fbpx

หญ้าหวาน สารให้ความหวานจากธรรมชาติ

                เป็นที่ทราบกันดีว่าน้ำตาลหากบริโภคเยอะเกินจำเป็น สามารถสะสมทำให้น้ำหนักตัวขึ้นและนำมาสู่โรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้มากมาย หลายคนจึงเริ่มหันมาสนใจกับวัตถุดิบกลุ่มหนึ่งที่ให้ความหวานแทนน้ำตาลได้ และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ นั่นคือ สารให้ความหวานแทนน้ำตาล (Artificial sweeteners) ซึ่งสารให้ความหวานแทนน้ำตาลนี้ก็มีอยู่หลายชนิด แต่ที่กำลังได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก ก็คือ หญ้าหวาน ที่เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลจากธรรมชาติ และถูกนำมาเป็นส่วนประกอบของอาหารคาว ขนมหวาน และเครื่องดื่มอยู่มากมายในปัจจุบัน

หญ้าหวาน  คืออะไร ?

                หญ้าหวาน เป็นพืชชนิดหนึ่ง มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางอเมริกาใต้ สามารถให้ความหวานได้โดยธรรมชาติ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stevia Rebaudiana Bertoni  หรือเรียกสั้นๆ ว่า Stevia เมื่อนำใบหญ้าหวานแห้งมาสกัดจะได้สารสกัดบริสุทธิ์ ชื่อว่า สตีวิออลไกลโคไซด์ (Steviol glycosides)  ซึ่งมีความคงตัวสูงในตัวทำละลาย กรดอ่อน เบสอ่อน ทนความร้อนได้ถึง 200 องศาเซลเซียส และหวานกว่าน้ำตาลทราย 150 – 300 เท่า โดยที่ไม่มีคาร์โบไฮเดรตและไม่ให้พลังงาน ทั้งนี้สารสกัดจากใบหญ้าหวานที่ได้รับการยอมรับจาก คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญว่าด้วยวัตถุเจือปนอาหารขององค์การ อาหารและเกษตร และองค์การอนามัยโลก แห่งสหประชาชาติ (The Joint Food and Agriculture Organization/World Health Organization (WHO) Expert Committee on Food Additives, JECFA) ที่สามารถนำมาใช้ในอาหารและเครื่องดื่มได้ จะต้องมีปริมาณสารในกลุ่มสตีวิออลไกลโคไซด์ มากกว่าหรือเท่ากับร้อยละ 95 ของน้ำหนักแห้ง ดังนั้นจึงไม่แนะนำให้นำใบสด ใบอบแห้ง หรือผงสารสกัดจากใบหญ้าหวานที่ไม่ได้บอกปริมาณความเข้มข้นมาใช้ทำอาหารและเครื่องดื่ม

Stevia-EWC
ใบหญ้าหวาน

หญ้าหวานสกัดที่มีขายตามห้างทั่วไป

ตัวอย่างสินค้าที่ขึ้นทะเบียนอาหารและยา (อย.) ที่มีจำหน่ายตามห้างร้านทั่วไป หลายคนอาจจะเคยเห็นผ่านตากันมาบ้างแล้ว ส่วนแบบผงกับแบบน้ำเชื่อม สามารถเลือกตามความสะดวกในการใช้งานได้เลย

KONTROL สารให้ความหวาน ผสมสารสกัดหญ้า

ปริมาณ260 มิลลิลิตร
รูปแบบน้ำเชื่อม
ราคา88 บาท

ตรวจสอบปริมาณการใช้ที่ฉลากสินค้า

This image has an empty alt attribute; its file name is lazada-click-1024x312.png

น้ำตาลหญ้าหวาน Phupha

ปริมาณ500 มิลลิลิตร
รูปแบบน้ำเชื่อม
ราคา79 บาท

ตรวจสอบปริมาณการใช้ที่ฉลากสินค้า

This image has an empty alt attribute; its file name is lazada-click-1024x312.png

Equal Stevia 40 ซอง

ปริมาณ80 กรัม
รูปแบบผง(ซอง)
ราคา169 บาท

ตรวจสอบปริมาณการใช้ที่ฉลากสินค้า

This image has an empty alt attribute; its file name is lazada-click-1024x312.png

Equal Stevia 100 ซอง

ปริมาณ200 กรัม
รูปแบบผง(ซอง)
ราคา204 บาท

ตรวจสอบปริมาณการใช้ที่ฉลากสินค้า

This image has an empty alt attribute; its file name is lazada-click-1024x312.png

หญ้าหวาน  ใช้แล้วปลอดภัยไหม ?

                อ้างอิงจากคณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญว่าด้วยวัตถุเจือปนอาหารขององค์การ อาหารและเกษตร และองค์การอนามัยโลก แห่งสหประชาชาติ (JECFA) ได้ประเมินและกำหนดค่าความปลอดภัย (The  Acceptable Daily Intake, ADI) ของสารสกัดจากหญ้าหวาน (Steviol glycosides) ไว้ที่ 4 มิลลิกรัม/น้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม/วัน ในรูปของ steviol equivalents  หมายความว่า หากเราน้ำหนัก 50 กิโลกรัม เราจะสามารถรับสารสกัดจากหญ้าหวานได้ไม่เกิน 200 มิลลิกรัม/วัน แต่ในผลิตภัณฑ์สารให้ความหวานแทนน้ำตาลตามท้องตลาด มีส่วนผสมของสารสกัดจากหญ้าหวาน(Steviol glycosides) เพียงเล็กน้อยเท่านั้นหรือประมาณ 0.5 เปอร์เซนต์ของปริมาตรทั้งหมด   เนื่องจากสารสกัดนั้นให้ความหวานที่มากกว่า น้ำตาลหลายร้อยเท่า เช่น ในน้ำเก็กฮวยยี่ห้อหนึ่ง มีหญ้าหวานประมาณ 0.03 % ใน 500 ml คิดเป็น 15 mg ต่อกล่อง นั่นหมายความว่า อาจจะต้องกินดื่มน้ำเก็กฮวย มากถึง 13 กล่องต่อวัน จึงจะได้รับหญ้าหวาน เกินปริมาณที่กำหนด  ดังนั้นเมื่อนำมาใช้กับอาหารและเครื่องดื่มแทนน้ำตาลเพียงเล็กน้อยก็ให้ความหวานเทียบเท่ากับน้ำตาลแล้ว ทำให้เราหมดความกังวลเรื่องที่จะได้รับสารสกัดเกินปริมาณที่กำหนด รวมถึงในปี ค.ศ. 2009 คณะกรรมการอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (USFDA) ได้ออกประกาศว่า หญ้าหวานได้รับการยอมรับโดยทั่วไปว่าปลอดภัย (Generally Recognized As Safe, GRAS) และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ประกาศให้สารสกัดสติวิออลไกลโคไซด์เป็นวัตถุเจือปนอาหาร อีกด้วย ส่วนการศึกษาเกี่ยวกับการสะสมของสารสกัดจากหญ้าหวานจนเพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งนั้น ก็ยังไม่พบว่า การใช้หญ้าหวานแทนน้ำตาลจะทำให้เกิดมะเร็งได้

แต่อย่างไรก็ตามการบริโภคสารสกัดจากหญ้าหวาน ก็ยังต้องระวังในคนที่แพ้พืชตระกูลเดียวกับหญ้าหวาน เช่น ดอกเบญจมาศ ดอกดาวเรือง เนื่องจากมีความเสี่ยงอาจแพ้หญ้าหวานด้วยเช่นเดียวกัน รวมถึงยังไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันว่า สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตร สามารถกินสารสกัดจากหญ้าหวานได้ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงการบริโภคสารให้ความหวานแทนน้ำตาลไปก่อน  และไปเลือกควบคุมปริมาณอาหารและเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลสูงแทน

หญ้าหวาน  จริงๆ แล้วมีประโยชน์อย่างไร ?

                แน่นอนว่าประโยชน์ของหญ้าหวานที่ทุกคนรู้กันก็คือ การใช้เป็นวัตถุดิบให้ความหวานแทนน้ำตาลในอาหารและเครื่องดื่ม โดยที่ไม่ให้พลังงานและ ไม่ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น  ที่สารสกัดจากหญ้าหวานให้ผลเช่นนี้เนื่องจากกระบวนการย่อยและดูดซึมของสารสกัดไม่ผ่านระบบย่อยอาหารส่วนต้น แต่จะเริ่มย่อยที่ลำไส้ใหญ่โดยแบคทีเรียในลำไส้ หลังจากนั้นถูกลำเลียงไปเผาผลาญที่ตับ จนสุดท้ายถูกขับออกจากร่างกายผ่านปัสสาวะเป็นหลัก ไม่ถูกดูดซึมเข้ากระแสเลือด ดังนั้นสารสกัดจากหญ้าหวานจึงถูกนำมาใช้แทนน้ำตาล เพื่อเป็นตัวช่วยสำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด หรือบุคคลทั่วไปที่ต้องการควบคุมน้ำหนักโดยการลดพลังงานที่ได้รับจากน้ำตาลของอาหารและเครื่องดื่ม

                นอกจากนี้ยังมีการพูดถึงประโยชน์ของสารสกัดจากหญ้าหวานในด้านอื่น ๆ เช่น มีสารต้านอนุมูลอิสระ ที่ช่วยลดความเสื่อมของเซลล์ร่างกาย นำไปสู่การลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งได้ แต่ทั้งนี้ก็อาจมีปัจจัยเกี่ยวกับการที่ใช้หญ้าหวานแทนน้ำตาล ทำให้พลังงานต่อวันลดลงจนมีน้ำหนักตัวลดลงตามมา ซึ่งอย่างที่ทราบกันว่า ความอ้วน ก็เป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งได้ ดังนั้นในการใช้สารสกัดจากหญ้าหวานช่วยลดความเสี่ยงการเกิดมะเร็งได้ จึงต้องมีการศึกษาต่อไป

อ่านเพิ่มเติม ประกาศข้อแนะนำจากองค์การอนามัยโลก เรื่องสารให้แทนความหวาน

                กล่าวโดยสรุปคือ หญ้าหวาน เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาลจากธรรมชาติ ที่สามารถนำมาใช้ในอาหารและเครื่องดื่มได้อย่างปลอดภัย เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน หรือบุคคลทั่วไปที่ต้องการดูแลสุขภาพ แต่ทั้งนี้การดูแลสุขภาพที่ดีอย่างแท้จริง คือ การปรับพฤติกรรมของตัวเราเอง โดยลดอาหารหวาน มัน เค็ม หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีพลังงานสูง มีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้เกิดความสมดุลของพลังงานต่อวัน ไม่ให้สะสมจนเกิดโรคได้ และอาจมีการใช้สารให้ความแทนน้ำตาลเป็นตัวช่วยเล็กน้อย จะดีกว่าการเลือกใช้สารให้ความหวานแทนน้ำตาลเป็นหลักแต่ไม่ได้มีการปรับพฤติกรรมอะไรเลย เพราะนั่นอาจจะเป็นการดูแลสุขภาพที่ไม่ยั่งยืนก็เป็นได้

สอบถามเพิ่มเติม Add Line ปรึกษานักกำหนดอาหาร

ดูแลสุขภาพของคุณให้ถูกวิธี

โปรแกรมปรึกษานักกำหนดอาหารคืออะไร ?

พร้อมรับคำปรึกษาจาก

นักกำหนดอาหารวิชาชีพ

ไม่พลาดบทความด้านโภชนาการ

ของ อีทเวลล์คอนเซปต์ ก่อนใคร

แหล่งอ้างอิง

  • รองศาสตราจารย์ ดร. ภญ. พิสมัย กุลกาญจนาธร ภาควิชาเภสัชเคมี คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล(2557). หญ้าหวาน หวานทางเลือก เพื่อสุขภาพ [ออนไลน์]. แหล่งที่มา https://pharmacy.mahidol.ac.th/knowledge/files/0221.pdf  [4 มิถุนายน 2566]
  • Ashwell M. Stevia, Nature’s Zero-Calorie Sustainable Sweetener: A New Player in the Fight Against Obesity. Nutr Today. 2015 May;50(3):129-134. [4 มิถุนายน 2566]
  • EFSA Panel on Food Additives and Nutrient Sources (ANS). Scientific Opinion on the safety of steviol glycosides for the proposed uses as a food additive. EFSA J. 2010; 8( 4): 1537. [4 มิถุนายน 2566]
  • Iatridis N, Kougioumtzi A, Vlataki K, Papadaki S, Magklara A. Anti-Cancer Properties of Stevia rebaudiana; More than a Sweetener. Molecules. 2022 Feb 17;27(4):1362. [4 มิถุนายน 2566]
  • National cancer institute (Reviewed 2023).  Artificial Sweeteners and Cancer [online]. แหล่งที่มา  https://www.cancer.gov/about-cancer/causes-prevention/risk/diet/artificial-sweeteners-fact-sheet.[4 มิถุนายน 2566]
ส่งข้อความถึงเรา