิโลแคลอรี่ต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม เช่น เรามีน้ำหนัก 60 กิโลกรัม ก็ควรได้รับพลังงานวันละ 1,500 – 1,800 กิโลแคลอรี่ต่อวัน  

และส่วนของโปรตีน ผู้ป่วยโรคมะเร็งมีความจำเป็นที่จะต้องได้รับมากกว่าคนปกติหรืออยู่ที่ 1 – 1.5 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม (คนปกติจะต้องได้รับโปรตีน 0.8 –  1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม) หรือเรียกได้ว่าผู้ป่วยมะเร็งจำเป็นต้องกินอาหารกลุ่มเนื้อสัตว์ นม หรือไข่ มากกว่าปกติถึง 1 – 1.5 เท่านั่นเอง เพื่อให้รองรับผลกระทบจากการมีมะเร็งในร่างกาย ซึ่งมักเกิดการสลายกล้ามเนื้อมากกว่าผู้ที่ไม่เป็นมะเร็ง

ด้วยเหตุนี้ผู้ป่วยโรคมะเร็งจึงจำเป็นต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารต่าง ๆ เพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงานและโปรตีนอย่างเพียงพอ เพื่อที่ร่างกายแข็งแรงและพร้อมรับการรักษาจากแพทย์ 

กิน อาหาร อย่างไรให้เพียงพอสำหรับ ผู้ป่วยมะเร็ง

เนื่องจากผู้ป่วยมะเร็งนั้นมีความต้องการโปรตีนที่มากขึ้นแต่ในพลังงานที่เท่าเดิม เรานักกำหนดอาหารจากอีทเวลล์คอนเซปต์ จึงได้รวบรวมเทคนิคการกินอาหารเพื่อให้ได้รับพลังงานและโปรตีนอย่างเพียงพอมาฝาก ดังนี้ 

  1. เพิ่มมื้ออาหารในแต่ละวัน เพราะผู้ป่วยมะเร็งอาจจะกินอาหารได้น้อยลงในแต่ละมื้อ การเพิ่มจำนวนมื้ออาหารต่อหนึ่งวัน ก็จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับพลังงานและโปรตีนที่มากยิ่งขึ้น บางคนอาจต้องพิจารณากินเพิ่มเป็นวันละ 5-7 มื้อก็ถือว่าปฏิบัติได้ ไม่ผิดปกติแต่อย่างใด
  1. เลือกกินอาหารที่ให้พลังงานสูง ดังที่กล่าวไปในข้อที่ 1 ผู้ป่วยมะเร็งมักมีอาการเบื่ออาหาร หรือกินอาหารได้น้อยลง ซึ่งอาจทำให้ได้รับพลังงานไม่เพียงพอ การเลือกกินอาหารที่ให้พลังงานสูงจึงสามารถแก้ปัญหานี้ได้ เช่น ไข่ไก่ โยเกิร์ต นม ชีส บาร์ธัญพืช ถั่วเปลือกแข็ง หรืออาหารเสริมทางการแพทย์ วิธีการเลือกเสริมสารอาหารให้เหมาะสม สามารถปรึกษานักกำหนดอาหารเพื่อประเมินร่างกาย ภาวะโภชนาการและวิธีการเสริมสารอาหารได้ 
  1. เลือกกินเนื้อสัตว์หรือแหล่งโปรตีนก่อนเป็นลำดับแรก ในผู้ป่วยบางคนอาจจะไม่อยากกินเนื้อสัตว์ตามความเชื่อที่ว่าส่งผลต่อการเกิดโรคมะเร็ง ซึ่งความจริงนั้นผู้ป่วยสามารถกินเนื้อสัตว์ได้ เพื่อเสริมสารอาหารกลุ่มโปรตีนให้ผู้ป่วยด้วย โดยแนะนำให้กินเนื้อสัตว์อย่างน้อยมื้อละ 4 – 5 ช้อนโต๊ะขึ้นไป เน้นเลือกเป็นเนื้อไก่ ปลา ไข่ไก่ เต้าหู้ ส่วนกลุ่มอาหารที่ควรหลีกเลี่ยง คือการกินเนื้อสัตว์แปรรูปที่มากจนเกินไป หรือเนื้อแดง
  1. เว้นหรือหลีกเลี่ยงการดื่มน้ำก่อนมื้ออาหาร 10 – 30 นาที เพื่อป้องกันการรู้สึกอิ่มเร็ว ซึ่งทำให้ไม่อยากอาหารมากยิ่งขึ้น และทำให้กินอาหารมื้อหลักได้น้อยลง ส่งผลให้ได้รับพลังงานหรือสารอาหารน้อยลง หากรู้สึกกระหายน้ำอาจดื่มแบบจิบ ๆ แทน แต่ควรเลี่ยงการดื่มน้ำทีละมาก ๆ ก่อนมื้ออาหาร 
  1. ปรับเปลี่ยนเมนูให้แปลกใหม่ และไม่จำเจ อาจเป็นการจัดจาน ตกแต่งองค์ประกอบในจาน เลือกใช้วัตถุดิบหรือส่วนประกอบที่มีสีสันหรือรูปทรงที่แปลกตา จะช่วยเพิ่มความอยากอาหาร และทำให้กินอาหารได้มากขึ้น
  1. ใช้เครื่องเทศหรือสมุนไพรต่าง ๆ ในการปรุงรส เน้นที่การเพิ่มกลิ่น รสชาติ เพื่อสร้างรสสัมผัสของอาหารให้น่ากินมากยิ่งขึ้น รวมถึงสารต้านอนุมูลอิสระหรือสารสำคัญบางอย่างในสมุนไพรเหล่านี้ อาจช่วยกระตุ้นความอยากอาหารให้กับผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี 

นี่คือตัวอย่างของเทคกินการกิน อาหาร สำหรับ ผู้ป่วยมะเร็ง ที่ใครหลาย ๆ คนอาจนำไปปรับลองใช้ให้เหมาะสมเข้ากับตัวเอง  หรือสรุปได้ง่าย ๆ คือ พยายามกินอาหารที่ให้พลังงานเป็นหลัก เพิ่มการปรุงรส ปรับเปลี่ยนรูปร่างอาหารเพื่อให้เราสามารถกินอาหารได้มากยิ่งขึ้น เพื่อที่ร่างกายจะได้รับสารอาหารต่าง ๆ อย่างครบถ้วน แล้วนำไปบำรุงร่างกายให้แข็งแรงพร้อมกับการรักษาที่จะช่วยให้เราหายจากโรคมะเร็งนี้นั่นเอง 

แต่ถ้าใครมีข้อสงสัยในการเลือกกิน อาหาร หรือไม่มั่นใจว่าจะเลือกปรับเปลี่ยนการกินอาหารอย่างไรให้เหมาะสม ให้เรานักกำหนดอาหารมืออาชีพของ Eatwellconcept ช่วยออกแบบรายการอาหารให้เหมาะสมกับคุณ โดยสามารถดูแพคเกจด้านล่างนี้ได้เลย

สอบถามเพิ่มเติม Add Line ปรึกษานักกำหนดอาหาร

ดูแลสุขภาพของคุณให้ถูกวิธี

โปรแกรมปรึกษานักกำหนดอาหารคืออะไร ?

พร้อมรับคำปรึกษาจาก

นักกำหนดอาหารวิชาชีพ

ไม่พลาดบทความด้านโภชนาการ

ของ อีทเวลล์คอนเซปต์ ก่อนใคร

อ้างอิง 

From the American Association of Neurological Surgeons (AANS), American Society of Neuroradiology (ASNR), Cardiovascular and Interventional Radiology Society of Europe (CIRSE), Canadian Interventional Radiology Association (CIRA), Congress of Neurological Surgeons (CNS), European Society of Minimally Invasive Neurological Therapy (ESMINT), European Society of Neuroradiology (ESNR), European Stroke Organization (ESO), Society for Cardiovascular Angiography and Interventions (SCAI), Society of Interventional Radiology (SIR), Society of NeuroInterventional Surgery (SNIS), and World Stroke Organization (WSO), Sacks, D., Baxter, B., Campbell, B., Carpenter, J. S., Cognard, C., Dippel, D., Eesa, M., Fischer, U., Hausegger, K., Hirsch, J. A., Shazam Hussain, M., Jansen, O., Jayaraman, M. V., Khalessi, A. A., Kluck, B. W., Lavine, S., Meyers, P. M., Ramee, S., Rüfenacht, D. A., … Vorwerk, D. (2018). Multisociety Consensus Quality Improvement Revised Consensus Statement for Endovascular Therapy of Acute Ischemic Stroke. International journal of stroke : official journal of the International Stroke Society, 13(6), 612–632. https://doi.org/10.1177/1747493018778713  

Ravasco, P. (2019). Nutrition in Cancer Patients. Journal of Clinical Medicine, 8(8), 1211. https://www.mdpi.com/2077-0383/8/8/1211

ส่งข้อความถึงเรา