fbpx

ป้ายกำกับจากคลังความรู้

Tag : แหล่งความรู้ “โรคเบาหวาน”

เบาหวานขณะตั้งครรภ์ เลือกกินอาหารอย่างไรดี?

อาหาร คือหนึ่งในเรื่องที่คุณแม่ขณะตั้งครรภ์จะต้องใส่ใจดูแลเป็นพิเศษ เพื่อการเจริญเติบโตของลูกน้อยในครรภ์ แต่ไม่ใช่ว่าจะกินอะไรก็ได้ตามใจตัวเอง ตัวคุณแม่เองจะต้องระวังไม่ให้ระดับระดับน้ำตาลในเลือดสูง จะทำให้มีความเสี่ยงเกิด ‘ภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์’ ซึ่งสามารถส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้โดยตรง ผลที่ร้ายแรงที่สุดก็อาจทำให้เด็กพิการและเสียชีวิต ประเภทของเบาหวาน เบาหวานในหญิงตั้งครรภ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ปัจจัยเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ การตรวจคัดกรองและประเมินความเสี่ยง ผู้ป่วยที่อยู่ในกลุ่มความเสี่ยงสูงควรตรวจคัดกรองให้เร็วที่สุด ถ้าผลปกติให้ตรวจซ้ำในช่วงอายุครรภ์ 24-28 สัปดาห์โดยเริ่มจากการประเมินความเสี่ยงตามแนวปฏิบัติ ดังนี้ การตรวจคัดกรองและวินิจฉัยในผู้หญิงตั้งครรภ์ยึดตามแนวปฏิบัติขององค์การอนามัยโลก(WHO) ในปี 1999 และ American College of Obstetricians and Gynecologists (ACOG) ในปี 2001 ทำการตรวจแบบ 2 ขั้นตอน (2 Step Screening) วิธีการตรวจแบบ 2 ขั้นตอน (Two Step Screening) ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 Glucose Challenge Test คือ การตรวจคัดกรองด้วยการกินน้ำตาลกลูโคส 50 […]

โรคเบาหวาน คุมอาหารอย่างไร ให้น้ำตาลดีจนหมอยังชม

ยิ่งอายุมากขึ้น ยิ่งต้องใส่ใจเรื่อง อาหาร โดยเฉพาะเมื่อเป็น เบาหวาน โรคเรื้อรังสุดฮิตที่เป็นกันมากในหมู่ผู้ใหญ่ เจาะน้ำตาลกันทีสูงปรี๊ดเนื่องจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่อาจไม่ได้ระวัง และวิถีชีวิตที่ออกกำลังกายน้อยลง เรียนรู้เคล็ดลับง่ายๆ ใช้ได้จริง สำหรับการดูแลตัวเองที่จะช่วยทำให้น้ำตาลดีขึ้นจนหมอยังทัก เบาหวาน โรคที่รักษาได้ด้วยการเปลี่ยนวิถี อาหาร เบาหวาน (Diabetes Mellitus) คือ โรคที่เกิดจากความผิดปกติในการนำสาร อาหาร กลุ่มคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงาน1 แต่เมื่อร่างกายนำน้ำตาลไปใช้ไม่ได้ จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดมีค่าสูงผิดปกติ จนสร้างความเสียหายต่อระบบอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โรคเบาหวานแบ่งได้เป็น 4 ชนิด ได้แก่ โรคเบาหวานชนิดที่ 1, โรคเบาหวานชนิดที่ 2, โรคเบาหวานที่มีสาเหตุจำเพาะ และโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์2 เป็นต้น ซึ่งโรคเบาหวานที่พบได้บ่อยในผู้ใหญ่ คือ โรคเบาหวานชนิดที่ 2 เกิดจากการที่ร่างกายดื้อต่ออินซูลิน (ฮอร์โมนที่ควบคุมน้ำตาลในเลือด) หรือร่างกายสร้างและหลั่งอินซูลินไม่เพียงพอ น้ำตาลจึงสูงค้างอยู่ในเลือด ทำให้มีอาการของโรคเบาหวาน ได้แก่ น้ำหนักลดโดยไม่มีสาเหตุ หิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อยโดยเฉพาะกลางคืน เป็นต้น เริ่มต้นคุมอาหารอย่างไร…เมื่อตรวจพบ เบาหวาน เมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคเบาหวานแล้ว การรักษาเบาหวานให้ได้ผลดีร่วมกับการใช้ยา […]

น้ำตาลในเลือด เท่าไหร่ถึงเป็น เบาหวาน

เบาหวาน (Diabetes Mellitus: DM) เป็นภาวะที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมระดับ น้ำตาล ในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้จนทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง โดยเกิดจากการที่ร่างกายไม่สามารถสร้างฮอร์โมนอินซูลิน (Insulin) ได้อย่างเพียงพอหรือไม่สามารถตอบสนองต่อฮอร์โมนนี้ได้ตามปกติ (ภาวะดื้อต่ออินซูลิน) ซึ่งอินซูลินถือว่าเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดโดยตรงนั่นเอง  ด้วยภาวะทั้งสองที่กล่าวไป ทำให้ร่างกายหรือเซลล์ไม่สามารถนำน้ำตาลที่อยู่ภายในเลือดไปใช้เป็นพลังงานได้อย่างปกติ จนเกิดเป็นการสะสมอยู่ภายในเลือด ซึ่งหากปล่อยไว้เป็นเวลานานก็จะก่อให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนหรือเป็นอันตรายต่ออวัยวะต่าง ๆ ได้   ดังนั้นผู้ป่วยเบาหวานจึงจำเป็นต้องควบคุมอาหารให้เหมาะสมเพื่อป้องกันภาวะระดับน้ำตาลในเลือดสูงและป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ    รู้ได้อย่างไรว่าเป็น เบาหวาน  การวินิจฉัยว่าเป็นโรคเบาหวานจะสามารถทำได้ด้วยการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดเป็นหลัก รวมถึงแพทย์จะสอบถามอาการผู้ป่วย ประวัติการเจ็บป่วยของผู้ป่วยและของบุคคลในครอบครัว  โดยมีวิธีการตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือดหลายวิธีและจะแปรผลได้ ดังนี้  แต่การตรวจโดยส่วนใหญ่ที่นิยมใช้ตรวจระดับน้ำตาลในเลือดมักจะถูกรวมอยู่ในการตรวจสุขภาพประจำปีคือ ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง (FPG) ซึ่งหากมีระดับน้ำตาลมากกว่า 126 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร แพทย์จะนัดทำการตรวจซ้ำอีกครั้งเพื่อยืนยันผล โดยอาจจะใช้การตรวจหลังอดอาหารหรือแบบอื่น ๆ ก็ได้เช่นกัน โดยหากมีค่ามากกว่าเกณฑ์ที่กล่าวไปข้างต้นก็จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานโดยแพทย์ และจะได้รับคำแนะนำในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการกินอาหาร การออกกำลังกาย เพื่อชะลอและป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากเบาหวานนั่นเอง  ดังนั้นเราจึงควรคุมอาหารอาหาร ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนักตัวให้เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายแข็งแรงสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูงกว่า 100 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตรเพื่อลดความเสี่ยงในการที่จะเป็นโรคเบาหวานและโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้จากเบาหวานและภาวะอ้วน   […]

เป็น เบาหวาน จะสามารถกิน ผลไม้ หรือไม่?

ผู้เป็น เบาหวาน มีปัญหาเกี่ยวกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ จึงมีความจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารเพื่อให้สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในช่วงปกติ ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยเบาหวานหลาย ๆ คนสงสัยว่าเป็นเบาหวาน กินอะไรดีและอย่าง ผลไม้ ที่มีรสหวานจะสามารถกินได้หรือไม่  เจาะลึกเรื่อง เบาหวาน  เบาหวาน คือ ภาวะที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติได้ เนื่องจากร่างกายไม่สามารถตอบสนองต่อฮอร์โมนอินซูลิน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ทำให้ผู้เป็นโรคเบาหวานจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหาร เช่น ควบคุมคาร์โบไฮเดรต เลี่ยงอาหารหวาน เลี่ยงอาหารมัน เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อที่จะลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อน หากไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ จะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนอันเนื่องมาจากเบาหวานได้ เช่น เบาหวานขึ้นตา โรคไต หลอดเลือดแดงส่วนปลายตีบตัน ซึ่งเป็นปัญหาทางสุขภาพที่ลดคุณภาพชีวิตของผู้เป็นเบาหวานอย่างมาก แล้วแบบนี้ผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องระมัดระวังปริมาณน้ำตาลในอาหารจะสามารถกินผลไม้ที่มีรสหวานจากธรรมชาติได้หรือไม่  ผลไม้ เป็น เบาหวาน จะกินได้ไหม  หลายคนอาจสงสัยว่าโรคเบาหวานที่ต้องควบคุมน้ำตาลในเลือด จะกินผลไม้ได้จริง ๆ ใช่หรือไม่ โดยตามหลักการดูแลของผู้ป่วยโรคเบาหวาน สามารถสรุปอย่างง่ายได้ว่า  ผู้เป็นโรคเบาหวานสามารถกินผลไม้ได้ เพราะถึงแม้ผู้เป็นเบาหวานจะต้องควบคุมน้ำตาล แต่ก็สามารถกินผลไม้ได้ทุกชนิด โดยจะต้องเลือกชนิดและปริมาณให้เหมาะสมด้วย เพื่อไม่ให้ร่างกายเปลี่ยนคาร์โบไฮเดรตไปเป็นน้ำตาลในเลือดมากจนเกินไป ซึ่งปริมาณของผลไม้ที่แนะนำให้ผู้เป็นเบาหวานสามารถกินได้ในหนึ่งวัน คือ ครั้งละ 1 คาร์บ เทียบได้กับผลไม้ประมาณ 1 […]

เบาหวาน เป็นแล้ว กินอย่างไรดี

เบาหวาน เบาหวาน เป็นภัยเงียบหนึ่งที่คนไทยหลายคนมองข้าม เนื่องด้วยอาการแสดงให้เกิดความตระหนักนั้นมีน้อย ถ้าไม่ตรวจสุขภาพประจำปีหรือตรวจร่างกายโดยละเอียดแล้ว แทบจะไม่พบปัญหาทางสุขภาพนี้เลย ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นจากการมีภาวะเบาหวานนั้น หลักๆ จะมาจากการเกิดปัญหาของหลอดเลือดต่าง ๆ ในร่างกาย ทำให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมาอีกมาก ฉะนั้นหากพบว่าเป็นเบาหวานแล้ว เราจึงควรดูแลสุขภาพไม่ให้น้ำตาลขึ้นสูงผิดปกติ เพื่อเป็นการรักษาสุขภาพของหลอดเลือดและป้องกันตัวเองจากปัญหาแทรกซ้อนอันเนื่องมาจากเบาหวานต่าง ๆ นั่นเอง การกินอาหารเมื่อมีภาวะเบาหวาน จะเน้นหนักที่หลักการกินอาหารให้สมดุล สุขภาพดีและรักษาระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแนวทางมีหลายประเด็นดังนี้ นอกจากนี้ แนวทางการเลือกรับประทานอาหารเพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือดนั้น อาจจำเป็นต้องวางแผนควบคู่กับการใช้ยาประจำตัวของผู้เป็นเบาหวานด้วย เพราะผู้เป็นเบาหวานจำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับปริมาณคาร์โบไฮเดรต แหล่งอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต และการอ่านฉลากโภชนาการอย่างถูกต้องด้วย เพื่อให้การวางแผนควบคุมน้ำตาลในเลือดและการบริโภคอาหารเป็นไปอย่างปกติและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

กินอย่างไร…เมื่อเป็นเบาหวาน

เบาหวาน เบาหวาน เป็นภัยเงียบหนึ่งที่คนไทยหลายคนมองข้าม เนื่องด้วยอาการแสดงให้เกิดความตระหนักนั้นมีน้อย ถ้าไม่ตรวจสุขภาพประจำปีหรือตรวจร่างกายโดยละเอียดแล้ว แทบจะไม่พบปัญหาทางสุขภาพนี้เลย ซึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นจากการมีภาวะเบาหวานนั้น หลักๆ จะมาจากการเกิดปัญหาของหลอดเลือดต่าง ๆ ในร่างกาย ทำให้เกิดปัญหาแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมาอีกมาก ฉะนั้นหากพบว่าเป็นเบาหวานแล้ว เราจึงควรดูแลสุขภาพไม่ให้น้ำตาลขึ้นสูงผิดปกติ เพื่อเป็นการรักษาสุขภาพของหลอดเลือดและป้องกันตัวเองจากปัญหาแทรกซ้อนอันเนื่องมาจากเบาหวานต่าง ๆ นั่นเอง วันนี้นักกำหนดอาหารจะมาเล่าให้ฟังกันว่า เราควรปรับการกินอย่างไร เพื่อคุมอาการเบาหวานได้ดีที่สุด การกินอาหารเมื่อมีภาวะเบาหวาน จะเน้นหนักที่หลักการกินอาหารให้สมดุล สุขภาพดีและรักษาระดับน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งแนวทางมีหลายประเด็นดังนี้ นอกจากนี้ แนวทางการเลือกรับประทานอาหารเพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือดนั้น อาจจำเป็นต้องวางแผนควบคู่กับการใช้ยาประจำตัวของผู้เป็นเบาหวานด้วย เพราะผู้เป็นเบาหวานจำเป็นต้องเรียนรู้เกี่ยวกับปริมาณคาร์โบไฮเดรต แหล่งอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต และการอ่านฉลากโภชนาการอย่างถูกต้องด้วย ซึ่งนักกำหนดอาหารจะมีบทบาทในการดูแลและให้ข้อมูลส่วนนี้ ทั้งหมดเป็นไปเพื่อให้การวางแผนควบคุมน้ำตาลในเลือดทำได้ดี และปรับให้การบริโภคอาหารเป็นไปอย่างปกติและมีประสิทธิภาพมากที่สุด

เป็นเบาหวาน กินน้ำผึ้งได้ไหม?

เมื่อพูดถึงโรคเบาหวาน หลาย ๆ คนต้องนึกถึงการห้ามกินของหวาน หรือ การที่กินยาเพื่อควบคุมน้ำตาลในเลือดแน่ ๆ  แต่คงมีผู้ป่วยบางคนก็อาจจะสงสัยว่าแล้วอย่างนี้จะกินอะไรได้บ้าง อย่างน้ำผึ้งที่มีรสหวานจากธรรมชาติจะสามารถใช้แทนน้ำตาลได้หรือเปล่า และผู้ป่วยเบาหวานจะสามารถกินได้แค่ไหนกัน นี่คือคำตอบว่า เป็นเบาหวาน กินน้ำผึ้งได้ไหม เบาหวาน คืออะไร โรคเบาหวาน คือ โรคที่ร่างกายมีความผิดปกติในการนำน้ำตาลไปใช้เป็นพลังงาน ทำให้เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งเกี่ยวกับการทำงานของฮอร์โมนที่มีชื่อว่า อินซูลิน ที่สร้างจากตับอ่อนเพื่อใช้ในการคุมระดับน้ำตาลในเลือดนั่นเอง โดยโรคเบาหวานแบ่งได้เป็น 4 ชนิด ได้แก่ ซึ่งผู้ป่วยโรคเบาหวานควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ที่ 70 – 110 มิลลิกรัม ต่อเดซิลิตร ในระหว่างที่อดอาหาร น้ำตาลในเลือดหลังอาหาร 2 ชั่วโมงน้อยกว่า 140 มิลลิกรัม ต่อเดซิลิตร และ A1C ให้น้อยกว่า 6.5% เพื่อป้องกันเกิดภาวะหรือโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่จะทำให้เกิดปัญหากับการดำเนินชีวิต โดยแนะนำให้สามารถเติมน้ำตาลไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลทราย น้ำผึ้ง หรือน้ำเชื่อมต่าง ๆ ได้ไม่เกิน 3 – 6 ช้อนชาต่อวัน […]

การดูแลตัวเองในเดือน รอมฎอน ของผู้ป่วยเบาหวาน

การถือศีลอดในช่วงเดือนรอมฏอน ถือเป็นหนึ่งในห้าเสาหลักของศาสนาอิสลาม ซึ่งชาวมุสลิมจะถือศีลอดในช่วงกลางวันตั้งแต่เช้าจรดค่ำ นับเป็นช่วงเวลาที่สำคัญสำหรับชาวมุสลิม ซึ่งชาวมุสลิมบางท่านก็มีปัญหาทางสุขภาพหรือโรคประจำตัวอย่างเช่นเบาหวาน ที่ได้รับผลกระทบจากการใช้ยาต่าง ๆ ในการรักษาเบาหวาน ในขณะที่อาหารที่เป็นปัจจัยสำคัญของระดับน้ำตาลในเลือดก็เกิดการเปลี่ยนแปลงเวลาในการกินไปด้วย ดังนั้นพวกเรา นักกำหนดอาหารเลยอยากมาพูดถึง การดูแลตัวเองในเดือน รอมฎอน ของผู้ป่วยเบาหวาน เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานที่เป็นชาวมุสลิม สามารถถือศีลอดได้อย่างปลอดภัย การถือศีลอดในช่วงเดือน รอมฎอน เดือนรอมฎอน จะเป็นเดือนที่ชาวมุสลิมที่ถือศีลจะหยุดรับประทานอาหาร ดื่มน้ำ ไม่สูบบุหรี่ หรือแม้แต่ไม่รับประทานยา  ตั้งแต่เวลาพระอาทิตย์ขึ้น จนถึงเวลาพระอาทิตย์ตก และหลังจากนั้นจึงจะสามารถรับประทานอาหารและดื่มน้ำได้ โดยปกติแล้วก็จะมีการรับประทานอาหารใรช่วงพระอาทิตย์ตก 2 มื้อ คือ มื้อเย็น และมื้อก่อนพระอาทิตย์ขึ้น ซึ่งชาวมุสลิมส่วนใหญ่มักจะเริ่มมื้อเย็นด้วยการรับประทาน “ผลอินทผาลัม” ซึ่งเป็นผลไม้ที่มีน้ำตาลฟรุคโตสและกลูโคสสูงมาก ก่อนการเริ่มรับประทานอาหารหลักนั่นเอง อีกทั้งยังมีการสวดตะรอเวียะฮ์ (Taraweeh) เป็นเวลาถึง 1 – 2 ชั่วโมงทำให้มีการขยับร่างกายและใช้กำลังมากในระดับนึง จึงจำเป็นทีผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับยาลดระดับน้ำตาลจำเป็นต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจเพื่อให้สามารถถือศีลอดได้อย่างปลอดภัย ไม่เสี่ยงต่อการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ สูง หรือภาวะที่เลือดเป็นกรดจากเบาหวาน (DKA) นั่นเอง ใครบ้างที่สามารถและไม่สามารถถือศีลอด ในผู้ป่วยเบาหวานควรทำการประเมินความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างการถือศีลอด และจากแนวทางเวชปฏิบัติสำหรับโรคเบาหวาน พ.ศ.2560 ได้แนะนำไว้ ดังนี้ […]

น้ำตาลในเลือดต่ำ อันตรายกว่าที่คิด

น้ำตาลในเลือดต่ำ หรือ Hypoglycemia เป็นภาวะที่อาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ที่อาจเป็นอันตรายได้ ซึ่งสาเหตุของการเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำนั้นมีหลายสาเหตุทั้งจากการกินไม่พอ หรือใช้ยามากเกินไป ซึ่งโดยปกติแล้วสามารถพบได้มากในผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ได้รับยาลดน้ำตาลในเลือดหรือยาฉีดอินซูลิน แล้วภาวะ น้ำตาลในเลือดต่ำอันตรายกว่าที่คิด อย่างไร และจะสามารถป้องกันภาวะนี้ได้อย่างไรลองไปดูกันดีกว่า อะไรคือ น้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือ Hypoglycemia คือ ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำกว่าหรือเท่ากับ 70 มิลลิกรัม ต่อเดซิลิตร นั่นเอง ซึ่งเมื่อร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำก็จะมีอาการต่าง ๆ ดังนี้ และในผู้ป่วยเบาหวานบางคนที่ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ บ่อยครั้ง อาจจะไม่รู้สึกถึงอาการเหล่านี้ ซึ่งถือว่าอันตรายมาก ๆ เพราะเมื่อเกิดภาวะน้ำตาลต่ำขึ้นผู้ป่วยจะไม่รู้ตัว และหากเกิดน้ำตาลในเลือดต่ำกว่า 30 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร อาจเกิดอาการช็อค หมดสติ และสมองขาดน้ำตาลได้ ซึ่งจะเป็น อันตรายถึงชีวิต แล้วแบบนี้อะไรคือสาเหตุของภาวะน้ำตาลต่ำและเราจะมีวิธีการรักษาและป้องกันไม่ให้เกิดภาวะน้ำตาลต่ำได้ยังไงนะ สาเหตุของ น้ำตาลในเลือดต่ำ ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ เกิดได้จากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นจากการใช้ยา หรือการกินอาหาร ดังนี้ ดังนั้นเมื่อเรารู้ถึงสาเหตุของถึงสาเหตุของการเกิดภาวะน้ำตาลต่ำแล้วเราก็จะสามารถป้องกันไม่ให้เกิดภาวะนี้ เพื่อที่ป้องกันอาการต่าง ๆ ที่จะเกิดขึ้นอีกทั้งความเคยชินของร่างกาย และป้องกันการช็อคและหมดสติหากเกิดอาการน้ำตาลต่ำขั้นรุนแรง แนวทางการป้องกันภาวะน้ำตาลต่ำ […]

ลดน้ำตาลในเลือดด้วยอาหาร

ระดับน้ำตาลในเลือดถือเป็นค่าชี้วัดตัวหนึ่งที่บ่งบอกสภาวะร่างกายไม่ใช่เพียงการ “งดน้ำตาลในอาหาร” ให้ความสำคัญกับอาหารที่ให้คาร์โบไฮเดรต

1 2
ส่งข้อความถึงเรา