fbpx

ป้ายกำกับจากคลังความรู้

Tag : อาหารทางการแพทย์

แนะนำอาหารทางการแพทย์ นีโอมูน กับ เอนชัวร์

การเลือกอาหารทางการแพทย์น่าจะเป็นเรื่องท้าทายหรือทำให้หลายคนสับสนเนื่องจากในปัจจุบันมีตัวเลือกที่หลากหลายในท้องตลาด ในบทความนี้จะช่วยให้คุณเข้าใจและเลือกอาหารทางการแพทย์ที่เหมาะสมสำหรับคุณหรือคนในครอบครัวที่มีความจำเป็นต้องได้รับหรือเสริมพลังงานและสารอาหารจากอาหารทางการแพทย์ได้อย่างเหมาะสม อาหารทางการแพทย์เป็นทางเลือกสำหรับผู้ที่ไม่สามารถได้รับสารอาหารและพลังงานได้อย่างเพียงพอจากการบริโภคอาหารปกติ เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีปัญหาในการเคี้ยวกลืน หรือผู้ที่ร่างกายต้องการสารอาหารและพลังงานเพิ่มมากขึ้นเนื่องจากสภาวะต่างๆของร่างกาย เช่น การเจ็บป่วย หรือขาดสารอาหาร โดยอาหารทางการแพทย์มีส่วนช่วยที่สำคัญที่ทำให้เขาเหล่านั้นได้รับพลังงานและสารอาหารได้เหมาะสมและเพียงพอต่อความต้องการอของร่างกาย วิธีเลือก อาหารทางการแพทย์ อย่างไรให้เหมาะสม โรคประจำตัว อ่านเพิ่มเติม อาหารทางการแพทย์แบ่งตามโรค แพ้อาหาร ช่องทางการในการรับอาหารและปริมาณที่เหมาะสม รสชาติและความชอบส่วนตัว นีโอมูน (Neo-Mune) เป็นอาหารทางการแพทย์สูตรครบถ้วน ซึ่งมี คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน และเกลือแร่ที่ครบถ้วน ที่มีโปรตีนสูงและมีส่วนผสมของกลูตามีน, อาร์จีนินและน้ำมันปลา ซึ่งเป็นสารอาหารที่มีผลส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันอีกด้วย ใน 1 แก้ว ปริมาณ 250 มล. (7 ช้อนตวง) ให้พลังงาน 250 กิโลแคลอรี, โปรตีน 15.6 กรัม เหมาะสำหรับ เอนชัวร์ (ENSURE) เป็นอาหารทางการแพทย์สูตรครบถ้วน ซึ่งมี คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน และวิตามินที่ครบถ้วน […]

อาหารทางการแพทย์ สูตรไหน เหมาะสำหรับใคร หาซื้อได้ที่บ้าง

อาหารทางการแพทย์ เป็นอาหารทางเลือกสำหรับบุคคลทั่วไป และผู้ป่วยที่ขาดสารอาหารไม่สามารถกินอาหารให้ครบถ้วนหรือตามต้องการของร่างกายได้ ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ ผู้ที่เคี้ยวกลืนได้ลำบาก เพื่อช่วยให้ได้รับสารอาหารที่เพียงพอในการทำให้ร่างกายแข็งแรง วิธีเลือก อาหารทางการแพทย์ อย่างไรให้เหมาะสม เลือกจากความเหมาะสมกับโดยพิจารณาจากโรคประจำตัวเพราะว่าอาหารทางการแพทย์แต่ละสูตรมีความแตกต่างเรื่องส่วนผสมเพื่อให้เหมาะสมกับร่างกายและได้รับประโยชน์จากสารอาหารตรงจุด เช็คดูส่วนประกอบว่ามีสารอาหารที่แพ้ไหม เช่น โปรตีนจากนม โปรตีนจากถั่วเหลือง น้ำมันปลา ดังนั้นสามารถศึกษาข้อมูลจากฉลากบนกระป๋องบรรจุภัณฑ์อาหารทางการแพทย์ ว่ามีส่วนประกอบอะไรบ้าง ผู้ป่วยกินเองทางปาก หรือ ให้อาหารทางสายให้อาหาร ถ้าให้อาหารทางสารรสชาติไม่มีผลต่อการเลือก เรื่องปริมาณและความเข้มข้นของอาหารอาจจะต้องปรึกษาแพทย์ หรือตามคำแนะนำของนักกำหนดอาหาร ผู้ป่วยกินเอง สามารถเลือกรสชาติและกลิ่นที่ชอบในแต่ละสูตรที่เหมาะสมกับโรคนั้น ๆ หรือแบรนด์ที่ชอบได้เลยเพื่อให้เกิดความพอใจในการกิน อาหารทางการแพทย์ โดยไม่ฝืนตัวเอง สูตร อาหารทางการแพทย์ แบ่งเป็น 3 แบบ 1. สูตรครบถ้วน (Standard formula) สูตรครบถ้วน คือ มีสารอาหารครบ 5 หมู่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามิน เกลือแร่ ไขมัน โดยส่วนประกอบหลักจะเป็น เวย์โปรตีน ที่ย่อยง่าย ร่างกายดูดซึมนำไปใช้ได้เร็ว ทำให้โดยรวมของสูตรนี้ได้สารอาหารได้ใกล้เคียงกับมื้ออาหาร ซึ่งไม่มีผลกับการรักษาโรค แค่ทำให้ร่างกายได้รับสารอาหารและฟื้นฟูตัวเองเท่านั้น […]

อาหารทางการแพทย์ – รีวิวสูตรอาหารจากมุมนักกำหนดอาหาร

ปัจจุบันสื่อโฆษณาและแอปพลิเคชั่นซื้อของออนไลน์ทำให้สามารถเข้าถึง อาหารทางการแพทย์ ได้ง่ายกว่าแต่ก่อนที่จะซื้ออาหารทางการแพทย์ได้จากโรงพยาบาลหรือร้านขายยาเท่านั้น ด้วยเทคโนโลยีด้านอาหารที่ก้าวหน้าทำให้อาหารทางการแพทย์มีมาให้เลือกมากมาย แต่อาหารทางการแพทย์แบบไหนที่จะถูกปากและเหมาะสมกับคนที่เรารักมากที่สุด หยิบตะกร้าแล้วเดินตามนักกำหนดอาหารมาได้เลย ความ “เหมือนและแตกต่าง” ของอาหารการแพทย์และนมทั่วไป ตามคำนิยามอาหารทางการแพทย์ (Medical Food) เป็นอาหารที่ผลิตขึ้นมาสำหรับดื่มทางปากหรือให้ผ่านสายให้อาหาร เพื่อให้ได้รับพลังงานและสารอาหารครบถ้วนต่อความต้องการและเหมาะสมต่อภาวะโรคที่เป็นอยู่ โดยต้องใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือบุคคลากรทางการแพทย์1 ลักษณะของอาหารทางการแพทย์ส่วนใหญ่มักมีสีและกลิ่นคล้ายนม จึงอาจเป็นที่เข้าใจผิดว่าการดื่มนมกล่องทั่วไปก็เพียงพอต่อความต้องการ แต่เมื่อศึกษาพลังงานและสารอาหารในปริมาณนมที่เท่ากันก็จะพบว่าอาหารทางการแพทย์ให้พลังงาน โปรตีนและสารอาหารสูงกว่านมทั่วไป  เมื่อไหร่ที่ควรเสริมด้วยอาหารทางการแพทย์ (When to start supplment)          หากผู้ป่วยสามารถกินอาหารทางปากและยังพอมีความอยากอาหารอยู่บ้าง จะเริ่มเสริมอาหารทางการแพทย์ เมื่อผู้ป่วยสามารถกินอาหารได้น้อยกว่าครึ่งของความต้องการพลังงานมามากกว่า  1 สัปดาห์2 ในอีกกรณีหนึ่งจะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีอาการเบื่ออาหาร กินอาหารน้อยลงจากเดิม ป่วยเป็นโรคเรื้อรัง จนทำให้มีน้ำหนักตัวลดลงและมีสุขภาพร่างกายที่แย่ลงได้3 โดยช่องทางการให้อาหารทางการแพทย์สามารถดื่มทางปาก และให้ทางสายให้อาหาร ซึ่งการเลือกช่องทางการให้อาหารทางการแพทย์จะอยู่ภายใต้การพิจารณาของแพทย์ ซึ่งสามารถประเมินได้ด้วย แบบคัดกรองภาวะโภชนาการ อาหารทางการแพทย์มีกี่แบบ          อาหารทางการแพทย์สามารถแบ่งเป็น 2 แบบ ได้แก่  1. สูตรครบถ้วน (Standard formula) คือ สูตรพื้นฐานเปรียบเทียบเหมือนกับอาหารทั่วไปที่อาจอยู่ในรูปของผง หรือ เครื่องดื่มเหลวพร้อมดื่ม ให้พลังงานและสารอาหารครบถ้วน 2. สูตรเฉพาะโรค […]

อาหารทางการแพทย์ คืออะไร?

อาหารทางการแพทย์ คืออาหารที่ออกแบบขึ้นมาเพื่อใช้เป็นแหล่งอาหารสำหรับผู้ป่วย คนที่ไม่สามารถกินอาหารปกติได้เพียงพอ หรือคนที่มีความต้องการสารอาหารบางชนิดเปลี่ยนแปลงไป เพื่อที่จะได้รับพลังงานและสารอาหารครบถ้วนตามความต้องการในขณะนั้น ซึ่งในปัจจุบันก็ได้มีอาหารทางการแพทย์มากมายให้เลือกใช้ แล้วอาหารทางการแพทย์นั้นแบ่งออกเป็นกี่ประเภท ทำไมต้องใช้อาหารทางการแพทย์? อาหารทางการแพทย์มักจะนิยมใช้เป็นทางเลือกในการดูแลคนป่วยที่ไม่สามารถกินอาหารปกติได้เพียงพอ ไม่สามารถกินอาหารปกติได้ หรือมีภาวะที่ทำให้มีความต้องการสารอาหารมากขึ้นจนที่กินอยู่ปัจจุบันไม่เพียงพอต่อความต้องการนั้น ๆ จึงจำเป็นต้องกินอาหารทางการแพทย์ ซึ่งจุดมุ่งหมายที่ใช้อาหารการแพทย์ คือ ประเภทของ อาหารทางการแพทย์ อาหารทางการแพทย์นั้นมีมากมายหลายสูตรโดยสามารถจัดประเภทได้ ดังนี้ สรุปได้ว่า อาหารทางการแพทย์ คือ อาหารที่ออกแบบเพื่อทดแทนหรือเสริมเพิ่มพลังงาน แต่ด้วยการที่อาหารทางการแพทย์มีให้เลือกหลากหลายสูตร จึงควรปรึกษาผู้มีความเชี่ยวชาญ เช่น แพทย์ นักโภชนาการ นักกำหนดอาหาร หรือเภสัชกร ก่อนการใช้อาหารทางการแพทย์เพื่อที่จะสามารถเลือกสูตรให้เหมาะสมกับผู้ป่วย และให้เกิดประโยชน์กับผู้ป่วยมากที่สุด

ส่งข้อความถึงเรา