fbpx

น้ำตาลเทียม เลือกกินอย่างไร ให้ปลอดภัย

น้ำตาลเทียม หรือ สารที่ใช้แทนความหวานถูกสังเคราะห์ขึ้นเพื่อมาใช้แทนน้ำตาลทราย เนื่องจากว่าน้ำตาลเทียมไม่ให้พลังงาน หรือมีพลังงานที่น้อยมาก ซึ่งแตกต่างจากน้ำตาลทรายที่ให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี่ต่อ 1 กรัม หากบริโภคมากเกินไปก็จะทำให้ร่างกายเสี่ยงต่อน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น โรคอ้วน โรคเบาหวาน ฯลฯ ดังนั้นจึงมีการสังเคราะห์น้ำตาลเทียมเข้ามาเป็นหนึ่งในทางเลือกของคนรักสุขภาพที่ตั้งใจจะลดน้ำตาล ลดการกินหวาน และลดน้ำหนัก

ชนิดของน้ำตาลเทียม

1. สารให้ความหวานที่มีคุณค่าทางโภชนาการ

สารให้ความหวานประเภทน้ำตาลแอลกอฮอล์จะให้พลังงานประมาณ 50-60% ของน้ำตาลทราย หรือ 2 กิโลแคลอรี/กรัมได้แก่ ซอร์บิทอล (Sorbitol), แมนนิทอล (Mannitol), ไซลิทอล (Xylitol), ไอโซมอลต์ (Isomalt), มาลิทอล (Malitol), แลคติทอล (Lactitol), และทากาโลส (Tagalose)

2. สารให้ความหวานที่ไม่มีคุณค่าทางโภชนาการ

สารให้ความหวานที่ไม่ให้พลังงานหรือให้พลังงานต่ำมาก องค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (FDA)ยอมรับให้ใช้ได้อย่างปลอดภัย มี 8 ชนิด ได้แก่ แซคคาริน (Saccharin), แอสปาร์เทม (Aspartame), ซูคราโลส (Sucralose), อะซีซัลเฟม เค(Acesulfame K), นีโอเทม (Neotame), แอดแวนเทม (Advantame), สตีเวียหรือสารสกัดจากหญ้าหวาน (Stevia), และหล่อฮังก้วย (Luo han guo)

ค่าความหวาน น้ำตาลเทียม

       ปัจจุบันมีน้ำตาลเทียมหลายชนิดที่ถูกสังเคราะห์ขึ้นมาใช้ด้วยวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันไป ซึ่งแต่ละชนิดก็จะมีคุณสมบัติ มีค่าความหวานที่แตกต่างกัน จึงมีการนำมาใช้ในวัตถุประสงค์แตกต่างกัน เช่น

  • ไซลิทอล (Xylitol) มีความหวานเท่ากับน้ำตาลทราย
  • ซอร์บิทอล (Sorbitol) มีความหวานน้อยกว่าน้ำตาลทราย คือประมาณ ½ – 2/3 เท่าของน้ำตาล ทราย
  • โซเดียมไซคลาเมท (Sodium cyclamate) มีความหวาน 30 เท่าของน้ำตาลทราย
  • สติวิโอไซด์ (Stevioside) มีความหวานประมาณ 150-300 เท่าของน้ำตาลทราย
  • แอสปาร์เทม (Aspartame) ให้ความหวานสูงกว่าน้ำตาล 200 เท่า มีรสชาติใกล้เคียงกับน้ำตาลทรายมาก ที่สุด จึงเป็นที่นิยมในอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มในปัจจุบัน
  • อะซีซัลเฟม เค (Acesulfame K) ให้ความหวานสูงกว่าน้ำตาล 200 เท่า
  • ดัลซิน (Dulcin) หรือซูครอล (Sucrol) มีความหวาน 200 เท่าของน้ำตาลทราย
  • แซคคาริน หรือขัณฑสกร (Saccharin)ให้ความหวานสูงกว่าน้ำตาลทรายถึง 300-700 เท่า
  • ซูคราโลส (Sucralose) ให้ความหวานสูงกว่าน้ำตาลทรายถึง 600 เท่า
  • ไดโซเดียมกลีซิลริซิเนต ไตรโซเดียมกลีซิลริซิเนต มีความหวาน 4,000 เท่าของน้ำตาลทราย

ประโยชน์ของ น้ำตาลเทียม

  1. ไม่มีพลังงานหรือมีพลังงานที่ต่ำ : สามารถช่วยควบคุมน้ำหนักในระยะแรก แต่หากใช้ปริมาณมากก็จะไม่ได้ผล ในทางกลับกันจะทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น
  2. ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด : โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวาน เพราะน้ำตาลเทียมไม่จัดอยู่ในกลุ่มของคาร์โบไฮเดรต ทำให้การกินน้ำตาลเทียมจะไม่ส่งผลต่อระดับน้ำตาลในเลือด
  3. ป้องกันฟันผุ : น้ำตาลเทียมจะไม่ทำปฏิกิริยากับแบคทีเรียในช่องปาก จึงทำให้ไม่มีกรดเกิดขึ้นไปทำลายผิวฟันจนผุกร่อน

นอกจากนี้ยังมีสารให้ความหวานแทนน้ำตาลที่ให้พลังงานอีกด้วย

เลือกน้ำตาลเทียมอย่างไรให้ปลอดภัย?

1.ควรเลือกใช้น้ำตาลเทียมให้ตรงกับวัตถุประสงค์ในการใช้งาน เช่น

กินหรือเลือกน้ำตาลเทียมอย่างไรให้ปลอดภัย-EWC

2.ใช้น้ำตาลเทียมในปริมาณที่เหมาะสม โดยในหนึ่งวันคนเราไม่ควรบริโภคน้ำตาล ไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลทรายหรือน้ำตาลเทียมเกิน 6 ช้อนชาต่อวัน

พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 อนุญาตให้ใช้วัตถุที่ให้ความหวานแทนน้ำตาลหรือใช้รวมกับน้ำตาล ตามมาตรฐานอาหาร เอฟ เอ โอ/ดับบลิว เอช โอ, โคเด็กซ (Joint FAO/WHO, Codex) โดยปริมาณที่องค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา (USDA) อนุญาตให้รับบริโภคได้ตามค่า Acceptable daily intake levels (ADI) น้ำตาลเทียมแต่ละชนิดจะมีค่า ADI แตกต่างกัน ดังนี้

  • แอสปาร์เทม ค่า ADI เท่ากับ 40-50 มิลลิกรัมต่อน้้าหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน
  • ซัคคาริน ค่า ADI เท่ากับ 5 มิลลิกรัมต่อน้้าหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน
  • อะซิซัลเฟมโพแทสเซียม ค่า ADI เท่ากับ 15 มิลลิกรัมต่อน้้าหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน
  • ซูคราโลส ค่า ADI เท่ากับ 15 มิลลิกรัมต่อน้้าหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน

3.เลือกน้ำตาลเทียมที่สกัดจากธรรมชาติ

  • สตีเวีย(สารสกัดจากใบหญ้าหวาน) เป็นน้ำตาลเทียมที่ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ควรบริโภคไม่เกิน 4 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา(อย.) ได้มีการขึ้นทะเบียนให้สามารถใช้สารสตีวิออลไกลโคไซด์(สารสกัดจากใบหญ้าหวาน) เพื่อการบริโภคแทนน้ำตาลทรายได้ ใช้ใส่ในเครื่องดื่มและอาหาร มีความปลอดภัยสูง ไม่มีอันตราย ไม่มีผลข้างเคียงใด ๆ ซึ่งหญ้าหวานจะออกรสหวานช้ากว่าและอยู่ได้นานกว่าน้ำตาลทราย มักจะถูกนำไปผสมกับสารให้ความหวานตัวอื่นๆที่หวานน้อยกว่าน้ำตาลทรายแต่มีความปลอดภัย เช่น มอลทิทอล อิริทริทอล อินูลิน เพื่อรสชาติที่หวานไม่ติดขม
  • น้ำตาลหล่อฮังก้วย (Luo han guo) เป็นน้ำตาลเทียมที่ผลิตมาจากผลของหล่อฮังก้วยผสมกับหญ้าหวานและอิริทริทอล สูตรนี้มีความหวานและรสชาติเหมือนน้ำตาลทรายแดงและใช้แทนน้ำตาลทั่วไปในอัตราส่วน 1:1 ซึ่งภายในผลหล่อฮังก้วยมีสารให้ความหวานตามธรรมชาติที่ชื่อ โมโกรไซด์ (Mogrosides) ไม่ส่งผลต่อการเพิ่มของระดับน้ำตาลในเลือด และเป็นสารให้ความหวานที่ไม่มีแคลอรี โดยน้ำตาลที่สกัดได้จากหล่อฮังก้วยนั้นให้ความหวานกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 150 – 200 เท่า สารสกัดจากหล่อฮังก๊วยได้รับการรับรองจากอย. ว่าสามารถเติมลงไปในอาหารได้อย่างปลอดภัย (GRAS) เช่นเดียวกับสารสกัดจากหญ้าหวาน

ข้อควรระวังการใช้น้ำตาลเทียม

รสหวานก็คือรสชาติที่เราได้รับจากน้ำตาลเทียมเช่นเดียวกับน้ำตาลทราย ดังนั้นหากใช้ในปริมาณที่มาก ก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ติดหวานได้ และทำให้ร่างกายมีความอยากบริโภคอาหารรสหวานเพิ่มขึ้น ส่งผลเสียต่อสุขภาพในระยะยาว นำไปสู่โรคติดต่อไม่เรื้อรัง (โรค NCDs)  เช่น โรคอ้วนลงพุง โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น

  • ไม่แนะนำให้ใช้ในเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 2 ปี เนื่องจากวัยเด็กถือว่าเป็นวัยที่ต้องการใช้พลังงาน
  • แม้น้ำตาลเทียมจะมีแคลอรีต่ำ แต่ก็ส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นได้ หากใช้ในปริมาณที่มากเกินไป
  • แซคคารินหรือขัณฑสกร(Saccharin) มีรายงานการวิจัยว่าทำให้เกิดมะเร็งในหนูเมื่อใช้ในปริมาณสูง
  • การวิจัยพบแอสปาร์เทม (Aspartame) ซูคราโลส (Sucralose) และแซคคาริน (Saccharin) ขัดขวางการสื่อสารและรบกวนสมดุลแบคทีเรียในลำไส้ ทำให้เกิดปัญหาระบบย่อยอาหาร
  • น้ำตาลเทียมเพิ่มความเสี่ยงโรคหัวใจ-หลอดเลือดสมอง จากผลการศึกษาที่ได้รับการตีพิมพ์จากวารสารสมาคมการแพทย์อเมริกัน (The Journal of the American Medical Association) ในปี 2014
  • ผู้ป่วยโรคฟีนิลคีโตนูเรีย (Phenylketonuria) ควรหลีกเลี่ยงการใช้แอสปาร์เทม เนื่องจากมีส่วนประกอบของกรดอะมิโนฟีนิลอะลานีน (Phenylalanine) ที่อาจทำให้ระดับฟีนิลอะลานีนในร่างกายสูงขึ้น
  • ผู้ที่แพ้สารซัลโฟนาไมด์ (Sulfonamides) ควรหลีกเลี่ยงการทานแซคคาริน(Saccharin) ซึ่งเป็นน้ำตาลเทียมชนิดที่ถูกแปรสภาพมาจากสารซัลโฟนาไมด์

สรุป

การเลือกกินหรือใช้น้ำตาลเทียมควรใส่ใจในการควบคุมปริมาณที่ใช้ อย่าบริโภคมากเกินไป เพื่อลดความเสี่ยงต่อสุขภาพ ถึงแม้ว่าน้ำตาลเทียมจะไม่มีพลังงานแต่ก็ทำให้ติดรสหวานได้ นอกจากนี้อาจลองใช้น้ำตาลเทียมที่สกัดจากธรรมชาติแทนน้ำตาลเทียมจากการวังเคราะห์ เช่น สารสกัดจากใบหญ้าหวาน รวมถึงหลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงโดยอ่านฉลากโภชนาการ พิจารณาถึงส่วนผสมของน้ำตาลไม่ว่าจะเป็นน้ำตาลเทียมหรือน้ำตาลทรายไม่ควรบริโภคเกิน 6 ช้อนชาต่อวัน อย่างไรก็ตามมีการศึกษามากมายกล่าวอ้างว่าน้ำตาลเทียมอาจมีผลต่อการเป็นสารก่อมะเร็ง แต่ถ้าเราบริโภคปริมาณที่เหมาะสมและอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนดก็จะไม่เกิดผลเสียต่อร่างกาย

RAROS ไซรัปเพื่อสุขภาพ 0 แคลอรี่

สำหรับใครที่มองหาความหวานที่ไร้น้ำตาลในรูปแบบน้ำเชื่อม ใช้งานง่าย ใส่นิดหน่อยหวานน้อยกำลังดี มีหลายกลิ่นเพื่อเพิ่มอรรถรสของอาหารและเครื่องดื่ม

รสชาติที่เหมาะสำหรับ

  • ชา กาแฟ
  • น้ำผลไม้ปั่น สมูทตี้
  • เครื่องดื่มสมุนไพร น้ำเก๊กฮวย น้ำอัญชัญมะนาว
  • เบเกอรี่
  • ทำอาหารทั่วไป อาหารคาว และ อาหารหวาน

ไซรัปไม่มีน้ำตาล CRYSTAL CLEAR

ปริมาณ250 มิลลิลิตร/750มิลลิลิตร
เหมาะสำหรับ-ทำอาหารทั่วไป
-เครื่องดื่มทั่วไป
-ใช้ได้กับทุกประเภท
กลิ่นไม่มีกลิ่น
รสชาติรสหวานธรรมชาติ
ส่วนประกอบ-อีริทริทอล (98.75%)
-ซูคราโรสและแอซีซัลเฟมโพแทสเซียม (1.25%)
ราคาขวดเล็ก129 บาท
ขวดใหญ่ 249บาท

ไซรัปไม่มีน้ำตาล VANILLA ECLAIR

ปริมาณ250 มิลลิลิตร/750 มิลลิลิตร
เหมาะสำหรับนม, กาแฟ, เครื่องดื่มค็อกเทล, ชา,เบเกอรี่
กลิ่นกลิ่นวานิลลาโทนหวาน
รสชาติรสวนิลา
ส่วนประกอบ-อีริทริทอล (98.75%)
-ซูคราโรสและแอซีซัลเฟมโพแทสเซียม (1.25%)
ราคาขวดเล็ก149 บาท
ขวดใหญ่ 269 บาท

ไซรัปไม่มีน้ำตาล MELTED CARAMEL

ปริมาณ250 มิลลิลิตร/750 มิลลิลิตรกรัม
เหมาะสำหรับ นม, กาแฟ, เครื่องดื่มค็อกเทล, ชา,เบเกอรี่
กลิ่นกลิ่นหอมของน้ำตาลไหม้ 
รสชาติรสคารามเล
ส่วนประกอบ-อีริทริทอล (98.75%)
-ซูคราโรสและแอซีซัลเฟมโพแทสเซียม (1.25%)
ราคาขวดเล็ก149 บาท
ขวดใหญ่ 269 บาท

ไซรัปไม่มีน้ำตาล ROASTED ALMOND 

ปริมาณ250 มิลลิลิตร/750 มิลลิลิตรกรัม
เหมาะสำหรับนม, กาแฟ, เครื่องดื่มค็อกเทล, ชา,เบเกอรี่
กลิ่นกลิ่นหอมคั่วของ
ถั่วอัลมอนด์
รสชาติรสอัลมอนด์
ส่วนประกอบ-อีริทริทอล (98.75%)
-ซูคราโรสและแอซีซัลเฟมโพแทสเซียม (1.25%)
ราคาขวดเล็ก149 บาท
ขวดใหญ่ 269 บาท

สอบถามเพิ่มเติม Add Line ปรึกษานักกำหนดอาหาร

div id=”collection-component-1700454269916″>

ดูแลสุขภาพของคุณให้ถูกวิธี

โปรแกรมปรึกษานักกำหนดอาหารคืออะไร ?

พร้อมรับคำปรึกษาจาก

นักกำหนดอาหารวิชาชีพ

ไม่พลาดบทความด้านโภชนาการ

ของ อีทเวลล์คอนเซปต์ ก่อนใคร

ส่งข้อความถึงเรา