fbpx

เทคนิคการเสริม โปรตีน ในผู้สูงอายุ

เมื่อก่อนเราอาจจะเคยได้ยินเรื่องของความเชื่อที่ว่า “อายุเยอะแล้ว ไม่ต้องกินเนื้อสัตว์เยอะหรอก ให้เน้นกินพืชกินผักมากกว่า” ซึ่งในความเป็นจริงเราพบว่าความเชื่อเหล่าเป็นสิ่งที่ผิด เนื่องจากเราพบว่า เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น อัตราการสลายกล้ามเนื้อก็เพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกันและการทำกิจกรรมหรือการขยับตัวก็ลดลง ยิ่งกระตุ้นให้กล้ามเนื้อสลายมากขึ้น รวมทั้งปัจจัยในเรื่องการบริโภคโปรตีนหรือเนื้อสัตว์ที่ลดลง

โดยอาจมาจากปัญหาเรื่องช่องปาก เช่น มีฟันเหลือน้อย หรือไม่มีฟัน หรืออาจจะรู้สึกว่าเนื้อสัตว์ต่างๆมีกลิ่นคาวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลให้ผู้สูงอายุได้รับโปรตีนที่ไม่เพียงพอต่อรางกาย เมื่อได้รับโปรตีนลดลง ร่างกายสลายมากขึ้น เราจึงพบเห็นว่าผู้สูงอายุจะเริ่มเดินไม่ไหวกันมากขึ้น และสุดท้ายก็เกิดภาวะป่วยติดเตียงตามมานั่นเอง

จากคำแนะนำของ European Society of Parenteral and Enteral Nutrition (ESPEN) ในปี 2022 แนะนำว่าในผู้สูงอายุควรได้รับโปรตีน อย่างน้อย 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แต่โดยทั่วไป เราจะแนะนำอยู่ที่ 1-1.2 กรัมของโปรตีนต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ในผู้สูงอายุสุขภาพดีทั่วไป และมีความต้องการเพิ่มขึ้นหากมีภาวะเจ็บป่วยอื่นๆ เช่น มีการอักเสบต่างๆ ติดเชื้อ มีบาดแผล หรือในกลุ่มที่มีการออกกำลังกายมากๆ

แต่หลายครั้งเราพบว่าปัญหาที่เกิดจากกินโปรตีนหรือเนื้อสัตว์ที่ลดลง ไม่ได้เกิดจากผู้สูงอายุไม่อยากกิน แต่เกิดจากปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้ไม่สามารถรับประทานได้ เช่นปัญหาทางช่องปาก ที่ได้กล่าวไปข้างต้น หรือการรับรู้กลิ่นหรือรสชาติอาหารที่เปลี่ยนไป ล้วนส่งผลต่อการรับประทานเนื้อสัตว์ได้น้อยลงทั้งสิ้น

เทคนิคเพื่อช่วยให้ผู้สูงอายุรับประทานเนื้อสัตว์ได้มากขึ้น

โปรตีน วันผู้สูงอายุ-EWC
  1. เลือกโปรตีนคุณภาพดีที่มีลักษณะ นิ่ม เคี้ยวง่าย และย่อยง่าย เช่น เนื้อปลา เนื้อหมูหรือไก่สับ กุ้ง ไข่ และเต้าหู้
  2. ใช้สมุนไพรต่างๆ มาช่วยกระตุ้นให้ผู้สูงอายุอยากอาหารมากขึ้น เช่น ต้มส้มปลา, ไข่เจียวโหระพา หรือ เต้าหู้นึ่งขิงเห็ดหอม เป็นต้น
  3. ปรุงอาหารให้มีรสเปรี้ยวหรือเผ็ดเล็กน้อย เพื่อกระตุ้นให้อยากอาหารมากขึ้น เช่น ผัดเปรี้ยวหวานกุ้งสับ หรือปลานึ่งมะนาวเป็นต้น
  4. นำมาเป็นของหวาน เช่น นำนมวัวหรือนมถั่วเหลือง ที่เป็นแหล่งของโปรตีนและแคลเซียม มาทำเป็นไอศรีม หรือปั่นรวมกับผลไม้เป็นสมูทตี้ หรือนำไปทำเป็นวุ้นหรือพานาคอตต้า ก็สามารถช่วยกระตุ้นให้ผู้สูงอายุกินได้มากขึ้น
  5. เพิ่มมื้อว่างที่มีแหล่งของโปรตีน เช่น ขนมจีบ, ซาเปาไส้หมูสับ, ฮะเก๋า หรือเกี๊ยวนึ่ง ก็สามารถถช่วยเพิ่มการรับประทานโปรตีนได้เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน
  6. หรืออาจจะเสริมด้วย อาหารทางการแพทย์ หรือนมโปรตีนสูง โดยอาจจะแบ่งดื่มครั้งละ 1/3-1/2 ขวด ก็สามารถเพิ่มโปรตีนได้เช่นเดียวกัน วิธีเลือกซื้ออาหารทางการแพทย์

และที่สำคัญอย่าลืมดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน แนะนำให้ดื่ม 1.6-2 ลิตรต่อวัน หรือ 6-8 แก้วต่อวัน และเพิ่มการออกกำลังกายหรือเพิ่มกิจกรรมระหว่างวันเพิ่มมากขึ้น เพื่อช่วยกระตุ้นการทำงานของกล้ามเนื้อได้ ในฐานะนักกำหนดอาหารเรามักพูดกับคนไข้หรือผู้สูงอายุทั่วไปเสมอว่า “รถยนต์ยิ่งใช้ยิ่งพัง แต่กล้ามเนื้อยิ่งใช้ยิ่งแข็งแรง” ดังนั้นอย่างลืมรับประทานโปรตีนและเพิ่มการออกกำลังกายกัน

ส่วนใครที่มีโรคประจำตัวไม่รู้ว่าจะกินโปรตีนเท่าไรหรืออาหารอื่นได้เท่าไร สามารถปรึกษากับนักกำหนดอาหารวิชาชีพกับเราได้ แค่มีผลตรวจสุขภาพเราช่วยดูแลเรื่องอาหารให้เหมาะสมกับโรคและ มีสรุปคำแนะนำการกินที่ออกแบบเฉพาะบุคคลให้

สอบถามเพิ่มเติม Add Line ปรึกษานักกำหนดอาหาร

ดูแลสุขภาพของคุณให้ถูกวิธี

โปรแกรมปรึกษานักกำหนดอาหารคืออะไร ?

พร้อมรับคำปรึกษาจาก

นักกำหนดอาหารวิชาชีพ

ไม่พลาดบทความด้านโภชนาการ

ของ อีทเวลล์คอนเซปต์ ก่อนใคร

ส่งข้อความถึงเรา