fbpx

นักกำหนดอาหาร เดอะ ซีรีส์

– นักกำหนดอาหาร ผู้ดูแลสุขภาพทุกคนด้วยอาหาร –

          หลาย ๆ คนอาจเคยได้เห็นหรือยินชื่อวิชาชีพ นักกำหนดอาหาร กันมาบ้างแน่นอน เนื่องจากในช่วงไม่นานมานี้ได้มีการประกาศให้นักกำหนดอาหารในประเทศไทย เป็นผู้ประกอบโรคศิลปะอย่างเป็นทางการซึ่งจากประกาศในครั้งนี้ อาจทำให้ใครหลาย ๆ คนเกิดข้อสงสัยว่า นักกำหนดอาหารคือใคร มาเกี่ยวข้องกับหน้าที่ดูแลเรื่องอาหารในโรงพยาบาลได้อย่างไร ลองมาทำความรู้จักกันทีละนิดผ่านเรื่องเล่านักกำหนดอาหาร เดอะ ซีรีส์ พร้อมแล้วไปกันเลย!

นักกำหนดอาหาร คือใคร

          นักกำหนดอาหาร (Dietitian) คือ หนึ่งในทีมบุคลากรทางการแพทย์หรือที่เรียกว่า “สหสาขาวิชาชีพ” ที่มีความเชี่ยวชาญด้านโภชนาการและอาหารและสามารถนำความรู้ทางด้านโภชนาการและอาหารมาใช้ในการกำหนดอาหารให้เหมาะสมกับสภาวะและความต้องการของผู้ป่วยหรือบุคคลทั่วไปในแต่ละช่วงวัย รวมถึงการให้คำปรึกษาและให้ความรู้ทางด้านโภชนาการเพื่อให้ผู้ป่วยหรือบุคคลทั่วไปสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารให้เหมาะสมกับแต่ละบุคคลได้มากที่สุด

          พระราชกฤษฎีกาได้ให้คำจำกัดความถึงนักกำหนดอาหาร โดยระบุได้ว่า นักกำหนดอาหารคือ ผู้ที่ปฏิบัติหรือคาดหวังเกี่ยวกับการวินิจฉัยปัญหาทางด้านโภชนาการโดยการประเมินภาวะของผู้ป่วย วิเคราะห์และวางแผนการให้โภชนบำบัด การให้คำปรึกษา ติดตาม ประเมินผล ส่งเสริม ฟื้นฟูภาวะโภชนาการ รวมถึงการดัดแปลงอาหารให้เหมาะสมกับโรคเพื่อให้เป็นไปตามแผนการรักษา แต่ไม่นับรวมกับการปรุงประกอบอาหารสำหรับผู้ป่วยปกติในโรงพยาบาล

หน้าที่ของนักกำหนดอาหาร ต่างกับ นักโภชนาการ หรือไม่?

จากที่กล่าวไปว่า นักกำหนดอาหารนับเป็นหนึ่งในทีมของบุคลากรทางการแพทย์ โดยมีหน้าที่ ประเมินภาวะโภชนาการของผู้ป่วยว่าในปัจจุบันการกินของอาหารของผู้ป่วยเหมาะสมหรือไม่ คำนวณความต้องการของพลังงานและสารอาหารที่ผู้ป่วยควรได้รับ และนำไปกำหนดปริมาณให้เหมาะสมกับผู้ป่วย เพื่อช่วยให้การรักษาของแพทย์หรือคนในทีมสหสาขาวิชาชีพ เช่น พยาบาล นักกายภาพบำบัด เภสัชกร หรือ นักกิจกรรบำบัด สามารถดำเนินการดูแลรักษาคนไข้ไปได้อย่างมีประสิทธิภาพที่สุด

นอกจากนี้นักกำหนดอาหารยังต้องให้คำแนะนำหรือความรู้เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกินอาหารให้ดีต่อสุขภาพและเหมาะกับโรคของผู้ป่วยอีกด้วย ซึ่งหน้าที่นี้จะเรียกโดยรวมว่า “โภชนบำบัด” และนอกจากนี้นักกำหนดอาหารก็ยังให้คำแนะนำกับบุคคลในช่วงวัยต่าง ๆ ในด้านโภชนาการ เพื่อให้บุคคลนั้น ๆ ได้รับพลังงานและสารอาหารอย่างเหมาะสมต่อความต้องการของร่างกาย สำหรับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย เช่น เด็กในวัยเจริญเติบโต หญิงตั้งครรภ์ หญิงให้นมบุตร เป็นต้น และยังรวมไปถึงกับผู้ที่มีความสนใจในการลดน้ำหนัก เพิ่มน้ำหนัก และผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังต่าง ๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคไขมันในเลือดสูง และ โรคอ้วน เป็นต้น

ตัวอย่าง นักกำหนดอาหาร ในประเทศไทย

เปิดมุมมองอาชีพนักกำหนดอาหาร ทำได้มากกว่าที่คิด

          จากข้างต้นจะเห็นได้ นักกำหนดอาหารสามารถแทรกซึมเข้าไปกับทุกวงการ บ้างก็เป็นบุคคลเบื้องหน้าที่ปรากฏตัวต่อสื่อ หรือบุคคลเบื้องหลังที่คอยให้คำแนะนำด้านโภชนาการอยู่ห่างๆ เพื่อให้ทุกคนมีสุขภาพที่ดี และมีภูมิต้านทานในการดูแลสุขภาพของตัวเอง จึงขอมาเปิดมุมมองยกตัวอย่างอาชีพที่ใครจะรู้ว่านักกำหนดอาหาร ก็สามารถทำได้ เช่น

  • ผู้ให้คำแนะนำปัญหาด้านสุขภาพในโรงพยาบาล
  • นักกำหนดอาหารประจำ ศูนย์ดูแลด้านสุขภาพ
  • ผู้ประกอบการร้านอาหาร
  • เจ้าของเพจสื่อให้ความรู้ด้านอาหารในโซเชียลมีเดีย
  • ผู้ให้คำปรึกษาด้านนวัตกรรม สื่อดิจิทัลและพัฒนาอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับประชาชน
  • นักกำหนดอาหารที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เช่น การดูแลนักกีฬาด้านโภชนาการ นักยกน้ำหนัก
  • นักกำหนดอาหารส่วนตัว 

หลังจากที่รู้จัก คำนิยาม บทบาทหน้าที่ และตัวอย่างนักกำหนดอาหารที่คอยดูแลในด้านโภชนาการและอาหารให้เหมาะสมกับผู้ป่วยและคนในแต่ละช่วงวัยมากที่สุดแล้ว หลาย ๆ คนอาจจะยังมีความข้องใจเกี่ยวกับวิชาชีพนักกำหนดอาหารอีกหลากหลายอย่าง เช่น เราสามารถพบนักกำหนดอาหารได้ที่ไหน นักกำหนดอาหารแตกต่างอย่างไรกับนักโภชนาการ เป็นต้น สามารถติดตาม “เรื่องเล่าของนักกำหนดอาหาร เดอะซีรีส์” ตอนถัดไปได้

สอบถามเพิ่มเติม Add Line ปรึกษานักกำหนดอาหาร

ดูแลสุขภาพของคุณให้ถูกวิธี

โปรแกรมปรึกษานักกำหนดอาหารคืออะไร ?

พร้อมรับคำปรึกษาจาก

นักกำหนดอาหารวิชาชีพ

ไม่พลาดบทความด้านโภชนาการ

ของ อีทเวลล์คอนเซปต์ ก่อนใคร

ส่งข้อความถึงเรา