fbpx

แคดเมียม อาหารบางอย่างอาจปนเปื้อนได้

ประเด็นเรื่องการพบกาก แคดเมียม จำนวนมากที่ไม่ถูกเก็บให้ถูกวิธีในไทยเป็นเรื่องที่คนไทยส่วนใหญ่ให้ความสำคัญและติดตามข่าวสารอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะคนที่อยู่ในพื้นที่หรืออยู่ใกล้พื้นที่ที่มีโลหะดังกล่าว

แคดเมียม (Cadmium) คือ ?

เป็นโลหะชนิดหนึ่ง ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น แบตเตอร์รี่, เคลือบโหละต่างๆ,ส่วนผสมของสีในพลาสติก เซลามิก และแก้วบางชนิด ในอุตสาหกรรมโซลาเซลล์ก็มีการใช้เช่นกัน

สารแคดเมียมมีครึ่งชีวิตหรือ half life ในร่างกายมนุษย์ถึง 30 ปี หากเราได้รับแคดเมียมปริมาณมาก ย่อมเกิดผลเสียต่างๆต่อร่างกาย และเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆเพิ่มมากขึ้น โดยองค์การอนามัยโลก กำหนดไว้ว่าคนปกติไม่ควรได้รับแคดเมียมเกินสัปดาห์ละ 0.40-0.50 มิลลิกรัม

ความเสี่ยงเกิดโรคในการสะสมแคดเมียมในร่างกาย

  • โรคมะเร็ง
  • โรคกระดูกพรุน
  • โรคหัวใจและหลอดเลือด
  • โรคไต

โดยทั่วไปเราสามารถได้รับแคดเมียมได้จากอาหารที่เรารับประทานกันในประจำวันอยู่แล้ว เนื่องจากแคดเมียมเป็นสารที่จะผสมอยู่ในดิน น้ำ และอากาศ ทำให้สัตว์และพืชที่เจริญเติบโตในบริเวณที่มีแคดเมียมปนเปื้อนได้รับสารเหล่านี้ และเราในฐานะผู้บริโภค จึงไม่สามารถหลีกหนีการได้รับแคดเมียมได้เลย

แคดเมียม-อาหาร-EWC

แหล่งอาหารที่มีความเสี่ยงแคดเมียมสูง

  • หอย, กุ้ง, ปู, กั้ง
  • เครื่องในสัตว์ โดยเฉพาะ ตับและไต
  • เห็ด
  • พืชหัวที่อยู่ใต้ดิน เช่น มันฝรั่ง มันเทศ แครอท หัวไชเท้า

*และจะมีปริมาณแคดเมียมเพิ่มมากขึ้น เมื่ออยู่ในพื้นที่ที่มีการปนเปื้อนจากแคดเมียม

ในฐานะนักกำหนดอาหาร เราจึงแนะนำให้มีการจำกัดความถี่และปริมาณการรับประทานอาหารในกลุ่มดังกล่าว เพื่อช่วยลดความเสี่ยงต่อการได้รับแคดเมียมปริมาณมาก ที่สำคัญเลยคือการเลือกรับประทานอาหารให้หลากหลาย ไม่ซื้ออาหารจากแหล่งเดิมซ้ำๆ ก็สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการรับแคดเมียมหรือโลหะหนักหรือสารพิษอื่นๆได้เช่นเดียวกันค่ะ

สอบถามเพิ่มเติม Add Line ปรึกษานักกำหนดอาหาร

ดูแลสุขภาพของคุณให้ถูกวิธี

โปรแกรมปรึกษานักกำหนดอาหารคืออะไร ?

พร้อมรับคำปรึกษาจาก

นักกำหนดอาหารวิชาชีพ

ไม่พลาดบทความด้านโภชนาการ

ของ อีทเวลล์คอนเซปต์ ก่อนใคร

ส่งข้อความถึงเรา