fbpx

ป้ายกำกับจากคลังความรู้

Tag : โรคหัวใจ

กิน อาหารเสริมแคลเซียม อย่างไรให้ปลอดภัย

เมื่อพูดถึง แคลเซียม เราก็จะนึกถึงว่าเป็นแร่ธาตุที่มีความสำคัญต่อกระดูกและฟันของเรา ไม่ว่าจะช่วยในการสร้างกระดูกและฟันในเด็ก เพิ่มความแข็งแรงให้กระดูกในวัยรุ่น นอกจากนี้ แคลเซียมยังเป็นส่วนสำคัญในการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ เช่น การเต้นของหัวใจ การแข็งตัวของหลอดเลือด การทำงานของระบบประสาท และการหดตัวของกล้ามเนื้อ แคลเซียมเป็นแร่ธาตุที่เราได้รับจากอาหารที่กิน แต่ทว่าจากสถิติของประเทศไทยพบว่าคนไทยนั้นได้รับแคลเซียมเพียงแค่ 361 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งคิดเป็นเพียงร้อยละ 45 ของปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน จึงทำให้แพทย์หรือใครหลาย ๆ คนเลือกที่จะใช้การเสริมแคลเซียมในรูปแบบผลิตภัณฑ์อาหารเสริมเข้ามาเป็นตัวช่วย แต่อย่างไรก็ตามการกิน อาหารเสริมแคลเซียม ก็ทำให้ผู้วิจัยหลาย ๆ คนเกิดความสงสัยว่า แคลเซียม จะทำให้เกิดโรคหัวใจมากขึ้นหรือไม่  แหล่งของ แคลเซียม แร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกาย  แคลเซียม เป็นแร่ธาตุที่สามารถพบได้มากที่สุดในร่างกาย โดยจะเป็นส่วนประกอบสำคัญของกระดูกและฟัน หากร่างกายได้รับแคลเซียมไม่เพียงพออาจจะนำไปสู่การเกิดภาวะกระดูกพรุน (Osteoporosis) และอาจมีอาการแทรกซ้อนอื่น ๆ ตามมาอีกด้วย จึงทำให้การได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอเป็นสิ่งที่สำคัญต่อคนในแต่ละช่วงวัยอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการเสริมแคลเซียมในเด็กเพื่อให้เสริมสร้างกระดูกอย่างเหมาะสม หรือในผู้ใหญ่ที่เป็นการเสริมความแข็งแรงของกระดูกนั่นเอง  สำหรับแหล่งอาหารที่มีแคลเซียม ได้แก่ นมหรือผลิตภัณฑ์จากนมที่เป็นแหล่งของแคลเซียมที่ดีที่สุดเพราะมีอยู่ในปริมาณมากและสามารถดูดซึมได้ดี ถั่วเมล็ดแห้งหรืองา และผักใบเขียว แต่ในปัจจุบันก็ได้มีผลิตภัณฑ์แคลเซียมที่ใช้ในการเสริมแบบเม็ดออกมา เพื่อให้คนที่ไม่สามารถกินอาหารที่เป็นแหล่งของแคลเซียมได้อย่างเพียงพออีกด้วย เพราะจากการสำรวจพบว่าคนไทยได้รับแคลเซียมเฉลี่ยต่อวันอยู่ที่ 361 มิลลิกรัมเพียงเท่านั้น ซึ่งถือว่าน้อยกว่าปริมาณที่ควรได้รับต่อวันเกือบ […]

7 อาหารบำรุง หัวใจ

หัวใจ ถือเป็นอวัยวะที่สำคัญอย่างมากต่อร่างกาย เนื่องจากมีหน้าที่คอยบีบตัว เพื่อส่งเลือดไปตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกายเพื่อขนส่งสารอาหาร ออกซิเจนและสารสำคัญต่าง ๆ ให้เซลล์ในร่างกายแต่ละเซลล์ ทำให้อวัยวะต่าง ๆ สามารถทำงานได้อย่างปกติ ดังนั้น การดูแลหัวใจให้แข็งแรงจึงเป็นเรื่องที่สำคัญเป็นอย่างมาก เพราะหากหัวใจทำงานได้แย่ลง หรือไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ก็จะส่งผลให้ร่างกายโดยรวมแย่ลงด้วยเช่นกัน ซึ่งอาหารก็จัดเป็นหนึ่งปัจจัยที่ช่วยให้หัวใจแข็งแรง โดยช่วยควบคุมระดับความดันโลหิต ไขมันในเลือด เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดนั่นเอง บทความนี้จึงได้รวบรวม อาหารบำรุง หัวใจมาให้คุณได้ดูกัน นี่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของ อาหารบำรุง หัวใจ ของเราให้แข็งแรงได้มากขึ้น แต่สิ่งที่สำคัญคือการเลือกกินอาหารให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงการกินอาหารรสหวานจัด มันจัด และเค็มจัด รวมถึงออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเพื่อรักษาสุขภาพของร่างกายและหัวใจของเราให้แข็งแรงอยู่ตลอดเวลานั่นเอง นอกจากนี้คุณยังสามารถให้ Eatwellconcept ทีมนักกำหนดอาหาร นักวิทยาศาสตร์การกีฬา นักจิตวิทยา ช่วยออกแบบตารางอาหารคุมน้ำหนัก อาหารบำรุง หัวใจ ตารางการออกกำลังกาย และการให้คำแนะนำในการจัดการความเครียด เพื่อให้คุณมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ควบคู่จิตใจที่แข็งแรงพร้อมกับการทำกิจกรรมในทุก ๆ วัน แหล่งอ้างอิง 

กินไข่ทุกวัน ไม่ได้ทำให้เกิดโรคหัวใจ

ยังไม่มีน้ำหนักเพียงพอที่จะชี้ไปให้เห็นว่า “ไข่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ” เพราะใครยิ่งมีปัจจัยเหล่านี้ในตัวมาก ๆ ก็ยิ่งเสี่ยง เช่น การสูบบุหรี่ ระดับไขมัน LDL Triglycerides ในเลือดสูง

“ถั่ววันละหนึ่งกำมือ” ดีต่อหัวใจ

หากหิวระหว่างวันแล้วไม่รู้จะกินอะไรดี มีกระป๋องถั่วติดตัวไว้ก็ดูเป็นทางเลือกที่น่าสนใจ เหมือนกันเพราะมีการศึกษาพบว่า การรับประทานถั่ววันละ 20 กรัม ( ตีซะง่ายๆ ว่า 1 กำมือ ) จะช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคต่างๆ ได้ ถั่วช่วยลดความเสี่ยงในการเป็นโรคได้อย่างไร? “ถั่วเป็นพืชที่มีใยอาหาร แมกนีเซียม รวมถึงไขมันไม่อิ่มตัวสูงในปริมาณที่สูง สารอาหารเหล่านี้เกี่ยวข้องกับการลดระดับคอเลสตอรอลในเลือดได้ ทำให้หัวใจมีสุขภาพดี และช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคของหัวใจได้” ในขณะเดียวกันถั่วหลายๆ ชนิด อย่างเช่น วอลนัท หรือพีคาน ต่างก็มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงซึ่งสารเหล่านี้จะเป็นตัวไปต่อสู้กับเหล่าอนุมูลอิสระในร่างกาย (หนึ่งในสาเหตุของการเกิดมะเร็ง)  และถั่วเองยังมีสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพ (Bioactive Compounds) ที่ช่วยลดการกลายพันธุ์หรือการแบ่งตัวที่ผิดปกติของเซล์ในร่างกายจนกลายเป็นเนื้อร้าย โดยรวมแล้วถั่วจึงช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งได้เช่นกัน นอกจากนั้นยังมีการศึกษาพบว่าถั่วบางชนิดสามารถช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด และลดความเสี่ยงในการเสียชีวิตจากโรคเบาหวานชนิดที่ 2 รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงจากโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจได้เหมือนกัน แต่ถั่วเองก็มีวางขายอยู่หลายประเภท ควรเลือกกินอย่างไร? สำหรับใครที่สนใจจะลองรับประทานถั่ววันละหนึ่งกำมือดูบ้าง แม้จะมีงานวิจัยออกมาถึงประโยชน์ ในการบริโภคถั่ว แต่ก็ต้องระมัดระวังในการเลือกรับประทาน เพราะถั่วถือเป็นพืชที่ให้พลังงานสูงอยู่แล้ว รวมถึงถั่วที่วางขายมีหลายประเภท ทั้งถั่วอบเกลือ ถั่วทอด ถั่วเคลือบน้ำผึ้ง หากกินไปแล้วอาจได้น้ำตาล หรือโซเดียมมาเป็นของแถม ตัวนี้จึงขอแนะนำให้เลือกรับประทานเป็นถั่วรสธรรมชาติ และควรเป็นชนิดที่หลากหลาย เช่น พิตาชิโอ อัลมอนด์ […]

ส่งข้อความถึงเรา