fbpx

ป้ายกำกับจากคลังความรู้

Tag : อาหารโรคไต

10 สมุนไพร ที่ต้องระวังในคนไข้ โรคไต

สมุนไพร โรคไต กับผู้ป่วยหลายคนที่ต้องการใช้สมุนไพร หรือยาสมุนไพร เพื่อบรรเทาอาการของโรคไตเสื่อมเรื้อรังให้ดีขึ้น แต่รู้หรือไม่ว่า สมุนไพรบางชนิดจากที่จะส่งผลดี อาจส่งผลเสียทำให้โรคไตแย่ลง หรือร้ายแรงถึงชีวิต ทั้งนี้  National Kidney Foundation ได้ระบุไว้ใน แนวทางเวชปฏิบัติของโรคไต (Kidney Disease Outcomes Quality Initiative ; KDOQI) ว่า ไม่แนะนำให้ใช้สมุนไพรในการนำมาใช้รักษาโรคในผู้ป่วยโรคไตเสื่อมเรื้อรัง             ไตเป็นอวัยวะที่ทำหน้าที่ขับสารต่างๆออกจากร่างกายทางปัสสาวะ แต่เมื่อไตเสื่อมแล้ว ประสิทธิภาพการทำงาน เช่น การขับของสารต่างๆ จะลดลง เพราะฉะนั้น ก่อนจะฟังคำบอกเล่าปากต่อปาก หรือ คำกล่าวอ้างทางโฆษณา ทางแพทย์และนักกำหนดอาหารอยากให้คนไข้โรคไตทุกท่าน พิจารณาให้ดีเพื่อสุขภาพของคุณ หรือคนที่คุณรัก             ทั้งนี้ คนไข้โรคไตเสื่อมเรื้อรังควรทราบว่าการควบคุมจำกัดสารอาหารและสารต่างๆในปริมาณที่กำหนดมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ไม่ว่าจะเป็นโปรตีน  วิตามิน และเกลือแร่ โดยเกลือแร่หลัก 3 ตัว ที่มีความสำคัญต่อโรคไต คือ โซเดียม โพแทสเซียม  ฟอสเฟต จากรายงานจำนวนไม่น้อยพบคนไข้โรคไตได้รับพิษจากการใช้สมุนไพร   เนื่องจากสมุนไพรส่วนใหญ่มีเกลือแร่โพแทสเซียม ฟอสเฟตสูง […]

รวมเมนูกิน ป้องกันไตเสื่อม

ไตเสื่อม หรือเรียกว่า ‘ไตวายเรื้อรัง’ คือการที่เนื้อไตค่อย ๆ ถูกทำลาย ส่งผลต่อการทำงานของไต ซึ่งเป็นอวัยวะที่มีหน้าที่ในการกรองของเสียและของเหลวส่วนเกินออกจากเลือด โดยในระยะลุกลามอาจทำให้ของเหลว แร่ธาตุ และของเสียต่างๆ สะสมในร่างกายในระดับที่เป็นอันตรายได้ ฉะนั้นการดูแลร่างกายเพื่อ ป้องกันไตเสื่อม เป็นสิ่งที่สำคัญญอย่างยิ่ง โดยปัจจัยที่ทำให้เพิ่มความเสี่ยงของการ เกิดปัญหาไตเสื่อมมากที่สุด คือ โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง นอกจากนี้ยังมีปัจจัยเสี่ยงอื่นอีก เช่น โรคอ้วน สูบบุหรี่ กรรมพันธุ์ เพศและอายุ “ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคไตมากถึง 8 ล้านคน หรือ คิดเป็น 17.5% ของประชากร” จากรายงานของสมาคมโรคไตแห่งประเทศไทย มีการประมาณการว่ามีผู้ป่วยโรคไตระยะที่ 1 – 5 มากถึง 8 ล้านคนหรือ 17.5% ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป และมีผู้ป่วยรายใหม่ที่ต้องได้รับการบำบัดทดแทนไตหรือฟอกไต ปีละประมาณ 20,000 คน วันนี้ อีทเวลล์คอนเซปต์จึงรวบรวมเมนูอาหาร เพื่อป้องกันไตเสื่อม สำหรับทุกคนที่ยังไม่เป็น หรือเป็นไตเสื่อมแล้ว รวมถึงเทคนิคการดูแลสุขภาพของไตมาฝากกัน วิธีดูแลสุขภาพไต […]

อาหารโรคไต กินอย่างไรเมื่อ (ไต) ถามหา

อาหารโรคไต มีข้อจำกัดด้านสารอาหารหลายชนิด อาจสร้างความสับสนและความกังวลใจให้แก่ผู้ป่วยและญาติ จนไม่กล้ารับประทานอาหาร ทำให้เบื่ออาหารและนำไปสู่ภาวะขาดสารอาหารได้ ดังนั้น การปรับความเข้าใจเรื่องการรับประทาน อาหารโรคไต จะเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่อาจทำให้ผู้ป่วยมีความสุขในการรับประทานอาหารและมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้นได้ เช็คระยะ(ไต) ก่อน Start โรคไตเรื้อรัง แบ่งเป็น 2 ระยะหลัก คือระยะก่อนฟอกไต และระยะหลังฟอกไต โดยระยะก่อนฟอกไตจะแบ่งเป็น 5 ระยะย่อย *ค่า eGFR สามารถบอกได้ถึงความสามารถในการกรองของเสียของไต เมื่อเป็นโรคไตเรื้อรัง ไตทำงานได้น้อยลง ค่านี้ก็จะลดลงเช่นกัน อาหารโรคไต ระยะไหน ควรกินอย่างไรดี การรับประทาน อาหารโรคไต แบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ การคุมอาหารโรคไตในระยะก่อนฟอกไตเพื่อชะลอความเสื่อมของโรคไต และการคุมอาหารโรคไตในระยะหลังฟอกไตเพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ แต่การคุมอาหารใน 2 ระยะนี้ต่างมีจุดมุ่งหมายในการป้องกันภาวะขาดสารอาหารที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งเป็นสิ่งที่พบได้บ่อยในผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง3 I. ระยะก่อนฟอกไต อาหารโรคไตเพื่อชะลอความเสื่อมของไต ในระยะนี้การคุมอาหารที่เหมาะสมต่อระยะของโรคไตเรื้อรังสามารถชะลอความเสี่อมไตและเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยให้ดีขึ้น4,5 โดยแบ่งกลุ่มอาหารที่ต้องดูแลเป็น 3 หัวข้อใหญ่ โปรตีน      ปริมาณโปรตีนที่แนะนำ ในโรคไตเสื่อมระยะที่ 1, 2, […]

อาหารเฉพาะโรค วิธีเลือกกินอาหารเมื่อมีโรคประจำตัว

เมื่อผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ไต ไขมันสูง ต้องมานอนรักษาตัวที่โรงพยาบาล “อาหารเฉพาะโรค” มักเป็นอาหารเฉพาะที่ถูกจัดเสิร์ฟให้แก่ผู้ป่วยเสมอ … สงสัยหรือไม่ว่า อาหารที่ว่านี้คืออะไร หน้าตาเป็นแบบไหน แตกต่างจากอาหารทั่วๆ ไปอย่างไร ทำไมจึงสำคัญและกลายเป็นส่วนหนึ่งในวิธีการรักษาผู้ป่วย      อาหารเฉพาะโรค คืออะไร? อาหารเฉพาะโรค (Therapeutic Diet) หมายถึง อาหารที่ได้รับการดัดแปลงส่วนประกอบ เช่น ปริมาณสารอาหาร เนื้อสัมผัส หรือวัตถุดิบ ให้เหมาะสมและเฉพาะเจาะจงกับตัวผู้ป่วยทั้งในแง่ของภาวะร่างกาย ความเจ็บป่วย และความรุนแรงของโรค  โดยช่วยชะลอความรุนแรงของโรค รักษาอาการเจ็บป่วย และส่งเสริมให้การรักษาด้วยวิธีทางการแพทย์มีประสิทธิภาพอย่างเต็มที่ เช่น ผู้ป่วยเบาหวานก็จะได้รับอาหารเฉพาะโรคที่ถูกดัดแปลงมาให้เหมาะสำหรับโรคเบาหวาน เป็นต้น โรคนี้ กินอะไร ใครเป็นคนตัดสิน?                เมื่อเข้าสู่กระบวนการรักษาในโรงพยาบาลและมีความจำเป็นต้องได้รับอาหารเฉพาะโรค แพทย์มักจะเป็นผู้ประเมินอาการและกำหนดลักษณะอาหารที่เหมาะสมกับผู้ป่วย เช่น พลังงานรวมที่ควรได้รับ สารอาหารหรือชนิดอาหารที่มีการกำจัดปริมาณ เช่น จำกัดเกลือ 1 กรัม จำกัดโปรตีน 1.2 กรัมต่อน้ำหนักตัว เป็นต้น จากนั้นนักกำหนดอาหารจึงนำใบคำสั่งแพทย์มาคำนวณต่อเป็นปริมาณวัตถุดิบ แล้วทำการดัดแปลงหรือออกแบบมื้ออาหารให้เหมาะสมกับที่ผู้ป่วยควรได้รับ หากผู้ป่วยกำลังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล […]

เรื่องไตไต อาหารโรคไต เมื่อไรที่ต้องลดโพแทสเซียม

โรคไตเป็นอีกโรคที่มีความจำเป็นในการควบคุมอาหารเป็นอย่างมาก เพื่อลดของเสียที่ร่างกายจะได้รับและขับออกทางไต เพื่อชะลอการเสื่อมของไตให้สามารถทำงานอยู่กับเราได้นานมากขึ้น โดยสารอาหารที่ผู้ป่วยโรคไตต้องให้ความสำคัญ เช่น โซเดียม โพแทสเซียม และฟอสฟอรัส เป็นต้น วันนี้เราลองมาดูกันดีกว่าว่าเมื่อไหร่ที่คนป่วยโรคไตถึงมีความจำเป็นต้องลดโพแทสเซียมใน อาหารโรคไต ผู้ป่วยโรคไต กับ โพแทสเซียมใน อาหารโรคไต สำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรัง มักจะมีความผิดปกติเกี่ยวกับระดับแร่ธาตุต่าง ๆ ในร่างกาย เพราะไตมีการทำงานที่ผิดปกติไปจากเดิม ทำให้ร่างกายไม่สามารถขับโพแทสเซียมส่วนเกินออกทางปัสสาวะได้ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการคลั่งของโพแทสเซียมในเลือด (Hyperkalemia) และจะเกิดอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ได้แก่ ปกติเราจะได้รับโพแทสเซียมจากอาหารต่าง ๆ ซึ่งในอาหารแต่ละชนิดก็มักจะมีปริมาณโพแทสเซียมที่ต่างกัน โดยสามารถพบได้ทั้งในผักและผลไม้ แล้วเมื่อไหรที่ต้องลดโพแทสเซียมลงใน อาหารโรคไต เพื่อที่จะช่วยป้องกันอาการแทรกซ้อนต่าง ๆ ข้างต้นนี้ เวลาที่ต้องลดโพแทสเซียมในอาหารสำหรับคนเป็นโรคไต สำหรับผู้ป่วยโรคไตวายเรื้อรังควรควบคุมะดับโพแทสเซียมในเลือดอยู่ในช่วง 3.5 – 5.1 มิลลิโมลต่อลิตร สามารถรับโพแทสเซียมจากอาหารได้ในเกณฑ์ปกติ หรือ 3,500 มิลลิกรัม แต่เมื่อผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังมีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงกว่า 5.1 มิลลิโมลต่อลิตรขึ้นไป จะต้องควบคุมระดับโพสแทสเซียมจากอาหารให้ไม่เกิน 1,500 – 2,000 มิลลิกรัม เพราะได้มีการศึกษาพบว่าการที่ผู้ป่วยมีระดับโพแทสเซียมสูงมีความเกี่ยวข้องกับการดำเนินของโรคและการตายของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังได้ ดังนั้นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่ยังไม่มีปัญหาของระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงยังสามารถกินอาหารที่มีโพแทสเซียมได้สูงสุด […]

เรื่องไตไต อาหารคนโรคไต กินโปรตีนอย่างไรให้พอ

ผู้ป่วยโรคไตนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายระยะตามความสามารถในการกรองของเสียของไตที่เหลืออยู่ ซึ่งในแต่ละระยะนั้นก็มีความจำเป็นในการควบคุมอาหารที่แตกต่างกัน ซึ่งก่อนหน้านี้เราก็ได้มีการพูดถึงการกินผักและผลไม้ของผู้ที่มีโรคไตเรื้อรังกันไปบ้างแล้ว รวมถึงอาหารต่าง ๆ ว่าผู้ป่วยโรคไตสามารถกินได้หรือไม่ทั้งกาแฟ ข้าวโพด เครื่องปรุงสูตรลดโซเดียม หรือน้ำตาลเทียม แต่ในวันนี้เราจะมาพูดถึง อาหารคนโรคไต ที่มีส่วนสำคัญอย่างมาก ๆ ต่อร่างกายอย่าง “โปรตีน” ว่าตกลงแล้วผู้ป่วยโรคไตต้องกินโปรตีนเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอและไม่เป็นอันตรายต่อไตของเรา สาเหตุที่ต้องระวังของ อาหารคนโรคไต ผู้ป่วยโรคไตนั้นจะถูกนับว่าเป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเมื่อไตมีการผิดปกติตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป โดยอาจพบอัตราการกรองของไต (estimated glomerular filtration rate, eGFR) ที่ผิดปกติหรือไม่ก็ได้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยโรคไตจะใช้อัตราการกรองของไตในการแบ่งระยะของโรคไต ดังนี้ ซึ่งการกิน อาหารคนโรคไต นั้นก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละระยะอย่างเช่นในระยะที่ 1 – 3 อาจมีการจำกัดสารอาหารบางชนิด เช่น โซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม โพแทสเซียมไม่เกิน 3,500 มิลลิกรัม รวมถึงฟอสฟอรัสไม่เกิน 800 มิลลิกรัม  เป็นต้น เพื่อชะลอการเสื่อมลงของไตให้สามารถยังดำเนินชีวิตอยู่ได้นั่นเอง แต่ในผู้ป่วยที่อาการเสื่อมของไตอยู่ในระยะที่ 4 – 5  จะมีความจำเป็นที่ต้องจำกัดสารอาหารดังกล่าวมากขึ้น หรือเข้ารับการบำบัดทดแทนไต […]

ผู้ป่วยโรคไต ทำไมต้องกิน ไข่ขาว

สำหรับคนเป็นโรคไตเรื้อรังมีความจำเป็นที่จะต้องควบคุมการกินอาหาร จนอาจทำให้เกิดความสงสัยว่าตกลงแล้วกินอะไรได้บ้าง แต่จะมีอาหารชนิดหนึ่งที่คุณหมอมักจะแนะนำให้คนป่วยโรคไตได้กินเมื่อต้องเข้ารับการบำบัดทดแทนไตนั่นก็คือ “ไข่ขาว” แล้วเพราะอะไร ผู้ป่วยโรคไต ทำไมต้องกิน ไข่ขาว เวลาที่จะต้องบำบัดทนแทนไตกันด้วยเราลองไปหาคำตอบกันดีกว่า ผู้ป่วยโรคไต “เรื้อรัง” คืออะไร โรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease, CKD) คือ ภาวะที่ไตของเราได้ถูกทำลาย จากการที่ไตทำงานอย่างหนักในการกรองของเสียหรือแร่ธาตุส่วนเกินต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลจากการเลือกรับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัดหรือมีโซเดียมสูง หรือผลจากโรคความดันโลหิต โรคเบาหวานที่ควบคุมได้ไม่ดี จนทำใหไตไม่สามารถกรองเลือดเพื่อขับของเสียได้อย่างเป็นปกติ และโรคไตถือเป็นโรคที่ “เรื้อรัง” เนื่องจากการเสื่อมของไตจะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ใช้ระยะเวลานาน โดยการเสื่อมของไตอาจทำให้เกิดการสะสมของเสียในร่างกาย และเมื่อไตของเราไม่สามารถทำการกรองได้เป็นปกติเป็นเวลา 3 เดือน ก็จะนับว่าเป็น “โรคไตวายเรื้อรัง” ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้ยากในคนทั่วไปหากสามารถควบคุมการกินอาหารได้ดี โดยไม่กินอาหารรสจัดมากเกินไป หรือคุมโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวันนั่นเอง และหากมีค่าการทำงานของไต (glomerular filtration rate : eGFR)  น้อยกว่า 15 มิลลิลิตร/นาที/1.73 ตารางเมตรก็จะนับว่าเป็น “โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย” นั่นเอง ซึ่งในแต่ระยะก็จะมีความต้องการโปรตีนที่ต่างกัน โดยปริมาณทั้งหมดทึ่ควรได้รับจะแตกต่างไปตามแต่น้ำหนักตัวของแต่ละคน […]

คนโรคไต กินผัก อะไรได้บ้าง ?

เมื่อพูดถึงผักทุกคนจะต้องนึกถึงประโยชน์จากผัก ไม่ว่าจะเป็นวิตามินและแร่ธาตุ หรือแม้แต่ใยอาหารจากผักนั่นเอง แต่ว่าสำหรับผู้ป่วยโรคไตที่มีความสามารถในการกำจัดแร่ธาตุบางชนิดออกจากร่างกายได้ลดลง ก็อาจจะมีปัญหาหากกินผักบางชนิดในปริมาณที่มากเกินไปได้ ด้วยเหตุนี้ผู้ป่วยโรคไตจึงจำเป็นต้องควบคุมปริมาณและชนิดของผักที่กินเข้าไป และบทความนี้จะช่วยบอกว่า คนโรคไต กินผัก อะไรได้บ้าง ? สาเหตุที่ต้องควบคุมอาหารของ คนโรคไต ผู้ป่วยโรคไต หรือ คนป่วยโรคไต คือผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตลดลง ทำให้ไม่สามารถกำจัดของเสียหรือแร่ธาตุส่วนเกินออกจากร่างกายทางปัสสาวะได้เป็นปกติ ทำให้เกิดการค้างอยู่ในเลือดเป็นปริมาณมากและทำให้ให้เกิดอาการต่าง ๆ ได้หลายอย่าง เช่น ด้วยเหตุนี้ผู้ป่วยโรคไตจึงจำเป็นที่จะต้องควบคุมอาหารเพื่อควบคุมระดับแร่ธาตุในเลือดอยู่ในช่วงที่เหมาะสม โดยแร่ธาตุที่มีพบได้ในผักและผู้ป่วยโรคไตจำเป็นต้องควบคุมคือ โพแทสเซียม โดยผู้ป่วยโรคไตต้องควบคุมให้อยู่ที่ระดับ 5 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร ดังนี้ ผัก ที่ผู้ป่วยโรคไตกินได้มี อะไรบ้าง ? จากการที่ผู้ป่วยโรคไตที่มีระดับโพแทสเซียมในเลือดสูงกว่า 5 มิลลิลกรัมต่อเดซิลิตร ทำให้ต้องควบคุมการกินอาหารให้ไม่ได้โพแทสเซียมเกิน 1,500 มิลลิกรัมต่อวัน แต่ว่าผักมีแร่ธาตุโพแทสเซียมอยู่มากและน้อยต่างกันไป ซึ่งผู้ป่วยควรเลือกกินผักที่มีระดับโพแทสเซียมต่ำ โดยการแบ่งปริมาณโพแทสเซียมในผักจะถูกแบ่งเป็น 3 กลุ่ม กลุ่มที่ 1 ผักที่มีโพแทสเซียมต่ำ กินได้ทุกวัน เป็นผักที่มีปริมาณโพแทสเซียมน้อยกว่า 100 มิลลิกรัมต่อผัก 1 ทัพพี โดยผักในกลุ่มนี้ เช่น […]

คนโรคไต กินผลไม้ ได้หรือไม่

สำหรับคนเป็นโรคไตมีความจำเป็นที่จะต้องควบคุมการกินอาหาร จนอาจทำให้เกิดความสงสัยว่าตกลงแล้วกินอะไรได้บ้าง และห้ามกินอะไรบ้าง แล้วอย่างประเทศไทยที่มีผลไม้มากมายหลากหลายชนิด ก็อาจเป็นอีกคำถามที่ทำให้สงสัยกันว่า คนโรคไตห้ามกินผลไม้อะไร คนโรคไตกินผลไม้อะไรได้บ้าง คนโรคไตต้องกินผลไม้แค่ไหน ลองมาดูข้อมูลกันเลย ทำไม คนโรคไต ต้องคุม โพแทสเซียม ให้ปกติ คนโรคไต หรือ ผู้ป่วยโรคไต คือคนที่การทำงานของไตลดลง ทำให้ไม่สามารถกำจัดของเสียหรือแร่ธาตุส่วนเกินออกจากร่างกายได้ดีเท่าที่ควร ซึ่งทำให้เกิดการค้างอยู่ในเลือดเป็นปริมาณมากและอาจก่อให้เกิดอาการต่าง ๆ ได้หลายอย่าง เช่น และเพื่อการป้องกันไม่ให้เกิดอาการต่าง ๆ ทำให้ผู้ป่วยโรคไตควบคุมระดับแร่ธาตุในเลือดอยู่ในช่วงที่เหมาะสม โดยแร่ธาตุที่สำคัญที่สามารถพบได้ในผลไม้คือ โพแทสเซียม ซึ่งต้องควบคุมระดับโพแทสเซียมในเลือดอยู่ที่ 5  มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร โดย ดังนั้น เมื่อผู้ป่วยต้องควบคุมปริมาณโพแทสเซียมจากการกิน ซึงผลไม้ที่เป็นแหล่งของแร่ธาตุตัวนี้อาจทำให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเกิดความสงสัยว่าสามารถกินผลไม้อะไรได้บ้างและสามารถกินได้ในปริมาณเท่าไหร่กันแน่ ผลไม้อะไร ที่ คนโรคไต กินได้ ผลไม้เป็นหนึ่งในอาหารที่ผู้ป่วยโรคไตต้องระมัดระวัง เพราะผลไม้ถือเป็นแหล่งของโพแทสเซียม ที่ถ้าหากควบคุมได้ไม่ดีจะทำให้เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับหัวใจ ซึ่งสามารถแบ่งการกินผลไม้ของผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังตามระดับโพแทสเซียมในเลือดได้ ดังนี้ สามารถกินผลไม้ได้ทุกชนิด แต่ก็ต้องกินในปริมาณที่เหมาะสมอยู่ที่วันละ 3 – 5 ส่วนต่อวัน โดยแนะนำให้เลือกเป็นผลไม้ที่มีระดับโพแทสเซียมต่ำ หรืออาจเลือกกินเป็นผลไม้ที่มีโพแทสเซียมปานกลางแต่กินในปริมาณที่ลดลง โดยพยายามเลือกกินผลไม้ให้หลากหลายชนิดสลับกัน ต้องระวังการกินผลไม้ที่มีโพแทสเซียมสูง แต่ยังสามารถกินผลไม้ที่มีระดับโพแทสเซียมต่ำได้วันละ […]

โรคไต ใช้เครื่องปรุงสูตรโซเดียมต่ำได้หรือไม่ ?

โรคไต มักจำเป็นจะต้องมีการควบคุมปริมาณน้ำ รวมถึงอาหารที่มีโซเดียม เช่น อาหารหมักดอง ผัก ผลไม้ หรืออาหารรสเค็ม ซึ่งอาจทำให้ผู้ป่วยโรคไตหลาย ๆ คนไม่สามารถปรุงอาหารด้วยน้ำปลา หรือซอสปรุงรสต่าง ๆ ได้ จึงมีผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงสูตรโซเดียมต่ำออกมา และอาจทำให้ผู้ป่วยโรคไตหลาย ๆ คนคิดว่าน่าจะเป็นอีกทางเลือกในการกินอาหารได้ แต่จริง ๆ แล้วแบบนี้ คนโรคไต ใช้เครื่องปรุงสูตรโซเดียมต่ำได้หรือไม่ โรคไตกับการจำกัดอาหาร ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจะมีความสามารถกำจัดสารต่าง ๆ ผ่านทางไตลดลง ทำให้เกิดความผิดปกติเกี่ยวกับระดับแร่ธาตุในร่างกาย เพราะการทำงานที่ผิดปกติของไต ทำให้ร่างกายไม่สามารถขับแร่ธาตุต่าง ๆ ได้ตามปกติ เช่น โซเดียม โพแทสเซียม เป็นต้น ทำให้แร่ธาตุเหล่านี้เกิดการคั่งอยู่ในเลือดจำนวนมาก และทำให้เกิดปัญหาต่อร่างกายผู้ป่วยได้ เช่น อาการคันตามผิวหนัง ปัสสาวะผิดปกติ และเท้าบวม เป็นต้น ดังนั้น ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจึงจำเป็นที่จะต้องควบคุมปริมาณแร่ธาตุต่าง ๆ ที่ได้รับจากอาหาร ดังนี้ ด้วยเหตุนี้ทำให้ผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังจำเป็นที่จะต้องควบคุมการกินอาหารต่าง ๆ เช่น เครื่องปรุง เพราะมีโซเดียมในปริมาณมาก และเมื่อมีผลิตภัณฑ์เครื่องปรุงสูตรโซเดียมต่ำออกมาคงทำให้ผู้ป่วยโรคไตสงสัยว่าจะสามารถใช้ในการปรุงอาหารหรือไม่ เครื่องปรุงโซเดียมต่ำ […]

1 2
ส่งข้อความถึงเรา