fbpx

เครื่องดื่มลดน้ำหนัก

ปัจจุบันอุตสาหกรรมเครื่องดื่มได้มีผลิตภัณฑ์เครื่องดื่มออกมาหลากหลายรูปแบบทั้งที่ปรุงแต่งกลิ่นและรสเพื่อให้ถูกปากผู้บริโภค โดยเฉพาะเครื่องดื่มที่มีรสชาติหวาน เช่น น้ำผลไม้ น้ำอัดลม นมช็อกโกแลต ชานมไข่มุก ฯลฯ ซึ่งเป็นเครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมมากที่สุก อย่างไรก็ตามผู้บริโภคอาจจะไม่รู้ว่าเครื่องดื่มเหล่านี้ก็เป็นสาเหตุหนึ่งของน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น

น้ำหนักขึ้นเกิดจากเครื่องดื่ม…

              เครื่องดื่มมักจะมีการผสม ‘น้ำตาล/น้ำเชื่อม’ เพื่อเพิ่มรสชาติหวานให้ถูกใจผู้บริโภค อีกทั้งเครื่องดื่มบางชนิดมีการผสมนมข้นหวาน/ครีมเทียม เพื่อให้เกิดรสชาติหวานมัน เช่น มอคค่า ชาชัก มัทฉะลาเต้ เป็นต้น เครื่องดื่มเหล่านี้จะมีพลังงาน/แคลอรี่สูงจากน้ำตาลและไขมัน หากร่างกายได้รับพลังงานในปริมาณที่มากเกินความต้องการของร่างกาย จะทำให้พลังงานส่วนเกินไปสะสมตามส่วนต่างๆของร่างกาย เกิดเป็นไขมันหน้าท้อง ต้นแขน หรือต้นขา เป็นต้น

ลดน้ำหนักเพียงแค่ปรับเปลี่ยนการเลือกเครื่องดื่ม

น้ำเป็นเครื่องดื่มและก็เป็นสารอาหารที่สำคัญต่อร่างกาย เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องดื่มเป็นประจำทุกวัน หากร่างกายขาดน้ำจะทำให้เสียชีวิตภายใน 2-3 วัน ในหนึ่งวันจึงควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว หรือประมาณ 2 ลิตรต่อวัน แต่บางครั้งเราเองก็ไม่อยากจะดื่มแต่น้ำเปล่า ดังนั้นหากต้องการลดน้ำหนักเราควรจะเลือก ‘เครื่องดื่มที่มีน้ำตาลต่ำ’ ซึ่งเราสามารถตรวจสอบได้จากฉลากโภชนาการ โดยปริมาณน้ำตาลไม่ควรเกิน 8 กรัม หรือ ความหวานไม่เกิน 2 ช้อนชาต่อหนึ่งหน่วยบริโภค

ควรเลือกเครื่องดื่มอย่างไรดี

  1. หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่เติมน้ำตาล/น้ำเชื่อม/ครีมเทียม เป็นต้น
  2. อ่านฉลากโภชนาการ เพื่อดูปริมาณพลังงานและสารอาหารให้เหมาะสมต่อความต้องการของร่างกาย
  3. เลือกเครื่องดื่มที่มีฉลากทางเลือกสุขภาพ
สัญลักษณ์โภชนาการ ‘ทางเลือกสุขภาพ’ แสดงบนบรรจุภัณฑ์

เห็นง่าย ๆ บนฉลากเครื่องดื่มมั่นใจได้เลยว่าสุขภาพแน่นอน โดยสัญลักษณ์นี้บ่งบอกให้ทราบว่าผลิตภัณฑ์อาหารนั้นมีปริมาณน้ำตาล ไขมัน โซเดียม ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้

แนะนำวิธีการอ่านฉลากโภชนาการ

ฉลากโภชนาการแบบจีดีเอ (GDA: Guideline Daily Amount) หรือ ฉลาก หวาน มัน เค็ม จะปรากฎอยู่บนบรรจุภัณฑ์อาหารสำเร็จรูปพร้อมรับประทาน

gda-ewc

อ่านเพิ่มเติมเรื่อง เช็คก่อนหยิบ ฉลากโภชนาการ ตัวช่วยเรื่องสุขภาพ

ประเภทของเครื่องดื่มลดน้ำหนัก

เครื่องดื่มลดน้ำหนัก-EWC
  • ชาเขียว สูตรไม่เติมน้ำตาล
    • พลังงาน 0 – 60 กิโลแคลอรี่ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค
    • มีสารต้านอนุมูลอิสระที่ชื่อว่า EGCG (EPIGALLOCATECHIN GALLATE) ช่วยกระตุ้นการเผาผลาญไขมัน ทำให้อัตราการเผาผลาญพลังงานของร่างกายเพิ่มขึ้น
  • กาแฟดำ/อเมริกาโน่ สูตรไม่เติมน้ำตาล
    • พลังงาน 5 กิโลแคลอรี่/ 1 ช้อนชา
    • คาเฟอีน มีคุณสมบัติกเพิ่มการเผาผลาญร่างกาย และช่วยกระตุ้นการสลายไขมัน
  • เครื่องดื่มสมุนไพร สูตรไม่เติมน้ำตาล
    • เช่น น้ำจับเลี้ยง น้ำเก๊กฮวย น้ำใบเตยวุ้นว่านหางจระเข้ ฯลฯพลังงาน 0 – 25 กิโลแคลอรี่ต่อหนึ่งหน่วยบริโภคสรรพคุณนั้นมีหลากหลายขึ้นอยู่กับชนิดของสมุนไพรที่ถูกนำมาทำเป็นเครื่องดื่ม
    • ช่วยเพิ่มความสดชื่นและดับร้อนภายในร่างกายได้ด้วย
  • น้ำผัก-ผลไม้คั้นสด
    • พลังงาน 60 กิโลแคลอรี่/แก้ว (ปริมาตร 120 มล.)ผัก-ผลไม้มีความหวานจากน้ำตาลธรรมชาติอยู่แล้ว ควรดื่มแบบคั้นสด ไม่เติมน้ำเชื่อมหรือสารปรุงแต่งรสอื่นๆผัก-ผลไม้มีวิตามินและเกลือแร่ที่เป็นประโยชน์แก่ร่างกาย เช่น วิตามินซี วิตามินบี โพแทสเซียม ฟอสฟอรัส ฯลฯ
    • เลือกน้ำผัก-ผลไม้ที่ไม่แยกกากใย เพราะไฟเบอร์จะช่วยกระตุ้นการขับถ่าย และป้องกันท้องผูก
  • นมรสจืด
    • นมจืดขาดมันเนย หรือ นมจืดไขมัน 0% เพราะนมสดจะมีปริมาณไขมันอิ่มตัวและคอเลสเตอรอลสูงพลังงาน 80 – 90 กิโลแคลอรี่/แก้ว (ปริมาตร 240 มล.)
    • นมเป็นแหล่งโปรตีนคุณภาพดี และมีแคลเซียมสูง ช่วยเรื่องการเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง
  • น้ำเต้าหู้ สูตรไม่เติมน้ำตาล
    • พลังงาน 75 กิโลแคลอรี่ (ปริมาตร 240 มล.)เป็นแหล่งแคลเซียมสูง ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
    • มีสารไอโซฟลาโวน (Isoflavones) ร่างกายจะเปลี่ยนสารเคมีชนิดนี้ให้เป็นสารไฟโตรเอสโตรเจน (Phytoestrogens) ที่มีโครงสร้างใกล้เคียงกับเอสโตรเจน (Estrogen) ซึ่งเป็นฮอร์โมนเพศหญิง ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่ช่วยคุมระบบสืบพันธุ์ของเพศหญิง

สรุป

เครื่องดื่มที่ดีที่สุดต่อร่างกายก็คือ ‘น้ำเปล่า’ ที่ให้พลังงาน 0 แคลอรี่ เราสามารถดื่มได้โดยไม่ต้องคำนึงถึงปริมาณน้ำตาลและไขมัน ซึ่งน้ำเปล่าเหมาะสำหรับการลดน้ำหนักที่สุด แต่เราก็ไม่จำเป็นต้องดื่มแต่น้ำเปล่าเพียงอย่างเดียว ยังคงมีเครื่องดื่มพลังงานต่ำชนิดต่างๆให้เลือกสรร เช่น ชาเขียว, อเมริกาโน่, เครื่องดื่มสมุนไพร ฯลฯ ซึ่งเลือกเป็นเครื่องดื่มสูตรไม่เติมน้ำตาล หรือ สูตรไขมัน 0% โดยมีหลักการเลือกบริโภคง่ายๆก็คือ การอ่านฉลากโภชนาการ โดยปริมาณน้ำตาลไม่ควรเกิน 8 กรัมต่อหนึ่งหน่วยบริโภค หรือเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีพลังงานไม่เกิน 100 กิโลแคลอรี่ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค

สอบถามเพิ่มเติม Add Line ปรึกษานักกำหนดอาหาร

ดูแลสุขภาพของคุณให้ถูกวิธี

โปรแกรมปรึกษานักกำหนดอาหารคืออะไร ?

พร้อมรับคำปรึกษาจาก

นักกำหนดอาหารวิชาชีพ

ไม่พลาดบทความด้านโภชนาการ

ของ อีทเวลล์คอนเซปต์ ก่อนใคร

แหล่งอ้างอิง

  • Dr. Priyanka Marakini. (10 4 2566). The Best Weight Loss Drinks. เข้าถึงได้จาก healthifyme: https://www.healthifyme.com/blog/weight-loss-drinks/
  • MS, RD Jillian Kubala. (30 3 2566). The 8 Best Weight Loss Drinks. เข้าถึงได้จาก healthline: https://www.healthline.com/nutrition/weight-loss-drinks
  • Rains, T. M., Agarwal, S., & Maki, K. C. (2011). Antiobesity effects of green tea catechins: a mechanistic review. The Journal of nutritional biochemistry, 22(1), 1-7.
  • POBPAD. (ม.ป.ป.). น้ำเต้าหู้ มีประโยชน์จริงหรือไม่ ? เข้าถึงได้จาก การมีสุขภาพดี: https://www.pobpad.com/
  • กระทรวงสาธารณสุข สำนักคณะกรรมการ อาหารและยา. (28 8 2563). ฉลากโภชนาการ ‘หวาน มัน เค็ม’ แบบจีดีเอ อ่านง่ายได้ประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพ. เข้าถึงได้จาก สสส: https://resourcecenter.thaihealth.or.th/index.php/article/ลากโภชนาการ-‘หวาน-มัน-เค็ม’-แบบจีดีเอ-อ่านง่ายได้ประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพ
  • งานโภชนาการ โรงพยาบาลธัญญารักษ์ปัตตานี. (ม.ป.ป.). รายการอาหารแลกเปลี่ยน ( Food Exchange Lists). เข้าถึงได้จาก โรงพยาบาลธัญญารักษ์ปัตตานี: https://tph.go.th/th/news/saraknaru_file/590923101226.pdf
  • ปทิดา สังข์ทอง. (07 06 2566). 10 อันดับ เครื่องดื่มลดน้ำหนัก ยี่ห้อไหนดี ปี 2023 เผาผลาญไขมัน แคลอรีต่ำ. เข้าถึงได้จาก mybest: https://my-best.in.th/50559
  • มูลนิธิหมอชาวบ้าน. (23 02 2561). เครื่องดื่มทำให้อ้วนได้จริงหรือ. เข้าถึงได้จาก สสส: https://www.thaihealth.or.th/เครื่องดื่มทำให้อ้วนได-2
  • Center, T. H. (2566, มิถุนายน 6). มาตรการ “หวานน้อย” ทางเลือกเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น. Retrieved from สสส.: https://resourcecenter.thaihealth.or.th/article/มาตรการ-“หวานน้อย”-ทางเลือกเพื่อสุขภาพที่ดีขึ้น?
ส่งข้อความถึงเรา