fbpx

รวมเมนูกิน ป้องกันไตเสื่อม

ไตเสื่อม หรือเรียกว่า ‘ไตวายเรื้อรัง’ คือการที่เนื้อไตค่อย ๆ ถูกทำลาย ส่งผลต่อการทำงานของไต ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่ในการกรองของเสียและของเหลวส่วนเกินออกจากเลือด โดยในระยะลุกลามอาจทำให้ของเหลว แร่ธาตุ และของเสียต่างๆ สะสมในร่างกายในระดับที่เป็นอันตรายได้ ฉะนั้นการดูแลร่างกายเพื่อ ป้องกันไตเสื่อม เป็นสิ่งที่สำคัญญอย่างยิ่ง

โดยปัจจัยที่ทำให้เพิ่มความเสี่ยงของการ เกิดปัญหาไตเสื่อมมากที่สุด คือ โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นอีก เช่น โรคอ้วน สูบบุหรี่ กรรมพันธุ์ เพศและอายุ

“ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคไตมากถึง 8 ล้านคน หรือ คิดเป็น 17.5% ของประชากร”

จากรายงานของสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย มีการประมาณการว่ามีผู้ป่วยโรคไตระยะที่ 1 – 5 มากถึง 8 ล้านคนหรือ 17.5% ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป และมีผู้ป่วยรายใหม่ที่ต้องได้รับการบำบัดทดแทนไตหรือฟอกไต ปีละประมาณ 20,000 คน

วันนี้ อีทเวลล์คอนเซปต์จึงรวบรวมเมนูอาหาร เพื่อป้องกันไตเสื่อม สำหรับทุกคนที่ยังไม่เป็น หรือเป็นไตเสื่อมแล้ว รวมถึงเทคนิคการดูแลสุขภาพของไตมาฝากกัน

วิธีดูแลสุขภาพไต

  • ดื่มน้ำให้เยอะ

ดื่มน้ำอย่างน้อย 1.5 – 2 ลิตรต่อวัน นอกจากนี้ ปริมาณน้ำขึ้นอยู่กับสุขภาพและไลฟ์สไตล์ เช่น อากาศ การออกกำลังกาย เพศ สุขภาพโดยรวม เป็นต้น (หรือคำนวณจาก น้ำหนักตัวของเรา X 30 จะเท่ากับ ปริมาณน้ำที่ควรดื่ม อย่างน้อยต่อวัน เช่น ถ้าหนัก 50 kg ควรดื่มน้ำประมาณ 50 X 30 = 1,500 mL หรือ 1.5 ลิตร เป็นต้น) โดยน้ำสามารถช่วยขับโซเดียมและของเสียออกจากไตได้ ช่วยลดความเสี่ยงการเป็นโรคไตเรื้อรัง

  • หลีกเลี่ยงการกินสมุนไพรสกัด

มีการบอกกล่าวถึงสมุนไพรสกัด อัดเม็ดต่างๆ ที่รักษาโรคไตได้มากมายในอินเทอร์เน็ต โปรดอย่าหลงเชื่อ เนื่องจากยังไม่มีข้อมูลหลักฐานทางงานวิจัยมายืนยัน การกินสมุนไพร หรือสารสกัดต่างๆ ควรอยู่ในความดูแลของแพทย์เนื่องยาสมุนไพรบางตัวอาจส่งต่อการทำงานของไตได้

  • ไม่สูบบุหรี่

การสูบบุหรี่ทำลายหลอดเลือดได้ ดังนั้น จึงส่งผลต่อการไหลเวียนของเลือดในร่างกายที่จะต้องไปยังไต

  • ควบคุมน้ำหนัก

ในคนที่มีน้ำหนักเกินเกณฑ์หรือเป็นโรคอ้วนมีความเสี่ยงต่อสภาวะสุขภาพ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคไต ที่สามารถเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคไตได้

  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดและความดันโลหิต

ในผู้ป่วยเบาหวานหรือผู้ที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงนั้นไตมีความเสี่ยงที่จะถูกทำลายได้ เมื่อร่างกายไม่สามารถนำกลูโคสในเลือด (น้ำตาลในเลือด) ไปใช้ได้ ไตจะทำงานอย่างหนักเพื่อที่จะต้องกรองเลือดของเรา

ส่วนในผู้ที่มีความดันโลหิตสูง ถ้ามีเบาหวานร่วม โรคหัวใจ หรือไขมันในเลือดสูงด้วย อาจส่งผลต่อการทำงานของไต

เมนูอาหารกิน ป้องกันไตเสื่อม

ในผู้ป่วยไตเสื่อมต้องมีการจำกัดปริมาณโซเดียม โพแทสเซียมและฟอสฟอรัส ถ้าได้รับมากไปอาจส่งผลต่อการทำงานของไตได้ ตัวอย่างอาหารผู้ป่วยโรคไต ได้แก่

1.        ข้าวผัดดอกกะหล่ำ

ข้าวผัดดอกกะหล่ำ

วัตถุดิบ

  • ดอกกะหล่ำปั่น
  • 1ถ้วยตวง
  • กระเทียมสับ
  • 2ช้อนชา
  • น้ำมันรำข้าว
  • 1ช้อนชา
  • ซีอิ๊วขาว
  • 1ช้อนชา
  • ไข่ขาว
  • 2ช้อนชา
  • ต้นหอมซอยตามชอบ
  • ส่วนประกอบของ ข้าวผัดดอกกะหล่ำ

    วิธีทำ

    1. ใส่กระเทียมสับลงไปผัดกับน้ำมันลงบนกระทะใช้ไฟกลาง พอกระเทียมเริ่มมีหอมให้ใส่ดอกกะหล่ำลงไปผัดจนสุก
    2. ใส่ต้นหอมลงไปผัด ตามด้วยไข่ พอคนไข่จนสุก ผัดจนทุกอย่างเข้ากันแล้วให้ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาว เป็นอันเสร็จพร้อมเสิร์ฟ

    2.             ผัดพริกหยวกใส่ไข่

    ผัดพริกหยวกใส่ไข่

    วัตถุดิบ

  • พริกหยวกหั่นเฉียง
  • 6-7ลูก
  • ไข่ขาว
  • 2ฟอง
  • อกไก่ไม่หนังหั่นเต๋า
  • 100กรัม
  • กระเทียมสับ
  • 1ช้อนชา
  • น้ำมันรำข้าว
  • 2ช้อนชา
  • ซอสปรุงรส
  • 1ช้อนชา
  • น้ำตาลทราย   
  • 1/2ช้อนชา
    ส่วนประกอบของ ผัดพริกหยวกใส่ไข่

    วิธีทำ

    1. ผัดกระเทียมกับน้ำมันจนเริ่มหอม แล้วใส่เนื้อไก่ลงไปผัดจนสุก
    2. หลังจากนั้นใส่ไข่ลงไปคนพอสุก แล้วตามด้วยพริกหยวกที่หั่นทิ้งไว้ ผัดจนสุก
    3. ปรุงรสด้วยซอสปรุงรสและน้ำตาลทราย

    3.             ต้มจืดกะหล่ำปลีไก่สับ

    ต้มจืดกะหล่ำปลีไก่สับ

    วัตถุดิบ

  • อกไก่ไม่หนังไก่สับ
  • 200กรัม
  • กะหล่ำปลี   
  • 1ถ้วยตวง
  • กระเทียม 
  • 1ช้อนชา
  • ซีอิ๊วขาว     
  • 1ช้อนชา
  • แครอทหั่นเต๋า   
  • 1/2ช้อนโต๊ะ
  • น้ำสต๊อกผัก   
  • 1ถ้วยตวง
  • พริกไทยป่นตามชอบ
  • ส่วนประกอบของ ต้มจืดกะหล่ำปลีไก่สับ

    วิธีทำ

    1. ผสมไก่สับ พริกไทยป่น ซีอิ๊วขาว คลุกให้เข้ากัน
    2. นำน้ำสต๊อกมา ใส่กระเทียม พอเดือดแล้ว ปั้นไก่สับที่หมักไว้เป็นก้อนลงต้ม คอยช้อนฟองออก
    3. ใส่กะหล่ำปลีลงไป ต้มไว้ซักพัก ตักใส่ชามพร้อมเสิร์ฟ

    4.          ยำเส้นเซี่ยงไฮ้

    ยำเส้นเซี่ยงไฮ้

    วัตถุดิบ

  • เส้นเซี่ยงไฮ้
  • 2ทัพพี
  • อกไก่หั่น   
  • 100กรัม
  • กะหล่ำปลีลวกสุก 
  • 1ทัพพี
  • มะเขือเทศ      
  • 1/2ทัพพี
  • หอมแดงซอย 
  • 1ช้อนโต๊ะ
  • น้ำเปล่า    
  • 1/4ถ้วยตวง
  • น้ำตาลทราย   
  • 1ช้อนชา
  • น้ำปลา 
  • 1ช้อนชา
  • น้ำมะนาว  
  • 1ช้อนชา
    ส่วนประกอบของ ยำเส้นเซี่ยงไฮ้

    วิธีทำ

    1. แช่เส้นเซี่ยงไฮ้ 5 นาทีในน้ำ แล้วนำไปลวกให้สุก พร้อมกับนำไก่ไปต้มให้สุก
    2. เริ่มยำโดยการปรุงรสน้ำตาลทราย น้ำปลา น้ำมะนาวและน้ำเปล่าใส่ลงไปในถ้วย
    3. นำไก่และเส้นเซี่ยงไฮ้ใส่ลงไปคลุกเคล้ากับน้ำยำให้เข้าเนื้อ ตามด้วยใส่ผักทั้งหมดลงไป เป็นอันเสร็จพร้อมเสิร์ฟ

    5.             วุ้นผลไม้สด

    วุ้นผลไม้สด

    วัตถุดิบ

  • น้ำเปล่า
  • 4ถ้วยตวง
  • แครนเบอร์รี/บลูเบอร์รีแช่แข็ง
  • 1ถ้วยตวง
  • ผงวุ้นเจลาติน
  • 1ช้อนโต๊ะ
    ส่วนประกอบของ วุ้นผลไม้

    วิธีทำ

    1. ตั้งหม้อเติมน้ำเปล่าลงไป ตามด้วยผงวุ้นจนเดือด ลดไฟต่ำ ต้มต่ออีก 2 นาที ปิดไฟ
    2. เทใส่พิมพ์ นำไปแช่เย็นจนเซตตัว พอครบเวลานำออกมาตกแต่งด้วยแครนเบอร์รี เทน้ำวุ้นลงไปให้เต็มพิม์ นำไปแช่เย็นอีกครั้งจนเซตตัว
    3. แกะวุ้นออกจากพิมพ์ เป็นอันเสร็จพร้อมเสิร์ฟ

    นี่ก็เป็นสูตรเมนูอาหาร กินป้องกันไตเสื่อม สามารถนำไปทำตามง่าย ๆ ที่บ้าน ได้ทั้งผู้ที่ยังไม่มีไตเสื่อมหรือผู้ที่ไตเสื่อมแล้ว แต่ในผู้ที่ไตเสื่อมแล้ว นั้นอาจจะต้องมีการปรึกษาแพทย์ และนักกำหนดอาหารอีกที เพราะในแต่ละคนก็จะมีภาวะเรื่องของโรคแตกต่างกันไป ดังนั้น ทางที่ดีถ้าไม่อยากให้ไตเสื่อม ลองทำตามคำแนะนำข้างบนได้เลยค่ะ

    สอบถามเพิ่มเติม Add Line ปรึกษานักกำหนดอาหาร

    ดูแลสุขภาพของคุณให้ถูกวิธี

    โปรแกรมปรึกษานักกำหนดอาหารคืออะไร ?

    พร้อมรับคำปรึกษาจาก

    นักกำหนดอาหารวิชาชีพ

    ไม่พลาดบทความด้านโภชนาการ

    ของ อีทเวลล์คอนเซปต์ ก่อนใคร

    ส่งข้อความถึงเรา