fbpx

ป้ายกำกับจากคลังความรู้

Tag : โรคมะเร็ง

อาหารทางการแพทย์ โรคมะเร็ง ก่อนและหลัง คีโม ฉายแสง

โดยทั่วไปผู้ป่วยโรคมะเร็งจะมีแนวโน้มในการกินอาหารไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เนื่องจากเมื่อเป็นมะเร็ง ร่างกายต้องการพลังงานและโปรตีนเพิ่มขึ้น แต่หลายคนกลับกินได้น้อยลง เพราะความอยากอาหารลดลง หรือเจ็บปากเจ็บคอจากการรักษา ทำให้น้ำหนักลดเร็วและเสี่ยงขาดสารอาหาร หรือแม้แต่การกินอาหารได้เท่าเดิมก็อาจทำให้น้ำหนักลดลง เนื่องจากร่างการมีการใช้พลังงานเพิ่มขึ้น ดังนั้นการเสริม อาหารทางการแพทย์ โรคมะเร็ง จึงเป็นการช่วยให้ผู้ป่วยได้รับพลังงานเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดสารอาหาร (Malnutrition) ซึ่งเป็นสาเหตุอย่างหนึ่งในการเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคมะเร็ง คอนเซปต์หลักในการเลือกอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคมะเร็งคือการให้อาหารที่มีพลังงานสูงและโปรตีนสูง เนื่องจากผู้ป่วยมักมีปัญหาเรื่องน้ำหนักตัวที่ลดลงอย่างรวดเร็วและการสูญเสียกล้ามเนื้อเพิ่มมากขึ้น การเสริมอาหารที่ให้พลังงานและโปรตีนสูงช่วยให้ร่างกายมีพลังงานเพียงพอสำหรับการต่อสู้กับโรค รวมถึงเสริมสร้างและฟื้นฟูเนื้อเยื่อที่เสียหายจากตัวโรคและในกระบวนการของการักษา เคล็ดลับเพิ่มพลังงานและสารอาหารให้ผู้ป่วยมะเร็ง 1.เพิ่มโปรตีนให้มากขึ้น เพิ่มการกินเนื้อสัตว์ เช่น ไข่ ปลา กุ้ง หมู หรือเต้าหู้ เพิ่มมากขึ้น ในกรณีที่มีปัญหาเรื่องการบดเคี้ยว แนะนำหั่นเนื้อสัตว์เป็นชิ้นเล็กและตุ๋นจนเปื่อยนุ่ม หรือสามารถเสริมได้จาก whey protein isolated เพื่อให้ได้โปรตีนเพิ่มมากขึ้นได้เช่นเดียวกัน 2.เพิ่มอาหารให้มีพลังงานสูง ใส่ไขมันดีในมื้ออาหาร  ไม่ว่าจะเป็น น้ำมันรำข้าว หรือน้ำมันมะกอก เพื่อให้ได้รับพลังงานเพิ่มมากขึ้น 3.เพิ่มมื้ออาหารระหว่างวัน เพิ่มมื้อว่างเช้า, ว่างบ่าย หรือก่อนนอน เพื่อให้ได้รับพลังงานเพิ่มมากขึ้น 4.กระตุ้นความอยากอาหารด้วยสมุนไพร ใช้ตะไคร้ กระเทียม หรือใบมะกรูดช่วยเพิ่มกลิ่นหอมให้อาหาร 5.ลองเมนูอาหารทีมีรสเปรี้ยว เพื่อช่วยเพิ่มอยากอาหาร เช่น […]

เป็นมะเร็งกินโปรตีนได้ไหม ?

คำถามยอดฮิตสำหรับคนไข้มะเร็งและญาติเลยก็ว่าได้ค่ะ เพราะเมื่อเป็นมะเร็งแล้ว จะมีความเชื่อ และข้อมูลที่ได้รับมาจากสื่อออนไลน์ที่บอกว่าเรา ห้ามกินอันนั้น ห้ามกินอันนี้ ให้กินอันโน้นซิ จะได้ไม่เป็นอาหารของมะเร็ง จนสุดท้ายแล้วคนไข้มักมาพบหมอหรือนักกำหนดอาหารด้วยภาวะขาดสารอาหาร (malnutrition) หรือมีภาวะผอมหนังหุ้มกระดูก (cachexia) ร่วมด้วย เนื่องจากกินอะไรไม่ได้ เพราะถูกจำกัดอาหารมากจนเกินความจำเป็น ภาวะผอมหนังหุ้มกระดูกจากมะเร็ง (cancer cachexia) เป็นภาวะที่มีสูญเสียมวลกล้ามเนื้อลดลงอย่างต่อเนื่องหรือมีการสูญเสียมวลไขมันของร่างกายร่วมด้วย มักเกิดจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ ภาวะขาดสารอาหาร (malnutrition)  และ ความผิดปกติของเมทาบอลิซึมของผู้ป่วยเอง จะเห็นได้ว่าคนไข้ในกลุ่มนี้จะมีรูปร่างที่ซูบผอม กล้ามเนื้อลีบ ไม่มีแรง เบื่ออาหาร และกินอาหารได้น้อย ในฐานะนักกำหนดอาหาร เรามักจะพูดกับคนไข้หรือญาติเสมอว่า “เป็นมะเร็ง กินอะไรก็ได้ ” โดยจะมีหลักจำง่ายๆคือ “ กินอาหารที่มีพลังงานสูง และโปรตีนสูง” หรือ “High Energy High Protein” เนื่องจากร่างกายกายเราจะมีการใช้พลังงานที่มากขึ้น เกิดขึ้นมากจากกระบวนการของเซลล์มะเร็ง หรือถ้าให้เปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายๆเลยก็คือ ตอนนี้เหมือนเราทำงานคนเดียว แต่มีเซลล์มะเร็ง จะเป็นอีกส่วนที่ช่วยใช้เงินอีกหนึ่งคน  ซึ่งถ้าเราไม่ทำงานหาเงินเพิ่ม สุดท้ายเงินที่เราเก็บไว้ก็จะหมดไป เช่นเดียวกันกับการที่เราไม่กินอาหารและโปรตีนเพิ่ม […]

ผงไข่ขาว กับผู้ป่วยมะเร็ง

                ผู้ป่วยโรคมะเร็ง มีความต้องการพลังงานและโปรตีนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงทำการบำบัดรักษาด้วยวิธี chemotherapy (เคมีบำบัด) ฉายแสง หรือผ่าตัด เพื่อให้ร่างกายได้รับการฟื้นฟู ทั้งกล้ามเนื้อ เม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว ซึ่งเป็นไปตามหลักของโภชนบำบัดในผู้ป่วยมะเร็ง (oncology nutrition) ภาวะโภชนาการสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง         อาการเหล่านี้ทำให้ผู้ป่วยมะเร็งรับประทานอาหารได้น้อยลง นำไปสู่ภาวะขาดสารอาหาร (malnutrition) ส่งผลให้เม็ดเลือดขาวต่ำ และไม่สามารถรับเคมีบำบัดได้ ดังนั้น ผู้ป่วยมะเร็ง จึงควรได้รับพลังงานและโปรตีนเพิ่มมากขึ้น โปรตีนที่ผู้ป่วยโรคมะเร็งควรได้รับเพิ่มขึ้น สามารถได้จากแหล่งเนื้อสัตว์  นม  ไข่ทั้งฟอง และ ไข่ขาว            ไข่ขาว เป็นโปรตีนหนึ่งที่เป็นโปรตีนแหล่งที่ดี แพทย์และนักกำหนดอาหารแนะนำให้ผู้ป่วยได้รับเพิ่มขึ้น โดยมีโปรตีนที่เป็นพระเอก ที่เรียกว่า “อัลบูมิน” ที่มีบทบาทสำคัญต่อผู้ป่วยโรคมะเร็ง ปัจจุบันมีนวัตกรรม “ผงไข่ขาว” เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่เป็นโปรตีนทางเลือก รูปแบบชงดื่ม หรือ นำไปประกอบอาหาร ทำให้ผู้ป่วยมะเร็ง รวมทั้งคนทั่วไปที่มีความต้องการโปรตีนเพิ่มมากขึ้น ได้รับโปรตีนสูงและสะดวกต่อการบริโภคมากยิ่งขึ้น คุณสมบัติของไข่ขาวต่อผู้ป่วยมะเร็ง คุณประโยชน์ของไข่ขาว ด้านอื่นๆ  โปรตีน “อัลบูมิน” คืออะไร อัลบูมิน […]

สายกาแฟเตรียมเฮ !!! วิจัยพบว่า กาแฟต้านมะเร็งตับได้

          ก่อนหน้านี้เราเคยพูดถึงปริมาณกาแฟที่ควรกินได้ใน 1 วันไปแล้วว่าไม่ควรดื่มกาแฟดำเกิน 3 แก้ว กาแฟสด 3 แก้ว กาแฟกระป๋อง 2 กระป๋อง เพื่อป้องกันการเกิดอาการใจสั่น กระวนกระวาย หรือนอนไม่หลับ แต่ใครจะไปรู้ว่า การดื่ม กาแฟต้านมะเร็ง ตับได้ด้วย แบบนี้สายกาแฟมีเฮอย่างแน่นอน แล้วต้องดื่มวันละกี่แก้วถึงจะต้านได้กันนะ ความน่าสนใจของ กาแฟ           กาแฟ จัดเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างมากในกลุ่มคนวัยทำงาน เพราะสารในกาแฟที่มีชื่อว่า “คาเฟอีน” ที่มีหน้าตาคล้ายกับสารสื่อประสาทชื่อว่า อะดีโนซิน ที่ทำให้เราง่วงนั่นเอง และเมื่อเราได้รับคาเฟอีนแล้วคาเฟอีนจะไปขัดขวางการดูดซึมอะดีโนซีนเข้าสู่สมอง ทำให้เรารู้สึกไม่ง่วง อีกทั้งช่วยให้เรารู้สึกกระปรี้กระเปร่า สงบ และมีความพร้อมต่อการทำงานมากขึ้นอีกด้วย แต่ในบางคนก็ต้องระวังหากดื่มกาแฟมากเกินไปอาจทำให้ใจสั่น กระวนกระวายใจได้เช่นกัน โดย 1 วันเราควรได้รับคาเฟอีนไม่เกิน 300 มิลลิกรัม หรือเทียบเป็นปริมาณกาแฟได้ ดังนี้ และหลังจากที่ได้มีการศึกษาผลของคาเฟอีนในกาแฟว่าช่วยกระตุ้นการทำงานให้เราได้แล้ว นอกจากนี้กาแฟก็ยังสามารถต้านอนุมูลอิสระได้อีกด้วย ด้วยผลดีเหล่านี้ก็ทำให้เกิดข้อสงสัยถึงผลดีของกาแฟอีกมากมาย แต่สิ่งที่น่าสนใจที่เรานำมาพูดถึงก็คือ กาแฟต้านมะเร็งตับ แล้วเราจะต้องดื่มกาแฟกี่แก้วดีถึงจะช่วยลดความเสี่ยงนี้ได้ รู้แล้วต้องอึ้ง กาแฟต้านมะเร็ง “ตับ”           […]

ส่งข้อความถึงเรา