fbpx

ภูมิแพ้อาหารแฝง ภูมิแพ้อาหาร ต่างกันอย่างไร?

‘อาหาร’ คือ สิ่งที่จำเป็นสำหรับร่างกายในการเสริมสร้างและซ่อมแซมอวัยวะต่างๆ ซึ่งควรจะต้องมีความหลากหลาย มีสารอาหารครบถ้วนและมีปริมาณที่เหมาะสม จึงจะทำให้เรามีสุขภาพที่ดีปราศจากโรคภัยไข้เจ็บ แต่ในขณะเดียวกันอาหารที่เหมาะสมกับคนอื่นอาจจะไม่เหมาะสมกับร่างกายของเรา เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของคนเราแต่ละคนไม่เหมือนกัน ถ้าหากร่างกายของเราไม่ยอมรับอาหารชนิดนั้นๆ อาหารจะกลายเป็น ‘สารพิษ’ ที่เป็นสาเหตุของการเจ็บป่วยและก่อให้เกิดความเสื่อมไปทั่วร่างกาย ซึ่งถูกเรียกว่า ‘ปฏิกิริยาภูมิแพ้อาหาร’ ซึ่งเราจะมาดูกันอีกทีว่า ภูมิแพ้อาหาร กับ ภูมิแพ้อาหารแฝง มันคืออะไรกัน

ปฏิกิริยาภูมิแพ้อาหาร

สามารถแบ่งออกเป็นภูมิแพ้อาหาร(Food Allergy) และ ภูมิแพ้อาหารแบบแอบแฝง (Food Intolerance)

Food Allergy หรือ ภูมิแพ้อาหาร

  • คือ ภาวะที่อาหารถือว่าเป็นสิ่งแปลกปลอมเมื่อเข้าสู่ร่างกาย จากนั้นระบบภูมิคุ้มกันจะกระตุ้นให้เม็ดเลือดขาวสั่งการให้ แอนติบอดี้ชนิด IgE หลั่งสารปฏิกิริยาภูมิแพ้ หรือ สารฮีสตามีน (Histamine) ออกมา ซึ่งถือว่าเป็นชนิดภูมิแพ้ที่ค่อนข้างรุนแรง เราสามารถสังเกตอาการได้จากการรับประทานอาหาร หากร่างกายแพ้อาหารชนิดนั้นๆจะแสดงอาการแพ้ออกมาทันที เช่น มีผื่นคันขึ้นตามตัว หายใจติดขัด และอาจจะร้ายแรงไปจนถึงเกิดอาการช็อค หมดสติ

การรักษาเบื้องต้น คือ รับประทานยาแก้แพ้ แต่ถ้าหากอาการรุนแรงมากๆ ต้องรีบนำตัวส่งโรงพยาบาล แพทย์จะฉีดยาแก้แพ้หรือยาสเตียรอยด์เพื่อควบคุมอาการไว้ไม่ให้ลุกลาม

Food Intolerance หรือ ภูมิแพ้อาหารแฝง

  • คือ ภาวะที่ร่างกายเกิดความผิดปกติหลังจากรับประทานอาหารบางชนิดเข้าไป ส่งผลให้เซลล์ในร่างกายถูกทำลายหรือไปรบกวนระบบภูมิต้านทานทั้งร่างกายจนระบบการทำงานอื่นแปรปรวน เนื่องจากร่างกายเข้าใจคลาดเคลื่อนคิดว่ามีสิ่งแปลกปลอมเข้ามา หากสะสมไปเรื่อยๆ ร่างกายจะยิ่งต่อต้าน ยิ่งกระตุ้นการสร้างแอนติบอดีชนิด IgG มากจนไม่สามารถกำจัดออกหมด ทำให้ร่างกายโดนแอนติบอดีชนิด IgG   ทำลาย ถึงค่อยแสดงอาการออกมาให้เห็น ซึ่งปฏิกิริยารูปแบบนี้เกิดจากการรับประทานอาหารชนิดเดิมอย่างซ้ำๆ โดยที่เราไม่รู้ตัว

เมื่อร่างกายสะสมต่อเนื่องไปนานๆ อาจจะก่อให้เกิดปัญหาโรคเรื้อรัง เช่น กลุ่มโรคภูมิแพ้ตัวเอง โรคระบบลำไสรั่ว ลำไส้อักเสบเรื้อรัง หรือแม้แต่เกิดการรบกวนการทำงานระบบประสาท เช่น ภาวะสมาธิสั้น เครียด ไมเกรน เป็นต้น

กลไกการเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้แฝง

กลไกการเกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้แฝง

ผลภูมิแพ้อาหารแฝง (Food Intolerance) สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นกับระดับแอนติบอดีชนิด IgG ต่ออาหารชนิดนั้นๆ เนื่องจากว่าการแพ้อาหารที่เริ่มเกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่มักจะไม่หายขาด แต่สามารถรักษาด้วยการหลีกเลี่ยงและดูแลตนเอง

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าแพ้อาหาร?

ร่างกายจะส่งสัญญาณเตือนให้เรารู้ว่ากำลังมีปัญหา โดยจะมีอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือหลายๆอาการร่วมด้วย ดังนี้

สัญญาณเตือนร่างกายเมื่อเกิดการแพ้อาหาร
  • ระบบประสาท : ไมเกรน, ปวดหัว, วิตกกังวล, สมาธิสั้น และนอนไม่หลับ
  • ระบบทางเดินหายใจ : โรคจมูกอักเสบ, โรคหอบหืด และโรคไซนัสอักเสบ
  • ระบบทางเดินอาหาร : อาเจียน, ท้องอืด, ท้องผูก, ท้องเสีย และปัญหาควบคุมน้ำหนัก
  • ผิวหนัง : ลมพิษ, ผื่นคัน และกลาก
  • ระบบกล้ามเนื้อ : โรคไขข้อ, ปวดข้อ และปวดกล้ามเนื้อ

ตารางแสดงข้อแตกต่างระหว่างภูมิแพ้อาหารเฉียบพลัน(Food Allergy: IgE) และภูมิแพ้อาหารแฝง(Food Intolerance: IgG)

ภูมิแพ้อาหาร
(Food Allergy: IgE)
ภูมิแพ้อาหารแอบแฝง
(Food Intolerance: IgG)
1. ระยะเวลาเกิดอาการอาการเกิดแบบฉับพลัน ทันทีที่รับประทานอาหารชนิดนั้นๆเข้าไปอาการเกิดแบบค่อยเป็นค่อยไป สะสมไปเรื่อยๆจึงค่อยแสดงออกมา
2. กลไกการเกิดปฏิกิริยาปฏิกิริยาที่เกิดจากการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน (แอนติบอดีชนิด IgE)ปฏิกิริยาที่เกิดจากการกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกัน (แอนติบอดีชนิด IgG)
3. อาการแสดงลมพิษ หายใจลำบาก อาเจียน ช็อก และอาจถึงแก่ชีวิตได้ในทันทีปวดหัว นอนไม่หลับ ปวดตัว ท้องอืด ผื่นคัน เป็นต้น
4. ความรุนแรงแพ้อาหารชนิดนั้นๆตลอดชีวิตสามารถแก้ไขได้โดยการงดอาหารชนิดนั้นๆ
5.การวินิจฉัยสามารถทราบด้วยตนเอง เนื่องจากอาการเกิดขึ้นรุนแรงและเฉียบพลันไม่สามารถทราบด้วยตนเอง เนื่องจากอาการแสดงจะไม่แน่ชัด
(แนะนำตรวจ Food Intolerance)
6.ปริมาณอาหารที่กระตุ้นให้เกิดไม่ขึ้นกับปริมาณอาหาร เพียงปริมาณเล็กน้อยก็แพ้ได้ขึ้นกับปริมาณอาหารที่ร่างกายได้รับเข้าไปสะสมในร่างกาย
ตารางแสดงความแตกต่างระหว่าง IgE และ IgG

บางครั้งผลการทดสอบภูมิแพ้อาหารแฝง (Food Intolerance) พบว่าแพ้อาหารในบางชนิดที่ร่างกายไม่เคยได้รับมาก่อน เนื่องจากว่าอาหารบางชนิดมีโครงสร้างโปรตีน (แอนติเจน) ที่คล้ายกัน ทำให้มีโอกาสเกิดการแพ้อาหารข้ามกลุ่ม (Food cross-reactivity) โดยไม่จำเป็นต้องเป็นอาหารชนิดเดียวกัน ดังนั้นทำให้แอนติบอดี ชนิดIgG ตัวเดียวกันมาจับและเกิดปฏิกิริยาการแพ้เช่นเดียวกัน

การแพ้อาหารข้ามกลุ่ม (Food cross-reactivity)

การแพ้ข้ามนั้นเป็นเรื่องของความน่าจะเป็น (Probability) ซึ่งร่างกายของเราจะแพ้อาหารรุนแรงหรือขึ้นกับตามแต่ละชนิดของอาหาร เช่น หากเราแพ้ shellfish (อาหารทะเล) ก็จะมีโอกาสแพ้อาหารทะเลในตระกูลเดียวกัน เช่น กั้ง ปู ลอบสเตอร์ สูงถึง 75% ในขณะที่หากเราแพ้นมวัว ก็จะมีโอกาสแพ้นมแพะ สูงถึง 92% ทว่าโอกาสการแพ้ลักษณะนี้อาจจะเกิดกับบางบุคคลเท่านั้น

ภูมิแพ้อาหารแฝงกับภูมิแพ้อาหารเฉียบพลันต่างก็เป็นปฏิกิริยาที่ร่างกายตอบสนองต่อ ‘อาหาร’ เหมือนกัน หากแต่มีกลไกการทำงานที่แตกต่างกัน ดังนั้นหากเราจะรับประทานอะไรเข้าไปก็ควรที่จะระมัดระวังและคอยสังเกตอาการของตัวเอง เนื่องจากอาหารธรรมดาของบุคคลหนึ่งอาจจะเป็นอันตรายที่รุนแรงสำหรับอีกบุคคลหนึ่งได้ อย่างไรก็ตามเป็นไปได้ที่ตรวจภูมิแพ้อาหารแฝง (Food Intolerance) แล้วพบว่าผลปกติ แต่ร่างกายมีอาการแพ้อาหารชนิดนั้นๆ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายมีทั้งการตอบสนองต่อแอนติบอดีชนิด IgE และ แอนติบอดีชนิด IgG ซึ่งอาหารบางชนิดที่ตอบสนองต่อแอนติบอดีชนิด IgE จะไม่ตอบสนองต่อ แอนติบอดีชนิด IgG

นอกจากนี้ยังมีอาหารหลายชนิดที่มีผลต่อร่างกายโดยไม่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันเลย ดังนั้น การตรวจภูมิแพ้อาหารต่างๆ จึงเป็นแนวทางเพื่อยืนยันถึงอาหารที่เรามีอาการแพ้ด้วย แต่ก็ควรสำรวจพฤติกรรมการกินของตัวเองเบื้องต้น เพื่อคัดกรองก่อนว่าตัวเองแพ้อาหารประเภทไหน และมีการแพ้อย่างไรบ้าง เพื่อให้ร่างกายของเรามีการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

สอบถามเพิ่มเติม Add Line ปรึกษานักกำหนดอาหาร

ดูแลสุขภาพของคุณให้ถูกวิธี

โปรแกรมปรึกษานักกำหนดอาหารคืออะไร ?

พร้อมรับคำปรึกษาจาก

นักกำหนดอาหารวิชาชีพ

ไม่พลาดบทความด้านโภชนาการ

ของ อีทเวลล์คอนเซปต์ ก่อนใคร

แหล่งอ้างอิง

  • B1, A. (2018, April 5). CrossReactivity of Food Allergens. Retrieved from ภูมิแพ้แก้ได้: https://www.facebook.com/Theallergicmarch/posts/1954302091550439/
  • mayoclinic. (2021, December 31). Food allergy. Retrieved from www.mayoclinic.org: https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/food-allergy/symptoms-causes/syc-20355095
  • NHealth. (n.d.). Food Intolerance support guide.
  • ประเสริฐเจริญสุข, อ. (2020). ภาวะแพ้อาหารในผู้ใหญ่ . สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย , 169-183.
ส่งข้อความถึงเรา