fbpx

เบาหวาน เป็นแล้วกินอย่างไรดี

เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่พบมากในทั่วโลกและเป็นโรคยอดฮิตที่พบในหมู่ผู้ใหญ่ ซึ่งหลายคนมองข้ามเนื่องจากด้วยอาการแสดงให้เห็นมีน้อยกว่าจะรู้ตัวอีกทีตอนตรวจสุขภาพประจำปีหรือตรวจเฉพาะเจาะจงเลย ปัญหาที่เกิดจากภาวะเบาหวาน คือเรื่องหลอดเลือดต่างๆ ในร่างกายที่ทำให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมาอีกมาก ฉะนั้นเมื่อพบว่าเป็นเบาหวานแล้ว เราจึงควรดูแลสุขภาพไม่ให้น้ำตาลขึ้นสูงผิดปกติป้องกันตัวเองจากปัญหาแทรกซ้อนอันเนื่องมาจากเบาหวานต่าง ๆ นั่นเอง

โรคแทรกซ้อนจากเบาหวาน

-โรคหลอดเลือดหัวใจ เมื่อน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน ทำให้ผนังหลอดเลือดเสื่อมสภาพ สูญเสียความยืดหยุ่น นำมาสู่โรคหลอดเลือดหัวใจ

-โรคหลอดเลือดสมอง เช่นเดียวกับโรคหลอดเลือดหัวใจ เมื่อทำให้หลอดเลือดเกิดความผิดปกติ เกิดที่เลือดไปเลี้ยงอวัยวะส่วนใด ก็ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่นั่น หากเกิดที่บริเวณสมอง ก็นำไปสู่โรคหลอดเลือดสมอง

-โรคไต น้ำตาลที่สะสมไว้สูงเป็นเวลานานบริเวณหลอดเลือดฝอยที่ไต ทำให้เกิดการตีบ และอุดตัน ส่งผลให้ประสิทธิภาพการกรองของเสียของไตลดลง

-โรคจอประสามตาเสื่อม เบาหวานขึ้นตาเป็นโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากหลอดเลือดอักเสบ โป่งพอง

-เกิดแผลติดเชื้อที่เท้า เส้นเลือดตีบอุดตันทำให้ขาดเนื้อเยื้อไปเลี้ยงและเลือดไปเลี้ยงไม่พอ

เบาหวาน โรคที่รักษาได้ด้วยการปรับอาหาร

เบาหวาน (Diabetes Mellitus) คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติในการนำสาร อาหาร กลุ่มคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงาน1 แต่เมื่อร่างกายนำน้ำตาลไปใช้ไม่ได้ จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดมีค่าสูงผิดปกติ จนสร้างความเสียหายต่อระบบอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย

โรคเบาหวานแบ่งได้เป็น 4 ชนิด ได้แก่ โรคเบาหวานชนิดที่ 1, โรคเบาหวานชนิดที่ 2, โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ และโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์2 เป็นต้น ซึ่งโรคเบาหวานที่พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ คือ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เกิดจากการที่ร่างกายดื้อต่ออินซูลิน (ฮอร์โมนที่ควบคุมน้ำตาลในเลือด) หรือร่างกายสร้างและหลั่งอินซูลินไม่เพียงพอ น้ำตาลจึงสูงค้างอยู่ในเลือด ทำให้มีอาการของโรคเบาหวาน ได้แก่ น้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะกลางคืน เป็นต้น

การกินอาหารเมื่อมีภาวะ เบาหวาน

เมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคเบาหวานแล้ว การรักษาเบาหวานให้ได้ผลดีร่วมกับการใช้ยา คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมทางสุขภาพ รวมไปถึงการรับประทานอาหาร เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยจะเน้นหนักที่หลักการกินอาหารให้สมดุล สุขภาพดีและรักษาระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแนวทางมีหลายประเด็นดังนี้

1.เลือกกินตามแนวทาง “จานอาหารสุขภาพ 2-1-1” นั่นคือการกะสัดส่วนของอาหารในจานข้าวให้มีความครบถ้วนและสมดุล โดยมีปริมาณอาหารหมวดข้าว แป้ง หรือเส้น ใกล้เคียงกับปริมาณอาหารหมวดโปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ ไข่ เต้าหู้ และยังต้องมีสัดส่วนของอาหารหมวดผักต่าง ๆ ในจานหรือในมื้อที่กินจริง มากกว่าปริมาณของข้าวแป้งหากทำได้ หรืออย่างน้อยมีปริมาณผักใกล้เคียงกับข้าวแป้งก็ได้

2.เน้นการกินอาหารต่างหมวดหมู่ให้ครบถ้วนในแต่ละมื้อ เพราะมีหลักฐานชัดเจนว่า การเน้นหลักกินแต่เพียงอาหารหมวดใดหมวดหนึ่ง จะมีผลเสียมากกว่าผลดี เช่น น้ำตาลในเลือดไม่สูงเกินไป ก็ต่ำง่ายเกินไป ควรผสมผสานแหล่งอาหารต่าง ๆ ในครบถ้วนในมื้อเดียว

3.ควบคุมปริมาณการกินผลไม้ให้พอดี ควรมีผลไม้ในทุกวัน เพราะให้ทั้งใยอาหารและวิตามิน แร่ธาตุต่าง ๆ แต่ผลไม้เองก็มีปริมาณของน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตต่าง ๆ โดยไม่ควรกินผลไม้เกินครั้งละขนาดเท่า 1 กำปั้นของตนเอง

เบาหวานผลไม้-EWC
เบาหวานผลไม้

4.แนวทางการเลือกแหล่งโปรตีนต่าง ๆ จะแนะนำให้เน้นที่โปรตีนไขมันไม่สูงก่อน เช่น เนื้อไก่ ปลา กุ้ง ปู เนื้อหมูหรือวัวที่ไม่ติดมันหรือมีน้อย ๆ เต้าหู้ ถั่วต่าง ๆ จะเป็นการช่วยลดปัญหาแทรกซ้อนด้านสุขภาพของผู้เป็นเบาหวานได้ในระยะยาว

ไขมันเนื้อสัตว์-EWC

5.ผักต่างๆ สามารถเลือกกินได้ทั้งแบบผักสดและผักปรุงสุก ขึ้นอยู่กับความชอบของแต่ละคน ควรเน้นที่วิธีการล้างผักให้สะอาด และเลือกกินให้หลากหลายเป็นประจำ ผักจะมีส่วนช่วยในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้อีกด้วย

นอกจากนี้ แนวทางการเลือกรับประทานอาหารเพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือดนั้น อาจจำเป็นต้องวางแผนควบคู่กับการใช้ยาประจำตัวของผู้เป็นเบาหวานด้วย เพราะผู้เป็นเบาหวานจำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับปริมาณคาร์โบไฮเดรต แหล่งอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต และการอ่านฉลากโภชนาการอย่างถูกต้องด้วย เพื่อให้การวางแผนควบคุมน้ำตาลในเลือดและการบริโภคอาหารเป็นไปอย่างปกติและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

               การได้รับการตรวจวินิจฉัยเร็วและได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี จะช่วยลดโอกาสการเกิดโรคแทรกซ้อนเหล่านี้ได้ รวมไปถึงการปรับพฤติกรรมการกินและการออกกำลังกาย ก็มีส่วนช่วยในการคุมระดับน้ำตาลในเลือดดีขึ้นตามเป้าหมายสำหรับการติดตามประเมินผลโรคเบาหวานสามารถทำได้ด้วยการตรวจเฉพาะของโรคเบาหวาน

โปรแกรม ตรวจสุขภาพ สำหรับผู้ที่เป็น โรคเบาหวาน

  • ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (CBC II)
  • ตรวจระดับน้ำตาล (Fasting Blood Sugar)
  • ตรวจระดับน้ำตาลสะสม (HbA1C)
  • ตรวจการทำงานของไต (BUN, Creatinine+eGFR)
  • ตรวจระดับกรดยูริก (Uric Acid)
  • ตรวจระดับไขมันครบชุด (Lipid Profile)
  • ตรวจหาระดับอัลบูมินในปัสสาวะ (Urine Microalbumin Creatinine ratio)

สอบถามรายละเอียด หรือ นัดหมายการตรวจ ได้ที่

สอบถามเพิ่มเติม Add Line ปรึกษานักกำหนดอาหาร

ดูแลสุขภาพของคุณให้ถูกวิธี

โปรแกรมปรึกษานักกำหนดอาหารคืออะไร ?

พร้อมรับคำปรึกษาจาก

นักกำหนดอาหารวิชาชีพ

ไม่พลาดบทความด้านโภชนาการ

ของ อีทเวลล์คอนเซปต์ ก่อนใคร

ส่งข้อความถึงเรา