fbpx

ป้ายกำกับจากคลังความรู้

Tag : โปรตีน

Food battle : ไก่ปั่น กับ เวย์ เลือกอันไหนดี?

ผลิตภัณฑ์ทั้งสองชนิด ออกแบบมาเพื่อทำให้การบริโภคโปรตีนในปริมาณมากทำได้ง่ายขึ้น หากเทียบสารอาหารแล้วจะไม่ค่อยแตกต่างกันมากในแง่ของชนิดและคุณภาพของโปรตีน แต่ก็มีความแตกต่างกันอยู่บางส่วนหากเรามองตามรูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่วางขาย ซึ่งสารอาหารและคุณสมบัติที่ควรทราบเกี่ยวกับอาหารเสริมกลุ่มโปรตีนนี้ มีดังนี้ ไก่ปั่น กับ เวย์ ไก่ปั่น แบบสำเร็จหนึ่งขวดจะให้โปรตีนประมาณ 50-70 กรัมขึ้นอยู่กับสูตรของแต่ละยี่ห้อ และมักมีคาร์โบไฮเดรตมาประมาณ 5-15 กรัมต่อขวด และไขมันต่ำกว่า 5 กรัม ซึ่งรสชาติและการยอมรับจะแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล ซึ่งปัจจุบันผู้ผลิตก็ได้พัฒนาสูตรไก่ปั่นต่าง ๆ ให้มีรสชาติที่ยอมรับได้ง่ายขึ้นและหาซื้อได้ทั้งในห้างหรือร้านค้าออนไลน์ การเก็บรักษาต้องแช่เย็นในตู้เย็นเท่านั้น ทำให้เป็นตัวเลือกที่อาจจะลำบากสำหรับบางคนที่อยู่หอพักที่ไม่มีตู้เย็นเสียหน่อย             ส่วนโปรตีนผง ทั้งแบบ Whey หรือโปรตีนจากพืช จะขายในรูปแบบบรรจุภัณฑ์ขนาดใหญ่ จะเป็นถุงหรือกระปุกก็ได้  เลือกชงเป็นช้อนสกู๊ปได้ โดย 1 สกู๊ปจะให้โปรตีนประมาณ 20-30 กรัม แล้วแต่ช้อนที่ผู้ผลิตจะแถมมาให้เลย การพัฒนาสูตรให้มีรสชาติต่างๆ ก็ไม่น้อย เช่น รสช็อคโกแลต รสชาเย็น รสวานิลลา สตรอเบอร์รี่ การเก็บรักษาจะค่อนข้างง่าย ขอแค่เป็นที่แห้ง ไม่ชื้น ไม่โดนแดดโดยตรงก็เก็บได้แล้ว ส่วนการหาซื้อก็สามารถทำได้ง่ายไม่แตกต่างกัน ทั้งซื้อในร้านขายอาหารเพื่อสุขภาพ ร้านขายยาหรือร้านค้าออนไลน์ก็มีให้เลือกมากมาย

เทศกาลเจปี กินเจอย่างไรให้สุขภาพที่ดี

             “เทศกาลกินเจ” เป็นช่วงเวลาที่คนไทยหลายคนรอคอย ไม่ใช่แค่เพื่อการถือศีลและสร้างบุญเท่านั้น แต่ยังเป็นโอกาสที่หลายคนรอคอยเพื่อที่จะได้กินของอร่อยๆ คงไม่มีใครพลาดกับเมนูของทอดยอดนิยม อย่างเช่น ข้าวโพดทอด เต้าหู้ทอด หรือเผือกทอด ที่กินคู่กับน้ำจิ้มถั่วรสเปรี้ยว หวาน ที่เหมือนเกิดมาคู่กัน หรือจะเป็นเมนูอาหารเจอีกหลายๆเมนู ที่เราจะหากินได้เฉพาะช่วงเจเท่านั้น แต่ทันทีที่เทศกาลสิ้นสุด หลายคนกลับพบว่ากางเกงเริ่มคับขึ้น หรือบางคนอาจพบว่าค่าไขมันและน้ำตาลในเลือดพุ่งสูงขึ้นโดยไม่รู้ตัว เมนูเจยอดนิยมเหล่านี้ส่วนมากมักจะมีคาร์โบไฮเดรตและไขมันจากแป้งและของทอดในปริมาณสูง แต่กลับมี “โปรตีน” น้อย อาจทำให้มีโอกาสในการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีโอกาสเสี่ยงมากกว่าคนในวัยอื่น แล้วจะทำอย่างไรให้ “กินเจ” แบบสุขภาพดี วันนี้เรามีเคล็ดลับง่ายๆ กับ 5 แหล่งโปรตีนเพื่อสุขภาพ ที่จะช่วยให้คุณฟิตแอนด์เฟิร์มตลอดเทศกาลเจมาฝากกันค่ะ 5 อาหารเสริมโปรตีน เพื่อสุขภาพดีในเทศกาลกินเจ 1.ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์จากถั่วเหลือง ถั่วเหลืองเป็นแหล่งโปรตีนจากพืชที่มีคุณภาพสูง ดูดซึมได้ดี และสามารถเสริมในทุกมื้ออาหาร เช่น เต้าหู้ ถั่วแระญี่ปุ่น เทมเป้ หรือ นัตโตะ แหล่งโปรตีนเหล่านี้จะช่วยเติมเต็มโปรตีนที่ร่างกายต้องการได้อย่างเพียงพอ 2.ถั่วและธัญพืชอื่นๆ เพิ่มความหลากหลายด้วยถั่วและธัญพืช เช่น ข้าวผัดถั่ว 5 สี พะแนงถั่วลูกไก่ หรือผัดกะเพราถั่วขาว ล้วนแต่ให้โปรตีนสูง […]

ลิวซีน อาหาร สร้างกล้ามเนื้อ นักกล้าม นักเพาะกาย

หากคุณเป็น นักกล้าม หรือ นักเพาะกาย คุณคงทราบดีว่าโปรตีนเป็นสารอาหารที่สำคัญที่สุดในการสร้างและฟื้นฟูกล้ามเนื้อ กรดอะมิโน ลิวซีน (Leucine) ที่มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างกล้ามเนื้ออย่างยิ่ง โดยเฉพาะ นักกล้าม และ นักเพาะกาย ที่อยากจะรักษามวลกล้ามเนื้อ แต่ถ้าไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นยังไงและไม่รู้ว่าที่กินอยู่ตอนนี้ถูกต้องเหมาะกับตัวเราไหม สามารถปรึกษานักกำหนดอาหารวิชาชีพที่จะช่วยคำนวณและดูแลเรื่องอาหารเฉพาะบุคคลให้ โปรตีน : พื้นฐานของการสร้างกล้ามเนื้อ         โปรตีนคือส่วนประกอบหลักของกล้ามเนื้อและเป็นสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการสร้างและซ่อมแซมกล้ามเนื้อหลังการฝึกซ้อมอย่างหนัก สำหรับนักกล้ามและนักเพาะกาย การบริโภคโปรตีนที่เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญมาก โดยควรบริโภคโปรตีนประมาณ 1.6-2.2 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัมต่อวัน ตัวอย่างเช่น หากคุณมีน้ำหนัก 70 กิโลกรัม คุณควรบริโภคโปรตีนประมาณ 112-154 กรัมต่อวัน ลิวซีน : พระเอกของการสร้างกล้ามเนื้อ ลิวซีนเป็นหนึ่งในกรดอะมิโนจำเป็นที่ร่างกายไม่สามารถสังเคราะห์เองได้ ต้องได้รับจากอาหาร ลิวซีนมีบทบาทสำคัญในการกระตุ้นกระบวนการสร้างโปรตีนในกล้ามเนื้อ หรือที่เรียกว่า Muscle Protein Synthesis (MPS) ทำไมลิวซีนถึงสำคัญต่อนักกล้ามและนักเพาะกาย? 1.กระตุ้นการสังเคราะห์โปรตีนในกล้ามเนื้อ    ลิวซีนช่วยกระตุ้นเส้นทาง mTOR (mechanistic target of rapamycin) ซึ่งเป็นเส้นทางสำคัญในการควบคุมการสังเคราะห์โปรตีนในกล้ามเนื้อ การมีลิวซีนเพียงพอจะช่วยให้กล้ามเนื้อเจริญเติบโตและฟื้นฟูได้ดีขึ้น […]

เทคนิคการเสริม โปรตีน ในผู้สูงอายุ

เมื่อก่อนเราอาจจะเคยได้ยินเรื่องของความเชื่อที่ว่า “อายุเยอะแล้ว ไม่ต้องกินเนื้อสัตว์เยอะหรอก ให้เน้นกินพืชกินผักมากกว่า” ซึ่งในความเป็นจริงเราพบว่าความเชื่อเหล่าเป็นสิ่งที่ผิด เนื่องจากเราพบว่า เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น อัตราการสลายกล้ามเนื้อก็เพิ่มมากขึ้นเช่นเดียวกันและการทำกิจกรรมหรือการขยับตัวก็ลดลง ยิ่งกระตุ้นให้กล้ามเนื้อสลายมากขึ้น รวมทั้งปัจจัยในเรื่องการบริโภคโปรตีนหรือเนื้อสัตว์ที่ลดลง โดยอาจมาจากปัญหาเรื่องช่องปาก เช่น มีฟันเหลือน้อย หรือไม่มีฟัน หรืออาจจะรู้สึกว่าเนื้อสัตว์ต่างๆมีกลิ่นคาวเพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ล้วนส่งผลให้ผู้สูงอายุได้รับโปรตีนที่ไม่เพียงพอต่อรางกาย เมื่อได้รับโปรตีนลดลง ร่างกายสลายมากขึ้น เราจึงพบเห็นว่าผู้สูงอายุจะเริ่มเดินไม่ไหวกันมากขึ้น และสุดท้ายก็เกิดภาวะป่วยติดเตียงตามมานั่นเอง จากคำแนะนำของ European Society of Parenteral and Enteral Nutrition (ESPEN) ในปี 2022 แนะนำว่าในผู้สูงอายุควรได้รับโปรตีน อย่างน้อย 1 กรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม แต่โดยทั่วไป เราจะแนะนำอยู่ที่ 1-1.2 กรัมของโปรตีนต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ในผู้สูงอายุสุขภาพดีทั่วไป และมีความต้องการเพิ่มขึ้นหากมีภาวะเจ็บป่วยอื่นๆ เช่น มีการอักเสบต่างๆ ติดเชื้อ มีบาดแผล หรือในกลุ่มที่มีการออกกำลังกายมากๆ แต่หลายครั้งเราพบว่าปัญหาที่เกิดจากกินโปรตีนหรือเนื้อสัตว์ที่ลดลง ไม่ได้เกิดจากผู้สูงอายุไม่อยากกิน แต่เกิดจากปัจจัยอื่นๆ ที่ทำให้ไม่สามารถรับประทานได้ เช่นปัญหาทางช่องปาก […]

เป็นมะเร็งกินโปรตีนได้ไหม ?

คำถามยอดฮิตสำหรับคนไข้มะเร็งและญาติเลยก็ว่าได้ค่ะ เพราะเมื่อเป็นมะเร็งแล้ว จะมีความเชื่อ และข้อมูลที่ได้รับมาจากสื่อออนไลน์ที่บอกว่าเรา ห้ามกินอันนั้น ห้ามกินอันนี้ ให้กินอันโน้นซิ จะได้ไม่เป็นอาหารของมะเร็ง จนสุดท้ายแล้วคนไข้มักมาพบหมอหรือนักกำหนดอาหารด้วยภาวะขาดสารอาหาร (malnutrition) หรือมีภาวะผอมหนังหุ้มกระดูก (cachexia) ร่วมด้วย เนื่องจากกินอะไรไม่ได้ เพราะถูกจำกัดอาหารมากจนเกินความจำเป็น ภาวะผอมหนังหุ้มกระดูกจากมะเร็ง (cancer cachexia) เป็นภาวะที่มีสูญเสียมวลกล้ามเนื้อลดลงอย่างต่อเนื่องหรือมีการสูญเสียมวลไขมันของร่างกายร่วมด้วย มักเกิดจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ ภาวะขาดสารอาหาร (malnutrition)  และ ความผิดปกติของเมทาบอลิซึมของผู้ป่วยเอง จะเห็นได้ว่าคนไข้ในกลุ่มนี้จะมีรูปร่างที่ซูบผอม กล้ามเนื้อลีบ ไม่มีแรง เบื่ออาหาร และกินอาหารได้น้อย ในฐานะนักกำหนดอาหาร เรามักจะพูดกับคนไข้หรือญาติเสมอว่า “เป็นมะเร็ง กินอะไรก็ได้ ” โดยจะมีหลักจำง่ายๆคือ “ กินอาหารที่มีพลังงานสูง และโปรตีนสูง” หรือ “High Energy High Protein” เนื่องจากร่างกายกายเราจะมีการใช้พลังงานที่มากขึ้น เกิดขึ้นมากจากกระบวนการของเซลล์มะเร็ง หรือถ้าให้เปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายๆเลยก็คือ ตอนนี้เหมือนเราทำงานคนเดียว แต่มีเซลล์มะเร็ง จะเป็นอีกส่วนที่ช่วยใช้เงินอีกหนึ่งคน  ซึ่งถ้าเราไม่ทำงานหาเงินเพิ่ม สุดท้ายเงินที่เราเก็บไว้ก็จะหมดไป เช่นเดียวกันกับการที่เราไม่กินอาหารและโปรตีนเพิ่ม […]

เวย์โปรตีน เลือกแบบไหนดี

เวย์โปรตีน ตัวช่วยยอดฮิต ที่สายสุขภาพหลายๆ คนหันมาสนใจ บางที่เราอาจจะสังเกตุว่าเพื่อนรอบตัวเรา ที่เริ่มสนใจสุขภาพ หรือ เล่นกล้าม หลายๆ คนมัก เลือกกิน เวย์โปรตีน กันเพิ่มขึ้น เวย์โปรตีน เป็นอาหารเสริมที่ไม่ว่าจะเป็นคนที่ออกกำลังกายและไม่ได้ออกกำลังกายก็กินได้เหมือนกัน ยกเว้นแต่คนที่มีปัญหาโรคไตที่จะต้องควบคุมปริมาณโปรตีนในแต่ละวัน ที่จะต้องระวังการกินโปรตีนมากเกินไป วันนี้เรามาทำความรู้จักกันดีกว่าว่า เวย์โปรตีนคืออะไร และมีแบบไหนให้เลือกกินกันบ้าง เวย์โปรตีน คือ โปรตีนที่สกัดจาก นมวัว ซึ่งโปรตีนจากนมวัวจะมีส่วนของทั้ง Whey และ Casein แต่นิยมเหลือแต่ส่วนของโปรตีน “เวย์” ที่มีส่วนของโปรตีนคุณภาพสูงในรูปแบบ “ผง” ดูดซึมไปใช้ได้ง่ายและเร็ว แต่เนื่องจากมีบางคนแพ้แลคโตสที่อยู่ในนมวัว เลยมีการสกัดโปรตีนจากแหล่งโปรตีนที่มาจากพืชด้วย ไม่ว่าจะเป็น ถั่วเหลือง ถั่วลันเตา เมล็ดฟักทอง เพื่อให้กลุ่มคนที่แพ้นม หรือแลคโตสอีกด้วย เรียกได้ว่าถ้าแพ้ถั่ว ก็หันไปกินเวย์โปรตีนที่มากจากนม ถ้าแพ้นมก็หันมากินโปรตีนจากพืช นอกจากนี้ เวย์โปรตีนเป็น รูปแบบผง ที่สะดวกชงละลายน้ำกินได้อย่างง่าย ซึ่งหลายยี่ห้อก็มีการพัฒนาสูตรรสชาติให้หลากหลายถูกปากกินได้ง่าย ส่วนเรื่องวิตามิน แร่ธาตุ กรดอะมิโน ที่เติมเข้าไปก็สามารถดูได้ตามแต่ยี่ห้อของเวย์โปรตีนได้ เวย์โปรตีน แบ่งออกได้ […]

สารอาหาร เรื่องง่ายๆ ที่ใครก็เข้าใจได้

สารอาหาร และ อาหาร คงเป็นสองคำที่ทุกคนเคยได้ยินกันบ่อยๆ แม้ชื่อภาษาไทยจะดูคล้ายกัน แต่ในภาษาอังกฤษมีการแยกสองคำนี้ออกจากกันชัดเจน นั่นก็คือ Nutrients (สารอาหาร) และ Food (อาหาร) งั้นเรามาดูกันดีกว่า ว่าแต่ละคำมีความหมายว่าอย่างไร แล้วสารอาหารที่ว่านี้มีตัวไหนที่เราควรรู้จักบ้าง หนึ่ง “อาหาร” … หลาก “สารอาหาร” แม้พูดถึงข้าวเราจะนึกถึงคาร์โบไฮเดรต พูดถึงอกไก่จะนึกถึงโปรตีน แต่จำไว้ว่า “อาหารหนึ่งอย่าง ประกอบไปด้วยสารอาหารหลายชนิด” ยกตัวอย่างเช่น นมจืด 1 กล่อง ที่หลายคนอาจคิดว่าให้แค่โปรตีนและแคลเซียม หากลองไปอ่านข้อมูลโภชนาการที่ฉลากผลิตภัณฑ์แล้ว จะเห็นว่าให้ทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน แร่ธาตุ ครบทั้ง 5 ชนิดของสารอาหารเลย ดังนั้น จะกล้วยหอม 1 ผล หรือ ข้าว 1 จาน ต่างก็ให้สารอาหารได้หลายชนิด ไม่ได้ให้แค่วิตามินหรือคาร์โบไฮเดรตแบบที่บางคนเข้าใจผิดกัน แต่ก็จะมีอาหารบางชนิด ที่ให้สารอาหารบางอย่างสูงเป็นพิเศษ จนเรียกว่าเป็น “แหล่งของ สารอาหาร นั้นๆ” […]

เรื่องไตไต อาหารคนโรคไต กินโปรตีนอย่างไรให้พอ

ผู้ป่วยโรคไตนั้นสามารถแบ่งออกได้เป็นหลายระยะตามความสามารถในการกรองของเสียของไตที่เหลืออยู่ ซึ่งในแต่ละระยะนั้นก็มีความจำเป็นในการควบคุมอาหารที่แตกต่างกัน ซึ่งก่อนหน้านี้เราก็ได้มีการพูดถึงการกินผักและผลไม้ของผู้ที่มีโรคไตเรื้อรังกันไปบ้างแล้ว รวมถึงอาหารต่าง ๆ ว่าผู้ป่วยโรคไตสามารถกินได้หรือไม่ทั้งกาแฟ ข้าวโพด เครื่องปรุงสูตรลดโซเดียม หรือน้ำตาลเทียม แต่ในวันนี้เราจะมาพูดถึง อาหารคนโรคไต ที่มีส่วนสำคัญอย่างมาก ๆ ต่อร่างกายอย่าง “โปรตีน” ว่าตกลงแล้วผู้ป่วยโรคไตต้องกินโปรตีนเท่าไหร่ถึงจะเพียงพอและไม่เป็นอันตรายต่อไตของเรา สาเหตุที่ต้องระวังของ อาหารคนโรคไต ผู้ป่วยโรคไตนั้นจะถูกนับว่าเป็นผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังเมื่อไตมีการผิดปกติตั้งแต่ 3 เดือนขึ้นไป โดยอาจพบอัตราการกรองของไต (estimated glomerular filtration rate, eGFR) ที่ผิดปกติหรือไม่ก็ได้ ซึ่งโดยทั่วไปแล้วผู้ป่วยโรคไตจะใช้อัตราการกรองของไตในการแบ่งระยะของโรคไต ดังนี้ ซึ่งการกิน อาหารคนโรคไต นั้นก็จะแตกต่างกันไปในแต่ละระยะอย่างเช่นในระยะที่ 1 – 3 อาจมีการจำกัดสารอาหารบางชนิด เช่น โซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัม โพแทสเซียมไม่เกิน 3,500 มิลลิกรัม รวมถึงฟอสฟอรัสไม่เกิน 800 มิลลิกรัม  เป็นต้น เพื่อชะลอการเสื่อมลงของไตให้สามารถยังดำเนินชีวิตอยู่ได้นั่นเอง แต่ในผู้ป่วยที่อาการเสื่อมของไตอยู่ในระยะที่ 4 – 5  จะมีความจำเป็นที่ต้องจำกัดสารอาหารดังกล่าวมากขึ้น หรือเข้ารับการบำบัดทดแทนไต […]

ผู้ป่วยโรคไต ทำไมต้องกิน ไข่ขาว

สำหรับคนเป็นโรคไตเรื้อรังมีความจำเป็นที่จะต้องควบคุมการกินอาหาร จนอาจทำให้เกิดความสงสัยว่าตกลงแล้วกินอะไรได้บ้าง แต่จะมีอาหารชนิดหนึ่งที่คุณหมอมักจะแนะนำให้คนป่วยโรคไตได้กินเมื่อต้องเข้ารับการบำบัดทดแทนไตนั่นก็คือ “ไข่ขาว” แล้วเพราะอะไร ผู้ป่วยโรคไต ทำไมต้องกิน ไข่ขาว เวลาที่จะต้องบำบัดทนแทนไตกันด้วยเราลองไปหาคำตอบกันดีกว่า ผู้ป่วยโรคไต “เรื้อรัง” คืออะไร โรคไตเรื้อรัง (Chronic kidney disease, CKD) คือ ภาวะที่ไตของเราได้ถูกทำลาย จากการที่ไตทำงานอย่างหนักในการกรองของเสียหรือแร่ธาตุส่วนเกินต่าง ๆ ซึ่งเป็นผลจากการเลือกรับประทานอาหารที่มีรสเค็มจัดหรือมีโซเดียมสูง หรือผลจากโรคความดันโลหิต โรคเบาหวานที่ควบคุมได้ไม่ดี จนทำใหไตไม่สามารถกรองเลือดเพื่อขับของเสียได้อย่างเป็นปกติ และโรคไตถือเป็นโรคที่ “เรื้อรัง” เนื่องจากการเสื่อมของไตจะเกิดขึ้นอย่างช้า ๆ ใช้ระยะเวลานาน โดยการเสื่อมของไตอาจทำให้เกิดการสะสมของเสียในร่างกาย และเมื่อไตของเราไม่สามารถทำการกรองได้เป็นปกติเป็นเวลา 3 เดือน ก็จะนับว่าเป็น “โรคไตวายเรื้อรัง” ซึ่งเป็นภาวะที่พบได้ยากในคนทั่วไปหากสามารถควบคุมการกินอาหารได้ดี โดยไม่กินอาหารรสจัดมากเกินไป หรือคุมโซเดียมไม่เกิน 2,000 มิลลิกรัมต่อวันนั่นเอง และหากมีค่าการทำงานของไต (glomerular filtration rate : eGFR)  น้อยกว่า 15 มิลลิลิตร/นาที/1.73 ตารางเมตรก็จะนับว่าเป็น “โรคไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย” นั่นเอง ซึ่งในแต่ระยะก็จะมีความต้องการโปรตีนที่ต่างกัน โดยปริมาณทั้งหมดทึ่ควรได้รับจะแตกต่างไปตามแต่น้ำหนักตัวของแต่ละคน […]

“นมแมลงสาบ” อาหารแปลกจากแมลงที่ทุกคนรู้จักดี

ในปัจจุบันที่เทคโนโลยีต่าง ๆ ได้พัฒนามากขึ้นทำให้มีการคิดค้นอาหารในรูปแบบต่าง ๆ ออกมาอย่างมากมายแต่ใครจะไปเชื่อว่าในช่วงก่อนหน้านี้บทโลกออนไลน์ได้มีแปลก ๆ ขึ้นมา เมื่อมีนักวิทยาศาสตร์ได้พัฒนาวิธีการสกัดนมที่มีสารอาหารและโปรตีนที่มากกว่านมวัวที่เรานิยมดื่มกันอยู่เสียอีก ซึ่งนมที่ว่านั้นกลับถูกสกัดออกมาจากแมลงชนิดหนึ่งที่ทุกคนรู้จักกันดีคือ “แมลงสาบ” นั่งเอง ได้ยินแบบนี้ทุกคนคงสงสัยแล้วแน่ ๆ ว่าอนาคตเราจะต้องดื่มนมจากแมลงสาบจริง ๆ หรือไม่ วันนี้เราเลยหาข้อมูลที่จะช่วยทุกคนไขข้อข้องใจเกี่ยวกับ “นมแมลงสาบ” อาหารแปลกจากแมลงที่ทุกคนรู้จักดี “แมลงสาบ” ที่มาของอาหารสุดแปลก สำหรับตัวนมที่สกัดจากแมลงสาบนั้นไม่ใช่ว่าสามารถนำแมลงสาบที่เราพบเห็นมาสกัดในทันที แต่ชนิดที่ถูกนำมาสกัดเป็นนมนั้นมีชื่อว่า “แมลงสาบด้วงแปซิฟิก” หรือ Pacific Beetle cockroach (ชื่อทางวิทยาศาสตร์คือ Diploptera punctata) และจากภาพก็จะเห็นได้ว่าเจ้าแมลงสาบชนิดนี้มีความแตกต่างกันอย่างมากกับแมลงสาบที่เราสามารถพบเห็นได้ทั่วไป แต่ถ้าตามข้อมูลแล้วก็นับว่าแมลงสาบสองชนิดนี้เป็นญาติที่ห่างกันอย่างมาก เพราะแม้หน้าตาที่คล้ายคลึงคลัน แต่การแบ่งชนิดก็ทำให้มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ที่แตกต่างกันก็คงไม่ต้องกังวลว่าแมลงสาบชนิดนี้จะเป็นตัวที่ทำให้บ้านของเราดูไม่สะอาด และคอยกวนใจเราอย่างแน่นอน แต่ว่าทำไมนักวิทยาศาสตร์คนนั้นถึงได้คิดริเริ่มการสกัดนมจากแมลงสาบไปหาคำตอบกัน “นมแมลงสาบ” อาหารที่เกิดจากการความแปลก สำหรับสาเหตุที่ทำให้เกิดการศึกษาการสกัดนมแมลงสาบนั้น เพราะแมลงสาบชนิดนี้จะมีการออกลูกเป็น “ตัว” ซึ่งจะแตกต่างจากแมลงสาบทั่วไปที่มักจะออกลูกเป็นไข่ และเพื่อการเจริญเติบโตของลูกแมลงสาบภายในตัวแม่แมลงสาบ ทำให้แม่แมลงจะผลิต “ผลึกโปรตีน” เพื่อเป็นแหล่งของอาหารก่อนที่จะคลอดออกมาสู่โลกภายนอกนั่นเอง ด้วยเหตุนี้นักวิทยาศาสตร์จึงเกิดความสนใจกับ “ผลึกโปรตีน” ตัวนี้จึงได้ศึกษาผลึกโปรตีนที่ว่าพบว่า การทำนมแมลงสาบประมาณ 100 มิลลิลิตร ต้องใช้แมลงสาบในการสกัดถึง  1,000 […]

1 2
ส่งข้อความถึงเรา