fbpx

ของเหลือแช่ตู้เย็น ไม่ได้กินได้ตลอดไป

ตั้งเเต่มีในวัตกรรมที่เรียกว่า ตู้เย็น ไม่ว่าของกินประเภทไหน อะไรที่เราซื้อมากินหรือทำกินเองแล้ว มี ของเหลือแช่ตู้เย็น แล้วอยากจะกินวันถัดไปก็จะใส่เข้าไปในตู้เย็นโดยที่ไม่ต้องคิดทันที มีใครเป็นบ้างไม่ว่าจะเป็นตัวเราเอง หรือคนในบ้านชอบเก็บอาหารที่เหลือไว้กินในมื้อถัด ๆ ไป บางทีของกินที่ดองไว้ในตู้เย็นหลายวันมาก ๆ ก็ยังเอาออกมากินอยู่ ซึ่งทางเราก็เป็นห่วงจริงๆว่ามันจะปลอดภัยไหม วันนี้อีทเวลล์คอนเซปต์เลยไปหาข้อมูลว่าจริง ๆ แล้วอาหารที่แช่ในตู้เย็นจะอยู่ได้กี่วัน และควรทำอย่างไรเพื่อให้สามารถกินได้อย่างปลอดภัยมาฝากทุกคนกันค่ะ

How to เก็บอาหารในตู้เย็น

          อาหารพร้อมทาน สามารถอยู่โดยเก็บในตู้เย็นได้ประมาณ 2 – 3 วันหรือกินเสร็จแล้ว (ต้องใช้ช้อนตักแยกถ้วยออกมาก่อนหรือใช้ช้อนกลางนะคะ) และจะต้องอุ่นร้อนก่อนทานด้วยอุณภูมิที่มากกว่า 60 องศาเซลเซียสเท่านั้น และแม้ว่าจะอยู่ได้หลายวันก็อย่าลืมดูสีและกลิ่นก่อนนำมาอุ่นทานด้วยนะคะ

  • ตรวจสอบอุณหภูมิตู้เย็น ในช่องแช่เย็นธรรมดา ต่ำกว่า 5 องศาเซลเซียส และตู้แช่แข็ง น้อยกว่าหรือเท่ากับ -18 องศาเซลเซียส
  • แบ่งอาหารพร้อมทานลงใส่ในภาชนะเล็ก ๆ และไม่ลืมที่จะต้องเป็นภาชนะที่มิดชิดมีฝาปิดอย่างกล่องใส่อาหาร หรือแร็ปพลาสติกห่อภาชนะเสมอ
  • แช่อาหารพร้อมทานไว้หน้า ๆ เพื่อที่จะได้หยิบมาทานง่าย ๆ ไม่ควรทิ้งไว้เกิน 4 วัน
  • แช่อาหารทันทีที่ทำได้ ไม่ควรวางนอกตู้เย็นนานกว่า 2 ชั่วโมง
  • ทำความสะอาดตู้เย็นสัปดาห์ละครั้ง เพื่อกำจัดพวกแบคทีเรียทีก่อโรคในอาหารหรือรา
  • แยกโซนการเก็บอาหารให้แยกจากเนื้อสัตว์ดิบอย่างชัดเจน โดยการเก็บเนื้อสัตว์ดิบ ต่างๆควรเก็บให้มิดชิดด้วยการใส่กล่องมีฝาปิดหรือแยกโซนการเก็บให้ชัดเจน หากเก็บไว้โซนเดียวกันในตู้เย็น ควรให้เนื้อสัตว์ดิบอยู่ชั้นล่างสุดเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำจากเนื้อสัตว์หยดลงไปปนเปื้อนกับอาหารพร้อมทาน

วิธีเก็บ ของเหลือแช่ตู้เย็น ให้ถูกต้อง

การวางอาหารไว้ในอุณภูมิห้อง

          แต่ทั้งนี้ต้องขอยกเว้นอาหารที่เราตั้งไว้ที่อุณหภูมิห้องตั้งแต่ 2 ชั่วโมงขึ้นไป เพราะอุณหภูมิใน่ช่วง 5 – 60 องศาเซลเซียสถือเป็นจุดอันตรายที่เชื้อโรคหรือเชื้อแบคทีเรียในอาหารสามารถเติบโตได้ดี ดังนั้นถ้าเรานำอาหารที่ตั้งทิ้งไว้ที่อุณหภูมิห้องกว่าครึ่งวันแล้วนำอาหารไปแช่ตู้เย็น ก็ไม่ช่วยเรื่องการชะลอเชื้อแล้วเพราะเชื้อขึ้นเต็มไปหมดแล้ว

โดยทางที่ดีที่สุด อยากจะแนะนำให้ทุกคนทำก็คือ

  • ทำอาหารให้พอดีกับจำนวนคน หรือปริมาฝรที่เรากินนอกจากจะช่วยลดขยะเศษอาหารแล้วยังไม่ต้องเสี่ยงติดเชื้อกับของกินค้างคืนด้วย
  • อาหารที่ปรุงสุกใหม่ ๆ ใช้ช้อนกลาง ช่วยลดการติดต่อของเชื้อจากคนสู่คน
  • ล้างมือให้สะอาด ก่อนรับประทานอาหารป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย

แค่นี้เราก็ไม่ต้องกังวลเรื่องเชื้อต่าง ๆ ที่อาจปนเปื้อนจากอาหารค้างคืนแล้ว แต่หากใครบอกมันเยอะจริง ๆ ยังไงก็เหลือ แบ่งออกมาทานครึ่งหนึ่งแล้วเข้าตู้เย็นทันทีเพื่อเป็นการเก็บจะดีกว่า (แต่ต้องรอให้อาหารเย็นลงหน่อยหนึ่ง ค่อยนำเข้านะคะ เดี๋ยวตู้เย็นจะทำงานหนักพังไปเสียก่อน

สอบถามเพิ่มเติม Add Line ปรึกษานักกำหนดอาหาร

ดูแลสุขภาพของคุณให้ถูกวิธี

โปรแกรมปรึกษานักกำหนดอาหารคืออะไร ?

พร้อมรับคำปรึกษาจาก

นักกำหนดอาหารวิชาชีพ

ไม่พลาดบทความด้านโภชนาการ

ของ อีทเวลล์คอนเซปต์ ก่อนใคร

อ้างอิง

1.https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/nutrition-and-healthy-eating/expert-answers/food-safety/faq-20058500

2.https://www.health.act.gov.au/sites/default/files/2018-09/Food%20Safety%20Guide%20-%20Thai.pdf

3.https://audit.anamai.moph.go.th/th/health-knowledge/download?id=33392&mid=30973&mkey=m_document&lang=th&did=11123

ส่งข้อความถึงเรา