fbpx

คู่มือเลือก อาหารเพิ่มกล้ามเนื้อ ที่หาซื้อได้ 7-11

พอพูดถึงกล้ามเนื้อ ทุกคนอาจจะคิดถึงคุณพี่ก้ามปู กล้ามเป็นมัดๆ แต่จริงๆ แล้ว กล้ามเนื้อ  ไม่ได้สร้างง่ายขนาดนั้น  ยิ่งเมื่อเรา อายุมากขึ้น ร่างกายจะเริ่มสูญเสียกล้ามเนื้อและความแข็งแรงเพิ่มมากขึ้น  โดยกระบวนการนี้จะ เริ่มจะตั้งแต่อายุประมาณ 30 ปีขึ้นไป และจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เมื่ออายุเพิ่มมากขึ้นนั่นเป็นสาเหตุว่า ทำไม พออายุเริ่มมากขึ้นน้ำหนักก็เพิ่มขึ้นตามไปด้วย เพราะกล้ามเนื้อเป็นเตาเผาพลังงานชั้นดี ที่ถ้ายิ่งมีมากก็จะช่วยเผาผลาญพลังงานจากอาหารที่เรากินได้ แต่เมื่อกล้ามเนื้อลดลง พลังงานต่างๆ ก็จะใช้ลดลง ทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มมากขึ้น แถมยังจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดการบาดเจ็บจากการหกล้มเพิ่มจนก่อให้เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมาได้ในที่สุด ดังนั้น อาหารเพิ่มกล้ามเนื้อ ที่แนะนำก็คือ โปรตีน นั่นเอง

อยากสร้างกล้าม ต้องกินโปรตีนให้เพียงพอ 

โปรตีนที่แนะนำต่อวัน

คนทั่วไป : น้ำหนักตัว x (0.8-1) กรัมของโปรตีนต่อวัน

เช่น หากเรามีน้ำหนัก 60 กิโลกรัม ดังนั้น เราควรได้รับโปรตีน 48-60 กรัมต่อวัน

คนที่เล่นกล้าม : น้ำหนักตัว x (1.6 – 2.2) กรัมของโปรตีนต่อวัน

เช่น หากเรามีน้ำหนัก 60 กิโลกรัม ดังนั้น เราควรได้รับโปรตีน 72-132 กรัมต่อวัน ขึ้นอยู่กับความหนักของการออกกำลังกาย

แหล่งโปรตีนที่ดี

           อาหารเพิ่มกล้ามเนื้อ คือ แหล่งโปรตีนที่ดีหรือโปรตีนที่มีคุณภาพที่เราแนะนำส่วนใหญ่จะเป็นแหล่งโปรตีนที่มาจากเนื้อสัตว์ เนื่องจากมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายครบถ้วน และมีการดูดซึมและนำไปใช้ค่อนข้างดี เช่น

แหล่งโปรตีนที่ดี-EWC
  • เนื้อหมู, เนื้อวัว
  • เนื้อไก่
  • เนื้อปลา
  • เนื้อกุ้ง
  • ไข่
  • นม
  • เต้าหู้

สำหรับคนที่มีเวลาจำกัดหรือไม่ทำอาหารกินเอง การหาโปรตีนจากร้านสะดวกซื้อเป็นทางเลือกที่ง่ายและสะดวกสำหรับเรามากกว่า ดังนั้นวันนี้ เราจะมายกตัวอย่างชุดมีเมนูที่จะช่วยส่งเสริมการสร้างกล้ามเนื้อกัน

5 ชุดเมนู อาหารเพิ่มกล้ามเนื้อ

1.ข้าวกะเพราหมู และ ไข่ต้ม 2 ฟอง

พลังงานรวมเฉลี่ย 530 กิโลแคลอรี, โปรตีน 30 กรัม

ข้าวกะเพรา-EWC

2.โอนิกิริแซลมอนย่างเกลือ และ อกไก่นุ่มรสต่างๆ

พลังงานเฉลี่ย 250  กิโลแคลอรี, โปรตีน  25  กรัม

โอริกินิ-EWC

3.แซนวิชไส้ทูน่าสลัด และ สันในไก่นุ่มย่างถ่าน

พลังงานรวมเฉลี่ย  250 กิโลแคลอรี, โปรตีน  22  กรัม

แซนวิช-EWC

4. ผักสลัด และ อกไก่ฉีก

พลังงานรวมเฉลี่ย 125 กิโลแคลอรี, โปรตีน  21 กรัม

ผักสลัด-EWC

5.นมโปรตีนสูง และ กราโนล่า 1 ถ้วย

พลังงานเฉลี่ย 320  กิโลแคลอรี, โปรตีน 30  กรัม

นมโปรตีน-EWC

เนื่องจากอาหารในร้านสะดวกซื้อส่วนใหญ่จะมีโปรตีนหรือเนื้อสัตว์ไม่มากพอ การจับคู่กับไข่ต้ม ไข่ตุ๋น หรืออกไก่ย่าง ทำให้เราได้รับโปรตีนเพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย และที่สำคัญอย่าลืมอ่านฉลากโภชนาการก่อนเลือกซื้ออาหารทุกครั้งนะคะ เนื่องจากอาหารปรุงสำเร็จส่วนใหญ่มีปริมาณโซเดียมค่อนข้างสูง การอ่านโภชนาการทุกครั้ง จะช่วยให้เราสามารถเปรียบเทียบอาหารแต่ละชนิดและเลือกสิ่งที่ดีต่อสุขภาพเราได้อย่างแน่นอน

กิน อาหารเพิ่มกล้ามเนื้อ แล้ว อย่าลืมออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

นอกจากการบริโภคโปรตีนที่เพียงพอแล้ว การออกกำลังกายเป็นประจำ โดยเฉพาะการฝึกเวทเทรนนิ่ง ยังช่วยกระตุ้นการสร้างกล้ามเนื้อและป้องกันการสูญเสียกล้ามเนื้อได้อีกด้วย การผสมผสานระหว่างการออกกำลังกายและการรับประทานโปรตีนจึงเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการสร้างกล้ามเนื้อ  ให้มีประสิทธิภาพสูงนั่นเอง

นอกจากนี้การกินโปรตีนบางครั้งอาจจะเป็นเรื่องยากจึงมี เวย์โปรตีน เป็นทางเลือกสามารถอ่านเพิ่มเติมได้

เวย์โปรตีน เลือกแบบไหนดี

สำหรับใครที่เล่นกล้ามจำเป็นต้องการโปรตีนเพิ่ม สามารถอ่านเพิ่มเติมได้

5 วิธีสร้างกล้ามเนื้อ สำหรับผู้ชาย

และสำหรับผู้สูงอายุทุกคนต้องการโปรตีนในการทดแทนกล้ามเนื้อที่เสียไปตามอายุสามารถอ่านเพิ่มเติมได้

เทคนิคการเสริม โปรตีน ในผู้สูงอายุ

ทั้งหมดนี้เรื่องการกินเสริมโปรตีนเพื่อมีกล้ามเนื้อ อาจจะต้องระวังในกลุ่มคนที่โรคประจำตัวที่ต้องจำกัดโปรตีน หากใครที่มีโรคประจำตัวหรือต้องการสร้างกล้ามเนื้อ แนะนำปรึกษากับนักกำหนดอาหารกับเราได้(นักกำหนดอาหารวิชาชีพ มีใบประกอบโรคศิลป์) ซึ่งเราจะช่วยวิเคราะห์จากผลตรวจร่างกายส่วนบุคคลและสรุปคำแนะนำเรื่องดูแลเรื่องอาหารในแต่ละมื้อ แต่ละวัน ให้ตรงกับไลฟ์สไตล์

สอบถามเพิ่มเติม Add Line ปรึกษานักกำหนดอาหาร

ดูแลสุขภาพของคุณให้ถูกวิธี

โปรแกรมปรึกษานักกำหนดอาหารคืออะไร ?

พร้อมรับคำปรึกษาจาก

นักกำหนดอาหารวิชาชีพ

ไม่พลาดบทความด้านโภชนาการ

ของ อีทเวลล์คอนเซปต์ ก่อนใคร

ส่งข้อความถึงเรา